เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วภาพของเด็กหนุ่มชาวไต้หวันผู้พกพาเอาอุดมการณ์อันแรงกล้าว่า
"สักวันหนึ่งเราจะต้องเป็นคนชั้น 1 ให้ได้ เพราะเราเป็นคนชั้น 3 มาพอแล้ว"
ได้ก้าวมายืนอยู่บนผืนแผ่นดินไทย
และ 10 กว่าปีนั้นเองที่ทำให้เขา แจ๊ค มินทร์ อิงค์ธเนศกลายมาเป็นพลเมืองชั้น
1 พร้อมกับสัญชาติไทยได้อย่างเต็มภาคภูมิ
วันนี้เขาสามารถกลับไปเยือนแผ่นดินอเมริกาได้อย่างสง่าผ่าเผย แผ่นดินที่ครั้งหนึ่งเขาเคยเข้าไปสัมผัสกับความยากลำบากมาแล้ว
3 ปีเต็ม แต่ 3 ปีที่อเมริกานั้นกลับสอนให้แจ๊คเป็นคนกล้าคิด กล้าฝัน กล้าทำ
"ประเทศอเมริกาเป็นประเทศที่ขายฝัน คนอเมริกันก็คือคนขายฝัน"
เขากล่าวด้วยน้ำเสียงจริงจัง พร้อมกับเล่าว่า เขาและครอบครัวของอาเป็นหนึ่งในคนจีนไต้หวันรุ่นแรก
ๆ ที่เข้าไปขุดทองในอเมริกา
"ผมเรียนรู้ว่า คนเอเชียที่อยู่ที่นั่น โดยเฉพาะรุ่นแรก ๆ ลำบากทุกคน
เพราะที่นั่นไม่มีโอกาสสำหรับคนเอเชีย ผมเริ่มจากการไปขายของในตลาดนัดทุกวันอาทิตย์
ขายทุกอย่างที่คิดว่าขายได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าวของเครื่องใช้เล็ก ๆ น้อย
ๆ รวมถึงรองเท้าลำลองด้วย สุดท้ายผมก็อยู่ไม่ได้ ผมสู้พวกเชนสโตร์ไม่ได้
เพราะว่าเขามีของทุกประเภท"
แต่สิ่งที่เขาได้จากการทำการค้าในครั้งนั้นก็คือ "ผมได้เจอคนหลายประเภท
หลายเชื้อชาติซึ่งมีความแตกต่างกันมาก และผมมีเวลาสั้นที่สุดที่จะตัดสินใจว่าคนนื้คือลูกค้าของผมหรือเปล่านั่นคือทักษะในการมองคนที่ผมได้มา
เดี๋ยวนี้เวลาผมเจรจากับญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย หรืออเมริกา ผมก็จะรู้ว่าควรจะเจรจากับแต่ละคนอย่างไร"
แจ๊คเล่าถึงความหลังพร้อมกับยกตัวอย่างที่เคยประสบมาอย่างติดตลกว่า
"ทำการค้ากับคนฟิลิปปินส์ง่ายสุด ตอนเจรจาจะเอาทุกอย่างแต่เวลาจ่ายเงินไม่มีจ่าย
หรืออย่างคนเกาหลีนี่กว่าจะซื้อของคุณได้ยากแสนยาก ส่วนคนอินเดียเวลาเจรจาทีก็จะเอาเยอะ
ๆ แต่พอซื้อจริงซื้อนิดเดียว ซึ่งนั่นก็คือบุคลิกของพวกเขา"
เมื่อเขาเรียนรู้ว่าโอกาสในการขายของไม่ได้เป็นของเขาอีกต่อไปแล้ว และที่สำคัญ
"ภาษา" การสื่อสารถือเป็นอุปสรรคสำคัญในการทำการค้าของเขาในระยะเริ่มต้น
ดังนั้นเขาจึงเปลี่ยนเข้าสู่ธุรกิจภัตตาคารโดยร่วมทุนกับญาติพี่น้อง ซึ่งแต่ละคนก็ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้เช่นกัน
แต่เขาคิดว่า การทำธุรกิจภัตตาคาร เป็นพื้นฐานที่จะทำให้อยู่รอดในสังคมอเมริกันได้
"ภัตตาคารของเราเป็นภัตตาคารจีน พวกผมก็รับหน้าที่เป็นบ๋อย ร้านเราเมนูก็ไม่มี
ผมนี่แหละเป็นคนทำเมนู แต่ทำอย่างไรถึงจะให้ฝรั่งเข้าใจว่า ต้มยำกุ้งคืออะไร
ผมก็อาศัยสิปะที่มีอยู่ในหัวผมประดิษฐ์ออกมาเป็นเมนูภาพถ่าย พร้อมคำอธิบายส่วนประกอบและรสชาติของอาหาร
เมนูของเราก็จะคืออัลบั้มรูปที่หนามาก และแม้ว่าเราเป็นบ๋อยก็จริงแต่บางทีที่ทำอาหารไม่ทันเราก็ต้องเป็นกุ๊กลงมือเอง
เพียงแต่ปรุงก็เป็นอันเรียบร้อย"
หลังจากเปิดร้านได้ระยะหนึ่ง เขาก็ขยายกิจการไปสู่ร้านแบบเชนสโตร์ ซึ่งตอนนั้นเขาได้รับการโปรโมตจากพนักงานบริการให้ขึ้นเป็นผู้จัดการร้าน
ซึ่งต้องทำทุกอย่างหนักกว่าบริการเสียอีก
แต่ร้านเชนสโตร์ของเขาก็อยู่ได้ไม่นาน เนื่องจากการที่เขาคิดที่จะขายอาหารแบบ
TAKE HOME แต่พอทำเข้าจริงแล้ว เขาก็ลืมไปว่า ธรรมชาติของอาหารจีนนั้น TAKE
HOME ไม่ได้เพราะจะไม่อร่อยเท่ากับการรับประทานขณะที่อาหารเสร็จมาใหม่ ๆ
ในที่สุดก็ "เจ๊ง" อีก
แต่สิ่งที่เขาเก็บเกี่ยวประสบการณ์ได้จากช่วงชีวิตของการเป็นคนบริการ ก็คือ
