นายหน้าขายบ้านมืออาชีพเท่านั้น ที่อยู่รอด


นิตยสารผู้จัดการ( ธันวาคม 2537)



กลับสู่หน้าหลัก

ตลาดบ้านมือสองโตขึ้น ทุก ๆ วัน ประมากรกันว่า มีบ้านมือสาองที่กำลังประกาศขายผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ผ่านตัวแทนและเจ้าของขายเองกว่าหนึ่งแสนหลัง มูลค่าหลายหมื่นล้านบาท นับเป็นเค้กชิ้นใหญ่ที่มีความหอมหวานให้บรรดานายหน้าทั้งหลายได้รุมทึ้ง การพัฒนาระบบซื้อขายที่มันสมัยโดยบริษัทขายข้อมูลจึงเกิดขึ้น นายหน้าทั่วไปอาจจะหมดสิทธิ์ หากไม่ได้ฝึกปรือจนมีประสิทธิภาพจากสถาบันเหล่านี้

ปัญหาการจราจร ที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นนั้น เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้มีความรู้สึกอยากเปลี่ยนที่อยู่อาศัยเกิดขึ้นมาทันที โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ต้องฟันฝ่าการจราจรที่ติดกันยาวเหยียด และมีผู้คนอีกจำนวนมากทีต้องการเปลี่ยนบ้านเพราะแบบบ้านใหม่ ๆ ที่กำลังโฆษณาอยุ่นั้นมีภาพลักษณ์และรูปแบบที่สวยงามเตะตา จนอยากได้มาทแดแทนบ้านที่มีอยู่แล้ว ในขณะที่ อีกหลายรายอยากเปลี่ยนบ้านด้วยเหตุผลทางสังคม และจิตวิทยาที่ว่าเมื่อฐานะร่ำรวยขึ้น บ้านก็ต้องใหญ่ขึ้น เพื่อให้สมฐานะ รวมไปถึงการขายบ้านที่เกิดจาการ ซื้อของบรรดาพวกนักเก็งกำไรในอดีตก็มีจำนวนไม่น้อย

คนกลุ่มนี้ ต้องการบ้านใหม่จะเป็นบ้านใหม่ในโครงการใหม่ ๆ หรือบ้านมือสอง ที่ตรงตามสเป็คของตัวก็ได้ การประกาศขายบ้านมือสอง ก็เลยเพิ่มขึ้นทุกๆ วัน เช่นเดียวกับความต้องการบ้านมือสอง

" ทุกวันนี้ มีหนังสือพิมพ์ที่ลงโฆษณาบ้านมือสอง มากกว่า 10 ฉบับ มีบ้านขายต่อเดือนประมาณ 5,000 หลัง ใช้งบประมาณในการโฆษณาประมาณเดือนละ 75 ล้านบาทต่อเดือน ถ้าคิดราคาเฉลี่ยหลังละ 2.5 ล้านบาท มุลค่าบ้านมือสองในแต่ละช่วงที่ประกาศขายก็เท่ากับ 12,500 ล้านบาท" ธีรพจน์ จรูญศรี ประธานกรรมการบริหารบริษัทจุลดิสดีเวลลอป จำกัด มหาชน ให้ภาพธุรกิจบ้านมือสองที่กำลังเฟื่องฟู

ธีรพจน์ ยังให้ข้อมุลจากการการศึกษาอีกว่าปัจจุบันบ้านมือสองทั้งหมดในตลาด ประมาณ 180,000 หลัง เฉลี่ยแล้วราคาบ้านหลังละ 2.5 ล้านบาท หรือเท่ากับ 13,500 ล้านบาท ที่จะเป็นค่าคอมมิชั่นให้บรรดาตัวแทนทั้งหลาย

นับเป็นเค้กชิ้นใหญ่ที่บรรดานายหน้าตัวแทนการขายทั้งหลายกำลังรอรุมทึ้ง

จำนวนตัวแทนนายหน้าขายบ้านมือสองทั่วประเทศไทย ในขณะนี้ มีนับหมื่นราย แต่ที่จัดตังเป็นบริษัทมีประมาณ 150-170 บริษัท การแข่งขันเพื่อหากลุ่มลุกค้าที่ต้องการซื้อบ้านมือสองในตลาดนี้จึงเกิดขึ้นสูง

