7ปี ผ่านไปบริษัทเทเลคอมเอเชียยังคงมุ่งมั่นกับโครงการห้องเรียนเทเลคอมเอเชียอย่างต่อเนื่อง
ถึงแม้ว่าไม่ได้เน้นประชาสัมพันธ์ให้เป็นข่าวดังเท่ากับการขายโทรศัพท์ พีซีที
ก็ตาม
ผู้บริหารของทีเอ ตั้งแต่สมัยดร.อาชว์ เตลานนท์ ขึ้นกุมบังเหียนจนกระทั่งมาถึงยุคสมัยคนหนุ่มอย่างศุภชัย
เจียรวนนท์ ยังคงมีความคิดเห็น ที่ตรงกันในเรื่องการให้ความสำคัญกับกิจกรรมทางด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
เหตุผลที่ทีมบริหารของทีเอมองงานการศึกษาเพราะถือว่าเป็นงานสร้างคน ทีเอ
วางแนวคิดปรัชญาด้านการศึกษาคือ ทำอย่าวไรให้เด็กรุ่นใหม่ คิดเป็น ทำเป็น
มีเหตุผล รักธรรมชาติ ทันสมัยแต่ยังมีจิตใจที่ดีงามแบบไทย
จากแนวคิดดังกล่าว ผู้บริหารของทีเอได้ทดลองแนวคิดรูปแบบขบวนการการเรียนรู้ของเด็กไทยบนการเรียนรู้จากของจริง
สัมผัสจริง เรียนอย่างมีความสุข ทำอย่างไรให้เด็กไทย และครูไทย รู้จักเข้าใจ
การเรียนรู้นอกห้องเรียน การเรียนรู้จากแหล่งความรู้ ต่างๆ และเกิดกระบวนการสร้างความคิดทัศนคติ
ที่เป็นบวก
โครงการที่ทีเอผลักดัน และออกสู่สังคมมาตลอดคือ โครงการห้องเรียนเทเล
คอมเอเชีย ซึ่งประกอบไปด้วย"ห้องเรียนธรรมชาติ ""ห้องเรียนวิทยาศาตร์ "
และ"ห้องเรียนวัฒนธรรม"
กิจกรรมของโครงการห้องเรียนธรรมชาติในปีที่ผ่านมาเช่น โครงการ "นักอนุรักษ์น้อย
ตลุยป่าจปร." ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เชาชะโงก จังหวัดนครนายก
"ปอดของคนเมือง" ที่บางกระเจ้า สมุทรปราการ "นักปักษี" ที่สวนรถไฟกรุงเทพฯมหานคร
กิจกรรมของห้องเรียนวัฒนธรรม "วัฒนธรรมข้าวกับชาวไทย" ที่ชุมชนบ้านสาคลี
อำเภอเสนา จังหวัดพระนครอยุธยา "หนูน้อยนักโบราณคดี ที่บ้านคลองสระบัว จ.อยุธยา
รำลึกอดีตราชธานี...ธนบุรีศรีมหาสมุทร ที่กรมช่างโยธาทหารเรือ
กิจกรรมของห้องเรียนวิทยาศาตร์เช่น"ใต้สมุทร สุดอัศจรรย์ " ที่มหาวิทยาลัยบูรพา
"ท่องโลกวิทยาศาสตร์" ที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาตร์ "สื่อสารไร้พรมแดน"
ที่โรงเรียน วัดสร้อยทอง กรุงเทพฯ
จากปี2537 จนถึงปี2543 กิจกรรมการศึกษาของทีเอได้เน้นการลงด้านลึกคือ คัดเลือกร่วมมือกับโรงเรียนสังกัดต่างๆในเขตกรุงเทพ
แล้วเข้าปจัดตั้งครูแกนนำ กับนักเรียนแกนนำระดับประถม
เป้าหมายปี2543 ของทีเอ ที่กำหนดในงานการศึกษาคือ การผลักดะนกลุ่มชมรมจากโรงเรีนรเกรดเอ