"การทำงานเป็นคนบริการ จิตใจจะต้องมี SURVICE MIND" และสิ่งที่เรียนรู้ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ
ความอดทน "ทำร้านอาหารต้องอดทนตั้งแต่เช้าจรดเย็น ผมกลับบ้านตีหนึ่งทุกวันและทำงานตั้งแต่ปอกหัวหอมจนล้างห้องน้ำ
ไม่มีใครอยากจะล้างห้องน้ำหรอก คนที่ล้างก็คือผู้จัดการนี่แหละ เป็นการฝึกนิสัยเราว่างานต่ำแค่ไหนเราก็ต้องทำ
ปัญหาใหญ่แค่ไหนเราก็ต้องรับผิดชอบ" และจากการที่เขาผ่านความยากลำบากเหล่านี้มา
เขาก็ค้นพบสัจธรรมอีกข้อหนึ่งว่า
"สัปดาห์หนึ่งมี 7 วัน ๆ ละ 24 ชั่วโมง ผมให้คุณทุ่มเต็มทีเลยอยากทำงานแค่ไหนก็ทำ
อยากจะขยันเรียนแค่ไหนก็แล้วแต่ แต่ที่อเมริกาคุณจะไม่มีวันที่จะได้เป็นพลเมืองชั้น
1 คุณจะเป็นได้แค่ชั้น 3 เท่านั้น
มีอยู่ครั้งหนึ่งรถผมเสีย ผมก็วานให้เพื่อนที่เป็นฝรั่งติดต่อรถลากมาให้ผม
เพื่อนผมก็ติดต่อให ้และตกลงค่าจ้างที่ 20 เหรียญฯ แต่พอคนลากมาเห็นผมเขาก็บอกว่า
25 เหรียญฯ ผมก็ถามว่าทำไมที่ตกลงไว้ 20 เหรียญฯ ไม่ใช่เหรอ เขาก็บอกว่าคนเอเชียต้อง
25 เหรียญฯ ผมก็โวยวายเลย แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นอย่างนี้ทุกคน
คนที่เอ็นดูผมก็มีเยอะ" นั่นคือความรู้สึกของแจ๊คเมื่อ 20 ปีที่แล้ว
ความจริงข้อนี้เองที่ทำให้เขาเกิดความมุ่งมั่นขึ้นมาว่า "เราอยากเป็นคนชั้น
1 บ้างเป็นคนชั้น 3 พอแล้ว" ความมุ่งมั่นนี่เองที่ทำให้แจ๊คตัดสินใจเดินออกจากอเมริกามายังประเทศไทย
"ตอนที่ผมขึ้นเครื่องบิน ผมพูดกับตัวเองว่า สักวันหนึ่งผมจะกลับมาเหยียบอเมริกาอีก
และผมจะมี 2 ทางเลือกเท่านั้นสำหรับแผ่นดินนั้นก็คือ ผมจะมาในฐานะ VIP หรือ
REFUGEE เท่านั้นเอง" เขาย้อนรำลึกความหลัง
ณ ขณะนั้นแจ๊คมีทางเลือก 3 ทางหลังจากที่ออกจากอเมริกาแล้วคือ หนึ่งไปญี่ปุ่นเพื่อศึกษาต่อ
สองกลับไปไต้หวัน และทางเลือกสุดท้ายก็คือมาประเทศไทย
และเขาก็ได้ตัดสินใจไปญี่ปุ่นในตอนแรก แต่เมื่ออยู่ที่ญี่ปุ่นได้ 2 อาทิตย์
เขาก็พบว่า ญี่ปุ่นเป็นสังคมที่ปิดและเป็นสังคมที่มีระเบียบเกินไป
"พอดีพ่อผมก็มีเพื่อน ๆ ที่โน่นก็เลย่งผมไปดูงานที่โรงงานที่เกี่ยวกับการผลิตเหล็กที่เป็นไฮคาร์บอน
ทังเกอร์สแตนต์ (HICARBON STEEL) คือโรงงานที่ผลิตเหล็กสำหรับตัดเหล็ก ในเวลาสองอาทิตย์นั้นหนึ่งอาทิตย์ผมอยู่ในโรงงานและอีกหนึ่งอาทิตย์ผมก็ถูกพาไปทัวร์ในที่ต่าง
ๆ ความรู้สึกของผมในตอนนั้น ผมรู้สึกว่า คนญี่ปุ่นน่าสงสาร เขาอยู่ในระเบียบ
อยู่ในกรอบ และในแต่ละชั้น เขาถูกวางถูกกำหนดไว้เสียแล้ว ผมก็ได้ข้อสรุปว่าสังคมญี่ปุ่นเป็นอะไรที่สมบูรณ์มากเกินไป…
THERE'S NO ROOM FOR YOU
จากนั้นเขาก็กลับมานั่งทบทวนใหม่ พร้อมกับตั้งคำถามกับตัวเขาเองว่า 3-4
ปีที่ผ่านมา เขาเรียนรู้เพียงพอหรือยัง ทั้งที่อเมริกาและญี่ปุ่น และเขาก็เริ่มรู้สึกว่า
ด้วยวัยที่ย่างเข้า 26 ปี น่าจะถึงเวลาของการทำงานเป็นชิ้นเป็นอันแทนที่จะเรียนรู้ต่อไปและในเมื่อทางเลือกแรกคือ
การไปญี่ปุ่นนั้นได้ปิดฉากลงไป เขาก็ยังคงเหลือทางเลือกอีก 2 ทางคือ กลับไปไต้หวัน
หรือเดินทางมาประเทศไทย
สำหรับไต้หวันแล้ว แจ๊คคิดว่า เขาไม่สามารถกลับไปไต้หวันได้ เนื่องจากทิฐิและความรู้สึกกลัวที่จะเสียหน้าแม่
เพราะครั้งก่อนที่เขาจะเดินทางไปอเมริกา ทางมหาวิทยาลัยที่เขาจบออกมาได้เสนองานให้เขาเป็นอาจารย์
แต่เขาก็กลับไม่เลือกทางนั้น เนื่องจากเขามีความคิดดั่งเช่นหนุ่มสาวทั่วไปว่า
เขาอยากไปแสวงหา ค้นหาความสำเร็จด้วยตัวเอง ฉะนั้นหากกลับไปแม่ก็จะว่าได้ว่า
"อยู่ที่นี่ดี ๆ มีคนเสนองานให้ก็ไม่เอา แต่ไปตะลอน ๆ กลับมาแล้ว บ่มิไก๋กลับมา"
