"ปุตราจายา" เมืองแห่งวิสัยทัศน์ของมหาเธร์"


นิตยสารผู้จัดการ( ตุลาคม 2538)



กลับสู่หน้าหลัก

อีก 5 ปี มาเลเซียจะมีเมืองหลวงแห่งใหม่ ในชื่อ "ปุตราจายา" การเริ่มต้นสร้างเมืองใหม่เป็นไปอย่างคึกคัก ทุกคนมีเป้าหมายร่วมกันภายใต้การนำของผู้นำที่ได้รับการยอมรับสูงสุด "มหาเธร์" ปัจจัยอะไรที่ทำให้มาเลเซียต้องสร้างเมืองใหม่ ทั้งที่กัวลาลัมเปอร์แออัดไม่ได้ถึงครึ่งของกรุงเทพฯ กระบวนการสร้างเมืองใหม่เป็นอย่างไร และโฉมหน้าในอนาคตของ "ปุตราจายา" จะเป็นเช่นไร

"ปุตราจายา" แห่งอนาคต

"ปุตราจายา" ศูนย์กลางบริหารแห่งใหม่ของรัฐบาลกลางมาเลเซีย ที่จะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2005 (2548)

จุดหมายหลักของการพัฒนานอกจากเพื่อให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของมาเลเซียแล้ว ยังจะเป็นเมืองที่แสดงถึงความเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วของมาเลเซีย

1. โครงข่ายระบบคมนาคมรอบนอกเมืองปุตราจายา บริเวณโดยรอบพื้นที่ของปุตราจายาจำนวน 14,780 เฮกเตอร์ (92,375 ไร่) จะมีการสร้างถนนสายใหม่เพิ่มอีก 4 สาย เพื่อการเชื่อมโยงกับเมืองอื่น ได้แก่ ทางด่วนนอร์ทแกรงวัลเลย์ (NORTH KLANG VALLEY), เซ้าท์แกรงวัลเลย์ (SOUTH KLANG VALLEY), ทางด่วนซาอาราม (SHAH ALAM) ซึ่งจะแล้วเสร็จปี 2540 และทางด่วนนอร์ทเซ้าท์ไฮเวย์ (NORTH SOUTH HUGHWAY) ที่จะแล้วเสร็จปลายปีนี้

2. แผนที่ตั้งเมืองปุตราจายา ซึ่งอยู่ระหว่างกัวลาลัมเปอร์ อินเตอร์เนชั่นแนลแอร์พอร์ต (KLIA) อันแสดงถึงศักยภาพของทำเลที่ตั้งของเมืองว่าเหมาะสมเพียงใด

3. แผนการใช้พื้นที่กลางเมืองปุตราจายา จะแบ่งเป็น 5 ส่วนหลัก ๆ ที่มีการเชื่อมโยงติดต่อกับศูนย์กลางอย่างสะดวก ได้แก่

- พื้นที่ส่วนราชการ (THE GOVERNMENT PRECINCT) จะอยู่บริเวณจุดสูงสุดของเมืองสามารถมองเห็นพื้นที่ทั้งหมดในเมือง

- พื้นที่เขตการพาณิชย์ (THE COMMERCIAL PRECINCT) จุดเด่นของศูนย์การค้าคือ หอคอยซึ่งจะเป็นหอสื่อสารและเทคโนโลยี

- พื้นที่แสดงถึงความเป็นอยู่และศูนย์วัฒนธรรม (CIVIC & CULTURAL PRECINCT) จะเป็นที่รวมของพิพิธภัณฑ์ ศูนย์ศิลปะ แกลลอรี่และห้องสมุดแห่งชาติ

- เขตพื้นที่ผสม (THE MIXED DEVELOPMENT PRECINCT) การค้ากับส่วนราชการและการค้ากับที่อยู่อาศัย และที่สำคัญคือมัสยิดกลางและศาลากลางอยู่ในเขตนี้

- พื้นที่สำคัญสำหรับการกีฬาและพักผ่อน (THE SPORT & RECREATION PRECINCT) ประกอบสวนสาธารณะ สเตเดียมหลัก ศูนย์กีฬาทางน้ำ และบ้านแบบมารีน่า

