ทุกครั้ง ที่มีการสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ได้ ก่อให้เกิดพื้นที่ใหม่
ที่ ซึ่งแผ่นดินเจอกับแผ่นน้ำกลายเป็น อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ วิว ทิวทัศน์รอบๆ
นั้น สวยงามอย่างมากๆ แผ่นดินทอง ณ บริเวณนี้ แน่นอนว่าหลายคนที่ได้สัมผัสล้วนแล้วแต่เกิดความต้องการ
ข้าราชการ นักการเมืองบางคนต้องการได้ไว้ เพื่อทำเป็นบ้านพักตากอากาศส่วนตัว
นายทุนเงินหนาเห็นเข้าก็จินตนาการเป็นรีสอร์ต เป็นสนามกอล์ฟริมน้ำ แม้แต่ชาวบ้านก็ยังวาดฝันอยากจับจองได้ไว้ทำแพขายอาหารหรือเพิงส้มตำ
ตลอดระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา การไฟฟ้าฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย ได้ทุ่มเม็ดเงินลงทุนในการสร้างเขื่อนต่างๆใหญ่น้อยไปแล้วประมาณ
20 แห่ง ปัจจุบันสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ 1,500 เมกะวัตต์ เป็นสัดส่วนประมาณ
10 เปอร์เซ็นต์ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดจากทุกแหล่งรวมกัน
"ณ วันนี้ศักยภาพในเมืองไทย ที่จะสร้างเขื่อนยังมี อยู่บ้าง แต่เราจะต้องประสบปัญหาการต่อต้านจากชาวบ้าน
ดังนั้น เขื่อนใหญ่ๆ อาจจะยังไม่ทำ แต่เขื่อนเล็กๆ ก็ยังจำเป็น ต้องทำในแง่ของการใช้พลังงานในประเทศให้เกิดประโยชน์"
เฉลิมชัย รัตนรักษ์ รองผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ผู้ดูแลรับผิดชอบสายงานทางด้านนี้กล่าวกับ
"ผู้จัดการ" และได้ย้ำถึงภาระหน้าที่ และบทบาทของสายงานดังกล่าว ที่หลายคนอาจจะมองไม่เห็นว่า
แม้หน้าที่หลักคือ การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ แต่ในขณะเดียวกันในเรื่องของการควบคุมการปล่อยกระแสน้ำ เพื่อการชลประทาน
งานทางด้านการประมง ที่เกิดขึ้นในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ ทั้งหมด เรื่องการท่องเที่ยว ที่จะเกิดขึ้นในบริเวณรอบๆ
เขื่อน และอ่างเก็บน้ำ รวมทั้งการปลูกป่า ก็เป็นเป้าหมายหลักอย่างหนึ่งของฝ่ายนี้ ที่จะต้องดูแลรับผิดชอบเหมือนกัน
ทุกครั้ง ที่มีการสำรวจพื้นที่ เพื่อการสร้างเขื่อนบริเวณตัวเขื่อน และ ที่ทำการฯ
จะมีการสร้างบ้านพัก และสิ่งอำนวยความสะดวกไว้สำหรับเจ้าหน้าที่ระหว่างทำการก่อสร้าง
และหลังจากนั้น ก็ได้ก็ดัดแปลงเป็นที่พัก เพื่อรองรับคนทั่วไป จนวันนี้มีบ้านพักรับรองกระจายอยู่เฉพาะตามเขื่อนใหญ่ๆ
ทั้งหมด ประมาณ 10 เขื่อน คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนศรีนครินทร์
เขื่อนเขาแหลม เขื่อนรัชชประภา เขื่อนบางลาง เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนจุฬาภรณ์
เขื่อนสิรินธร และเขื่อนแก่งกระจาน ไม่นับรวมถึงเขื่อนเล็กๆ อีกหลายเขื่อน ที่ช่วยเสริมการผลิตการไฟฟ้าให้กับเขื่อนใหญ่
