บนโต๊ะทำงานของ "ซอนเซอราย ลี" ที่แฟลตย่านไทม์สแควร์ เมืองนิวยอร์ค
มีกองหนังสือและวารสารการแพทย์วางสูงท่วมหัว เธอพลิกตำราแล้วมาหยุดอยู่ที่รูป
"ชวน ฟู่ หว่า" (XUAN FU HUA) ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่พบทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน
และใช้เป็นยาแผนโบราณรักษาโรคทางเดินหายใจ
สาวเกาหลีวัย 29 ผู้นี้บอกว่า หมอชาวจีนได้อาศัยพืชชนิดนี้รักษาคนไข้มานานนับศตวรรษแล้ว
และในปัจจุบันนี้มีพืชอีกจำนวนมากที่เริ่มไขปัญหาเป็นตัวยาใหม่ๆ สำหรับรักษาโรค
ตัวอย่างเช่นแพทย์ชาวตะวันตกได้ใช้ยาที่สกัดจากชวนฟูหวารักษาโรคหืดและหลอดลมอักเสบ
"สังคมอเมริกันยังไม่สนใจเรื่องการแพทย์แผนโบราณเท่าไหร่ ขณะที่วัมนธรรมของคนเอเชียก้าวหน้ากว่าตะวันตกมากในเรื่องการศึกษาและใช้พืชเป็นยาสมุนไพรรักษาโรค"
ลีกล่าวด้วยน้ำเสียงเสียดายที่โลกตะวันตกมองข้ามประโยชน์ของสมุนไพร
ลีเชื่อว่าความลับโบราณของจีนจะกลายเป็นการรักษาแบบสมัยใหม่ในสหรัฐ ซึ่งในปัจจุบันอาศัยยาแผนปัจจัยที่สกัดจากส่วนผสมหรือปฏิกิริยาทางเคมีเป็นหลัก
และยาจำนวนมากที่ใช้รักษาโรคมะเร็งก็มีความเป็นพิษสูง
หลังจากใช้เวลาสำรวจโรงพยาบาลและร้านขายยาในเอเชียเป็นเวลา 3 ปีครึ่ง ลีได้เจอข้อมูลมหาศาลจากวารสารต่างๆ
ที่โรงเรียนการแพทย์แผนโบราณปักกิ่ง ว่าด้วยเรื่องสมุนไพรจีน เธอตัดสินใจว่าจะต้องช่วยนักวิทยาศาสตร์และบริษัทยาต่างๆ
ที่กำลังทำวิจัยเรื่องการแพทย์แผนโบราณให้สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้มากกว่านี้
นักชีวเคมีได้รวบรวมข้อมูลและทำการตลาดเกี่ยวกับพืชที่ให้ประโยชน์กับมนุษย์ตั้งแต่การรักษาโรค
ไปจนถึงการบำบัดการติดยาเสพติดและการคุมกำเนิด ด้วยข้อมูลจากวารสารที่ไม่มีคนรู้จักและอยู่กระจัดกระจายและจากฐานข้อมูลต่างๆ
ทั่วโลก ลีจะสามารถบอกได้ว่า พืชชนิดต่างๆ ปลูกอยู่ที่ไหนบ้างและจะเอามาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
ขณะนี้หน่วยงานต่างๆ กำลังรวบรวมข้อมูลเรื่องนี้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยแพทย์รัทเจอร์สที่นิวเจอร์ซี
กระทรวงสาธารณสุขของเปรู มหาวิทยาลัยแพทย์เซี่ยงไฮ้ กระทรวงสาธารณสุขจีน
และยังมีแพทย์และนักศึกษาแพทย์จำนวนมากกำลังให้การฝึกอบรมอยู่ในสหรัฐอเมริกา
ในภูมิภาคอเมิรกาใต้แถบลุ่มน้ำอเมซอนและเอเชีย เพื่อจะช่วยให้ประชากรในแต่ละท้องถิ่นใช้แหล่งข้อมูลนี้ได้
ในเปรู ความพยายามนี้ดำเนินการโดยคนพื้นเมืองเองด้วยซ้ำ และข้อมูลก็มีทั้งภาษาสเปนและภาษาอังกฤษ
ลีมีสายเลือดของแพทย์เต็มตัว ทั้งพ่อแม่และพี่น้องของเธออีก 3 คน ล้วนเป็นหมด
