อินเสียด หรือ Insead คือสถาบันการศึกษา ด้านบริหารธุรกิจในระดับสูง กว่าปริญญาตรีที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป
ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้ชื่อว่า มีบรรยากาศการเรียนการสอน
และหลักสูตรที่มีลักษณะนานาชาติมากที่สุด แห่งหนึ่งของโลก
เมื่อ 15 ปีที่แล้ว อินเสียด ได้ก่อตั้ง " ยูโร-เอเชีย เซ็นเตอร์"
( ERRO-ASIA CENTRE) ขึ้นมาเพื่อศึกษา ค้นคว้า วิจัย และรวบรวมกรณีศึกษาของธุรกิจที่เกิดขึ้นในแถบเอเชีย
เพื่อพัฒนาเป็นหลักสูตรเฉพาะให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของแต่ละชาติ
โดยแนวความคิดว่า ถึงแม้กระบวนการในการบริหารธุรกิจจะเป็นหลักสากล แต่วัฒนธรรมทางธุรกิจที่แตกต่างกันของแต่ละชาติ
ทำให้จำต้องมีการพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกบความเป็นจริงของแต่ละที่ ไม่ใช่ใช้แต่สูตรสำเร็จทางการบริหารของชาติตะวันตกเป็นแม่บท
ยูโร-เอเชีย เซ็นเตอร์ ได้ติดตามสถานการณ์ของแต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชีย
ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อบริษัทที่ทำธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง
ๆ นอกจากนี้ ยังได้ศึกษากลยุทธ์ และผลประกอบการทางธุรกิจของ 120 บริษัท ชั้นนำในภุมิภาคนี้
ทั้งยังได้ศึกษาค้นคว้าการบริหารด้านบุคคล การตลาด การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและอื่น
ๆ
ข้อมูลจากการศึกษาเหล่านี้ คือวัตถุดิบสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรของอินเสียด
ทั้งที่เป็นหลักสูตรมาตรฐานและหลักสูตรเฉพาะที่ได้ร่างขึ้นเป็นพิเศษสำหรับการฝึกอบรมผู้บริหาร
ของบริษัทธุรกิจชั้นนำของเอเชีย อย่างเช่น เคเบิ้ล แอนด์ ไวร์เลส ในฮ่องกง
ซานมิเกล ของฟิลิปปินส์ สิงคโปร์แอร์ไลน์ ฯลฯ
เมื่อปี 1993 อินเสีย เป็นรายแรกที่จัดหลักสูตรเกี่ยวกับการทำธุรกิจในประเทศเวียดนาม
และในปีนี้ได้เริ่มค้นหว้าและพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับการทำธุรกิจในประเทศจีน
สำหรับบริษัทไย มีกิจการชั้นนำหลาย ๆ แห่ง ที่ส่งเจ้าหน้าที่ระดับบริหารไปร่วมอบรทหลักสูตรการบริหารไปร่วมอบรมหลักสูตรการบริหารธุรกิจระยะสั้น
ของอนิเสียด เช่นธนาคารกรุงเทพ, อินซ์เคปและบริษัทปูนซิเมนตร์ไทย เป็นต้น
สุภัทร ตันสถิติ นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย เป็นคนหนึ่งที่เคยเข้าร่วมอบรมหลักสูตรระยะ
6 สัปดาห์ ของอินเสียด ซึ่งคิดค่าใช้จ่ายประมาณ 6 แสนบาท ประสบการณ์ในครั้งนั้น
ทำให้เกิดความคิดว่า นักธุรกิจไทยน่าจะมีโอกาสได้เรียนรู้วิทยากรการจัดการเพื่อพัฒนาตัวเองและองค์กรให้ทันต่อโลก
ในยุคโลการนุวัตร โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปถึงฝรั่งเศส และเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง
" ถ้าจะทำจริง ๆ เราสามารถทำได้ถูกกว่า แถมยังประหยัดค่าเครื่องบินอีกด้วย
ความจริง เงิน 3 แสนบาท สำหรับหลักสูตร 3 สัปดาห์ และเงิน 6 แสนบาทสำหรับ
6 สัปดาห์ ไม่ได้แตกต่างกันเลย แต่ข้อได้เปรียบของการอบรมในเมืองไทยนั้น
อยู่ที่การออกแบบหลักสุตรให้มีลักษณะเฉพาะเหมาะสม ต่อการนำมาใช้จริงกับธุรกิจในประเทศ