ประกอบกับไต้หวันในช่วงที่เขาไม่อยู่ไม่กี่ปีนั้นก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง
ในที่สุด "ประเทศไทย" ทางเลือกสุดท้ายก็เป็นทางที่เขาเลือกเดิน
"ผมเคยมาเมืองไทย และผู้รู้สึกวาผมรักเมืองไทยมากกว่าผมรู้สึกว่าดอกาสช่วงการเปลี่ยนแปลงตรงนี้
ประเทศไทยให้โอกาสผมมากกว่า เมื่อเทียบกับไต้หวันเทียบกับญี่ปุ่น ดังนั้นประเทศไทยก็น่าจะดีกว่า
และผมต้องการเป็นพลเมืองชั้น 1 ผมไม่ต้องการเป็นชั้น 2 ชั้น 3 อีกต่อไปแล้ว
ที่ญี่ปุ่นยังให้ความรู้สึกผมว่า โอกาสยังไม่ใช่ของผม การเรียนรู้ผมมีจริงแต่ถ้าเข้าไปผมก็เป็นพลเมืองชั้น
3 อยู่ดี
ณ ขณะนั้น แม้ว่าผมจะถือสัญชาติไต้หวันก็จริง แต่เมื่อผมเทียบไต้หวันกับไทยผมรู้สึกว่า
ไทยให้โอกาสผมเยอะกว่า คือไทยมีความเหมือนและคล้ายกันในความเป็นประเทศในเอเชียเหมือนกัน
มีระเบียบในการจัดรูปแบบทางสังคมใกล้เคียงกันแต่ถ้าผมกลับไปไต้หวัน ผมก็คือ
นาย JACK หนึ่งใน 5,000 คน ที่มีความคิดเหมือน ๆ กับผม แต่ผมมาประเทศไทยนั้นผมคือนายแจ๊ค
1 เดียวเท่านั้น เพราะที่ไต้หวันเราเหมือนกันเกิน เรามีการศึกษาที่ใกล้เคียงกัน
เรามีทัศนคติในการดำเนินงานที่ใกล้เคียงกัน เรามีความคิดที่ใกล้เคียงกัน
เพราะฉะนั้นระหว่างไต้หวันกับประเทศไทยนั้น ผมคิดว่าผมมาประเทศไทยผมมีโอกาสมากกว่าแต่แน่นอนยิ่งกว่านั้นก็คืออยากอยู่กับพ่อ
นี่คือธรรมชาติ ปัจจัยมันก็มีหลายอย่างไม่ใช่อย่างเดียว มาแล้วก็มาช่วยพ่อที่โรงงาน
ซึ่งขณะนั้นโรงงานที่พ่อรับผิดชอบก็อยู่ในช่วงที่กำลังก่อสร้างและพัฒนา ผมก็มาเรียนรู้กับเขา
จนกระทั่งเริ่มดำเนินการผลิต"
ทั้งหมดนี้คือความรู้สึกที่แจ๊คมีต่อประเทศไทย และถือเป็นเหตุผลสำคัญที่หักเหชีวิตเขาให้ก้าวสู่ความเป็นคนไทยคนหนึ่งที่มีความรู้สึกรักแผ่นดินไทยดุจแผ่นดินบ้านเกิดของเขา
เขาประเดิมงานแรกเริ่มที่โรงเหล็กที่พระประแดง
"ผมมาถึงที่โรงงานเขาก็จัดห้องให้ผมทำงาน โธ่…ตอนที่ผมอยู่อเมริกานั้นเป็นตั้งแต่ผู้จัดการยันบ่อยผมก็เป็นมาแล้ว
แต่โรงเหล็กนี่ผมไม่รู้เรื่องอะไรเลย ผมตั้งตัวผมเองจากศูนย์ ผมเหมือนอยู่กับคนงานตั้งทั่ว
ๆ ไปเลย ทุกเช้า 7.30 ผมถึงโรงงานแล้ว ผมอยู่กับคนงานตั้งแต่เช้า เห็นเขาทำอันนี้ผมก็ถามเขาว่าเขาทำอะไรผมไม่ถามพ่อเพราะพ่อไม่ค่อยพูด
และพ่อมไสอน ผมก็เรียนรู้จากคนงาน เรียนรู้จากแต่ละคนแต่ละแผนก สุดท้ายแล้วผมก็รู้หมดเลย
และผมกลายเป็นตัวเชื่อมที่จะทำให้ทุกคนมีใจเดียวกัน ผมทำให้เขารู้สึกว่าถ้าเขามีโอกาสเสี่ยงชีวิตตาย
ผมก็มีโอกาสเสี่ยงชีวิตตายเช่นเดียวกัน ผมให้เขารู้สึกว่าผมเป็นหนึ่งเดียวกับเขา
ผมจะเป็นคนที่สามารถแลกเปลี่ยนความรู้และความรู้สึกกับเขาได้ขาสองข้างของผมจะเป็นแผลหมด
เพราะเจอเหล็กร้อย คือเมื่อพวกเขาเจอ ผมก็ต้องเจอ เพราะฉะนั้นผมกับคนงานจึงมีความผูกพันเหมือนเป็นพี่น้องกัน
เราเป็นหนึ่งเดียวกัน ความรู้เราก็ถ่ายทอดกัน เพราะฉะนั้นส่วนการผลิตของเราราบรื่นมาก
ใครบอกว่าคนไทยขี้เกียจไม่เอาไหน ไม่มี PRODUCTIVITY ไม่จริง ถ้าคุณเอาใจเขาใส่ใจคุณ
ถ้าคุณทำให้เขารู้สึกว่าคุณเป็นส่วนหนึ่งของเขาได้ เขาก็จะเป็นส่วนหนึ่งของคุณ"
นั่นคือสิ่งที่แจ๊คสัมผัสได้ในเวลาเพียงไม่นาน
แจ๊คเล่าต่ออย่างมีความสุขว่า
"ภาษาไทยที่ผมพูดได้ผมก็เรียนกับพวกเขา บางทีผมพูดผิดเขาก็หัวเราะผม
ผมก็ให้เขาสอนผมบางทีเขาก็สอนให้ผิด ๆ แกล้งผม นั่นคือช่วงหนึ่งของชิวตที่ผมคิดว่าผมมีความสุขมาก
สิ่งหนึ่งที่ผมเรียนรู้ได้ก็คือว่า คนไทยมีวัฒนธรรมที่น่ารักมากคนที่ผมสัมผัสทั้งหมดเป็นคนที่ไม่มีการศึกษา
