เรื่องราวผู้หญิงธรรมดาคนนี้ มีความสำคัญอยู่ ที่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ธุรกิจไทยยุคใหม่
เป็นส่วนหนึ่งของผู้มาใหม่ ที่สามารถสร้างโอกาสได้เสมอ ไม่ว่าสังคมไทยจะพัฒนาไปอย่างไร
สุรางค์ ดำเนินชาญวนิชย์ แม้จะล้มป่วยมาตั้งแต่ปี 2528 แล้ว แต่งานของเธอได้วางรากฐานธุรกิจไว้อย่างลงหลักปักฐานพอสมควร
และได้เฝ้ามองปัญหา อุปสรรค พัฒนาการและความสำเร็จนั้น ถึง 17 ปีเต็ม
สุรางค์ บุตรีชาวจีนโพ้นทะเล มีการศึกษาเพียง ป.4 ทำงานด้วยความอุตสาหะวิริยะมาตลอดชีวิต
ตั้งแต่วัยเด็กถึงเริ่มต้นชีวิตคู่กับกิตติ ดำเนินชาญวนิชย์ เมื่อปี 2499
ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อร่างสร้างกิจการ "เกษตรรุ่งเรือง" หรือ "สุ่นหั่วเซ้ง"
ตั้งแต่นั้นมาเพียง 3 ทศวรรษ กิจการขยายตัวอย่างมากมาย ถือเป็น "ผู้มาใหม"
ในวงการธุรกิจในสังคม ไทย โดยเฉพาะในช่วงสำคัญของประวัติศาสตร์ หลัง จากสงครามโลกครั้งที่สองต่อเนื่องสงครามเกาหลี
และก้าวกระโดดครั้งใหญ่ในช่วงสงครามเวียดนาม แม้ว่าทุกพื้นที่ถูกยึดครองอย่างมั่นคงจาก
"ผู้มาก่อน"
ในปี 2528 กลุ่มเกษตรรุ่งเรือง ทลายกำแพง "เครือข่ายค้าเดิม" สำเร็จกลายเป็นกลุ่มธุรกิจค้าส่งออกพืชไร่หลักที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
ขณะเดียวกัน ได้วางรากฐานการสร้างธุรกิจใหม่ที่เชื่อมต่อ กับธุรกิจเดิม อุตสาหกรรมขนาดใหญ่
ด้วยเทคโนโลยี ระดับสูง เชื่อมโยงกับภาคการผลิตทางการเกษตรพื้นฐานของไทย
เป็นโมเดลธุรกิจที่มีบุคลิกเฉพาะ ที่น่าสนใจ นั่นคืออุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ
กลางป่าภาคกลางยูคาลิปตัสหลายพันไร่ที่สุรางค์ ดำเนินชาญวนิชย์ ซุ่มปลูกไว้ตั้งแต่ปี
2526 โดยไม่มีใครรู้ จนเธอป่วยความลับจึงถูกเปิดขึ้น และต่อมาไม่นานพื้นที่บริเวณนี้
ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ กลายเป็นคอมเพล็กซ์ที่สะท้อนบุคลิกกลุ่มธุรกิจเกษตรรุ่งเรืองมากที่สุดในเวลานี้
ซึ่งประกอบด้วยโรงสีทันสมัย คลังสินค้าสำหรับเก็บสินค้าพืชไร่ ถือเป็นโรงงาน
ซึ่งเป็นฐานธุรกิจค้าพืชไร่เดิม จากนั้น เป็นโรงงานแป้งมัน และโรงงานโมดิฟายสตาร์ค
ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเกษตรต่อเนื่องจากฐานธุรกิจเดิม ที่สำคัญมีโรงงานชิ้นไม้สับ
โรงเลื่อย และไม้อัด ซึ่งสะท้อนแนวทางธุรกิจใหม่ที่ต่อเนื่องจากการปลูกป่ายูคาลิปตัส
โดยนำวัตถุดิบจากไม้มาสร้างมูลค่าเพิ่ม ที่สำคัญกว่านั้นก็คือโรงงานกระดาษที่ใช้ชื่อว่า
"ไฮ-เทค เปเปอร์" ซึ่งมีกำลังการผลิต 33,000 ตันต่อปี เป็นการลงทุนที่มีความหมายมากทีเดียว
ในอันจะนำ กลุ่มเกษตรรุ่งเรืองก้าวไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ โรงงานแห่งนี้มิใช่โรงงานกระดาษในเชิงพาณิชย์จริงในตอนนั้น
เป้าหมายเป็นเพียงโรงเรียนฝึกบุคลากรให้เข้าสู่กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอย่างราบรื่น
แม้จะเป็นการลงทุนที่มาก แต่ถือว่าคุ้มค่า