ครอบครัวของเธออพยพมาจากกรุงโซลและมาอยู่นิวยอร์คเมื่อปี 2519 เธอจบปริญญาตรีด้านชีวเคมีจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
และจบโทด้านชีววิทยาโมเลกุลจากที่เดียวกัน ปัจจุบันเธอกำลังทำปริญญาเอกในสาขานี้
เธอสนใจจะเป็นนักวิจัยด้านการแพทย์มากกว่าจะเป็นแพทย์เสียเอง
"ฉันโตที่นี่และจะใช้ความรู้ด้านการแพทย์แผนโบราณนี้ท้าทายโครงสร้างการสาธารณสุขของอเมริกา
อีกอย่างในครอบครัวฉันก็มีหมออยู่มากพอแล้ว" ลีพูดถึงเหตุผลที่ไม่ต้องการเรียนเป็นหมอ
เมื่อปี 2533 ลีได้ตั้งมูลนิธิ "ฟื้นฟูภูมิปัญญา" (KNOWLEDGE
RECOVERY FOUNDATION) ขึ้น ด้วยเงินทุนสนับสนุนที่ไม่เปิดเผยจำนวนจากครอบครัวของเธอเองจนถึงปัจจุบันการหาทุนและความช่วยเหลือต่างๆ
ได้มาจากสหประชาชาติและสถาบันการเงินเอกชน ตลอดจนองค์กรธุรกิจและสมาชิกกองทุนที่บริจาคมาแล้วมากกว่า
1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลีและลูกทีมอีก 6 คนเป็นผู้บริหารกองทุนที่ไม่แสวงหากำไรแห่งนี้ด้วยงบประมาณปีละ
250,000ดอลลาร์สหรัฐ โดยมีสินทรัพย์ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
งานใหญ่ของมูลนิธิในขณะนี้ก็คือการพัฒนาฐานข้อมูลที่ลีคาดว่าจะเสร็จในปลายปีนี้
โครงการนี้ใช้เงินประมาณ 1.5 ล้านเหรียญ และคาดว่าในปีแรกจะสามารถขายข้อมูลได้ประมาณ
10 ล้านเหรียญ ผู้ใช้ข้อมูลจะต้องเสียค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้า 100 เหรียญ
ซึ่งขณะนี้มีผู้สนใจขอใช้บริการประมาณวันละ 100 ราย เธอยังได้พัฒนาการจัดเก็บข้อมูลในรูปของวิดีโอดิสก์
สำหรับจัดแสดงในการประชุมหรือพิพิธภัณฑ์ และใช้วิธีการทำตลาดผ่านสื่อสารคดีทางทีวีและโฮมวิดีโอด้วย
ลีกำลังวางแผนลงทุนเพิ่มในฐานข้อมูลนี้เพื่อให้ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาสามารถซื้อหาข้อมูลนี้ได้ด้วย
"เราไม่ต้องการให้เฉพาะคนชั้นสูงหรือนักวิชาการเท่านั้นที่จะเข้าถึงข้อมูลได้
แต่เราต้องการให้บัฐบาลและประชาชนในประเทศที่ขาดความช่วยเหลือหรือการสนับสนุนด้านการแพทย์
สามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ด้วย"
สิ่งที่ลีกำลังตื่นเต้นอยู่ในขณะนี้คือ กรณีตัวอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้ข้อมูลของเธอ
สามารถทำวิจัยสกัดยาจากเปลือกต้น "YEW" ซึ่งขึ้นอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกา
เพิ่งจะเมื่อเร็วๆ นี้เองที่พืชชนิดนี้ได้เป็นที่สนใจในประสิทธิภาพการบำบัดรักษามะเร็งในปีกมดลูกและมะเร็งทรวงอก
ขณะที่สารสกัดจากต้นไม้นี้ถูกนำมาใช้ในเอเชียเป็นเวลาหลายปีแล้ว เพื่อนำมาบรรเทาโรคไขข้ออักเสบและรูมาติซั่ม