ซึ่ง ที่เหล่านั้น เป็นแหล่งท่องเที่ยวเช่นกัน เพียงแต่ไม่มีรีสอร์ต ที่พักแรม
เช่น เขื่อนท่าทุ่งนา เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เขื่อนปากมูล เขื่อนห้วยกุ่ม
หรือเขื่อนน้ำพุง
ส่วนในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ ที่กินอาณาบริเวณกว้างใหญ่ก็ยังเป็นแหล่งเพาะพันธ์สัตว์น้ำ
ซึ่งสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน ที่อาศัยอยู่รอบๆ อ่างเก็บน้ำ ที่มีอยู่มากมายนั้น
ทั้งหมดคือ ทรัพย์ในดิน และสินในน้ำ ที่มีมูลค่ามหาศาล และกำลังรอเวลา ที่จะได้รับการบริหารจัดการอย่างดีที่สุด เพื่อสร้างรายได้ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ
เอง
ที่พักทุกแห่งในบริเวณเขื่อน และอ่างเก็บน้ำ ไม่ต่างจากแหล่งท่องเที่ยวทั่วไปคือ
ตั้งอยู่ท่ามกลางภูมิประเทศ ที่สวยงาม การคมนาคมสะดวกสบาย มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน
เช่น มีห้องสัมมนา ห้องจัดเลี้ยง มีสนามกอล์ฟ สนามเทนนิส และสระว่ายน้ำ ไว้คอยบริการเกือบทุกแห่ง
แต่จุดที่ยังแตกต่าง ก็คือ ราคา ที่พัก และค่าบริการ ซึ่งส่วนใหญ่ราคาจะถูกกว่าเอกชนทั่วไป
เช่น ห้องภูแก้ว ที่เขื่อนภูมิพล มีแอร์ ทีวี น้ำอุ่น ราคาห้องละ 800 บาท
หรือ 400 บาท หากเป็นห้องธรรมดา ที่ เขื่อนสิริกิติ์ ห้องคู่ มีแอร์ ทีวี
ตู้เย็น น้ำอุ่นพร้อม ราคา 1,200 บาท ถ้าสิ่งอำนวยความสะดวกน้อยลงก็จะมีราคา
500-600 บาทต่อห้อง เขื่อนเขาแหลม มีแอร์ ตู้เย็น น้ำอุ่น ราคา 500 บาท ต่อห้อง
บ้านพลับพลึง บ้านตันหยง ที่เขื่อนรัชชประภา ราคาประมาณ 500-600 บาทต่อห้อง
(อ่านรายละเอียดในล้อมกรอบ) ในหลายๆ เขื่อนจะมีเรือนนอนขนาด ใหญ่ ไว้รับรองนักท่องเที่ยว ที่เป็นนิสิตนักศึกษา ที่มาเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะในราคาถูกด้วยตลอดเวลา ที่ผ่านมา
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตไม่ได้มองเรื่องนี้ในแง่มุมของธุรกิจ กลับภูมิใจอย่างมากกับการได้มีส่วนในการบริการสังคมให้ผู้คนที่สนใจ และศึกษาเกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติได้เข้ามาพักผ่อน
รวมทั้งได้จัดไว้เป็นสวัสดิการชั้นดี ลดราคา 50 เปอร์เซ็นต์ให้กับพนักงาน
ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เมื่อจะใช้เป็นที่พักผ่อนด้วย
เมื่อเป็นสถานที่ ที่มุ่งเน้นในเรื่องการบริการ เป็นสวัสดิการ แน่นอนว่ากิจการนี้จึงมีตัวเลข ที่ขาดทุนมาโดยตลอด
ความคิดในการที่จะแยกพื้นที่บางส่วนไปทำกำไรเชิงธุรกิจโดยร่วมมือกับเอกชน