แต่การที่เขาไม่มีการศึกษาไม่ได้หมายความว่าเขามีความผิด แต่จิตใจกับความเป็นที่ดีทีเดียวในรูปแบบของความรู้สึกที่ไม่ต่อต้านคน
คนไทยก็เหมือนตา คือ ทิ้งอะไรลงไปแล้วก็สามารถหลอมออกมาเป็นหนึ่งเดียวกันได้
และสุดท้ายก็เป็นทอง คือหมายความว่าคุณมาที่นี่คุณถูกเขา OBSERVE ได้ ผมเพิ่งค้นพบว่า
ผมเรียนรู้จากเขาทั้งหมด ผมเรียนรู้ว่าเขาคิดอย่างไร เขาชอบอะไร เขามีวัฒนธรรมอย่างไร
เขามีสไตล์อย่างไร และเขามีความเชื่ออะไรเหล่านั้นก็คือสิ่งดี ๆ ที่ผมเรียนรู้
มีคนถามว่าการเรียนรู้กับคนที่ไม่มีการศึกษาคุณจะเรียนรู้อะไรได้ แต่ขอโทษ
พื้นฐานการเรียนรู้ของผมที่ได้เกี่ยวกับประเทศไทยผมได้จากคนเหล่านี้ ไม่ใช่ผมเรียนรู้จากนักธุรกิจผู้ใหญ่โตที่ไหน"
จากความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับคนงานเหล่านี้ของแจ๊คได้สั่งสมให้เขานำมาใช้กับการบริหารงานที่สหวิริยาด้วย
"ถึงแม้ที่สหวิริยา ณ วันนี้วันที่ผมบริหารอยู่ ผมก็ทำอย่างน ี้ผมจะไม่มีวันทิ้งพนักงานของผม
ให้เขารู้สึกว่าโดดเดี่ยว จะให้เขามีที่พึ่งตลอด ผมจะเป็น BACK UP ให้ทุกคน
ถ้าเขามีปัญหาเขาจะมีที่พึ่งทันที" นักบริหารหนุ่มเชื้อสายจีนกล่าวอย่างหนักแน่น
หลายคนอาจจะแปลกใจว่า ชีวิตแจ๊กพลิกผันอย่างไรถึงก้าวจากธุรกิจอุตสาหกรรมเหล็กเข้ามาสู่ธุรกิจคอมพิวเตอร์ระดับแถวหน้าได้
ความจริงจะว่าไปแล้วชิวตแจ๊คก็หักมุมมาตั้งแต่สมัยเขาเป็นเด็กแล้ว แจ๊คเล่าว่า
เขาเกิดที่ริมทะเลที่เมืองเกาชง ซึ่งเป็นเมืองท่าทางตอนใต้ของไต้หวัน ชีวิตในวันเด็กของเขาจึงสัมผัสกับธรรมชาติมาตลอด
เขาเป็นเด็กที่เรียนหนังสือไม่เก่ง แต่เด่นทางด้านกิจกรรมทุกชนิด "ผมเป็นเด็ก
OUT GOING คือไม่ได้อยู่แต่ในหนังสือ ตำราเท่านั้น ผมรู้สึกว่าหนังสือมันไม่เพียงพอสำหรับผม"
แม้เขาจะบอกว่า เขาเรียนหนังสือไม่เก่ง แต่เขาก็สามารถเรียนจบปริญญาตรีทางด้านสถาปัตยกรรม
ซึ่งไม่น่าจะทำให้เขากลายมาเป็นพ่อค้า หรือนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจคอมพิวเตอร์ได้เลย
เขาน่าจะกลายเป็นสถาปนิกผู้มีชื่อเสียงในวงการออกแบบ ก่อสร้าง หรือแม้กระทั่งเชี่ยวชาญในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ดูจะกลมกลืนกับสิ่งทีเขาเรียนมามากว่า
แต่แล้วด้วยความที่เป็นคนชอบความท้าทาย ชอบแสวงหาสิ่งแปลกใหม่เมื่อเขาจบปริญญาตรีแล้วเขาจึงเริ่มออกเดินทางไปแสวงหาประสบการณ์ยังอเมริกา
และเขาก็สั่งสมประสบการณ์มาเรื่อย ๆ จวบจนมาปักหลักอยู่ ณ ประเทศไทย และที่นี่เองที่ทำให้เขาหักเหเข้าสู่ธุรกิจคอมพิวเตอร์
"สมัยที่ผมทำงานอยู่โรงงานเหล็ก ผมมีโอกาสได้ไปญี่ปุ่นอีกครั้ง และได้ไปพักที่บ้านเพื่อน
ซึ่งเขามีคอมพิวเตอร์ ผมก็ไปเล่นที่บ้านเขา มีเกมให้เล่น เล่นไปเล่นมาก็เกิดคำถามว่า
ทำไม่เราโง่จัง เราไม่รู้จักมัน พอมาจับ เอ๊ะมันก็เล่นได้ เราก็เล่นกับมันและความคิดหนึ่งก็แวบเข้ามาว่า
นี่คือนาคตของเราหรือเปล่า นี่คืออนาคตของคนไทยหรือเปล่า นี่ใช่เลย มันทำได้ตั้งหลายอย่างทำบัญชี
เล่นเกมได้ สมัยที่เราเรียนหนังสือเราจะรู้จักคอมพิวเตอร์ในฐานะ "เครื่องตอกบัตร"
คีย์บอร์ดไม่มีสิทธิที่สัมผัสเลย แต่นี่มันสามารถทำอะไรได้ตั้งหลายอย่าง
แตกต่างกับเมื่อ 5-6 ปีก่อน โลกเปลี่ยนไปแล้ว เราบอกว่านี่คือสิ่งที่เราต้องการ
เราก็เลยเอาไอเดียมาขาย ส่วนเรื่องดรงงานไม่ทำแล้ว โรงงานพอแล้ว" นั่นคือ
ต้นตอการก่อกำเนิดบริษัทค้าคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า "โภคภัณฑ์เครดิต"
ด้วยเงินทุนเพียง 2 ล้านบาท และต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สหวิริยาโอเอ"
ที่เรารู้จักกันดีในปัจจุบัน