ลีหวังว่าดาต้าเบสของเธอจะช่วยพัฒนาการศึกษาต้น "YEW" และพืชอื่นที่ใช้รักษาโรคได้
ทั้งบริษัทผลิตยาและบริษัทสกัดสารธรรมชาติสามารถใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลนี้ได้เป็นอย่างดี
องค์การอนามัยโลกประมาณว่า ประมาณ 80% ของประชากรโลก พึ่งพาการแพทย์แผนโบราณเป็นหลักทั้งสิ้น
ในญี่ปุ่นประชาชนเสียงเงินถึงกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในแต่ละปีเพื่อซื้อหาพืชสมุนไพรจีนที่ใช้รักษาโรคได้
ในยุโรป เยอรมันเป็นตลาดสำคัญสำหรับยาจากธรรมชาติ คิดเป็นสัดส่วน 70% ของตลาดยาที่สกัดจากธรรมชาติทั้งหมดในโลก
และเมื่ออุปสรรคการค้าในยุโรปได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ตลาดยาจำพวกนี้ก็จะมีโอกาสขยายตัวได้อย่างมหาศาลจากที่มีผู้บริโภค
60 ล้านคนมาเป็น 330 ล้านคน
ลีกล่าวว่าดาต้าเบสนี้จะช่วยทำให้เกิดสินค้าใหม่ๆ ได้เร็วขึ้นในอุตสาหกรรมยาที่สกัดจากธรรมชาติ
ปีที่แล้วที่ยอดขายสมุนไพรและพืชที่ใช้เป็นยารักษาโรคได้คิดเป็นเงิน 1.3
พันล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก ซึ่งเป็นส่วนที่ขยายตัวเร็วสุดในกลุ่มสินค้าที่สกัดจากะรรมชาติที่มียอดขายทั้งสิ้น
4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
"ยังมีสิ่งที่จะให้ค้นพบรอคอยอยู่อีกมาก" ดร. เดนนิส แมคเคนน่า
ซึ่งใช้แหล่งข้อมูลทำนองเดียวกันสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัท "ชามาน
ฟาร์มาซูติคัล" ในซานคาร์ลอส แคลิฟอร์เนียกล่าว
ชามาน ด้ใช้เทคโนโลยี่สมัยใหม่ในการผลิตตัวยานจากพืชที่ชนพื้นเมืองในประเทศแถบแอฟริกา
ลาตินอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้เป็นยากันอย่างแพร่หลาย นอกจากชามานแล้วยังมีอีกหลายบริษัทในสหรัฐเช่น
"เมอร์คแอนด์โค" และ "บริสทอล-เมเยอร์ สควิบบ์" ที่ทุ่มเทการวิจัยในเรื่องพืชรักษาโรค
ลีกล่าวว่า ในสหรัฐมีเพียง 10% ของพืชที่รักษาโรคที่มีการศึกษาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์
และอีกเพียง 1% จากจำนวนนี้เท่านั้นที่มีการค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติม ปัจจุบันยาในสหรัฐที่มาจากพืชที่รักษาโรคได้มีเพียง
1 ใน 4 เท่านั้น แต่กระนั้นก็คิดเป็นมูลค่าสูง 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับยอดขายของยาประเภทนี้
สถาบันสุขภาพแห่งอเมริกา และสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ยังคงให้เงินสนับสนุนงานวิจัยพิจารณาคัดเลือกพืชที่มีศักยภาพในการนำมาผลิตยาได้
และยิ่งประธานาธิบดีบิล คลินตันกำลังปฏิรูประบบประกันสุขภาพ "ยาจากพืชจึงเป็นทางเลือกที่น่านำมาพิจารณา"
ลี กล่าวทิ้งท้าย