เดินหน้าเบิกจ่ายงบออนไลน์ กำหนดนโยบายคลังได้ทันที


ผู้จัดการรายวัน(4 กุมภาพันธ์ 2546)



กลับสู่หน้าหลัก

แบงก์กรุงไทย-ออมสิน เตรียม ลงทุน 2 พันล้านบาท เป็นแม่ข่ายเดินหน้าโครงการ ปรับปรุงการบริหารงานการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เรียลไทม์ ตามนโยบายทักษิณ เพื่อ ให้การบริหารการเงิน-การคลังของประเทศ ทั้งระบบ เข้าสู่ระบดิจิตัลสมบูรณ์แบบ เป็นเส้นเลือด ใหญ่สู่ระบบไฮเวย์การบริหารการเงิน-การคลังที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็น ส่วนสำคัญนำไปสู่ e-Government เป็นเครื่องมือ กำหนดมาตรการการคลังตรงจุด พลิกฟื้นเศรษฐกิจ ไทยเติบโตยั่งยืน

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มี นโยบายจะปรับปรุงระบบบริหารงานการคลังภาครัฐ ที่เกี่ยวกับระบบเบิกจ่ายงบประมาณ ระบบบัญชี ระบบจัดซื้อและว่าจ้างมาตรฐาน ระบบบริหารหนี้สาธารณะ ฯลฯ
โดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ถูกต้อง รวดเร็วตรวจสอบได้ และมอบหมายธนาคารกรุงไทย ซึ่งมีเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ และมีประสบ- การณ์ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ลงทุนจัดหา และจ้างผู้เชี่ยวชาญ สนับสนุนการศึกษา ออกแบบ และติดตั้งระบบให้ภาครัฐ

นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะอนุกรรม-การกำกับการดำเนินการ ตามโครงการปรับปรุงระบบบริหารงานการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เปิดเผยว่านายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ และคณะรัฐมนตรี กำหนดนโยบายจะปรับปรุงระบบบริหารงานการคลังภาครัฐ

ที่เกี่ยวกับระบบเบิกจ่ายงบประมาณ ระบบ บัญชี ระบบจัดซื้อและว่าจ้างมาตรฐาน ระบบบริหารหนี้สาธารณะ ระบบทรัพยากรบุคคลและ เงินเดือน ระบบชำระเงิน ระบบตรวจสอบ ระบบ ข้อมูลสารสนเทศ และประเมินผลให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์

ถือว่าเป็นระบบการเงินการคลังภาครัฐของ ประเทศ (Central Database) ทั้งเกณฑ์เงินสด และเกณฑ์เงินคงค้าง รัฐบาลยังสามารถใช้เป็น เครื่องมือควบคุมการบริหารงบประมาณการ รับและเบิกจ่ายโอนเงิน การตรวจสอบ ให้มีประสิทธิภาพ

เชื่อมรับ-จ่ายเงินครบวงจร

โดยจะเชื่อมโยงการรับจ่ายเงินของภาครัฐทั้งหมด ให้เป็นเครือข่ายครบวงจร เป้าหมายจะดำเนินการ ทำระบบให้สมบูรณ์ส่วนกลางระยะแรก ระยะต่อไป จะกระจายสู่ทุกๆ ส่วนราชการ หน่วยงานกระทรวง ทบวง กรม และคู่สัญญาสมบูรณ์แบบต่อไป

มอบหมายธนาคารกรุงไทย ในฐานะรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง และคู่สัญญา รัฐ มีประสบการณ์ และความสามารถติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ ธนาคารกรุงไทยจะลงทุนจัดหา และจ้างผู้เชี่ยวชาญ สำรวจออกแบบระบบ และติดตั้งระบบให้ภาครัฐ ในฐานะ Service Provider ให้ก่อน และทำความตกลงดำเนินการ กับภาครัฐต่อไป

พร้อมทั้งจะประสานกับหน่วยงานราชการ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดระบบ ให้ส่วนราชการใช้มาตรฐานเดียวกัน

ดำเนินงาน 2 ระยะ

การดำเนินงาน จะแยกเป็น 2 ระยะ คือระยะแรก หาผู้เชี่ยวชาญศึกษาระบบงาน และออกแบบระบบ โครงสร้างบริหารงานคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านความเห็นชอบจากหน่วยงานราชการ และคณะกรรมการ โดย รวบรวม และเชื่อมโยงการบริหารงบประมาณสำนักงานงบประมาณ สร้างระบบบัญชีเงินสด และระบบบัญชีเงินคงค้างเบิกจ่ายและโอนเงิน

การบริหารภาษี บริหารหนี้ ระบบการตรวจสอบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบทางบัญชี กำหนดมาตรฐาน Hardware และ Software ของระบบ GFMIS ทุกด้าน แบ่งเป็นระบบบริหารงบประมาณ และระบบเบิกจ่ายโอนเงิน ออกแบบระบบงานหลัก เช่น สร้างศูนย์ ข้อมูลพื้นฐาน จัดทำ จัดสรรอนุมัติงบประมาณ การบริหาร เบิกจ่าย ระบบบัญชี การกำกับตรวจสอบและติดตาม