4. โครงข่ายระบบคมนาคมกลางใจเมือง ประกอบด้วย รถไฟ รถราง รถไฟฟ้า รถโดยสารประจำทาง แท็กซี่ ศูนย์กลางคมนาคม โครงข่ายถนนและเรือข้ามฟาก เพื่อลดการใช้รถส่วนบุคคลในเขตกลางใจเมือง

"ปุตราจายา" วันนี้

วันนี้หากใครได้ไปเห็นสถานที่ที่กำหนดไว้ เพื่อสร้างเมือง คงจะนึกกันไม่ออกว่าภายใน 5 ปี ณ ที่แห่งนี้ จะถูกแปรสภาพจากสวนปาล์มที่มีสภาพพื้นที่เป็นเนินเขาสูง ๆ ต่ำ จะถูกพัฒนาให้เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีล้ำหน้าและความทันสมัยได้อย่างไรแต่ภายใต้รัฐบาลของประเทศมาเลเซีย ที่มี ดร. มหาเธร์ อันเป็นที่รักของประชาชนมาเลเซีย จากการครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาเลเซียมาหลายสมัยนั้น เมื่อมีการประกาศสร้างเมืองทุกคนต่างเชื่อถึงความเป็นจริงของแผนที่ถูกกำหนดไว้

โครงการก่อสร้างทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีการก่อสร้างกันอย่างครึกโครม คนในพื้นที่ดีใจกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นใกล้ตัว

ณ ตอนนี้ จากการสอบถามพูดคุยกับชาวบ้านของ "ผู้จัดการ" ไม่มีใครคิดที่จะขายพื้นที่ทำกินของตนให้กับนายทุน ล้วนแต่อ้างว่าอยู่กันมาหลายชั่วคนนับแต่ปู่ย่า บุคคลเหล่านี้ จะยืนหยัดความคิดของตนเองไปได้นานเพียงใด เพราะตัวอย่างที่มีให้เห็นอยู่เสมอจากการพัฒนาเมือง ก็คือ พื้นที่โดยรอบมักหนีไม่พ้นกระแสการพัฒนาที่ดิน ที่ต้องเปลี่ยนไปตามสภาพเมืองไม่ใกล้ไม่ไกล ให้ดูกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นตัวอย่าง

1. สภาพถนนเข้าสู่โครงการที่จะต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงในไม่ช้า และคงจะดีกว่าถนนข้างเคียงที่ดีกว่าในตอนนี้

2. หมู่บ้านคนรวยที่ใกล้กับปุตราจายามากที่สุด หนึ่งในจำนวนนั้นมีบ้านพักตากอากาศของนายกรัฐมนตรีรวมอยู่ด้วย

3. แลนด์มาร์คของปุตราจายา มีความสูงถึง 20 เมตรทำด้วยสแตนเลส มีคนแวะเวียนเข้ามาชมอยู่ไม่ขาดสาย เนินเขาที่เห็นอยู่โดยรอบมีการปักธงแสดงสัญลักษณ์เพื่อการก่อสร้างตามแผนที่กำหนด

4. สภาพของเมืองปุตราจายาในปัจจุบันกับการทำงาน

5. โมเดลปี 2005 เมืองหลวงใหม่แห่งประเทศมาเลเซียที่เลือกรูปแบบสไตล์ GARDEN CITY

จากรูปแบบโครงการที่ถูกเสนอมาทั้งหมด 5 แบบในภาพเป็นบุคคลระดับบริหารของชาติและนักธุรกิจที่มาร่วมในวันเปิดโครงการ

6-7 ภาพการก่อสร้างระหว่างทางไปปุตราจายา

"ปุตราจายา" วันนี้

1-4-5 โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่มีขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน ตั้งแต่ 10
กิโลเมตรก่อนถึงโครงการปุตราจายา ในภาพคือการก่อสร้างโครงการ NATIONAL ELECTRICITY ต่อจากนั้นก่อนถึงโครงการ เป็นที่น่าสังเกตอยู่ว่าจะเต็มไปด้วยศูนย์ฝึกอบรมของบริษัทชั้นนำ เช่น ศูนย์ฝึกอบรมพนักงานของธนาคารแห่งชาติมาเลเซีย ศูนย์ฝึกอบรมพนักงานปิโตรนัส ศูนย์ฝึกอบรมไปรษณีย์มาเลเซีย ศูนย์วิจัยน้ำมันปาล์ม PORIM เป็นต้น