แต่จะคงพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้ในเชิงบริการเหมือนเดิม ก็เลยเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยผู้ว่าการฯ
คนก่อน และกำลังได้รับการสานต่อในสมัยปัจจุบัน
สำหรับเขื่อน ที่มีความเป็นไปได้ที่สุดในเรื่องของการทำเป็นธุรกิจคือ เขื่อนศรีนครินทร์
เพราะเป็นเขื่อน ที่อยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี ห่างจากกรุงเทพฯ เพียงประมาณ 200
กิโลเมตร และมีสถานที่ท่องเที่ยวบริเวณใกล้เคียงต่างๆ มากมาย และยัง มีพื้นที่กว้างใหญ่ปัจจุบันมี ที่พัก ซึ่งรองรับได้ประมาณ
300 คนที่เขื่อนศรีนครินทร์นี้มีนักท่องเที่ยวมาแวะชมต่อเดือน เฉลี่ยแล้วประมาณ
40,000-50,000 คน ในขณะที่หากใคร จะจอง ที่พักในช่วงวันเสาร์จะต้องจองกันล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า
3 เดือน จุดบอดตรงนี้เอง ทำให้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่หนีไปพัก แพริมน้ำ ซึ่งมีอยู่มากมาย
อุปสรรคอย่างหนึ่งของผู้ที่จะเข้ามาร่วมทุนก็คือ ส่วนใหญ่ทุกเขื่อนจะมีประชาชนมาพักประมาณ
80 เปอร์เซ็นต์เฉพาะวันเสาร์เท่านั้น ส่วนวันอื่นๆ จะไม่ค่อยมียกเว้นช่วงปิดเทอม
โปรโมชั่นที่ดีต่างๆ เพื่อดึงดูดให้คนเข้ามาตลอด จึงเป็น สิ่งที่เจ้าหน้าที่แต่ละเขื่อนกำลังคิดค้นหาวิธีการ
และตอนนี้ ที่เขื่อนศรีนครินทร์เริ่มใช้แล้วคือ วันจันทร์ถึงวันพฤหัสลดราคา ที่พัก
50 เปอร์เซ็นต์ ปรากฏว่าจาก ที่เคยมีแขกมาพักประมาณพันคนต่อเดือน เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ
2 พันคน
สำหรับแนวทางในการปรับปรุงการบริการทางด้านบ้าน พักรับรอง ที่สายงานของรองผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้ศึกษา
ไว้ เพื่อหารายได้เพิ่ม มีดังนี้คือ 1. ลดราคา Transferprice บ้านพักรับรอง
50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อจูงใจให้หน่วยงาน กฟผ. มาใช้บริการเพิ่มขึ้น เป็นการลดตัวเลขการขาดทุนทางบัญชี
และลดค่าใช้จ่ายของ กฟผ.ด้าน ที่พักอีกทางหนึ่งด้วย
2. ลดราคาค่า ที่พักช่วงวันจันทร์-วันพฤหัสบดี เป็นพิเศษ 50 เปอร์เซ็นต์
เพื่อดึงดูดผู้มาใช้บริการเพิ่มขึ้น
3. ปรับราคาบ้านพักให้สอดคล้องกับราคาตลาดบริเวณ ใกล้เคียง
4. ทดลองจัดบ้านพักบางส่วนมาทำธุรกิจเต็มรูปแบบ โดยให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ
แล้วแบ่งผลกำไร
5. ส่งเสริมให้เขื่อน ที่อยู่ใกล้กันสนับสนุนบ้านพัก ซึ่งกัน และกัน เช่น เขื่อนศรีนครินทร์เต็ม
ไม่ว่างก็ย้ายลูกค้าไปเขื่อนเขาแหลมแทน หรือระหว่างเขื่อนภูมิพลกับเขื่อนสิริกิติ์
6. ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบแพ็กเกจ หรือหมู่คณะในราคาพิเศษ เช่น ราคาบ้านพักรวมอาหาร
3 มื้อ พร้อมลงเรือ ชมอ่างฯ นำเที่ยว เล่นกีฬา กอล์ฟ หรือจัดประชุมสัมมนา
