ด้วยหัวใจรักงานศิลปะ.. และหัวใจรัก ที่จะสร้างให้The Mercury Art Gallery
เป็นเวทีแสดงงานศิลปะของศิลปินไทย ที่นี่เลยมีงานดีๆมาแสดงให้ดูอย่างต่อเนื่อง
" หากจะเปรียบเทียบ Gallery เป็นสินค้าตัวหนึ่ง มันก็คงต้องเป็นไปตามขั้นตอนของการเติบโตในตลาด
เริ่มจากการเปิดตัวให้คนรู้จัก ให้คนทดลองใช้เมื่อติดใจก็กลับมาใช้อีกจากนั้น ก็พัฒนาปรับปรุงคุณภาพ
เพื่อให้สามารถยืนหยัดอยู่ต่อไปในตลาดได้ ทั้งหมดนี้ล้วนต้องอาศัยเวลา ซึ่งทีมงานก็หวังว่าเราจะสามารถไปให้ถึงสักวันหนึ่ง"
สลิล ศรีประเสริฐ ผู้จัดการทั่วไป "The Mercury Art Gallery "กล่าวกับ "ผู้จัดการ"
และเล่าให้ฟังถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วง1ปีที่ผ่านไปกับธุรกิจ ที่เธอรัก ด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม
ว่า
"คนเริ่มรู้จัก Gallery มากขึ้น และทุกครั้ง ที่มีศิลปินติดต่อเข้ามา เพื่อจัดงานแสดง
หรือมีผู้ชมงานศิลปะก้าวเข้ามาในแกลลอรี่เรา ทีมงานทุกคนจะหัวใจพองโตด้วยความรู้สึกดีๆ
มิได้หวังให้ผู้แสดงงานทุกคนต้องเป็นคนมีชื่อเสียง หรือมิได้หวังให้ผู้ชมงานต้องเป็นคนซื้ออย่างเดียว
จุดสำคัญอยู่ ที่ศิลปินได้นำงานของตนออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน และมีผู้เสพศิลป์เข้ามาชื่นชม
หรือแม้กระทั่ง เพื่อการศึกษา เพื่อการผ่อนคลาย ซึ่งก็เป็นเรื่อง ที่ช่วยให้วงการศิลปะบ้านเมืองเรามีชีวิตชีวา
ไม่เงียบเหงา"
The Mercury Art Gallery ได้มีโอกาสจัดกิจกรรมงานแสดงภาพของเหล่าศิลปิน
โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ อย่างน้อยปีละครั้ง ซึ่งจัดในช่วงเทศกาลแห่งความรักในเดือนกุมภาพันธ์
ชื่องาน" Love in Frame" โดยเปิดโอกาสให้ศิลปินไม่จำกัดกลุ่มร่วมกันแสดงงาน
เพื่อเปิดศิลปะสู่กลุ่มคนที่กว้างขึ้น อีกทั้งในปีที่ผ่านมาได้ร่วมกับศิลปินในการจัดแสดงภาพ เพื่อหารายได้ให้แก่มูลนิธิฯ
และองค์กรการกุศลต่างๆ รวมถึงยังได้รับเกียรติ และความไว้วางใจให้เป็นสถานที่จัดแสดงงานสำคัญๆ
ด้วยผลงานจากศิลปิน ที่มีชื่อเสียงอาทิ จ่าง แซ่ตั้ง เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
ช่วง มูลพินิจ การจัดการประกวดภาพเขียนทั่วประเทศของ Nokia Art Contest และเป็นเวทีแสดงงาน
Thesis ของนิสิต นักศึกษา จากหลายสถาบันด้วยกัน
ผู้จัดการสาวคนนี้ยังมีความเห็น ที่น่าสนใจอีกว่า หากจะให้วงการศิลปะบ้านเราสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีศักยภาพ
หน้าที่ของศิลปินก็คงจะเป็นการสร้างงาน ที่มีคุณภาพ มีคุณค่า และตั้งราคาให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ
ประชาชนคนทั่วไปก็น่าจะให้ความสนใจเข้าเยี่ยมชม ซึมซับสุนทรียศิลป์ จะรวยจะจนผู้ใหญ่หรือเด็ก
ซึ่งจะเป็นการเข้าชมฟรีแนับเป็นการปลูกฝังให้รู้จักชื่นชอบงานศิลปะอีกทางหนึ่ง
ผู้ใด ที่มีกำลังซื้อก็ขอให้ซื้ออย่างใจเปิดกว้าง ดู ที่ผลงาน ความชอบ ความพึงพอใจ
ให้โอกาสพิจารณางานของศิลปินหน้าใหม่ๆ บ้าง หน่วยงานเอกชนทั้งหลาย ที่มีงบประมาณการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์
หรือสถาบัน ก็น่าจะหันมาช่วยเป็นผู้สนับสนุนการจัดแสดงงานของเหล่าศิลปิน ที่ขาดกำลังทรัพย์บ้าง
ถือว่าเป็นการประชาสัมพันธ์ ที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์อีกทางหนึ่ง