และให้มีระยะเวลาการอบรมสั้นและกระชับเพื่อลดค่าใช้จ่ายลง" สุภัทร พูดถึงแนวความคิดในการดึงอินเสียด
เข้ามาในเมืองไทย
อีกคนหนึ่งที่คิดคล้าย ๆ กัน คือ นิกร วิวัฒนพนม คณบดี คณะบริหารธุรกิจ
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า
" ผมตั้งใจมานานแล้ว จนได้มาปรึกษากับคุณสุภัทรา ซึ่งต่างก็มีแนวความคิดที่ตรงกันในการที่จะรับเอาอินเสียดเข้ามาช่วย
โดยที่ไม่ทราบมาก่อนเลยว่า คุณสุภัทร ได้ทามทามอินเสียด และประสานงานล่วงหน้ามาตั้งนานแล้ว
ขณะนี้เรากำลังจัดสร้างตึกใหม่ขึ้นเพื่อรองรับหลักสูตรดังกล่าว" นิกร
กล่าว
ดังนั้น แผนการสถาบัน อินเสียด ยูโร-เอเชีย เซ้นเตอร์ เข้ามาสร้างหลักสูตรสำหรับนักธุรกิจไยโดยเฉพาะจึงเกิดเป็นจริงขึ้นมา
และมีการลงนามในความรวมมือระหว่างสถาบันนิค้ากับสมาคมการตลาดและคณะบริหารธุรกิจนิด้าไปแล้ว
เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา สาระสำคัญของความร่วมมือของ 3 องค์กร คือการจัดสร้างหลักสูตรและการเปิดอบรมการบริหารธุรกิจระดับสูงสำหรับภูมิภาค
สำหรับอินเสียด การเข้ามาเมืองไทยในครั้งนี้ คือการส่งออกสินค้าของสถาบัน
คือการศึกษา เข้ามาสร้างฐานการตลาดในภูมิภาคที่มีความเติบโตทางเศรษฐกิจสุงที่สุดของโลก
" ประเทศไทยเป้นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคญของประเทศ ในแถบอินโดจีน และเอเวีย
แปซิฟิก การที่ได้มีโอกาสเข้ามาร่วมมือกับสององค์กรที่สำคัญของไทยในครั้งนี้
จะส่งผลดีทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพทางธุรกิจ ไม่เพียงต่อองค์กรธุกริจของไทยเท่านั้น
บริษัทต่าง ๆ ที่อยู่ในภูมิภาคนี้ย่อมจะได้รับประโยชน์เช่นกัน" เคนเนท
สมิธ ผู้อำนวยการสถาบันอินเสียด ยูโร-เอเชีย เซ้นเตอร์ กล่าว
ความตั้งใจของผู้ร่วมก่อตั้งหลักสูตรอบรมในครั้งนี้ นอกจากจะเพื่อรองรับนักธุรกิจในไทยแล้ว
ยังคาดหวังถึงกลุ่มบริษัทธุรกิจในประเทศใกล้เคียงด้วย เพราะหลักสูตรนี้จะเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ
ที่ใช้ระยะสั้นกว่า และค่าใช้จ่ายถูกกว่าการส่งคนไปเรียนที่ปารีส โดยตรง
ในระยะแรกนี้ ทางอินเสียด วางแผนไว้ว่าจะเปิดหลักสุตรระยะ 3 สัปดาห์ ที่ช่วงต้นปีหน้าก่อน
โดยคิดค่าใช้จ่ายประมาณ 3 แสน บาท สำหรับหลักสูตรบริหารธุรกิจระดับปริญญาโทหรือเอ็มบีเอ
นั้น จะเป็นโครงการในระยะต่อไปซึ่งอาจจะเป็นอีก 2 ปีหลังจากนี้
" เมื่อเปรียบเทียบกับทางศศินทร์แล้ว อินเสียด มีความแตกต่างาด้านวิธีการในการถ่ายทอดและโครงสร้างของหลักสูตร
ศศินทร์นั้นดำเนินการในแบบอเมริกัน สไตล์เพราะเป็นการร่วมมือกับเคลล็อกและวาร์ตัน
สกุล ส่วนอินเสียดนั้นใช้แบบยูโรเปียน สไตล์ จึงไม่มีความซ้ำซ้อนกันอย่างแน่นอน"
นิกร อธิบาย
ความเหมือนหรือความต่างกับหลักสูตรนำเข้าจากต่างประเทศที่นำเข้ามาในไทย
ไม่ว่าจะเป็นของศศิ
นทร์ หรือโครงการปริญญาโทด้านการตลาด ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นั้น คงจะไม่ใช่ข้อได้เปรียบหรือเสียเปรียบสำหรับผู้มาใหม่อย่างอินเสียด
หากเป็นทางเลือกใหม่ของธุรกิจไทย และเพื่อนบ้าน ที่จะพัฒนาตัวเองตามให้ทันกับโลกที่หมุนเร็วขึ้น
ในทิศทางที่ต่างไปจากเดิม