8. จัดบริการเสริมอื่นๆ เพื่อดึงดูดผู้มาใช้บริเวณบ้านพัก เช่น บริเวณให้ตั้งแคมป์
สำหรับผู้รักธรรมชาติ เส้นทางเดินป่า เส้นทางขี่จักรยานภูเขา
9. ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือบริษัทเอกชน เพื่อดึงดูดผู้มาใช้บริการห้องพัก
10. ปรับปรุงสนามกีฬา อุปกรณ์บันเทิงให้อยู่ในสภาพดี มีมาตรฐาน ปรับปรุงร้านอาหารของเขื่อน
11. เพิ่มการทำประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงธุรกิจบริการเหล่านี้อย่างแพร่หลายมากขึ้น
"เรากำลังเตรียมระบบไอทีอยู่หากทำเรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็จะง่ายขึ้นในการติดต่อจอง ที่พัก
ในขณะเดียวกันในส่วน ที่กันไว้ เพื่อบริการสังคม เราก็ต้องเร่งทำกิจกรรมต่างๆ
เช่น เปิดโอกาสให้ทางโรงเรียนได้เข้าไปจัดค่ายส่งเสริมในเรื่องอนุรักษ์ธรรมชาติ
ในเดือนธันวาคม ที่จะถึงนี้ ทางเขื่อนสิริกิติ์เองก็กำลังมีโครงการ ทัวร์เชิงอนุรักษ์ร่วมกับจังหวัด
มีจัดเดินป่าไปนอน ที่เขื่อน แล้วเดินต่อไปในป่า ค้างกับกรมป่าไม้ เป็นการทัวร์ป่า
การทำกิจกรรมเหล่านี้เรา ให้อิสระกับเขื่อนเป็นคนจัด เพียงให้นโยบายไว้ว่าการทำกิจกรรมเหล่านี้ก็คือ
1. เพื่อการอนุรักษ์ 2. เพื่อให้คนได้ตระหนักว่าเขื่อนกับป่าไม้อยู่ด้วยกันยังไง"
รองผู้ว่าการฯ กล่าวย้ำ
พื้นที่อ่างเก็บน้ำ ที่การไฟฟ้าฯ ดูแลทั้งหมดประมาณ 1 ล้านไร่ เป็นการเก็บน้ำ เพื่อการผลิตไฟฟ้าส่วนหนึ่ง
อีกส่วนหนึ่งจะก่อให้ เกิดประโยชน์ ผลผลิตในเรื่องการประมง และเป็นภาระอย่างหนึ่ง ที่หลายคนไม่ทราบว่าหน่วยงานของโรงไฟฟ้าพลังน้ำเป็นคนดูแล
โดยทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกรมประมง และมีศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของการไฟฟ้าเอง
2 ศูนย์ใหญ่ มีหน้าที่เพาะเลี้ยง และแจกจ่ายพันธุ์ปลาให้กับประชาชนทั่วไป
"ปีหนึ่งๆ เราจะมีโครงการเลยว่าจะปล่อยปลาลงไปในอ่างเก็บน้ำประมาณกี่ล้านตัว
ในอ่างไหน เมื่อสมเด็จย่าครบรอบ 100 ปีที่เขื่อนศรีนครินทร์ก็ปล่อยปลาไป
1.5 แสนตัว ซึ่ง ที่ผ่านมาก็ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่เงื่อนไขตรงนั้น เราต้องยอม
รับว่าประชาชนยังไม่มากมายเท่าปัจจุบัน ในปัจจุบันจำนวนชาวบ้าน ที่เข้าไปใช้ประโยชน์
ในอ่างเก็บน้ำเรามากขึ้น อย่างที่เขื่อนอุบลรัตน์มีทั้งหมด 7 พัน ครัวเรือน
ที่เขื่อนสิรินธรล่าสุดพบว่ามี 4 พันครอบครัว ส่วนบริเวณรอบๆ อ่างเก็บน้ำอื่นๆ
ก็จะอยู่ระหว่าง 800-900 ครอบ ครัว แนวโน้มจะมากขึ้นทุกวัน ทีนี้เมื่อคนมากขึ้นหากเราไม่มีกระบวนการจัดการที่ดี
สิ่งผลิตพวกนี้ก็จะไม่ถาวรต่อไปก็ถูกใช้ จนหมด จะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมกันทุกฝ่ายคือ