"ในส่วนภาครัฐ ที่พอจะช่วยได้ก็คงเป็นเรื่องของราคาวัตถุดิบ ที่จะนำมาสร้างงานศิลปะ
เพราะมีคนเคยพูดว่าเรียนหมอกับเรียนจิตรกรรม ค่าใช้จ่ายแพงพอๆกัน แล้วคนที่เลือกเรียนทางศิลปะ
ก็มักจะมีฐานะไม่สู้ดีเป็นส่วนมาก สีหลอดกระจ้อยราคาเหยียบร้อยทั้งนั้น ว่ากันว่าเป็นเพราะภาษีนำเข้าแพง
และอีกอย่างภาครัฐน่าจะเปิดโอกาส หรือสนับสนุนบรรดาผู้ที่ร่ำเรียนมาทางสายศิลปะนี้บ้าง
เพราะเห็นแต่คนเรียนจบมาไม่เป็นอาจารย์ ก็เป็นศิลปินหลักลอยอาศัยเวลาในการสร้างตัวนับสิบๆ
ปี กว่าจะลืมตาอ้าปากได้หากยังยืนหยัด งบประมาณรัฐบางส่วนสำหรับการสร้างศิลป์โชว์แขกบ้านแขกเมือง
ก็หมุนวนอยู่แต่วงใน ซ้ำซาก กี่ทีๆก็ชื่อนี้เป็นเจ้าของผลงาน "
สำหรับความปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นในแวดวงงานศิลป์ในปัจจุบันนั้น ก็คือ จากเดิม
คนที่มีโอกาสจะได้นำงานออกแสดง มักเป็นผู้ที่มีชื่อเสียง ไม่ก็เจ้าของสถานที่เล็งเห็นว่าภาพ ที่แสดงจะสามารถขายได้
อีกทั้งสถานที่ เพื่อการนี้ก็มีอยู่ไม่มาก ความเคลื่อนไหวจึงน้อย แต่เดี๋ยวนี้มี ที่ให้เลือกจัดแสดงมากมายมีตั้งแต่หอศิลป์
แกลเลอรี่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ ร้านอาหาร ผับ บาร์ โรงแรม อาร์ตเซ็นเตอร์
สตูดิโอ อาคารสำนักงาน แม้กระทั่งศูนย์การค้า มีบ้างเหมือนกัน ที่ยังเน้นรับเฉพาะศิลปินมีชื่อ
แต่ก็นับเป็นส่วนน้อย
ตราบใด ที่ยังมีผู้ทำธุรกิจ Gallery วงการนี้ก็ยังจะถูกขับเคลื่อนต่อไป คล้ายๆกับธุรกิจอื่นๆ
มีขึ้นมีลง รูปแบบอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามความเหมาะสม เช่น เมื่อก่อน Gallery
บ้านเราอาจเป็นแค่ร้านขายภาพเขียน มาวันนี้ ก็เปิดให้มีการแสดงงานเป็นครั้งคราว
ส่วนสถานที่ ที่เปิดขึ้นมาเป็นห้องแสดงภาพ ก็อาจมีช่วงพักเป็นร้านขายรูปเหมือนกัน
ไม่ว่าจะ เพื่อหารายได้หรือกระจายชื่อให้คนรู้จัก
เมื่อเทียบกับยุคฟองสบู่ ผู้ที่ขายงานได้อาจเป็นเฉพาะศิลปินมีชื่อ แต่วันนี้ฟองสบู่แตก
มีชื่อหรือไม่ก็ยังพอขายงานได้ หากงานมีคุณภาพ ส่วนกลุ่มผู้ชมผู้ซื้อ กลุ่มหลักก็กลุ่มเดียวกันคือ ผู้สะสมงานศิลปะ
อีกกลุ่มก็คือ คนทั่วไปซื้อประดับบ้านบ้าง ซื้อเป็นของขวัญบ้าง ชาวต่างชาติซื้อไปเป็นที่ระลึกบ้าง
จนถึงชอบดูอย่างเดียวไม่ชอบซื้อก็มี
เธอก็ปิดท้ายด้วยการฝากข่าวงานศิลป ว่า งานเทศกาล "Love in Frame II" ในปี2544
นี้ จะเปิดงานในวันจันทร์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ และจะมีถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์
โดยจะมีการรับวาดภาพเหมือนบุคคล ที่รัก โดยศิลปิน ที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น
ประทีป คชบัว, สัมพันธ์ สารารักษ์, ศักดิ์วุฒิ วิเศษมณี และสุระเดช แก้วท่าไม้
พร้อมทั้งมีงานศิลปะใน Theme ของความรัก ในราคา ที่เหมาะสม เพื่อเป็นของขวัญในเทศกาลนี้
รายได้จากการขายส่วนหนึ่งจะนำไปมอบให้กับ มูลนิธิส่งเสริม และพัฒนาบุคคล เพื่อช่วยพัฒนาเด็กในชุมชนคลองเตย
ส่วนงาน ที่จะมีแสดงไปจนถึงเดือนธันวาคมก็คือ "60ปี จิตรกรรม ช่วง มูลพินิจ"
ต่อด้วย"นิทรรศการสบายกับจิตรกรรม"
หากยังไม่สิ้นคนรักศิลปะ ทิศทางธุรกิจนี้ข้างหน้า ก็ไม่พ้นต้องคงอยู่ แต่จะอยู่อย่างไรเท่านั้น เอง