2 อีก 3 ก.ม. ก่อนถึงปุตราจายา แยกซ้ายเป็นถนนส่วนบุคคลของเจ้าของปาล์มรายใหญ่

3 ทางไปเมืองใหม่ ได้รับการปลูกหญ้าและท่อระบายน้ำไว้พร้อม

6 โรงเรียนที่ใกล้ปุตราจายามากที่สุด

7 สภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านบริเวณใกล้เคียง ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตร ทำสวนปาล์ม และ
ยังมีการปลูกผักสวนครัวภายในบ้าน ชาวบ้านละแวกนี้จะทนได้นานเพียงใดต่อลมปากนำพัฒนาที่ดินหรือนักลงทุนอื่น ๆ ที่จะขอซื้อต่อที่ดินแต่วันนี้ หลายๆ คนยืนยันว่า "ไม่ขาย"

เซลังงอร์ ความต่อเนื่องของเมืองใหม่

รัฐเซลังงอร์ เป็นรัฐที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุดในประเทศมาเลเซีย จากจำนวนรัฐทั้งหมด 13 รัฐล่าสุด พ.ศ. 2536 (1993) เซลังงอร์มีอัตราการเติบโต 10.2% จากอัตราการเติบโตเศรษฐกิจโดยรวมของมาเลเซีย 8.1% แม้แต่กัวลาลัมเปอร์เองก็เคยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐเซลังงอร์ ก่อนจะเป็นของรัฐบาลกลาง

รัฐเซลังงอร์มีชาอาราม เป็นเมืองหลวง มีแหล่งอุตสาหกรรม มีท่าเรือและอื่น ๆ อีกมาก และกำลังจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น เพราะผลจากการพัฒนาปุตราจายาซึ่งรัฐบาลเซลังงอร์ก็วางแผนไว้แล้วสำหรับทุกเขตของรัฐ เพื่อให้เป็นรัฐที่พัฒนาแล้วในปี 2005

1 เซลังงอร์ สเตเดียม ด่านแรกของเซลังงอร์เมื่ออกจากกัวลาลัมเปอร์ เป็นอีกแห่งที่ได้รับความ
สนใจจากนักลงทุนบริเวณโดยรอบ มีการปรับพื้นที่และก่อสร้างที่พักอาศัยทั้งแนวราบและแนวดิ่ง

2 สภาพพื้นที่กลางรัฐเซลังงอร์ แนวถนนที่ได้มาตรฐานสวนสาธารณะ มัสยิดสัญลักษณ์ของ
เมือง และแนวป่าซึ่งทางรัฐมีแผนจะพัฒนาเป็นสวนสาธารณะ เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของประชากรที่เพิ่มขึ้นพร้อมกับเศรษฐกิจ

3 แนวป่าอีกฟากถนน เป็นที่คาดการณ์กันว่าจะได้รับการพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจในอีกไม่ช้า อาจจะกลายเป็นแหล่งธุรกิจแห่งใหม่ของเมืองของโครงการที่อยู่อาศัยก็เป็นได้

4 ที่ทำการคณะรัฐมนตรีของรัฐเซลังงอร์ จากชั้นบนสุดของตึกซึ่งเป็นที่ทำงานของ CHIEF MINISTER OF SELANGOR สามารถเห็นสภาพโดยรอบของรัฐเซลังงอร์ได้ทั่วถึง

5 รัฐบาลเซลังงอร์ได้คาดการณ์ว่า ที่อยู่อาศัยของเซลังงอร์ยุคใหม่จะมีการพัฒนาในแนวดิ่งมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในรูปของอาพาร์ทเมนต์ให้เช่า และโรงแรมที่เดิมมีอยู่น้อยมาก



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.