ชาวบ้าน กรมประมง และเจ้าหน้าที่ของอ่างเก็บน้ำเอง
เมื่อปีที่แล้วมีฝูงปลาบึกว่ายน้ำให้เห็นแถวหน้าเขื่อนตัวยาวประมาณ 2 เมตร
ผมเชื่อว่าต่อไปถ้ามีการดูแลดีๆ ปลา ที่เราปล่อยในอ่างใหญ่หลายพันตัว ก็น่าจะเป็นแหล่งใหญ่อีกแห่งหนึ่งนอกจากการเป็นอาหาร
เป็นสัตว์เศรษฐกิจ แล้วแหล่งนี้ก็จะเป็นมรดกของชาติอย่างหนึ่ง" ประภาส พันธ์อร่าม
นักวิชาการ นักวิชาการระดับ 8 ที่ดูแลในเรื่องสายงานประมง ชี้ แจงรายละเอียด และเล่าให้
"ผู้จัดการ" ฟังต่อว่า
อ่างเก็บน้ำ ที่เขื่อนอุบลรัตน์เป็นแหล่งผลิตปลาต่อพื้นที่ ที่ได้ผลสูงที่สุด
ในพื้นที่ 1 ไร่ แหล่งอื่นๆ อาจจะให้ผลผลิตไม่เกิน 8 กก.ต่อไร่ต่อปี แต่ ที่นี่เคยได้ถึง
20 กก.ต่อไร่ต่อปี เพราะเป็นเขื่อน ที่เป็นอ่างกระทะใหญ่แต่ตื้น มีลักษณะ ที่เอื้อต่อความเป็นอยู่อาศัยโดยธรรมชาติของปลา
ถ้าพูดถึงเรื่องปลา ประภาสบอกว่าแต่ละอ่างก็จะมีเสน่ห์ ในตัวมันเอง เช่น
กุ้งก้ามกรามรสชาติดีที่สุดอยู่ ที่เขื่อนปากมูล เพราะเป็นกุ้งแม่น้ำรสชาติอร่อย
ส่วนคนที่ชอบกีฬาตกปลาก็น่าจะไป ที่เขื่อนศรีนครินทร์ เพราะ ที่นั่นจะมีปลาชะโด ที่ท้าทาย
นักตกปลามาก ที่เขื่อนเขาแหลม ก็จะมีปลาช่อนงูเห่า ซึ่งจะไม่ค่อยพบ ที่อื่นเป็นปลา ที่สวยงามมาก
เป็นปลา ที่กินเบ็ดท้าทาย นักตกปลาอย่างหนึ่งเช่นกัน
สำหรับอ่างเก็บน้ำ ที่เขื่อนจุฬาภรณ์ เป็นที่ยอมรับกันว่าเนื้อปลาทุกชนิดอร่อยที่สุด
เพราะปลา ที่นั่นอยู่ในอ่าง ที่สะอาดอยู่บนภูเขา มีปลา ที่ไม่ค่อยพบ ที่อื่นคือ
"ปลาพลวง" ชาวบ้านเรียกว่า "ปลาเวียน" เป็นปลาในถ้ำ ตัวใหญ่ รสชาติดีหนักตัวละ
ประมาณ 3-4 กิโลกรัม ส่วน ที่เขื่อนบางลางก็จะมีปลากระทิง ซึ่งเยอะมาก ลงไปทางใต้ ที่อ่างเก็บน้ำรัชชประภา
จะมีปลายี่สก เทศตัวใหญ่มากหนัก 8-9 กิโลกรัม เป็นที่นิยมทานกันมากเพราะเนื้อแน่น
และไม่มีกลิ่นคาว
ตรงจุดนี้ทางการไฟฟ้าฯ มองว่าเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ของชาวบ้าน ที่จะอยู่ได้
ไม่ต้องไปตัดไม้ทำลายป่าเป็นจุดแข็ง ที่ต้องส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง
"ผมเคยไปแหล่งวางไข่ของปลา ที่เขื่อนอุบลรัตน์ ซึ่งทางกรมประมงมีกองกำลังติดอาวุธไปล้อมบริเวณนั้น ไว้เลย
ส่วนใหญ่เป็นปลาสร้อยขาว เพราะ ที่เขื่อนอุบลรัตน์มีปลาสร้อย ขาวเยอะที่สุด
แล้วมันจะมีลักษณะพิเศษเวลามาผสมพันธุ์กันเป็นล้านๆ ตัวก็จะส่งเสียงลั่นทุ่งเลย
ส่งเสียงเรียกตัวเมีย ประสานเสียงก้องเหมือนเสียงอึ่งอ่าง ได้ยินไกลเป็นหลายกิโลเมตร
แล้วหลังจากนั้น พอเริ่มออกไข่ก็จะมีกลิ่นคาวไปทั่วท้องน้ำ เจ้าหน้าที่จะคุ้มครองอยู่ประมาณ
1 เดือน พอปลาโต เขาก็ออกมา ซึ่งโดยวิธีนี้เขาบอกว่าไม่จำเป็นต้องปล่อยปลาเลย