แจ๊คเล่าว่า หุ้นส่วนในการก่อตั้งบริษัทนี้มี "เสี่ยวิทย์" หรือวิทย์
วิริยะประไพกิจ เจ้าพ่อวงการค้าเหล็กคนหนึ่งของเมืองไทย ในขณะนั้น คุณหญิงประภา
วิริยะประไพกิจ อุดม องค์ธเนศ บิดาของเขาและตัวเขาเอง ซึ่งในตอนแรกหุ้นส่วนแต่ละคนของแจ๊กก็ไม่ได้คาดหวังอะไรมาก
แต่ก็ลองเสี่ยงดูกับไอเดียของแจ๊คและพวกเขาก็พบว่า แจ๊คไม่ได้ทำให้เขาผิดหวัง
เพราะก่อนที่เขาจะเริ่มธุรกิจเขาจะศึกษา และสำรวจก่อนว่า บริษัทไหนมีจุดอ่อน
จุดแข็งอะไรบ้าง ซึ่งเขาใช้วิธีการเข้าไปเป็นลูกค้าบริษัทใหญ่ ๆ เหล่านั้นและเข้าไปอาสาส่งของเองด้วย
เพื่อที่บริษัทนั้นจะได้ติดต่อกับเขาเพียงบริษัทเดียว
กลยุทธ์นี้แจ๊คใช้ได้ผล เขาสามารถทำให้บริษัทแปลงสภาพจากบริษัทขายคอมพิวเตอร์เล็ก
ๆ ที่มีคนทำงานเพียง 4-5 คน และไม่มีแม้กระทั่งห้องทำงานให้กลายเป็นบริษัทขายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีคนทำงานกว่าพันคน
มีบริษัทในเครือถึง 20 แห่ง และที่สำคัญเป็นหนึ่งในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่สามารถยืนได้อย่างสง่าผ่าเผย
ณ วันนี้
แจ๊คเริ่มต้นเล่าถึงหนทางแห่งความสำเร็จนี้ว่า "แรกเริ่มที่เปิดบริษัท
OFFICE ของผมคือทางเดินที่จะเข้าห้องน้ำ แต่ผมโชคดีเพราะผมถูกฝึกมาให้รับสภาพอย่างนั้นได้
ผมรู้จักคำว่า ตกต่ำคืออะไร เพราะฉะนั้นผมจึงเข้าใจคำว่าตกต่ำ ผมเข้าใจว่า
ความยากลำบากตั้งแต่ศูนย์คืออะไร
สมัยก่อนที่ผมอยู่โรงงานเหล็กผมได้รับเงินเดือน 15,000 บาท แต่ผมมาทำบริษัทค้าคอมพิวเตอรื
เงินเดือนผมเหลือแค่หมื่นบาท ซึ่งเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว เงินหมื่นห้านี่ถือว่าเยอะทีเดียว
จากหมื่นห้าเหลือหมื่นเดียว ญี่ปุ่นก็ยังถามผมว่า บ้าหรือเปล่า มีแต่เขาย้ายงานใหม่แล้วเขาได้เงินมากขึ้น
แต่นี่เงินเดือนลดลง ผมก็บอกว่าผมรับผิดชอบตัวผมเอง"
ปราการด่านแรกในเรื่องของสถานที่และค่าตอบแทนก็ไม่สามารถยับยั้งเขาได้
เขายังคงมุ่งมั่นต่อไป และก็เริ่มนำคอมพิวเตอร์เข้ามาขาย โดยเริ่มจากการไปเจรจากับบริษัทคอมพิวเตอร์ของญี่ปุ่นคือ
โอกิ เข้ามาเป็นยี่ห้อแรก ซึ่งปีแรกทั้งปีเขาขายได้เพียงไม่กี่เครื่อง ทำให้มียอดขายเพียงล้านกว่าบาทเท่านั้น
และลูกค้ารายใหญ่ของเขาก็คือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ ซึ่งเขายังประทับใจในวิสัยทัศน์ของผู้บริหารของมหาวทิยาลัยนี้มาจนถึงปัจจุบัน
"ลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของผมคือ ม.กรุงเทพฯ บริษัทอื่นเขาจะขายของอย่างเดียว
แต่ของผมไม่ใช่ เหตุผลที่ขายได้ก็ง่ายนิดเดียวคือ เพียงแต่ผมบอกเขาว่าของเรามีภาษาไทย
ดังนั้นเขาก็ตัดสินใจซื้อของผมก็เพราะผมมีโปรแกรมภาษาไทย ซึ่งสมัยก่อนทุกคนก็บอกว่าผมเพี้ยนจะทำภาษาไทยไปทำไม
เพราะคนจะซื้อคอมพิวเตอร์จะต้องมีการศึกษาแล้ว ทุกคนต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็น
ทำภาษาไทยออกมาจะขายให้ใคร ผมก็บอกว่าผมนี่แหละจะขายให้ทั่วประเทศ"
และเขาก็สามารถทำได้สำเร็จสหวิริยาโอเอเป็นเจ้าแรกที่มีโปรแกรมภาษาไทย แต่กว่าที่จะสำเร็จออกมาเป็นจุดขายของบริษัทได้นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
"เวลาทำนี่อุปสรรคเยอะมาก ที่ปรึกษาของเราบอกว่าต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญ
ต้องจ้ารระดับดร. ผมก็บอกว่าผมอยากจะจ้างเขาแต่เขาจะยอมให้ผมจ้างหรือเปล่า
ทั้งบริษัทมีทุนจดทะเบียนแค่สองล้านบาท ยอดขายล้านกว่าบาท ห้องทำงานก็ไม่มี
โต๊ะก็ไม่มีให้นั่ง ห้องทำงานผมอยู่ตรงทางเดินหน้าห้องน้ำ ห้องเล็ก ๆ ใครจะมาทำกับผม"