ในขณะเดียวกัน บนสถานการณ์การสู้รบแย่งชิงลูกค้าในสนามตลาดบ้านใหม่เองก็กำลังเข้มข้นดุเดือด การลดแลก แจก แถทม การปรับปรุง รูปแบบบ้านให้สวยงามน่าอยู่ กว่าบ้านมือสอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบ้านที่สร้างเสร็จมาแล้ว 2-3 ปี รวมทั้งเงื่อนไขการชำระเงินดาวน์ที่น้อยลงและผ่อนนานขึ้นเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นก้างชิ้นใหฯ่ที่ทำให้การขายบ้านมือสองประสบความยากลำบาก

ดังนั้น ผู้ขายหรือตัวแทน นายหน้า จะต้องแข่งขันกันในเรื่องข้อมุลของบ้านที่ประกาศขายต้องมีรายชื่อของผู้ที่จะซื้อและผู้ที่จะขายมากพอ เพื่อที่จะได้สามารถจับคู่อุปสงค์และอุปทานกันได้โดยเร็ว จะต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในทำเลของบ้านแต่ละแห่ง สามารถทำให้คำปรึกษาผู้ซื้อได้ ในเรื่องของการกู้ยืมเงิน สามารถประมารมูลค่าทรัพย์สินได้ใกล้เคียงบริษัทประเมินราคาอาชีพ

เรียกได้ว่า เปรียบเสมือน " ซุปเปอร์มาร์เก็ตของอสังหาริมทรัพย์" ไม่ใช่เป็นเพียง " คนกลาง" หรือ " นายหน้า" ในลักษณะเก่าอีกต่อไป

ระบบการซื้อขายบ้าน มือสอง จึงต้องก้าวหน้ามากขึ้น โดยมีการพัฒนาระบบการขายบ้านมือสองที่ทันสมัยกว่าเดิม อาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการจัดการฐานข้อมูลทรัพย์สินลักษณะของทรัพย์สิน เช่นประเภทของบ้าน พื้นที่ใช้สอย จำนวนห้องนอน ทำเลที่ตั้ง ระดับราคา ลุกค้าต้องการซื้อบ้านแบบไหน ราคาเท่าไหร่ ก็สามารถเรียกข้อมูลพร้อมแบบบ้านดูได้เลย จากจอคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องเสียเวลาไปดุถึงที่ตั้ง ของบ้าน ซึ่งในระยะเวลาหนึ่งวัน นายหน้าแบบเก่าจะพาลูกค้าไปดูบ้านได้เพียงหลังเดียวเท่านั้น

ที่สำคัญ แต่เดิม บ้าน 1 หลัง ขายด้วยตัวแทนเพียง 1 คน แต่ในปัจจุบัน ด้วนระบบข้อมูลที่ทันสมัย ก็เกิดเป็นเครือข่ายตัวแทนนายหน้าที่เชื่อมโยงถึงกันได้อย่างกว้างขวาง บ้าน 1 หลัง ก็จะอยู่ในความดูแลของตัวแทน 100 ราย ช่วยกันขาย ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องขายได้เร็วขึ้น

ที่นอกเหนือจากนี้ก็คือ ยังได้มีการริเริ่มนำระบบการซื้อบ้านมือสองแบบใหม่ ในระบบเครือข่ายที่เรียกกันโดยทั่วไป " ระบบสัญญานนายหน้าหลายต่อ" ( Multiple Listing System-MLS) ซึ่งเป็นระบบนายหน้าแบบผสม ระบบนี้จะมีระบบนายหน้าแบบผสม ระบบนี้จะมีบุคคล 3 กลุ่ม ที่จะได้ส่วนแบ่งในค่าบำเหน็จ ที่ได้จากการขายก็คือ ตัวระบบที่เป็นศูนย์กลางนายหน้า หรือเจ้าของระบบกลางนายหน้าสมาชิกที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับเจ้าของบ้าน ( listing Broker) และนายหน้าสมาชิกที่เป็นผู้ขายบ้าน ( Selling Broker)

" เอ็มแเลเอส" จะมีวิธีของการเชื่อมโยงฐานข้อมูลต่าง ๆ โดยระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ทำให้สำนักงานสาขาสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้จากทุกแห่ง และทำให้ผู้ซื้อไม่สามารถเลือกหารบ้านทั้งประเภทระดับราคา และทำเลที่ตั้งที่ตนต้องการได้ โดยสะดวกและรวดเร็วขึ้น

