|

คลังทุ่มสุดตัวจำนำหุ้น"อสมท"อุ้ม TMBพบเทมาเส็กถืออ้อม-แก้เกณฑ์ถือต่ำ70%
ผู้จัดการรายสัปดาห์(14 สิงหาคม 2549)
กลับสู่หน้าหลัก
กระทรวงการคลังอุ้มแบงก์ทหารไทยสุดฤทธิ์ ใช้วิธีการแปลกยอมนำหุ้น อสมท จำนำแบงก์ออมสิน จนถือหุ้นต่ำกว่า 70% แถมแก้กฎสร้างความถูกต้อง คนในวงการเผยมองได้ว่าถังแตกจริงและหากไล่ที่มาที่ไปพบเชื่อมโยงถึงเทมาเส็ก
หุ้นเพิ่มทุน 3,222.39 ล้านหุ้นของธนาคารทหารไทย หรือ TMB ที่เป็นไปตามมติของคณะกรรมการธนาคารที่อนุมัติไว้ตั้งแต่ 10 มีนาคม 2549 ได้ข้อสรุปแล้วว่าทางกระทรวงการคลังจะใช้สิทธิเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามสัดส่วนที่ถือในหุ้นสามัญอยู่ 20.88% และถือในหุ้นบุริมสิทธิของ TMB ทั้งหมด หรือเกือบ 2 พันล้านหุ้น ด้วยเงื่อนไข 4.75 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ที่ราคา 3 บาทต่อหุ้น ตามรายชื่อผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2549 เบ็ดเสร็จต้องใช้เงินเพื่อรักษาสิทธิในครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 3 พันล้านบาท
สิ่งที่น่าสนใจคือวิธีการหาเงินมาชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนของกระทรวงการคลัง ที่ดูเหมือนจะเป็นความดิ้นรนอย่างมากในการหาเงินเพื่อมาซื้อหุ้นเพิ่มทุน จากที่เราเคยเห็นรัฐบาลอัดเงินหลายแสนล้านบาทแจกจ่ายให้กับโครงการต่าง ๆ อย่างไม่ต้องกังวล
แต่ครั้งนี้ถึงกับต้องมีการจำนำหุ้นบริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) หรือ MCOT ที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ 531 ล้านหุ้นหรือ 77.28% ราว 11% เพื่อให้ได้เงิน 3 พันล้านบาท โดยมีธนาคารออมสิน ธนาคารคู่ใจรัฐที่ตอบสนองนโยบายทุกเรื่องได้เป็นอย่างดีทำหน้าที่รับจำนำหุ้น MCOT พร้อมทั้งคิดดอกเบี้ยฝากประจำ 12 เดือนอยู่ที่ 5% +1.66% ต่อปี หรือเท่ากับ 6.66% ต่อปี และต้องซื้อคืนใน 3 ปี
ลงทุนจำนำหุ้น
แหล่งข่าวจากวงการธนาคารพาณิชย์กล่าวว่า แปลกใจเช่นกันว่าทำไมการซื้อหุ้นเพิ่มทุนใน TMB ของกระทรวงการคลังครั้งนี้จึงค่อนข้างสลับซับซ้อน เพราะที่ผ่านมาหากหุ้นตัวใดที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่หากต้องการเพิ่มทุนก็ไม่เห็นจะต้องใช้วิธีการในลักษณะนี้ ตรงนี้ทำให้หลายฝ่ายมองกันว่าสาเหตุที่ต้องทำในลักษณะนี้เป็นเพราะผู้ถือหุ้นใหญ่รายนี้มีเงินไม่พอหรือไม่ ซึ่งไม่ใช่ภาพที่ดีต่อสาธารณชน โดยเฉพาะกับนักลงทุนต่างประเทศ
เพราะที่ผ่านมากระทรวงการคลังประสบปัญหาด้านการเงิน โครงการก่อสร้างบางส่วนยังไม่ได้รับการเบิกจ่าย หรือการเร่งออกพันธบัตรมากขึ้น สอดรับกับความเป็นไปได้ในการจัดเก็บรายได้ โดยเฉพาะภาษีประเภทต่าง ๆ ในครึ่งปีหลังที่มีแนวโน้มว่าจะจัดเก็บได้น้อยลง อันเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจที่ทำให้ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยภาคประชาชนลดลง
"เราไม่ได้บอกว่าวิธีการนี้ไม่ถูกต้อง เอกชนหลายแห่งก็ทำกัน เอาหุ้นไปจำนำไว้กับสถาบันการเงินแล้วเอาเงินออกมาเพื่อนำไปใช้จ่ายตามจุดประสงค์ แต่เราไม่ค่อยเห็นภาครัฐทำในลักษณะนี้ รวมถึงสงสัยต่อไปว่าเหตุใดแบงก์ทหารไทยจึงมีความจำเป็นมากที่รัฐต้องรักษาสัดส่วนไว้ ขณะที่แบงก์ชาติมีแนวคิดที่จะลดสัดส่วนการถือหุ้นของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่ถือตามสถาบันการเงินต่างๆ"
TMBโยงเทมาเส็ก
หากย้อนกลับไปเมื่อ 21 มกราคม 2547 ธนาคารทหารไทยเป็นแกนหลักในการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารดีบีเอสไทยทนุกับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ IFCT จากเดิมที่ IFCT ถูกวางตัวไว้ให้ควบกับธนาคารไทยธนาคารตามแนวทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยศึกษาไว้
ในช่วงที่ธนาคารทหารไทยมีปัญหาจนต้องขอรับความช่วยเหลือจากทางการ ต้องทำการเพิ่มทุนครั้งหนึ่งมีชื่อพานทองแท้ ชินวัตร เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ใน TMB แต่ขายออกไปเมื่อไหร่กลับไม่มีรายงาน
ในการควบรวมกิจการทำให้ดีบีเอสแบงก์จากสิงคโปร์ เดิมเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารไทยทนุ กลายเป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 2 ที่ 18.48% โดยดีบีเอสนี้ยังร่วมทุนกับกลุ่มชิน คอร์ป ในบริษัท แคปปิตอล โอเค จำกัด โดยถือหุ้น 40% ซึ่งหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารดีบีเอส คือเทมาเส็กจากสิงคโปร์ที่ถือหุ้นในธนาคารแห่งนี้ 28%
นอกจากนั้นผู้ถือหุ้นอันดับ 13 บริษัท อาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 1.03% เคยเป็นผู้บริหารเวลาในสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เมื่อครั้งที่มีพลเอกชัยสิทธิ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก โดยได้มีข้อครหาเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้องอย่างบริษัทฮาวคัม และบริษัท เอส.ที. คอม.ซัพพลาย จำกัด ที่มีคนนามสกุลชินวัตรเป็นผู้บริหาร ขณะที่ผู้เช่าเวลาอื่นถูกปรับตกผังรายการ
จากผิดเป็นถูก
แม้ว่าการขายครั้งนี้จะทำให้สัดส่วนของกระทรวงการคลังถือหุ้นใน MCOT ต่ำกว่า 70% แต่ก็ได้มีการแก้ไขกฎเกณฑ์ให้หน่วยงานภาครัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่ต่ำกว่า 70% แทน จะเห็นได้ว่าแม้บางครั้งวิธีการบางอย่างจะขัดต่อกฎเกณฑ์เดิมไปบ้าง แต่รัฐบาลก็สามารถหาทางออกได้เสมอ
คนในวงการไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ทำไมกระทรวงการคลังภายใต้รัฐบาลชุดนี้ต้องใช้วิธีการนี้ เพราะเท่ากับต้องจ่ายสูงกว่าราคาซื้อ 3 บาท บวกดอกเบี้ยอีกเกือบ 0.2 บาท แต่หากเทียบกับราคาตลาดที่ 3.40-3.50 บาทก็ยังนับว่ามีส่วนต่างราคา และราคาหุ้นก็มีสิทธิปรับลดลงได้อีกหากหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 3.22 พันล้านหุ้นเข้ามาซื้อขาย ซึ่งนักลงทุนที่ซื้อหุ้นหลังวันที่ 7 มีทางเดียวคือต้องหาจังหวะขายออกไป