เขาเล่า และแล้วเขาก็ยอมทำตามคำแนะนำของที่ปรึกษา จึงได้จ้างผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นมาทำให้
ใช้เวลากว่า 3 เดือนก็ยังไม่สำเร็จ เขาจึงเกิดความคิดใหม่คือ จ้างนักศึกษาให้มาทำให้น่าจะดีกว่า
"ที่ปรึกษาญี่ปุ่นมาทำให้ผม 3 เดือนไม่สำเร็จ ผมเลยจ้างนักศึกษา ผมบอกว่าผมเชื่อมั่นในศักยภาพของนักศึกษา
เพราะผมเคยเป็นนักศึกษามาก่อน ผมรู้ว่าการที่เราเป็นที่หนึ่งได้นั้น มันมีเหตุผลจริง
ๆ นะไม่ใช่เรื่องบังเอิญคือ เวลาคนอื่นนอนเราทำงานเวลาที่คนอื่นเที่ยว เราก็ขยันที่จะวาดที่จะเขียนที่จะออกแบบ
ไม่งั้นเราไม่เป็นที่หนึ่งหรอก มันไม่ใช่ว่าเราฉลาดกว่าคนอื่น เราใส่ใจกว่าคนอื่นมาก
นั่นคือเหตุผล
ผมรู้ถึงความรู้สึกของนักศึกษาดี เด็กวิศวะคอมฯ จุฬารุ่นหนึ่ง 17 คน ผมรับมา
15 คน ผมบอกว่า คุณเป็นนักศึกษาคุณไม่มีรายได้ คอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ทั่วไปก็ไม่มีใครให้คุณเข้าไปทดลองหรอกส่วนใหญ่เป็นเมนเฟรม
เขาไม่ให้คุณใช้หรอก แต่ที่เรามีให้คุณใช้ ให้คุณทดลองอย่างเต็มที่ และผมก็ยืนยันที่จะใช้นักศึกษา
ผมตั้งการบินให้เลย เราเป็นคนไทย เราต้องทำภาษาไทยปลุกระดมในเรื่องของความรู้สึกรักชาติ
ปลุกระดมในเรื่องของความสามารถของนักศึกษา ไฟแรงของนักศึกษา พวกเขาไม่นอนไม่กินอยู่กับผม
3 เดือนเท่านั้นเองก็คิดออกมาสำเร็จ ญี่ปุ่นที่ผมจ้างมาเดือนละ 70,000 บาทยังคิดไม่ออกเลย
นักศึกษานี่จ่ายอาทิตย์หนึ่งไม่ถึง 700 บาท 3 เดือนเท่านั้นเองก็คิดออกมาสำเร็จ
ญี่ปุ่นที่ผมจ้างมาเดือนละ 70,000 บาทยังคิดไม่ออกเลย นักศึกษานี่จ่ายอาทิตย์หนึ่งไม่ถึง
700 บาท 3 เดือนทำได้ออกมา น่าตกใจไหมนั่นคือเหตุผลที่ผมชนะใจมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
และสิ่งที่เราได้มาก็คือ ภาษาไทยเพิ่มขึ้นมาบนเครื่องที่มีทุกอย่างเหมือนกับที่คนอื่นมีคือ
มีภาษาอังกฤษ เราขายในราคาที่เท่ากับคนอื่น แต่ของเรามีภาษไทยด้วย ซึ่เขาก็ตัดสินใจซื้อของผม
และความรู้สึกเริ่มต้นตรงนี้ผมไม่มีวันลืม"
นั่นคือจุดเริ่มต้นที่แจ๊คให้โอกาสนักศึกษาไทย เพราะนั่นคือความสำเร็จหลังจากนั้นเขาก็ให้นักศึกษารุ่นต่อ
ๆ ไปมาทำงานให้กับสหวิริยา ซึ่งนักศึกษาเหล่านั้นบางคนยังคงทำงานอยู่กับเขาจนทุกวันนี้
บางคนไปเรียนต่อเป็นดอกเตอร์กลับมาก็ยังมาทำงานกับเขา
ณ วันนั้นเขาสามารถทำให้วงการค้าธุรกิจคอมพิวเตอร์สั่นคอลนด้วยเพียงตัวหนังสือภาษาไทยที่เพิ่มขึ้นมาตอนนั้นถ้าใครไม่มีภาษาไทยก็ขายไม่ได้
นับเป็นการเดินเกมที่ถูกทางของแจ๊ค
"คนที่เคยบอกว่า ถ้าทำภาษาไทยแล้วจะขายให้ใครกลับเป็นฝ่ายขายไม่ได้แทน
เราก็ขายมาเรื่อย ๆ โตมาเรื่อย ๆ ก็ไม่ได้คิดอะไร จุดเริ่มต้นไม่ได้คิดอะไร
รู้แต่ว่านี่คืออนาคตของเรา นี่คือสิ่งที่เราจะต้องทำให้ดีที่สุด นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่าความเสมอภาค
การเป็นบริษัทใหญ่ไม่ได้เป็นการค้ำประกันว่าจะต้องทำทุกเรื่องให้ได้ดี มีตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนมากคือ
ผมไปขอให้ตัวแทนค้าคอมพิวเตอร์มาชมบริษัทผม เขาเห็นห้อทำงานแค่นี้ มีพนักงานอยู่กัน
3 คน ในขณะที่คนอื่นคู่แข่งผมใหญ่โตทั้งนั้น มีพนักงานตั้ง 50 คน แต่ในสุด
SUPPLIER ตัดสินใจให้ 5 คนไม่ได้ให้ 50 คน มหัศจรรย์ไหม จุดขายของผมก็มีแค่นี้
"ผมไม่จำเป็นต้องใหญ่แต่ผมเอาจริง" "ผมอยากขายของให้ของของคุณเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยก็เท่านั้น"
กลยุทธ์ความตั้งใจจริงทีแจ๊คสามารถใช้ได้ผลเป็นอย่างดี