สำหรับบริษัทที่เปิดบริการจัดให้มีการดำเนินงานในระบบ MLS ในบ้านเราที่รู้จักกันดี ก็คือ " อีเล้คทรอนิคส์ เรียลตี้ แอสโซสิเอทส์" หรือ " อีอาร์เอ" (Electronics Realty Associates-ERA)

"อีอาร์เอ" ในบริษัทขายเทคโนโลยีการซื้อ-การขาย อสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบเฟรนไชส์ของอมริกาที่มีเครือข่ายสำนักงานตัวแทนนายหน้ารับฝาก-ซื้อขายบ้านอยู่ในประเทศต่าง ๆ ประมาณ 3,000 สาขาทั่วโลก เข้ามาเมืองไทยโดยการซื้อมาสเตอร์ แฟรนไชส์ ของบริษัท ดิศดี จำกัด ซึ่งอยู่ในเครือขงอกลุ่มบริษัทจุลดิศ หลังจากนั้นได้ตั้งบริษัททใหม่ชื่อว่า อี.อาร์.อี( ประเทศไทย) เมื่อประมาณ ปี 2535 เพื่อดำเนินธุรกิจซื้อขายบ้านมือสองโดยตรง โดยมี นฤมล ปิยัมปุตระ เป็นกรรมการผู้จัดการ

นฤมล สาวสวย วัย 35 ปี ที่รักงานด้านการขายเป็นชีวิตจิตใจ ทั้ง ๆ ที่ศึกษามาทางด้านการบัญชี เมื่อปี 2539 ธีรพจน์ จรูญศรี ได้ชักชวนมาร่วมงานด้วยในโครงการสนามกอล์ฟที่เขาใหญ่

ต่อมาเมื่อธีรพจน์ ตั้งบริษัทดิศดี ขึ้น เพื่อบริการลูกค้าในการฝากซื้อฝากขาย สินค้าทางด้านอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทในเครือจุลดิศ ในปี 2530 นฤมลก็ได้รับผิดชอบในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ

นฤมลประเมินภาวะตลาดบ้านมือสองในช่วงนั้นว่า มีแนวโน้มที่การซื้อขายเปลี่ยนมือจะต้องเพิ่มค้นอีกมากมาย แต่ตลาดจะเป็นนายหน้ามืออาชีพที่มีระบบบริการซื้อ-ขาย อย่างมีประสิทธิภาพ จะมีโอกาสในการทำงานมากว่า ดังนั้นถ้าบริษัทซื้อลิขสิทธิ์ตัวนี้มา และเปิดขายให้กับบริษัทนายหน้าทั้งหลายในประเทศไทย ก็น่าจะทำรายได้มากว่าค่าคอมมิชชั่นเพียงอย่างเดียว เพราะนอกจากรายได้จาการขายลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ ซึ่งเริ่มแรกทีเดียว นฤมล กำหนดค่าลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ไว้ที่ประมาณ 250,000 บาท แต่ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 750,000 บาท แล้ว ยังมีรายได้จากากรฝึกอบรม รายได้จาการายที่ทางบริษัทที่ซื้อเฟรนไชส์ไปขายได้ก็ต้องจ่ายเงินกลับมาอีก 9% ของรายรับค่าคอมมิชชั่น 3% นั้นต่างหาก

" บริษัทสมาชิกขายได้มาก เราก็มีรายได้มากตามด้วย เราถึงต้องดูข้อมูลและช่วยเหลือเขาอยุ่ตลอดเวลา" นฤมล กล่าว