และบี 38 โรงเรียน 40 ชมรม ของเด็กนักเรียนให้เป็นกลุ่มนักเรียนตัวอย่างการจัดการการเรียนรู้
ที่สอดคล้องกับพ.ร.บ.การศึกษา ขณะเดียวกะนเปิดโอก่สโรงเรียนใหม่ๆเข้าสู่วงการ
รวมทั้งการสร้างงเครือข่ายครูแกนนำ
โรงเรียนในกลุ่มเป้าหมาย ที่ทีเอแนะนำจัดตั้งได้พัฒนากิจกรรมการเรียนรู่ของเด็กไปได้ทุกโรงเรียน
โรงเรียนต่างๆมีการทำเป้าหมายแผนงานกิจกรรม ที่ไม่ยึดการเรียนเฉพาะแต่ในห้องเรียนเท่านั้น
และหลายโรงเรียนมีการพัฒนาการเรียนรู้ ที่เป็นความโดดเด่น เช่นกรณีของโรงเรียนวัดนิมมานรดี
สังกัด กทม.กลายเป็นกรณีตัวอย่างทำกิจกรรมเรียนรู้ของเด็กๆทั้งธรรมชาติ วิทยาศาตร์
วัฒนธรรม หลายโรงเรียนมีโครงการที่น่าสนใจเช่น การทำโครงการสำรวจนก และพันธ์ไม้ในโรงเรียน
การศึกษาเรื่องตะเกียงโบราณ
บางโรงเรียนผลักดันตัวเองเข้าโปรแกรมGLOBE ที่เป็นโครงการสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศเป็นต้น
ทีเอ มีความคาดหวังว่าโรงเรียนเหล่านี้จะกลายมาเป็นตัวอย่าง หรือพี่เลี้ยงแก่โรงเรียน
ที่กำลังปฎิรูปการเรียนรู้ ที่น่าสนใจไม่เพียงทีเอพยายามสร้างเครือข่ายโรงเรียน
เครือข่ายนักเรียน เพื่อให้โรงเรียนไทยปฎิรูปตัวเอง ทีเอยังผลักดันให้ครูทั้ง3ด้าน
ตังชมรมเครือข่ายครูขึ้นมาในปี2543
น่าเสียดาย ที่โครงการของทีเอไม่ได้ถูกตีปี๊ปดังเหมือนงานขายพีซีที หรือขายโทรศัพท์มือถือ
แต่ทีเอก็เป็นกรณีตัวอย่างที่สะท้อนถึงบทบาทภาคเอกชน ที่เข้ามาเสริมงานทางด้านการศึกษา
ซึ่งองค์กรธุรกิจอื่นสามารถทำได้เช่นกัน
ในปี2544 ที่เอยังคงเล่นงานทางด้านการศึกษา โดยมีจิ๊กซอ คือ ทำอย่างไรให้เครือข่ายโรงเรียนเดิมยืนด้วยตัวเองโดยทีเอยังเป็นที่ปรึกษา
ขณะเดียวกันสามารถขยายฐานกลุ่มโรงเรียนใหม่เพิ่มขึ้น โดยเสริมให้ชมรมครูแข็งแรงพอจะทำงานด้วยตัวเอง
ประเด็น ที่น่าสนใจ ที่เป็นกรณีศึกษาของทีเอสำหรับองค์กรธุรกิจ คือ การช่วยพัฒนางานทางด้านการศึกษา
ไม่มีเพียงการให้มทุน เพื่อการศึกษาทั่วไปแต่งานการศึกษาเป็นงาน ที่ต้องลงทุนต่อเนื่อง
โดยมีการร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชน หน่วยงานรัฐ และภาคเอกชน
กลุ่มผู้บริหารของทีเอได้ยืนยันว่า การปฎิรูปการศึกษาไม่ใช่เป็นเพียงหน้าที่ของหน่วยงานใด
ความสำเร็จของการปฎิรูปการศึกษารัฐควรกระคุ้นจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ
เพื่อให้เกิดกระบวนการปรับเปลี่ยน การจัดการสอน ที่เอื้อกับเด็กไทยในอนาคต