"การที่บริษัทผมเล็กมากผมคงสู้เขาไม่ได้ในเรื่องของจำนวนคนและความยิ่งใหญ่
แต่ผมสามารถชนะเขาได้ เพราะผมจะไม่มีวันขายสินค้าที่เป็นสินค้าเดิมเท่านั้น
ผมบอกว่า ผมจะทำให้สินค้าทมีมุลค่าเพิ่มขึ้นมา และการที่เป็นบริษัทนั้นเล็กดีกว่าบริษัทใหญ่เพราะว่า
บริษัทใหญ่จะมีศัตรูต่างคนต่างใหญ่และไม่ยอมซื้อกันผมบริษัทเล็กแต่เป็นเพื่อนกับทุกคน
พวกเขารู้ว่าผมเล็ก เพราะฉะนั้นผมไม่ใช่ศัตรู" นั่นคือการพลิกจุดอ่อนเป็นจุดแข็งของแจ๊คและนั่นก็ทำให้สหวิริยาเป็นตัวแทนจำหน่ายคอมพิวเตอร์ให้แก่หลายยี่ห้อ
แม้กระทั่งการได้เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชของ APPLE
ซึ่งเขาได้เล่าถึงความยากลำบากที่กว่าจะได้เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชของ
APPLE ได้นั้นว่า
"เป็นเรื่องที่ยากแสนยาก คือเขารู้ว่าเราทำ PC เขาไม่อยากให้เราทำ
MAC เขาให้เรายกเลิกขาย PC มาขาย MAC อย่างเดียว ผมก็บอกเขาว่า ที่คุณต้องการให้ผมทำเช่นนั้นก็เพราะคุณกลัวสิ่งที่ผมมีอยู่
และผมบอกคนจาก APPE อีกว่าคุณจะไม่มีวันชนะผม เพราะคุณต้องเริ่มต้นจากศูนย์
แต่ผมมีประสบการณ์ในเรื่องเหล่านี้ และผมประสบความสำเร้จในเรื่องภาษาไทย
ผมมีความสามารถที่จะทำภาษาไทยให้อยู่บนเครื่องคุณได้ทันที เขาก็ไม่ยอม ยืนยันให้ผมยกเลิกยี่ห้ออื่นทั้งหมดมาขายของเขาคนเดียว
ผมก็ทำใจแข็งในตอนนั้น ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงที่สูงมาก แต่ผมยังคงยืนยันว่า
"ไม่" คำเดียว และยืนยันว่าสิ่งที่ผมจะทำให้เขาก็คือการ SET DIFFERENCE
ORGANIZATION มารับผิดชอบสินค้าของเขาโดยเฉพาะ และความรู้ที่ผมมีอยู่ก็จะถ่ายทอดให้ทั้งหมด
APPLE จะไม่ใช่เริ่มต้นจากศูนย์ APPLE จะต้องเริ่มต้นจาก 50% ถ้าเป้าหมายของเราคือ
100% และผมก็โชว์แผนงาน 6 เดือนที่วางไว้ให้เขา
ผมพรีเซนต์ขนาดนี้เขายังไม่ยอมเลย เขาก็ไปคุยกับรายอื่นที่ขายแต่เครื่องขาย
APPLE อย่างเดียวได้ และเขาก็กลับมาหาผมอีก ผมก็ยังใจแข็งอยู่และบอกเขาว่า
เอาล่ะ ถ้าคุณยังคงยืนยันอย่างนี้ APPLE ไม่มีทางเกินแน่ในไทย เขากลับไปที่ฮ่องกงได้
3 วัน สุดท้ายก็ส่ง FAX มาให้ผม ตกลงผมให้คุณ เงื่อนไขก็คือ คุณต้องเอาความรู้ของคุณมาใส่ใน
APPLE และต้องเป็นไปตามแผนที่คุณว่าคือเริ่มจาก 50 ไม่ใช่ 0 นั่นคือชัยชนะของเรา"
ณ วันนั้นเขาทำใจแข็งและบอกว่าทุกคนที่เชื่อว่าพเขาพลาดแน่ ๆ ว่า "เชื่อผมเถอะ
เราต้องได้ในที่สุด" เพราะเขาเชื่อว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การพูดกับคนอื่น
เหมือนกับการทำสงครามถ้าแม้ทัพนายกองนายพันกลัวไปก่อนก็แพ้สงครามแน่ "สำคัญที่สุดคือคุณต้องมีความยึดมั่นว่า
คุณดีจริงนะ ในที่สุดคุณก็จะเป็นผู้ชนะ"
"ผมกลัวที่สุดในสังคมเรา ณ วันนี้ก็คือ เราชอบปฏิเสธตัวเรา ว่าเป็นไปไม่ได้
ซึ่งถ้าเราคิดว่าเป็นไปไม่ได้ ความพยายามมันก็ไม่เกิดแล้ว ต้องได้ก่อนซิ
ผมเกลียดที่สุดคือ พนักงานมาคุยกับผมยังไม่ทันทำมาบอกว่าทำไม่ได้ แพ้แล้ว
จินตนาการไม่เกิดของใหม่ไม่เกิด ยังไม่ได้แข่งก็แพ้แล้ว มีอะไรต้องบอกว่าได้ก่อน
แล้วค่อยหาทางที่จะทำให้ได้ ทางนั้นมันมี แต่ขึ้นกับเราค้นหามัน ถ้าเราไม่ค้นแล้วบอกว่าไม่ได้ไม่มีก็จบแล้ว"
นี่คือปรัชญาการทำงานของ JACK ซึ่งเขาก็พิสูจน์แล้ว่ามันถูกทุกครั้ง
จากเรื่องราวความเป็นมาเป็นไปของแจ๊คสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อที่แจ๊คประมวลจากประสบการณ์ทำงานได้ว่า
"ถ้าคนเราไม่รู้จักต้นจากพื้นฐาน เราจะไม่มีวันที่จะบริหารงานใหญ่ได้
ก็เหมือนกับนายกรัฐมนตรี คนที่จะมาเป็นนายกฯ หาไม่เคยผ่านอะไรที่หลากหลาย