คุ้มครองแหล่งวางไข่ครั้งเดียวคุ้ม พอพูดเรื่องนี้ไม่มีคนเชื่อว่าเวลาปลาจะรักกันมันจะตะโกนบอกด้วยหรือ
ผมว่ามันเป็นอะไร ที่คลาสสิกนะ" ประภาสเล่าต่อ
สิ่งเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นเสน่ห์ และเป็นจุดขาย ที่สำคัญ และกำลังรอคนที่มีความรู้ และมีประสบการณ์ทางด้านการบริหารจัดการเรื่องการท่องเที่ยวจริงๆ
มาสานต่อ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องคงความเป็นเอกลักษณ์ในเรื่องการรักษาธรรมชาติให้ได้
ซึ่งมันอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
ทรัพย์สิน ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของโรงไฟฟ้าฝ่ายพลังน้ำคือ ทรัพยากรบุคคล ที่มีผู้เชี่ยวชาญในการสร้างเขื่อนพลังน้ำมานานถึง
40 ปี เฉลิมชัยได้กล่าวถึงนโยบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
"เราจะมีการร่วมลงทุนหรือรับงานบริการในประเทศ เพื่อนบ้าน ที่จะมีแหล่งผลิตเยอะๆ
อาจจะไปร่วมลงทุน ที่ประเทศจีน ลาว พม่าในอนาคต ลาวจะเป็นแห่งแรก และเมื่อ
2-3 เดือนที่แล้ว มีการพูดถึงการไปเมืองจีนก็มีข้อสรุป ที่เข้าใจ ตรงกันว่า
ทางประเทศจีนก็ยินดี ที่จะให้ทาง กฟผ.ไปร่วมลงทุน ในโครงการนั้น เพื่อผลิตไฟฟ้าแล้วขายให้ประเทศไทย
แล้วเรา ก็จะทำโมเดลอย่างนี้ไปยังประเทศอื่นด้วย เช่น พม่า หรือลาว เพราะตรงนี้ค่อนข้างจะมั่นใจว่า
โครงการในต่างประเทศต้องการที่จะให้การไฟฟ้าผลิตแห่งประเทศไทย เข้าไปมีหุ้นส่วนอยู่ เพื่อการันตีในเรื่องขายไฟให้เรา
ที่จริงเขาก็เรียกร้องมานานแล้วให้เราไปร่วมลงทุน แรกๆ เมื่อปี 2536-2537
เรายังไม่ค่อยพร้อม เพราะช่วงนั้น เศรษฐกิจบ้านเรากำลังดี ก็ไม่ค่อยว่าง แต่วันนี้เราพอมีเวลา
และผมคิดว่าวิธีการก็คือ กฟผ.คงจะตั้งบริษัทในเครือ จะเป็นบริษัทลูก ที่ กฟผ.ถือหุ้น
100 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็จะไปร่วมลงทุน ในประเทศต่างๆ เราเอาเงินไปลงทุน ในขณะเดียวกันก็มีโอกาส
เอาคนของเราไป ตั้งแต่เริ่มออกแบบ และศึกษาจนกระทั่งถึงเรื่องการก่อสร้างหรือเทรนบุคลากรเหล่านั้น ด้วย
ทีมสำรวจของเรา เมื่อเร็วๆ นี้ไปรับเจาะสำรวจให้กับประเทศพม่า ที่จะสร้างเขื่อน
"ท่าซาง" ทางพม่าได้ว่าจ้างทีมสำรวจของฝ่ายนี้ ไปเจาะสำรวจทางด้านธรณีวิทยา
คิดเป็นเงิน เกือบ 9 ล้านบาท ใช้เวลาประมาณ 4 เดือน เป็นเขื่อนพลังน้ำ ที่จะสร้างประเมินไว้ว่าติดตั้งได้
4,000 เมกะวัตต์ ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนศึกษาความเหมาะสมแต่ยังไม่ได้เริ่มสร้าง"
เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2542 สายงานของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ได้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาธุรกิจสายงาน
ขึ้นมาศึกษาธุรกิจเสริมหรือเกี่ยวเนื่อง เพื่อหารายได้เพิ่มขึ้นอีกทาง ซึ่งผลของการศึกษาได้สรุปไว้
ดังนี้คือ
เรื่องการรับทำงานให้บุคคลภายนอกของฝ่ายต่างๆ ในสายงานตั้งแต่ปีงบประมาณ
2541 จนถึงเดือนกันยายน 2543 มีรายได้ทั้งสิ้นประมาณ 102 ล้านบาท ซึ่งมีตัวเลขชัดเจนว่า
หน่วยงานไหนทำรายได้เข้ามาเท่าไร ทำให้ทราบว่า สายงานมีความเชี่ยวชาญในทางด้านใด
ทีมงานเป็นอย่างไร ลูกค้าเป็น กลุ่มไหน ปัญหา และอุปสรรคมีอะไรบ้าง เพื่อนำมากำหนดกลยุทธ์ในการขยายตลาด
เพิ่มรายได้ และปรับปรุงแก้ไข เสนอ แนะแนวทาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการดำเนินงานภายใต้ข้อบัญญัติ
เช่น จัดทำแผ่นพับประมาณ 5,000 แผ่น เพื่อประชา สัมพันธ์ งาน ที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน
เสนอแนวทางสร้างแรงจูงใจให้ฝ่ายบริหารรับพิจารณา เพื่อส่งเสริมขวัญกำลังใจ
ให้พนักงาน ที่ออกไปรับงานทำให้บุคคลภายนอก โดยแบ่งเปอร์เซ็นต์จากกำไร หลังจากหักค่าใช้จ่าย
และนำส่ง กฟผ.แล้ว ให้หน่วยงานมาจัดสรรเป็นเงินเพิ่ม หรือความดีความชอบ แต่จะเป็นเท่าไรควรตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณากำหนดให้เหมาะสมเป็นแนวทางเดียวกันทุกสายงาน
เสนอให้มีการปรับปรุง แก้ไขคำสั่งระเบียบของ กฟผ. ที่ไม่เอื้อในการทำธุรกิจ
การเตรียมบุคลากรให้พร้อม ที่จะทำงานในเชิงธุรกิจ รวมทั้งควรทดลองตั้งหน่วยงานขึ้นมาทำงานเชิงธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ
เพื่อความสามารถในการแข่งขัน และหาประสบการณ์
จุดแข็งของสายงานนี้ คือ การมีประสบการณ์ทีมงาน มีค่าใช้จ่าย ที่ถูกกว่า
และเป็นผู้นำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มีจุดอ่อนในเรื่องของการตลาดดังนั้น ในช่วงแรกควรร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัทต่างประเทศ เพื่อหาตลาด และประสบการณ์ก่อน
ซึ่งปัจจุบันได้ลงนามความร่วมมือกับบริษัท SNC-LAVALIN เพื่อแลกเปลี่ยนทางด้านวิชาการในสาขาการผลิต
เดินเครื่อง บำรุงรักษาโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การพัฒนาโครง การต่างๆ ที่เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ
และความปลอดภัยของเขื่อน
ซึ่งในประเด็นสุดท้ายของการศึกษานี้ จำเป็นที่สุด ที่คนรุ่นหลังก็ต้องมาต่อยอดให้ได้
เพื่อรักษา และใช้ประโยชน์จากเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำให้คุ้มค่า และนานที่สุด
และเมื่อมีการสะสมประสบการรณ์ ที่มากมายต่อเนื่อง
ก็สามารถพัฒนาตนเอง เป็นที่ปรึกษาหรือรับงานโดยตรง เพื่อเป็นรายได้หลักอีกทางหนึ่งในอนาคต