และที่สำคัญได้สร้างชุมชนใหม่ที่อยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนเกษตรกรรมกับอุตสาหกรรมในพื้นที่ชนบทภาคกลางเชื่อมต่อภาคตะวันออก
ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่พลิกผันมาจากยุทธศาสตร์ทางการเมืองการทหารในสงครามเวียดนาม
สู่อุตสาหกรรม พื้นที่แห่งนี้มีถนนหมายเลข 304 เป็นเครือข่ายเชื่อมกรุงเทพฯ
และเข้าสู่ชายฝั่งทะเลตะวันออกที่สัตหีบ เป็นผลงานการสร้างของกองทัพอเมริกันในประเทศไทยในช่วงสงครามเวียดนามในราวปี
2505-2508 ที่เชื่อมไปสู่ฐานทัพสำคัญที่สัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ที่สำคัญ จากนั้นตามเส้นทางยุทธศาสตร์ถนนหมายเลข 304 จากคอมเพล็กซ์พนมสารคามประมาณ
50 กิโลเมตร ในพื้นที่นับหมื่นไร่ที่บริเวณตำบลท่าตูม อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี
ได้กลายเป็นคอมเพล็กซ์อุตสาหกรรมใหม่ของกลุ่มเกษตรรุ่งเรืองโดยเฉพาะในนามบริษัทแอ๊ดวานซ์
อะโกร จำกัด (มหาชน) ที่แห่งนี้แวดล้อมด้วยพื้นที่ปลูกยูคาลิปตัสเป็นพื้นที่กว้างใหญ่
และมีอ่างเก็บน้ำ นับพันไร่ 2 แห่ง พร้อมด้วยโรงงานไฟฟ้า 5 แห่งที่ใช้วัตถุดิบส่วนใหญ่
มาจากผลพวงของโรงงานของกลุ่มเกษตรรุ่งเรือง มีโครงการบ้านจัดสรรประเภทต่างๆ
รวมทั้งโรงแรมชั้นดีไปจนถึงตลาดสด เป็นองค์ประกอบความสะดวกของการกำเนิดขึ้นใหม่ของสังคม
ท่ามกลางชนบทที่ไกลปืนเที่ยงและเคยเป็นที่ซ่องโจร
แต่นั่นคงไม่มีความหมาย หากไม่มีแหล่งจ้างงานขนาดใหญ่ของประเทศที่ไม่น่าเชื่อจะมาซ่อนตัวอยู่ในชนบทห่างไกล
มีโรงงานเยื่อและกระดาษอย่างละ 2 โรง มีกำลังการผลิตรวมกันเกือบ 5 แสนตันต่อปี
ทั้งสองประเภทเป็นโรงงาน เยื่อและกระดาษที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย กลายเป็นฐานธุรกิจใหม่
ธุรกิจกระดาษที่มุ่งเจาะ จงอย่างโฟกัสไปที่กระดาษพิมพ์เขียน ทำให้กลุ่มธุรกิจชนิดนี้ใหญ่และทันสมัยที่สุดในประเทศไทย
โดยมีการพัฒนากระบวนความคิดมาประมาณ 15 ปี ในขณะที่เครือซิเมนต์ไทยเจ้าของธุรกิจกระดาษที่เคยใหญ่ที่สุดคู่แข่งรายสำคัญ
เข้าสู่ธุรกิจ ทำนองเดียวกันนี้ประมาณ 20 ปี โดยบุคลิกแตก ต่างกันไป ด้วยเริ่มต้นเข้าสู่ธุรกิจนี้ด้วยการเข้าซื้อ
กิจการอื่นๆ ที่มีปัญหา ตั้งแต่ปี 2519 ต่อมาความ สำคัญ และเริ่มธุรกิจกระดาษพิมพ์เขียน
โดยเข้า ซื้อกิจการบริษัทกระดาษสหไทยเมื่อปี 2528 บริษัทแอ๊ดวานซ์อะโกร จำกัด
(มหาชน) เป็นกิจการใหม่ที่ดำเนินธุรกิจเชิงรุก ตามบุคลิกเกษตรรุ่งเรือง ในปี
2543 สินค้ากระดาษในตลาด ประเทศไทยได้พัฒนาเป็นสินค้าคอนซูเมอร์ ครั้งแรกในประเทศไทย
เจาะตลาดฐานกว้าง ด้วยเครื่องหมายการค้าดับเบิ้ลเอ (Double A) ด้วยการเปิดตัวที่งานบีโอไอแฟร์
และตามมาด้วยโฆษณาทีวีครั้งแรก ภายในเวลาอันรวดเร็ว สินค้ากระดาษพิมพ์เขียนดับเบิ้ลเอ
กลายเป็นสินค้ากระดาษชนิดแรกที่สังคมไทยรู้จัก ที่สำคัญเป็นธุรกิจไทยที่ผลิตสินค้าระดับโลก
มีตลาดทั่วโลก นำเงินตราต่างประเทศมาสู่ประเทศนับเป็นหมื่นๆ ล้านบาท ทั้งหมดเกิดขึ้นจากจุดเริ่มต้นการต่อสู้ด้วย
วิญญาณของ "ผู้มาใหม" อย่างแท้จริง