ขณะนี้ อีอาร์เอ ประเทศไทยมีบริษัทสาขาประมาณ 65 บริษัท เป็นสาขาในกรุงเทพถึง 47 สาขาและต่างจังหวัด อีก 18 แห่ง ส่วนปีหน้าได้ตั้งเป้าที่จะเพิ่มขึ้นไปให้มีจำนวนประมาณ 110 สาขา นฤมลหวังว่า อีอาร์เอ ควรจะมีสาขาทั่วประเทศราวๆ 150-200 สาขา สำหรับผู้ที่สนใจที่สมัครเป็นสมาชิก เริ่มด้วยจะต้องมีที่ตั้งออฟฟิคมาเสนอทางอีเอาร์เอ ออฟฟิคแต่ละแห่งควรมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 30 ตารางเมตร เมื่อทางอีอาร์เอ เห็นชอบในเรื่องที่ตั้ง ซึ่งส่วนใหญ่ จะต้องอยุ่ในย่านชุมชน และไม่ควรอยู่ใกล้กับสาขาอื่นซึ่งเป็นสมาชิกอีอาร์เอ อยู่แล้วมากนัก ก็ตกลงเซ็นสัญญากัน โดยในวันเซ็นสัญญานี้จะต้องชำระค่าธรรมเนียมสมาชิกงวดแรก350,000 บาท ส่วนที่เหลือแบ่งชำระรายเดือน อีก 2 เดือน คืองวดละ 200,000 บาท หลังจากนั้น ก็ดำเนินรายการจดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ในกรณีที่เปิดบริษัทใหม่) เมื่อจัดหาบุคลากรที่จะเข้ามาทำงานได้แล้ว ตัวผู้บริหารเองก็ต้องเข้ารับการปฐมนิเทศ และต้องส่งพนักงงานเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการขาย ส่งพนักงานเข้ารับการฝึกอบรมในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนทั้งหมดนี้ ก็เท่ากับเป็นภาคทฤษฏีที่ทางอีอาร์เอ ต้องติวเข้มให้เข้ากับบริษัทที่เป็นสมาชิกประมาณ 2 เดือน ก่อนที่จะไปเปิดบริษัทเองและนำทฤษฎีความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดมาไปสู่การปฏิบัติต่อไป

" ผู้ที่ต้องการเปิดบริษัทและเป็นสมาชิกของอีอาร์เอ ควรจะมีเงินในการดำเนินการประมาณ 3 ล้านบาทในช่วง 11 ปี"

นฤมล ให้เหตุผลตรงนี้ว่า เงินส่วนหนึ่งจะต้องจ่ายเป้นค่าออฟฟิคให้เช่า ค่าตกแต่งออฟฟิค ค่าลิขสิทธิ์เฟรนไชส์ และค่าใช้จ่ายด้านการบิรหารงานในช่วง 6 เดือน แรก ที่อาจจะยังไม่มีผลงาน

สำหรับข้อมูลต่อเนื่อง และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่บริษัทสมาชิกจะได้รับก็คือ การฝึกอบรมซึ่งจะมีเนื้อหาตั้งแต่การหากลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ไปจนถึงรายละเอียดซับซ้อนของสัญญการเงิน ระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยที่จะคอยให้ข้อมูลทางด้านอสังหาริมทรัพย์ ในคอมพิวเตอร์ออนไลน์ของอีอาร์เอ ก็จะมีรายชื่อลูกค้าทั่วมุมโลกที่จะทำให้สามารถเสนอซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์ได้โดยผ่านระบบสื่อสารข้อมูลรายละเอียด และรูปภาพผ่านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งให้ความรู้ทางด้านการเงินและสินเชื่อต่าง ๆ

" ใน 6 เดือน เขาต้องมีผลงานแล้ว ถ้ายังไม่มีแสดงว่าจะต้องมีอะไรผิดพลาด เราต้องส่งคนไปดูเพราะมันเท่ากับว่าระบบเราเสียเหมือนกัน"

สมาชิกที่มีประสิทธิภาพของอีอาร์เอ เดือนหนึ่ง ๆ ควรจะมีลุกค้าติดต่อเข้ามาจะซื้อจะขายประมาณ 35 ราย มีการติดต่อกันจริงประมาณ 10 รายใน 10 ราย นี้ถ้าสามารถปิดการขายได้ประมาณ 3-4 ราย ซึ่งถ้าเป็นบ้านหรือทาวเฮ้าส์ จะเป็นวงเงินประมาณ 6 ล้านบาท จะมีรายได้ค่าคอมมิชชั่น 3% ของ 6 ล้านบาท เท่ากับ 180,000 บาท ในขณะที่ ค่าใช้จ่ายในออฟฟิค ค่าพนักงาน และส่วนที่ต้องจ่ายให้กับอีอาร์เอ ประเทศไทย อีก 9% ของ 180,000 บาทเท่ากับ 16,200 บาท รวมแล้วทังหมดประมาณ 100,000 บาท ทางบริษัททสมาชิกก็ยังมีเงินเหลืออีกประมาณเดือนละ 80,000 บาท

