เกิดอะไรขึ้นกับอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ และโบรกเกอร์หลังจากค่าธรรมเนียม
(คอมมิชชั่น) ถูกปล่อยเสรี พวกเขาจะสามารถอยู่รอดได้อย่างไร
หลังจากนโยบายทางการปล่อยเสรีค่าธรรมเนียมถึงฟลอร์ ที่ศูนย์เปอร์เซ็นต์ ก่อให้เกิดการแข่งขันโดยหลายโบกเกอร์ได้มีการลดค่าคอมมิชชั่นลง เพื่อแย่งชิงลูกค้า
นักวิเคาะห์หลายแห่งทำนายว่า มีเพียงโบรกเกอร์ไม่กี่รายเท่านั้น ที่จะอยู่รอดตามทฤษฎีของดาวิน
คือ ผู้ที่แข็งแกร่งเท่านั้น จึงจะอยู่รอด
เพื่อความอยู่รอด และเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน สิ่งจำเป็นที่สุด คือ การให้บริการที่มีประสิทธิภาพในราคา ที่ประหยัด
ดังนั้น เทคโนโลยี และการค้าอิเลคทรอนิกส์จึงเป็นทางออก ที่เหมาะสม
เมื่อการค้าแบบอิเลคทรอนิกส์ เป็นแนวโน้มของการลงทุนในการซื้อขายหลักทรัพย์
ซึ่งในสภาพ ที่โบรกเกอร์ไม่มีค่าธรรมเนียมนั้น จะทำให้ต้นทุนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น
อินเทอร์เน็ต เทรดดิ้งจะเป็นตัวช่วยในอนาคต
ดังนั้น บรรดาบริษัทหลักทรัพย์ต่างก็ต้องพึ่งพาผลิตภัณฑ์บริการการซื้อขายหลักทรัพย์
และผลิตภัณฑ์ด้านข้อมูลข่าวสาร ที่รวมกันเป็นโซลูชั่นแบบครบวงจรสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ออนไลน์
ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์จะได้รับประโยชน์เมื่อใช้ระบบการซื้อขายออนไลน์ รวมไปถึงข้อมูลทางการตลาด
บริษัทโค้ตพาวเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (คิวพีไอ) จึงเกิดขึ้น เพื่อสนองตอบลูกค้าทางด้านระบบ และข้อมูลข่าวสารด้านการซื้อขายหลักทรัพย์แบบอิเลคทรอนิกส์ให้กับกลุ่มบริษัทการเงิน และหลักทรัพย์ในแถบเอเชีย
คิวพีไอให้บริการเทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับธุรกิจการเงิน และหลักทรัพย์
ซึ่งช่วยเหลือให้รักษาความสามารถในการแข่งขันในโลกธุรกิจปัจจุบันด้วยแพลตฟอร์มการซื้อขายทางอิเลคทรอนิกส์
เครือข่ายระหว่างโบรกเกอร์ (inter-broker) ธนาคาร (inter-bank) และตลาด (cross-market-inter-bank)
รวมถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์
"ธุรกิจของเรา ให้บริการระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ และข้อมูลข่าวสารด้วยระบบอิเลคทรอนิกส์
ซึ่งรวมโซลูชั่นครบวงจรสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ออนไลน์ในตลาดต่างๆ นับจากการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยระบบอิเลคทรอนิกส์
การควบคุม และการจัดการความเสี่ยง ระบบบริหารงานส่วนหลังสำหรับตลาดในหลากหลายประเทศ
(muti-market)" เท็ด ซิส ประธานเจ้าหนี้ ที่บริหารคิวพีไอกล่าว
สำหรับในประเทศไทย คิวพีไอประกาศว่าเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่น ที่ครบวงจรสำหรับตลาดการเงิน และธุรกิจหลักทรัพย์
โดยให้บริการกับทั้งโบรกเกอร์ และนักลงทุนในประเทศ ตั้งแต่อินเทอร์เน็ต เทรดดิ้ง
การเสนอราคาแบบเรียลไทม์ อินเทอร์เน็ต เว็บ รวมไปถึงการเรียกดูหุ้นเรียลไทม์ ที่เรียกว่า
QuotePower STB และการรายงานราคาหุ้น ข้อมูลด้านเครดิต และการซื้อขายหุ้นผ่านระบบเสียงของโทรศัพท์แบบอินเทอร์แอคทีฟ
ที่เรียกว่า Interactive Voice Response System (IVRS)
ปัจจุบัน นักลงทุนรายย่อยในประเทศไทยกว่า 60% ไม่ชอบใช้คอมพิวเตอร์บุคคล
(PC) หรือไม่มีความถนัด รวมถึงความไม่พร้อมหรือลังเลในการที่จะซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
ซึ่งยังใช้วิธีซื้อขายแบบเดิมๆ อยู่
เมื่อเทียบกับนักลงทุนในฮ่องกง 99% จะใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อทำการซื้อขายหลักทรัพย์
ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวกำลังจะเข้าได้รับความนิยมในหมู่นักลงทุนในประเทศไทย