ไม่รู้ความต้องกรของประเทศที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร ผมไม่คิดว่าคนนั้นจะเป็นนกยกที่ดีได้เพราะว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศก้คือคนชั้นล่าง
ส่วนฐานของพีระมิด ซึ่งถ้าคุณไม่เข้าใจชั้นล่าง และคุณจะเข้าถึงคนชั้นล่างได้อย่างไร
นั่นคือวัฒนธรรมที่ผมพยายามสร้าง ผมพยายามให้คนของผมสัมผัสกับข้างล่าง เพราะถ้าคุณไม่รู้จักใช้ข้างล่างให้เป็นประโยชน์
คุณไม่เป็นส่วนหนึ่งของชั้นล่าง คุณจะเป็นหัวหน้าที่มี PRODUCTIVITY สูงไม่ได้
สมัยก่อนงานของผมคือ WALKING AROUND งานของผมคือเดินไปทักเขา ถามทุกข์สุขเขา
แต่พอมีหัวหน้าส่วนเยอะขึ้น ผมจะทำอย่างนั้นต่อไปไม่ได้แล้ว เพราะหัวน้าแต่ละชั้นจะไม่มีความหมาย
ดังนั้นผมจึงพยายามที่จะถ่ายทอดให้พวกเขาทำแบบที่ผมเคยทำ"
สิ่งนี้เองที่เขาพยายามที่จะสร้างให้เป็นวัฒนธรรมในการทำงานให้เกิดแก่บุคคลในองค์กร
ซึ่งเจาได้ประมวลแนวความคิดวัฒนธรรมการดำเนินชีวิต การดำเนินงานออกมาเป็นหนังสือ
เพื่อให้พนักงานได้สามารถใช้เป็นแบบอย่างอ้างอิงในการดำเนินงาน และล่าสุดเขากำลังรวบรวมแนวทางในการดำเนินธุรกาจของนักธุรกิจผู้มีชื่อเสียงหลายคนด้วยกัน
ซึ่งเล่มนี้จะจำหน่ายออกสู่ตลาดและรายได้ทั้งหมดจะเข้ามูลนิธิของแจ๊ค ซึ่งยังไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการ
"ผมคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่ผมจะทำมูลนิธิขึ้นมา ผมก็จะทำหนังสือขึ้นมาเป็น
CASE STUDY ให้กับคนอื่น เสนอเรื่องราวประสบการณ์ที่มีทั้งล้มเหลวและประสบความสำเร็จ
และเงินที่ได้จากขายหนังสือก็นำมาสร้างห้องสมุดให้กับวัดต่าง ๆ ในทุกศาสนา
และสนับสนุนนักศึกษาที่ต้องการสร้างโครงการใหม่ ๆที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ไทย
ผมถือว่าผมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย และผมไม่สามารถเป็นผู้บริหารประเทศในรูปแบบของหน่วยงานราชการได้
ผมก็ต้องหาทางออกเพื่อจะมีสิทธิ์ที่จะทำสิ่งเหล่านี้ และทางออกของผมก็คือเป็นนักพัฒนาสังคม
คือไม่จำเป็นต้องเป็นนักการเมืองแต่เราก็ช่วยประเทศชาติได้ งานของเราคือเป็น
SOCIAL DEVELOPER" เขากล่าวอย่างมุ่งมั่น
ใครจะนึกบ้างว่า การที่แจ๊คเป็นคนทำงานชนิดที่เรียกว่าหาเวลาหยุดพักได้ยากมากเช่นนี้
เขาจะมีเวลานั่งคิดในเรื่องของความคิด การเรียนรู้ หรือแม้กระทั่งการคิดถึงสังคมหรือ
และต่อจากนี้คือคำตอบที่ตอบคำถามนี้ได้ดีที่สุด
"จริง ๆ ผมให้ความสำคัญตรงนี้ตลอดเวลา ผมรู้สึกว่าผมถูกสร้างขึ้นมา
ดังนั้นเมื่อผมมีพอผมก็อยากให้คนอื่นบ้า อย่าตอนนี้ผมมีทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาราชมงคลทั่วประเทศ
ซึ่งผมทำมาเกือบ 7-8 ปีแล้ว ใช้เงินไปประมาณ 4-5 ล้านบาท เป็นทุนการศึกษาที่ให้กับระดับการเรียนชั้นกลาง
ปีละประมาณ 50 ทุน ชื่อว่า "ทุนอิงค์ธเนศ"
สังคมในความหมายของแจ๊คคือความหลากหลาย สังคมคือการอยู่ร่วมกับคนทุกชนิดทุกระดับ
และเขาคิดว่า ณ วันนี้ สิ่งที่ประเทศไทยต้อการมากที่สุดคือ ความรู้ในเรื่องของการจัดองค์กร
การบริหารองค์กรสาเหตุที่เขาคิดเช่นนั้นก็เพราะเขาเชื่อว่า ในปี 2003 AFTA
จะต้องเกิดดังนั้นการดำเนินธุรกิจของไทยต้องก้าวออกไปสู่ต่างประทศมากขึ้นอย่างแน่นอน
แต่ ณ วันนี้ ที่น่าเป็นห่วงก็คือ "คนไทยไม่ได้ถูกฝึกที่จะทำธุรกิจระดับนานาชาติ"
นี่คือมุมมองของนักธุรกิจเชื้อสายจีนผู้ผูกพันกับสังคมไทย และสิ่งที่เขาทิ้งท้ายไว้ให้คิดว่าถึงเวลา
หรือยังที่เราจะมองตัวเราเองว่า พร้อมที่จะแข่งขันและก้าวสู่ความเป็นสากลในอนาคตอันใกล้นี้