ซอฟท์แบงก์จะหาทางออกจากภาวะหนี้ท่วมอย่างไร?


นิตยสารผู้จัดการ( ธันวาคม 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

ขณะที่ธุรกิจอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ เน้น ที่การพึ่งเงินจากนักลงทุน เพื่อเป็นแหล่งระดมทุนดอกเบี้ยต่ำสำหรับธุรกิจความเสี่ยงสูง ซอฟท์แบงก์กลับเน้น ที่การระดมเงินด้วยการกู้ยืม เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร

ในฐานะธุรกิจยักษ์ใหญ่แห่งอินเทอร์เน็ต ซอฟท์แบงก์กลับระดมทุนด้วยการกู้ มากกว่าจะระดมทุนผ่านตลาดทุนเช่นกิจการอื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่ในภาวะเช่นปัจจุบัน บริษัทอินเทอร์เน็ตทั่วไปมักจะเน้นขายหุ้นของตนเอง และขายธุรกิจ ที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักออกไป เพื่อความอยู่รอด

ซอฟท์แบงก์ได้เคยกำหนดกลยุทธ์การลงทุนทั่วโลกโดยเน้นตลาดทุนมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ไม่ประสบผล บริษัทฯ จึงต้องมุ่ง ที่การออกหุ้นกู้ เพื่อระดมเงินแทน แต่ในภาวะ ที่ธุรกิจอินเทอร์เน็ตมีความเสี่ยงสูงมากเช่นนี้ พวกนักลงทุนจึงเริ่มหวั่นวิตก

ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม ซอฟท์แบงก์มีหนี้ระยะกลาง และระยะสั้นรวมกันทั้งสิ้นราว 2,800 ล้านดอลลาร์ หนี้ส่วนใหญ่ถึงกำหนดชำระคืนในอีก 4 ปีข้างหน้า ในจำนวนนี้ มีหนี้มูลค่าราว 1,900 ล้านเหรียญ ที่อยู่ในรูปของหุ้นกู้ถือครองโดยนักลงทุน บริษัทฯ เคยให้สัญญานับจาก ที่เริ่มออกหุ้นกู้เมื่อปี 1995 ว่า จะปฏิบัติต่อหุ้นกู้เหล่านี้เสมือนเป็นเจ้าหนี้ระดับต้น ๆ โดยให้ความสำคัญสูงกว่าเงินกู้ ที่กู้มาจากธนาคารเสียอีก ทั้งนี้สถาบันการเงินหลัก ที่ปล่อยกู้ให้แก่ซอฟท์แบงก์ก็คือ บริษัทประกันชีวิต อันได้แก่ ได-อิชิ ไลฟ์ และไดโด ไลฟ์

ซอฟท์แบงก์อาจใช้วิธีออกหุ้นเพิ่ม เพื่อนำเงินมาจ่ายคืนหนี้สินเหล่านี้ แต่ในภาวะปัจจุบัน ที่ตลาดหุ้นซบเซา การจะทำเช่นนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ และอาจทำให้สัดส่วนการถือครองหุ้นของมาซาโยชิ ซัน ผู้ก่อตั้งซอฟท์แบงก์ ต้องลดลงจากปัจจุบัน ที่ 38%

ขณะที่กำไรจากการดำเนินงานก็ลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 1997 จนเหลือแค่ 79 ล้านเหรียญในปีการเงิน ที่สิ้นสุดเมื่อ 31 มีนาคม ที่ผ่านมา กำไรส่วนใหญ่มาจากการบริหารกองทุน, การขายซอฟท์แวร์ และจากบริษัทแม่อีก 2-3 แห่ง ซึ่งยังไม่ได้รวมยอดเข้ากับธุรกิจของซอฟท์แบงก์ ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ผลขาดทุน ที่คาดว่าจะสูงลิ่วของนิปปอน เครดิต แบงก์ ที่ซอฟท์แบงก์เข้าครอง

อันที่จริงซอฟท์แบงก์ยังสามารถจ่ายคืนหนี้สิน และระดมทุนก้อนใหม่มาได้โดยการกำจัดธุรกิจใหม่ ที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักออกไป เมื่อเดือนตุลาคม บริษัทขายหุ้นบางส่วนของ"เอสเควาย เพอร์เฟคท์ คอมมิวนิเคชั่น" กิจการดาวเทียมของญี่ปุ่นออกไป และได้กำไรก่อนภาษีมา 136 ล้านเหรียญ แต่สภาพตลาดทุน ที่เงียบเหงา ก็อาจทำให้การขายธุรกิจเป็นเรื่องยาก ยิ่งกว่านั้น ถ้าเป็นหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ภาวะตลาดซบเซาย่อมทำให้บริษัทมองไม่เห็นผลกำไรเมื่อพิจารณา ที่ราคาหน้าตั๋ว เนื่องจากเมื่อซอฟท์แบงก์ ที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ทำการขายหุ้น ย่อมทำให้เกิดกระแสการขายหุ้นตามมาอย่างไม่มีทางเลี่ยง

ส่วนราคาหุ้นของ Yahoo! และ Yahoo! Japan ก็ต่ำจนยาก ที่จะคิดระดมเงินจากกิจการทั้งสองได้

ยิ่งไปกว่านั้น ซอฟท์แบงก์ยังต้องเผชิญปัญหาภาษีซ้ำซ้อน อันเนี่องมาจากนโยบายตอบโต้การค้าของสหรัฐฯ ที่มีต่อญี่ปุ่น นี่ย่อมลดทอนผลกำไรของบริษัทฯ ลงโดยตรง แต่อาจจะส่งผลโดยอ้อมต่อมูลค่าหุ้นของซอฟท์แบงก์เอง เนื่องจากนักลงทุนอาจจะนำยอดนี้ไปหักออกจากมูลค่าตลาดของหุ้นจดทะเบียนอื่น ๆ ของตน

ขณะเดียวกัน ส่วนของธุรกิจ ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาด ก็เป็นการยาก ที่ซอฟท์แบงก์จะนำเข้าตลาดในช่วงเวลานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อธุรกิจเหล่านั้น ล้วนประสบภาวะขาดทุน

เมื่อหมดหนทาง ซอฟท์แบงก์จึงต้องกู้หนี้ยืมสินต่อไปเรื่อย ๆ แทน ที่จะพยายามปลดหนี้ โดยส่วนใหญ่บริษัทฯ ก็ใช้วิธีออกหุ้นกู้ แต่เมื่อกลางเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา บริษัทฯ ใช้วิธีขอเปิดวงเงินสินเชื่อมูลค่า 150,000 ล้านเยน (1,400 ล้านเหรียญ) จากธนาคารญี่ปุ่น 10 แห่งแทน

แน่นอนว่า ซอฟท์แบงก์น่าจะหาทางจ่ายคืนหนี้สินเหล่านี้ได้ในที่สุด เพราะบริษัทมีเงินสดในมือถึง 2,000 ล้านเหรียญ และเมื่อเดือนมกราคม ที่ผ่านมา มูดี้ส์ บริษัทจัดอันดับรายใหญ่ ก็ยกระดับหุ้นกู้ระยะยาวของซอฟท์แบงก์ขึ้นจาก B1 (ภาวะน่าเป็นห่วง) เป็น Ba3 ทว่าการตัดสินใจของมูดี้ส์นั้น เกิดขึ้นก่อน ที่ราคาหุ้นของกิจการอินเทอร์เน็ตทั่วโลกจะตกต่ำลง งานนี้เห็นทีซอฟท์แบงก์จะกำลังเจอกับศึกใหม่เสียแล้ว



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.