"เรามองเห็นอนาคต จึงได้พัฒนา QuotePower STB และ IVRS ซึ่งเป็นระบบการซื้อขายหุ้นเรียลไทม์
ซึ่งง่ายต่อการใช้งานสำหรับนักลงทุน ที่ไม่ชอบใช้ PC" อัล เบียน กรรมการผู้จัดการคิวพีไอ
(ประเทศไทย) บอก
ด้วยการให้บริการระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ทางอิเลคทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์ด้านข่าวสาร
ซึ่งประกอบไปด้วยโซลูชั่น ที่รวมการทำงานของระบบต่างๆ (cross border) แพลตฟอร์ม ที่หลากหลาย
(multu-platform) และโซลูชั่นด้านการซื้อขายหลักทรัพย์ออนไลน์
ลูกค้าของคิวพีไอจะได้รับความหยืดหยุ่นในการเลือกใช้ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ออนไลน์
ทั้งในส่วนข้อมูลการตลาดแบบเรียลไทม์ทุกมุมโลกไปจนถึงการจัดการความเสี่ยงในตลาดรวม
(multi-market risk management) คิวพีไอจึงพยายามเหลือเกิน ที่จะยืนอยู่แถวหน้าของธุรกิจตนเอง
"เราต้องการเป็นอันดับหนึ่งของผู้ให้บริการเทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับตลาดการเงิน และหลักทรัพย์
การสร้างเครือข่ายระหว่างธนาคาร และโบรกเกอร์ และการให้ข่าวสารด้านการเงินแบบเรียลไทม์"
ซิสบอก
เมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมาคิวพีไอ (ประเทศไทย) ได้เป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีกับบล.เอกธำรง
เคจีไอ และบล.ทิสโก้ นอกจากนี้ยังมีลูกค้ามากกว่า 3,000 รายทั่วประเทศ
ความจริงแล้วการดำเนินธุรกิจของคิวพีไอในประเทศไทย แม้ว่าจะเป็นชื่อใหม่ของวงการ
แต่การทำธุรกิจแล้วถือว่ามีประสบการณ์นานพอสมควร เมื่อได้รวมกิจการกับบริษัทยูนิเทค
(เอเชีย) ด้วยการแลกหุ้นมูลค่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี
2535
สำหรับคิวพีไอ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2540 โดยเท็ด ซิส ร่วมกับทีมงาน เพื่อสร้างสรรค์แพลตฟอร์มด้านซื้อขายหลักทรัพย์อิเลคทรอนิกส์ให้กับกลุ่มบริษัทการเงิน และหลักทรัพย์ในเอเชีย
ปลายปี 2541 Applied Research Fund (ARF) ของรัฐบาลฮ่องกงได้เข้ามาลงทุนด้วยเม็ดเงิน
8 พันล้านเหรียญฮ่องกงในบริษัทในฐานะผู้ถือหุ้นหลัก ต่อมาได้รวมกิจการกับบริษัท
ABC Communications (ABC) ด้วยมูลค่ากว่า 22 ล้านเหรียญสหรัฐ
ปัจจุบันคิวพีไอมีฐานลูกค้าหลักอยู่ในฮ่องกง และได้ขยายการดำเนินธุรกิจไปยังภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
รวมถึงญี่ปุ่น และอเมริกาด้วย ซึ่งในอนาคตจะขยายธุรกิจเข้าไปในจีน ฟิลิปปินส์
ออสเตรเลีย โดยกลยุทธ์ในการขยายฐานธุรกิจผ่านการเปิดสาขา ควบกิจการรวมไปถึงการเข้าร่วมลงทุนกับบริษัทท้องถิ่น
ถึงแม้ว่าธุรกิจของคิวพีไอจะเป็นธุรกิจ ที่มีอนาคต เนื่องจากกระแสของเทคโนโลยีกำลังได้รับความนิยมจากสถาบันการเงิน และธนาคารพาณิชย์
อย่างไรก็ตามมีกี่ประเทศ ที่เกาะกระแสไปตามเทคโนโลยีดังกล่าว
หากสังเกตประเทศ ที่คิวพีไอเข้าไปขยายฐานลูกค้ามีไม่กี่ประเทศ ที่กระตือรือร้น ที่จะทำธุรกิจด้วยเทคโนโลยี
ขณะที่ญี่ปุ่น และอเมริกาถึงแม้ว่าคิวพีไอจะเข้าไปรุกตลาดแต่ท่มกลางการแข่งขัน ที่รุนประกอบกับความเป็นหน้าใหม่ของวงการย่อมต้องใช้เวลาในการสร้างฐานพอสมควร
นับตั้งแต่ปี 2540 จนถึงเดือนมีนาคมปีที่ผ่านมา คิวพีไอขาดทุนสุทธิในตัวเลขประมาณ
7 ล้านเหรียญฮ่องกง โดยมีสินทรัพย์ทั้งหมดใกล้เคียงกับตัวเลขผลขาดทุน และมีหนี้สินประมาณ
2 ล้านเหรียญฮ่องกง
จากเดือนมีนาคม 2542 จนถึงเดือนตุลาคมปีเดียวกัน คิวพีไอขาดทุนสุทธิประมาณ
8.8 ล้านเหรียญฮ่องกง โดยมีสินทรัพย์รวมประมาณ 6.1 ล้านเหรียญฮ่องกง และหนี้สินประมาณ
2.2 ล้านเหรียญฮ่องกง
อย่างไรก็ตาม นโยบายการดำเนินธุรกิจของคิวพีไอจะยังคงขยายไปยังภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่องจนถึงปีหน้า
ซึ่งผู้บริหารเชื่อมั่นว่าบริษัทจะมีสร้างกำไรได้ในปี 2545