เอกพัฒน์ วิเชียรแพทยาคม กรรมการผู้จัดการบริษัทอีอาร์เออรัลเรียลตี้ จำกัด จบจากคณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2526 เป้นทนายความอยู่ในบริษัท อเนกแอนด์แอสโซซิเอท ตำแหน่งสุดท้ายก็คือ หัวหน้าแผนกนิติกรรมเกี่ยวกับเรื่องที่ดินมีลูกความหลายรายที่รู้จักมาฝากขายที่ดินและบ้าน แต่ก็ไม่ได้ทำจริงจัง จนกระทั่งมีลูกความคนหนึ่ง คือธีรพจน์ จรูญศรี มาล่าคอนเซ็ตของอีอาร์เอ ให้ผังก็เลยสนใจสมัครเป็นสมาชิก

" ผมเป็นรายแรกที่สมัครเป็นสมาชิกของอีอาร์เอ ประเทศไทย เลยต้องเหนื่อยหน่อย ในคอมพิวเตอร์ยังมีข้อมูลฝากซื้อฝากขายน้อยมาก เพราะระบบนี้ก็ยังใหม่ในเมืองไทยเช่นกัน"

เอกพัฒน์ เล่าว่า ในปีแรกของการตั้งบริษัท กว่าจะขายบ้านหลังแรกได้ ก็ต้องใช้เวลาประมาณ 4 เดือน แต่มาในปีนี้ เอกพัฒน์ สามารถทำยอดขายรวมได้ ประมาณ 80-100 ล้านบาท จากค่าคอมมิชั่น 3% เอกพัฒฯ์ จะได้รายได้ ประมาณ 3 ล้านบาท เนื่องจากสมาชิกรายแรกเอกพัฒฯ์ จึงมีสิทธิพิเศษส่งรายได้เดียง 8% แทนที่จะเป็น 9% ให้กับอีอาร์เอ ประเทศไทย เป็นเงินประมาณ 2.4 แสนบาท เอกพัฒน์เหลือเงินหมุนเวียนในบริษัท 2,760,000 บาท ต่อปี ซึ่งก็นับว่าไม่น้อยเลยปี ก็นับว่าไม่น้อยเลยสำหรับบริษัทที่กำลังเริ่มต้น

" ปกติสินค้าส่วนใหญ่ที่เราขาย ได้จะเป็นทาวยเฮ้าส์หลังละ 1-2 ล้านบาท เกือบทุกเดือน ซึ่งมันก็คุ้มค่าใช้จ่ายของออฟฟิค แต่ถ้าเราขายที่ดินแปลงใหญ่ มันก็คือโบนัสเลยล่ะ"

การซื้อขายที่ดิน จึงมักเป็นสินค้าที่สำคัญอีก ตัวหนึ่ง ที่พ่วงไปกับบริษัทแทนขายบ้านมือสอง

กัลยา วรรณวลี กรรมการผู้จัดการบริษัท อาร์เอ วายจี จำกัด เป็นนักศึกษาคณะพาณิชย์ศาสตร์การบัญชีจากมหาวิทยาศาสตร์ จบมาใหม่ ๆ ไฟกำลังร้อนแรงเลยไปทำงานองค์กรพัฒนาเอกชนเริ่มตั้งแต่ทำงานที่แคมป์ผู้อพยพที่พนัสนิคม ทำโครงการพัฒนาชาวเขา ที่เชียงใหม่ ช่วยชาวเขาปลูกพืชแทนฝิ่นอยุ่หลายปี ก็ถึงจุดหักเหของชีวิตที่ต้องการสร้างหลักฐานของชีวิตที่มั่นคงคงกว่านี้

กัลยา สนใจตลาดบ้ามือสอง แต่ไม่ทราบว่าจะเริ่มอย่างไรเมื่อมีคนรู้จักแนะนำให้รู้จักกับระบบอีอาร์เอ จึงสมัครเป็นสมาชิก

" เป็นมือใหม่จริง ๆ ไม่มีลูกค้าในมือเลยเพราะ ตัวเองก็อยุ่ต่างจังหวัดมาตลอด" กัลป์ยาเล่าให้ " ผู้จัดการ" ฟัง

แต่เป็นเพรราะทำเลที่ตั้งอยุ่ในย่านธุรกิจ คือสยามสแควร์ และขณะนี้ ระบบเครือข่ายอีอาร์เอ ก็เริ่มเป็นที่รู้จัก ธุรกิจของเธอจึงเริ่มเดินหน้าไปได้บ้าง