การบริหารเงินสด บริหารหนี้สาธารณะ รับ-จ่าย การประเมินผลจัดซื้อจัดจ้าง ควบคุมต้นทุน บริหารบุคคล สร้างข้อมูลการเงิน ประเมินผล รายงานผล และข้อมูลเชิงวิเคราะห์ กำหนดระบบงาน และขั้นตอนวิธีปฏิบัติงาน

ตลอดจนจัดทำคู่มือสำหรับใช้ การปฏิบัติงาน ออกแบบระบบการ Integrate ระบบต่างๆ ที่ใช้ปัจจุบัน ให้เข้าสู่ระบบ GFMIS

ระยะที่ 2 สร้างระบบเชื่อมโยงเครือข่าย และตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ Implement และ Integrate ระบบงานที่มีอยู่ ติดตามและประเมินผล

ขณะนี้ ธนาคารกรุงไทยจัดหาที่ปรึกษา คือ บริษัท ที.เอส.อินฟอร์เมชั่น ซิสเท็มส์ จำกัด ที่จะออกแบบระบบโครงสร้างตามความต้องการของรัฐ ซึ่งต้องเสนอคณะกรรมการธนาคารพิจารณาภายใน 90 วัน และดำเนินการจัดหา ติดตั้งระบบฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของรัฐระยะต่อไป

ตรวจสอบผ่านระบบออนไลน์ได้ทันที

โครงการนี้ ถือเป็นการปฏิรูประบบการเงิน การคลังภาครัฐครั้งสำคัญ เป็นการบริหารการใช้จ่ายเงินของรัฐให้มีประสิทธิภาพ สามารถติดตามและตรวจสอบได้ Online และ Realtime เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานรัฐ และประชาชน โดยตรง

ทางด้านนายนิพัทธ พุกกะณะสุต หนึ่งในคณะที่ปรึกษานโยบายนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าโครงการ GFMIS จะมีประโยชน์ฐานข้อมูลรวมศูนย์ (Database System) ระบบสื่อสารข้อมูลที่ดี (Data Communication Network) และระบบรับจ่ายเงินทั่วประเทศครบวงจร เชื่อม โยง และเป็นระบบบริหารเงินทุกๆ หน่วยงานของรัฐ ที่เป็นระบบเดียวกัน

ลดขั้นตอนเบิกจ่าย

ลดการปฏิบัติซ้ำซ้อน ลดค่าใช้จ่าย รวมทั้งสามารถบริหารกำกับและตรวจสอบได้ จาก เดิมที่จะใช้ระบบเอกสารที่มีขั้นตอนมาก และยังไม่สามารถทราบบัญชีทันที

เรื่องระบบข้อมูล จะมีระบบข้อมูลเดียวกัน สามารถบริหารเงินได้ดี บริหารระบบการคลัง การ รับจ่ายเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถบริหาร เงินสดและหนี้สาธารณะให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทราบฐานะการคลังประเทศทุกขณะแบบ Real Time และประเมินผลปฏิบัติงานโครงการทั้งหมด ของรัฐ
กำหนดมาตรการการคลังได้ทันที

เพื่อปรับทิศทาง กลยุทธ์ และนโยบาย ให้ สอดคล้องสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อกำหนดมาตรการการคลัง กระตุ้นเศรษฐกิจได้ทันทีเมื่อต้องการ

การเลือกธนาคารกรุงไทย ถือว่าเป็นหน่วย งานรัฐที่มีประสบการณ์ และระบบคอมพิวเตอร์บางส่วนอยู่แล้ว ซึ่งอนาคตรัฐบาลต้องการจะให้มีสาขาให้บริการทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ ตามองค์การบริหารตำบล อาจต้องใช้ธนาคารออมสิน ช่วยระบบนี้ด้วย

โดยช่วงแรกจะทำระบบและเชื่อมโยงเครือ ข่ายหน่วยงานหลักๆ ก่อน คือสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ระบบเงินกู้ สำนักงาน บริหารหนี้สาธารณะ หลังจากนั้น จะขยายเครือข่ายทั่วทุกหน่วยงาน

แบงก์กรุงไทยลงทุน 2 พันล้านบาท

ทางด้านนายวิโรจน์ นวลแข กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่าธนาคารจะลงทุน ระบบคอมพิวเตอร์ เชื่อมโยงเครือข่าย คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท ถือเป็น การลงทุนคุ้มค่ามาก

เพราะเมื่อระบบสมบูรณ์จะช่วยบริหารเงินงบประมาณมีประสิทธิภาพมากที่สุด จากปัจจุบัน ที่ยังไม่ทราบว่า เงินถูกโอนไปจุดใดบ้าง ต้องหา ทีละขั้นตอน แต่ต่อไปจะสามารถเปิดดูจอคอมพิวเตอร์สามารถเช็กได้ทั้งระบบ

ธนาคารกรุงไทยจะได้เงินจากการให้บริหาร รับ-จ่ายเงิน หรือโอนเงิน คือระบบชำระเงินทั้งหมดของหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานอื่นๆ ต้องผ่านธนาคารหมด ขณะนี้กำลังศึกษาว่า ต้อง เสียค่าใช้จ่ายเท่าใด เพื่อคำนวณหาการคิดค่าธรรมเนียมแต่ละรายการ

ถือเป็นวงเงินมาก ปกติทุกปี จะมีเงินงบประมาณปีละ 1 ล้านล้านบาท หากแยกเป็นการ ทำรายการต่อวัน ถือว่ามหาศาล



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.