สาระสำคัญเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

โดย สนิทวงศ์ เจริญรัตตะวงศ์
นิตยสารผู้จัดการ( ธันวาคม 2539)



กลับสู่หน้าหลัก

พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ระบุว่าเป็นกองทุนซึ่งนายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งด้วยความสมัครใจและได้จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว

วัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อสร้างหลักประกันและความมั่นคงของลูกจ้างและครอบครัว ในกรณีลูกจ้างเกษียณอายุหรือลาออกจากงานหรือเสียชีวิตหรือลาออกจากกองทุน และอีกประการเพื่อสนับสนุนการออมระยะยาวแบบผูกพัน เป็นการระดมเงินออมจากภาคเอกชนเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ

โครงสร้างการบริหารกองทุน ประกอบด้วย

- คณะกรรมการกองทุน ได้แก่ตัวแทนที่ได้รับการเลือกตั้งจากลูกจ้างและตัวแทนที่ได้ รับแต่งตั้งจากนายจ้าง

- ผู้จัดการกองทุน ได้แก่ สถาบันการเงินที่ได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งจากคณะ กรรมการกองทุน เพื่อทำหน้าที่บริหารเงินกองทุน

เงินกองทุน ประกอบด้วย

1. เงินสะสม เงินที่ลูกจ้างจ่ายสะสมเข้ากองทุน หักจากเงินเดือนเข้ากองทุนไม่ต่ำกว่า 3-15% ของค่าจ้าง

2. เงินสมทบ เงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุน ในอัตราที่ไม่ต่ำกว่าเงินสะสมที่ลูก จ้างจ่าย แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง

3. เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีผู้อุทิศให้หรือผลประโยชน์จากเงินสะสมและเงินสมทบ

หน้าที่ของผู้จัดการกองทุน

1. บริหารเงินสะสมและเงินสมทบเพื่อให้ได้ผลประโยชน์กลับมามากที่สุด

2. จัดให้มีการตรวจสอบบัญชีโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาตและต้องดำเนินการให้เรียบ ร้อยภายใน 120 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นระยะเวลาบัญชี

3. จัดทำรายงานการจัดการกองทุนตามแบบที่กม.กำหนดและจัดส่งไปกระทรวงการคลัง และบริษัทเจ้าของกองทุนภายใน 20 วันของเดือนถัดไป

4. จ่ายเงินกองทุนเมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพ (เสียชีวิต/ลาออกจากงาน/เกษียณอายุ/ลา ออกจากงาน/เกษียณอายุ/ลาออกจากกองทุน) โดยจะต้องจ่ายเงินรวมทั้งหมดภายในเวลาไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างสมาชิกภาพ

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการลงทุนของกองทุน

1. ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงไม่น้อยกว่า 60% ของเงินกองทุนได้แก่

- เงินสด เงินฝากธนาคาร หรือบัตรเงินฝากที่ธนาคารเป็นผู้ออก

- พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรธปท.

- ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐวิสาหกิจที่มีกม.เฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก

- ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย

- ตั๋วแลกเงิน/ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้รับรอง รับอาวัล หรือสลักหลัง

- ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ธนาคารเป็นผู้ออก

- ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของบริษัทได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ

2. ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงไม่เกิน 40% ของเงินกองทุน ได้แก่

- ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐวิสาหกิจ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมบริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้ออก

- หลักทรัพย์ (หุ้น หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่ จะซื้อหุ้น)

- บัตรเงินฝากที่บริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก

- ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้รับ รอง รับอาวัล หรือสลักหลัง

- ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมหรือบรรษัท เงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมเป็นผู้ออก

หมายเหตุ การลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับ (Rating) สามารถลงทุนได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินกองทุน

การลงทุนในหลักทรัพย์เหล่านี้สามารถลงทุนรวมกันได้ไม่เกิน 25% ของเงินกองทุน และในแต่ละบริษัทลงทุนได้ไม่เกิน 5% ของเงินกองทุน

สิทธิประโยชน์ทางภาษี ฝ่ายลูกจ้าง

- เงินสะสม สามารถนำมาลดหย่อนภาษีเงินได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาทต่อปี และส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 290,000 บาท ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำไปคำนวณภาษี

- เงินก้อนลูกจ้างที่ได้รับเมื่อออกจากกองทุนในกรณีต่อไปนี้ จะได้รับการยกเว้นภาษี เงินได้ทั้งจำนวน

1. เกษียณอายุ ลูกจ้างต้องเป็นสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี และมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี

2. ทุพพลภาพ ได้รับการรับรองจากแพทย์ว่าไม่สามารถปฏิบัติงานได้ไม่ว่าเหตุของ ทุพพลภาพนั้นจะเกิดจากการปฏิบัติงานหรือไม่

3. เสียชีวิต โดยให้สิทธิประโยชน์แก่ทายาทของลูกจ้าง ไม่ว่าการเสียชีวิตนั้นจะเกิด จากการปฏิบัติงานหรือไม่

กรณีที่ลูกจ้างลาออกโดยมีอายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป เงินสะสมที่ได้รับไม่ต้องนำไป รวมคำนวณภาษีเงินได้ ส่วนที่จะนำมาคำนวณภาษีคือ เงินสมทบ พร้อมผลประโยชน์ของเงินสะสม และผลประโยชน์ของเงินสมทบ ซึ่งสามารถลดหย่อนภาษีได้ ดังนี้

1. ลดหย่อนได้เท่ากับ 7,000 X จำนวนปีที่ทำงาน แต่ไม่เกินเงินได้พึงประเมิน

2. ที่เหลือหักออกได้อีก 50%

นำเงินที่เหลือไปคำนวณภาษี โดยไม่ต้องรวมกับเงินได้อื่น

ฝ่ายบริษัทหรือองค์กร

- เงินสมทบที่บริษัทจ่ายถือเป็นรายได้ของพนักงานที่ยังไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้ในปีนั้น ๆ แต่จะนำมารวมในรายได้พึงประเมินเมื่อได้รับเงินจริง โดยเงินจำนวนดังกล่าวนี้บริษัทสามารถตัดเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินเดือนลูกจ้างฝ่ายกองทุน

- ผลประโยชน์จากการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (WITHHOLDING TAX) รายชื่อผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใหม่ 19 ราย การจัดทำรายงานของกองทุน

ประเภท การจัดส่งต่อครั้ง 1. รายงานแสดงการจัดการกองทุน 1 เดือน 2. รายงานรายตัวสมาชิกกองทุน 6 เดือน 3. รายงานยอดเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ 6 เดือน 4. รายงานฐานะการเงินเปรียบเทียบ 1 ปี 5. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 1 ปี

ธนาคารพาณิชย์ 6 ราย

ธ.กรุงเทพ, ธ.กสิกรไทย, ธ.กรุงไทย, ธ.กรุงศรีอยุธยา, ธ.มหานคร, ธ.สหธนาคาร

บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 6 ราย

บงล.กรุงไทยธนกิจ, บงล.เอสซีเอฟ, บงล.เกียรตินาคิน, บงล.เจ้าพระยา, บงล.ไอเอฟซีทีไฟแนนซ์, บงล.คาเธ่ย์ทรัสต์

บริษัทหลักทรัพย์ 2 ราย

บล.เจ.เอฟ.ธนาคม, บล.เอกธำรง

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม 2 ราย

บลจ.กสิกรไทย, บลจ.ไทยพาณิชย์

บริษัทประกัน 3 ราย

บ.ไทยประกันชีวิต บ.ประกันชีวิต ศรีอยุธยา จาร์ดีน ซีเอ็มจี, เบ.เอ.ไอ.เอ.

ข้อสังเกต

1. หากลูกจ้างถูกไล่ออก กองทุนจะจ่างคืนเงินให้เฉพาะส่วนของเงินสะสมที่ลูกจ้างได้ จ่ายเข้ากองทุนและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสะสมเท่านั้นแต่ไม่รวมเงินสมทบจากบริษัท ทั้งนี้ไม่มีระบุในพ.ร.บ. แต่จะกำหนดไว้ในสัญญา

2. เงินที่เข้ากองทุนไม่สามารถถอนออกมาใช้ได้ แต่สมาชิกสามารถขอกู้เงินกองทุนได้ ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราเงินกู้จากธนาคาร



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.