" แต่ละเดือน ควรจะปิดการขายให้ได้ประมาณ 5-6 ล้านบาท ถึงจะคุ้มค่าใช้จ่าย เพราะค่าเช่าออฟฟิค ย่านนี้แพงมากประมาณ 4.5 หมื่น บาทต่อเดือน แต่ตอนนี้ ยอมรับว่าเรายังทำได้ไม่ถึง แต่คาดว่าปีหน้าเราทำยังทำได้ไม่ถึง แต่คาดว่าปีหน้าเราทำได้แน่"

และเพื่อเป็นการลดต้นทุนของบริษัทกัลยาจำเป็นต้องเปลี่ยนออฟฟิคใหม่ไปอยู่แถวสี่พระยาซึ่งค่าเช่าถูกกว่า

เรียลตี้ เน็ทเวิร์ค เป็นอีกบริษัทหนึ่ง ที่เริ่มจากากรเป็นบริษัทนายหน้าขายบ้านมือสองโดยเปิดบริษัทมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2535 แต่ต่อมาประมาณเดือนมิถุนายน 2537 บริษัทได้เปลี่ยนนโยบายจากการขายมาเป็นองค์กรที่ให้การสนับสนุนตัวแทนขายบ้านมือสอง ในรูปแบบของสมาชิกเครือข่ายโดยสมาชิกสามารถใช้บริการต่าง ๆได้ตามความเหมะสม

ดานิษา โทรางกูร กรรมการผุ้จัดการ บริษัทเรียลตี้เน้ทเวอร์ค ให้เหตุผลจากการเปลี่ยนจากบริษัทตัวแทนตัวแทนมาเป็นบริษัทขายข้อมูลว่า แนวโน้มของคนที่ต้องการบ้านมือสองและคนที่ต้องการบ้านมือสองเพิ่มขึ้นทุกวัน เช่นเดียวกับบรรดานายหน้า ทำอย่างไรให้คนกลุ่มนี้ได้เจอกัน ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ ในระดับราคาที่ซื้อราคาขายที่เป็นธรรมมากที่สุด เรียลตี้เน็ทเวอร์ จึงต้องการหาข้อมลต่าง ๆ ที่จำเป็นไว้บริการลูกค้า

" แน่นอน ว่า ถ้าเราเป็นบริษัทตัวแทนการขาย เราจะมีรายได้จากค่าคอมมิชชั่นมากกว่ากำไรจากากรขายสมาชิกเป็นสิบ ๆ เท่า แต่ในระยะยาวจากากรเติบโตของธุรกิจประเภทนี้ เราเห็นว่ารายได้ในระยะยาวจะดีกว่ามาก ที่สำคัญหากเราทำได้สำเร็จ ก็เท่ากับ ได้ช่วยยกมาตรฐานของผู้ประกอบอาชีพนี้ ให้ดีมีประสิทธิภาพขึ้น" ดานิษา อธิบายเพิ่มเติม

สำหรับบทบาทและหน้าที่ของเรียลตี้เน็ทเวอร์ค นั้นก็คือ การเป็นศูนย์รวมของตลาดด้วยเทคโน
โลยี่เพื่อจะซื้อขายแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ด้วยเทคโนดลยี่ที่ทันสมัยมีการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านกรค้าอสังหาริมทรัพย์ ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจที่ตนทำอยู่ เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทั้งลูกค้าซื้อและลูกค้าขายที่ส่งผ่านให้กับสมาชิก มีการเสนอข่าวสารจ้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกิจ ผลิตเอกสารและอุปกรณ์ ส่งเสริมการขายเพื่อจำหน่ายให้กับสมาชิก เป็นผู้จัดสำนักงานและแหล่งเงินกู้คอยให้บริการแก่สมาชิก รวมทั้งเป็นผู้ดำเนินการด้านการตลาดเพือโปรโมทกิจการของสมรชิกให้เป็นที่รู้จักด้วยระบบของเรียลตี้เน็ทเวอร์ค จะแตกต่างกับระบบของอีอาร์เอ ตรง ผู้ที่เข้ามาใช้บริการของเรียลตี้ไม่จำเป็นจะต้องตั้งเป็นบริษัท เพราะระบบนี้จะครอบคลุมถึงทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง กับการค้าอสังหาริมทรัพย์โดยไม่จำกัดเพียงเจ้าของทรัพย์สินรายย่อย หากรวมไปถึงโครงการจัดสรรบ้าน ที่ดินจัดสรรอาคารชุดซึ่งอยู่ในระหว่างการพัฒนาที่กำลังเปิดขายอยู่ และไม่จำเป็นว่าต้องผ่านนายหน้าเท่านั้น ตัวผู้ขายเองและเจ้าของโครงการก็สามารถนำเสนอทรัพย์สินดังกล่าว และดำเนินเป็นตัวแทนการขายเอง ซึ่งจะสามารถประหยัดค่านายหน้าได้ทั้งหมด หรือขอความรวมมือจากนายหน้าในฐานะตัวแทนผู้ซื้อทำให้ลดค่าคอมมิชชั่นได้ครึ่งหนึ่ง

