ข้อจำกัด SME ไทย


นิตยสารผู้จัดการ( มกราคม 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

จากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรวดเร็ว ในห้วง 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทอำแดงเซรามิคส์ จำกัด มีปัญหาขาดทุนหมุนเวียนไม่น้อยเช่นกัน เงิน ที่จะนำมาใช้ในการผลิตหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์สะดุดไม่ต่างจากผู้ประกอบการรายอื่นๆ สถาบันการเงินไม่ปล่อยกู้ การใช้จ่ายสำหรับวัตถุดิบต้องใช้เงินสดทั้งหมด ขณะที่ลูกค้าหลายรายมีปัญหาค้างชำระค่าสินค้า แต่โรงงานยังคงมีค่าใช้จ่ายประจำ (Fix cost) ซึ่งไม่สามารถลดได้ เพื่อคงสภาพโรงงานให้อยู่ได้พร้อมต่อการผลิต เพื่อส่งออก

ไชยพรแสดงความเห็นว่านโยบายสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อมของรัฐนั้น ในความเป็นจริงไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้ เพราะรัฐไม่เข้าใจคำว่าธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อมหรือ SMEs ดีพอ จำกัดความของ SMEs เฉพาะกิจการที่จดทะเบียนนิติบุคคลเท่านั้น ขณะที่กิจการ SMEs ส่วนใหญ่ในประเทศนี้ โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาคต่างเป็นธุรกิจกึ่งครอบครัว ถือหุ้นโดยสมาชิกในครอบครัวหรือกลุ่ม เพื่อนมากกว่า ซึ่งหากได้รับการสนับสนุนเต็มที่ก็มีศักยภาพมากพอ ที่จะพัฒนาไปสู่บริษัท ที่ได้มาตรฐานสากลเช่นกัน

แต่ในกระบวนการระเบียบการขอสินเชื่อจากธนาคารนั้น ผู้ประกอบการต้องเสนอรายงานผลประกอบการ เพื่อเป็นหลักฐานแสดงเครคิต ซึ่งผู้ประกอบการ SMEs ต่างจังหวัดไม่สามารถจัดทำได้ จึงไม่ได้รับการพิจารณาจากแบงก์ เพราะโดยมากระบบการจัดการบัญชีไม่เป็นระบบ และเพิ่งตื่นตัวจดทะเบียนเป็นบริษัทเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง ทั้ง ที่กิจการนั้น ๆ มีความสามารถในการทำตลาด ทางออก เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ดำเนินการต่อไปได ้ควรจะใช้เกณฑ์สอบประวัติการทำธุรกิจมาประกอบพิจารณามากกว่า

ธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อม ที่จะสามารถประคองกิจการอยู่ได้ในสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจเช่นนี้ เพราะเจ้าของดำเนินการการผลิต และบริหารเอง ถือเป็นกิจการขนาดย่อม ที่แท้จริง มีฐานการผลิตชัดเจน แต่รัฐไม่เห็นความสำคัญ ไม่ได้รับจ้างผลิตเหมือนหลายต่อหลายกิจการ ซึ่งต่างปิดตัวไปแล้ว

ไชยพรกล่าวถึงการเปิดช่องทางจำหน่ายเพิ่มในอินเตอร์เน็ต ด้วยการเปิด e-mail address: umdang@korat.a-net.net.th มาได้กว่าขวบ ปีแล้ว เพื่อใช้เป็นช่องทางติดต่อกับลูกค้าต่างประเทศนอกเหนือจากโทรศัพท์-โทรสารนั้น ยังมีไม่ค่อยสะดวกสักเท่าไหร่ เพราะช่องสัญญาณไม่ค่อยว่าง เป็นไปได้อยากเสนอให้รัฐบาลจัดตั้งศูนย์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-commerce ขึ้นในส่วนภูมิภาค เช่น ที่จังหวัดเชียงใหม่ และนครราชสีมา ใช้ร่วมกันเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการส่งออก

โดยรัฐเป็นผู้ลงทุน เพราะหากให้เอกชนลงทุนต้นทุนค่าใช้จ่ายจะสูง หากสามารถทำได้จะเป็นการกระตุ้นการผลิต เพื่อการส่งออกได้ดี ทั้งเป็นการ จูงใจให้ผู้ส่งออกรายใหม่เกิดขึ้นมากกว่าเดิม รายได้จากธุรกิจส่งออกจะได้สูงขึ้น



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.