ดังนั้น ผู้ที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกของเรียลตี้เน็ทเวอร์ค จึงมีได้หลากหลาย เช่นเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ต้องการจะขาย เป็นเจ้าของโครงการที่ต้องการเพิ่มโอกาสในการขาย เป็นนายหน้าที่ต้องการายได้ เป็นโบรกเกอร์ที่ต้องการโอกาสและความมั่นคงทางธุรกิจ หรือเป็นบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

การสมัครเข้าเป็นสมาชิกทางเรียลตี้เน็ทเวอร์ค จึงได้จัดไว้หลายประเภทเพื่อให้เหมาะสมกับผู้ที่จะเข้ามาทำธุรกิจประเภทนี้ คือการเป็นสมาชิกโบรกเกอร์ ( Broker Member) ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นอาชีพโดยมีเงื่อนไขของการรับเป็นสมาชิกคือ จะต้องส่งบุคคลในบริษัทของตนเองเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร R.E. โบรกเกอร์เบื้องต้นจาก เรียลตี้เน็ทเวอร์คหนึ่งคนจะใช้เวลาในการฝึกอบรม 1 เดือน หลังจากนั้นบริษัท
โบรกเกอร์นี้ก็จะได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่นโนว์ฮาว ทั้งหมดถ่ายทอดเป็นหลักสูตรอบรม ได้รับโอกาสขายทรัพย์สินที่ประกาศขายจากสมาชิกทั้งออนไลน์ สมาชิกประเภทนี้จะต้องเสียค่าสมาชิกปีแรก 25,000 บาท ปีต่อไป 10,000 บาท ค่าอบรม 25,000 บาทต่อ 1 คน

สมาชิกตัวแทน ( Agent Member) ประเภทนี้เหมาะกับผู้ทีมีความสนใจในอาชีพการค้าอสังหาริมทรัพย์ แต่ยังไม่พร้อมที่จะเปิดกิจการเป็นโบรกเกอร์เต็มตัว สามารถทำในเวลาว่างจางานประจำได้ ผู้ที่สนใจจะเป็นสมาชิตัวแทนขายได้ต่อเมื่อได้ผ่านการอบรมหลักสูตร R.E. Agent ของเรียลตี้เน็ทเวอร์ค ซึ่งจะใช้เวลา 3-5 วัน สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับก็คือสามารถทำการขายทรัพย์สินที่ประกาศขายจากผู้ขายโดยตรงในฐานะสมาชิกผู้ขายหรือจากโครงการประกาศขาย โดยสมาชิกโครงการ และประกาศขายจากสมาชิกโบรกกอร์ในฐานะตัวแทนผู้ขาย โดยที่จะต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนผู้ซื้อพาผู้ซื้อเข้าเลือกชมทรัพย์สินดังกล่าว และให้คำแนะนำปรึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ซื้อและรับค่านายหน้าตามอัตราที่ได้ตกลงล่วงหน้าจากเรียลตี้เน้ทเวอร์ค

สมาชิกตัวแทนขายนี้ ต้องเสียค่าสมาชิกปีละ 5,000 บาท ค่าอบรม 7,500 บาท

สมาชิกผู้ขาย ( Owner Member) เหมาะสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ นักลงทุนที่มีทรัพย์สินที่ต้องการขายหรือมีการซื้อมา-ขายไปอยู่เป็นประจำ และมีความประสงค์ที่จะเข้ามามีบทบาทในฐานะตัวแทนผู้ซื้อ และกลุ่มโบรกเกอร์ โดยที่สมาชิกผู้ขายยินยอมจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้แก่ตัวแทนในฐานะผู้ซื้อ ซึ่งเป็นการตกลงล่วงหน้าไว้กับ เรียลตี้เน็ทเวอร์ค ทางเรียลตี้ฯ จะทำการอบรมให้แก่สมาชิกู้ขายเป็นเวลา 1 วัน เพื่อให้เข้าใจถึงกฏเกณฑ์และองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการซื้อ-ขายในภาวการณ์ตลาดปัจจุบัน

วิธีการนี้ ดานิษา ย้ำว่า จะช่วยให้สมาชิกที่ต้องการดูแลรับผิดชอบการขายด้วยตนเองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถปิดการขายด้วยตัวเอง ในขณะเดียวกัน ถ้าเขาขายทรัพย์สินในราคา 1 ล้านบาท หากผ่านโบรกเกอร์จะต้องเสียค่าคอมมิชชั่น 3% คือประมาณ 30,000 แต่ถ้าเข้ามาเป็นสมาชิกผุ้ขายจะเสียค่าสมาชิกเพียง 5,000 บาท เท่านั้น และยังเรียนรู้วิธีการขาย สามารถเข้าถึงข้อมุลการขาย อีกด้วย

ประเภทสุดท้าย คือสมาชิกโครงการ ( project Member) เหมาะสำหรับโครง
การที่กำลังเปิดขายอยู่โดยสามารถที่จะเจากลุ่มผู้ซื้อโดยตรงด้วยการลงประกาศขายในคู่มือซื้อ-ขาย ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลในลักษณะ listing เก็บเข้า เป็นหมวดหมุ่ และเป็นการเปิดขายที่กำลังบริการผู้ซื้อในทำเลต่าง ๆ ได้มีโอกาสนำเสนอบ้านในโครงการให้แก่ลุกค้า

วิธีการนี้เป็นการเปิดโอกาสให้นายหน้าอาชีพได้ช่วยขายเป็นทีมเสริมโดยทางโครงการจะเป็นผู้จ่ายค่าคอมมิชชั่นให้แก่สมาชิกเหล่านั้นในฐานะตัวแทนผู้ซื้อ ตามอัตราที่ได้ตกลงล่วงหน้าไว้กับเรียลตี้เน็ทเวอร์ค ซึ่งควรจะอยู่ระหว่าง 1-2% ของราคาขาย ค่าสมาชิกประเภทนี้ 10,000 บาทต่อปี

ขณะนี้ เรียลตี้ เน็ทเวอร์ค กำลังเปิดรับสมัครสมาชิกทั้ง 4 ประเภทนี้อยู่ โดยจะให้บริการได้ประมาณ ต้นเดือนมกราคม ช่วงนี้ขึงเป็นช่วงที่พัฒนาระบบการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ

สำหรับแนวโน้มตลาดบ้านมือสองในบ้านเรานี้ คาดว่าในระยะเวลาใกล้ ๆ นี้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนขึ้นในหลายๆ เรื่อง เช่น การขยายตัวจะเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วน 20-30% ของการซื้อขายบ้าน ใหม่ในปี 2538บริษัทตัวแทน และบรรดานายหน้าต่าง ๆ จะเห็นความสำคัญของการสมัครเป็นสมาชิกเครือข่าย หรือการอบรมและพัฒนาบุคลากรของตนมากยิ่งขึ้น

นอกจากบริษัทนายหน้าต้องมีความรู้มาก ขึ้นแล้ว ยังต้องคอยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ซื้อและผู้ขายมากที่สุด โดยเฉพาะในด้านการหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ รวมทั้งสามารถในการกำหนดราคาขายให้เป็นไปได้มากที่สุด การสร้างความสัมพันธฺ์เชิงธุรกิจที่เชื่อมโยงกับปริษัทประเมินราคาและสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ เป็นเรื่องที่ต้องแข่งขันกันมากขึ้นเช่นกัน

เมื่อประกอบกับการจัดเก็บข้อมูลที่ทันสมัยรวดเร็ว และเป็นข้อมุลล่าสุดในตลาดซื้อขายบ้าน รวมทั้งการฝึกปรือกลยุทธ์ต่าง ๆ อย่างเข้มข้น อย่างสม่ำเสมอของบริษัทขายข้อมูลนี้ จะเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะทำให้ผู้ประแอบอาชีพนี้ ประสบความสำเร็จ และเป็นการพัฒนาธุรกิจด้านนี้ให้มีประสิทธิภาพได้รับการยอมรับจากคนทั่วไปมากขึ้น พร้อม ๆ กับนายหน้าแบบเก่า ๆ ที่ไม่มีความรู้ค่อย ๆ หายไป



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.