ที่สำคัญดีลนี้ถูกวิพากวิจารณ์ค่อนข้างมาก แม้ว่าจะมีอุปสรรคเรื่องเกณฑ์การถือหุ้นขั้นต่ำของกระทรวงการคลัง แต่รัฐก็ใช้วิธีเลี่ยงแล้วแก้กฎเกณฑ์เพื่อสร้างความถูกต้อง ส่วนจะถูกต้องหรือไม่คงต้องแล้วแต่มุมมองของแต่ละฝ่ายพบเทมาเส็กถืออ้อม-แก้เกณฑ์ถือต่ำ70%
กระทรวงการคลังอุ้มแบงก์ทหารไทยสุดฤทธิ์ ใช้วิธีการแปลกยอมนำหุ้น อสมท จำนำแบงก์ออมสิน จนถือหุ้นต่ำกว่า 70% แถมแก้กฎสร้างความถูกต้อง คนในวงการเผยมองได้ว่าถังแตกจริงและหากไล่ที่มาที่ไปพบเชื่อมโยงถึงเทมาเส็ก
หุ้นเพิ่มทุน 3,222.39 ล้านหุ้นของธนาคารทหารไทย หรือ TMB ที่เป็นไปตามมติของคณะกรรมการธนาคารที่อนุมัติไว้ตั้งแต่ 10 มีนาคม 2549 ได้ข้อสรุปแล้วว่าทางกระทรวงการคลังจะใช้สิทธิเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามสัดส่วนที่ถือในหุ้นสามัญอยู่ 20.88% และถือในหุ้นบุริมสิทธิของ TMB ทั้งหมด หรือเกือบ 2 พันล้านหุ้น ด้วยเงื่อนไข 4.75 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ที่ราคา 3 บาทต่อหุ้น ตามรายชื่อผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2549 เบ็ดเสร็จต้องใช้เงินเพื่อรักษาสิทธิในครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 3 พันล้านบาท
สิ่งที่น่าสนใจคือวิธีการหาเงินมาชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนของกระทรวงการคลัง ที่ดูเหมือนจะเป็นความดิ้นรนอย่างมากในการหาเงินเพื่อมาซื้อหุ้นเพิ่มทุน จากที่เราเคยเห็นรัฐบาลอัดเงินหลายแสนล้านบาทแจกจ่ายให้กับโครงการต่าง ๆ อย่างไม่ต้องกังวล แต่ครั้งนี้ถึงกับต้องมีการจำนำหุ้นบริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) หรือ MCOT ที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ 531 ล้านหุ้นหรือ 77.28% ราว 11% เพื่อให้ได้เงิน 3 พันล้านบาท โดยมีธนาคารออมสิน ธนาคารคู่ใจรัฐที่ตอบสนองนโยบายทุกเรื่องได้เป็นอย่างดีทำหน้าที่รับจำนำหุ้น MCOT พร้อมทั้งคิดดอกเบี้ยฝากประจำ 12 เดือนอยู่ที่ 5% +1.66% ต่อปี หรือเท่ากับ 6.66% ต่อปี และต้องซื้อคืนใน 3 ปี
ลงทุนจำนำหุ้น
แหล่งข่าวจากวงการธนาคารพาณิชย์กล่าวว่า แปลกใจเช่นกันว่าทำไมการซื้อหุ้นเพิ่มทุนใน TMB ของกระทรวงการคลังครั้งนี้จึงค่อนข้างสลับซับซ้อน เพราะที่ผ่านมาหากหุ้นตัวใดที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่หากต้องการเพิ่มทุนก็ไม่เห็นจะต้องใช้วิธีการในลักษณะนี้ ตรงนี้ทำให้หลายฝ่ายมองกันว่าสาเหตุที่ต้องทำในลักษณะนี้เป็นเพราะผู้ถือหุ้นใหญ่รายนี้มีเงินไม่พอหรือไม่ ซึ่งไม่ใช่ภาพที่ดีต่อสาธารณชน โดยเฉพาะกับนักลงทุนต่างประเทศ
เพราะที่ผ่านมากระทรวงการคลังประสบปัญหาด้านการเงิน โครงการก่อสร้างบางส่วนยังไม่ได้รับการเบิกจ่าย หรือการเร่งออกพันธบัตรมากขึ้น สอดรับกับความเป็นไปได้ในการจัดเก็บรายได้ โดยเฉพาะภาษีประเภทต่าง ๆ ในครึ่งปีหลังที่มีแนวโน้มว่าจะจัดเก็บได้น้อยลง อันเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจที่ทำให้ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยภาคประชาชนลดลง
"เราไม่ได้บอกว่าวิธีการนี้ไม่ถูกต้อง เอกชนหลายแห่งก็ทำกัน เอาหุ้นไปจำนำไว้กับสถาบันการเงินแล้วเอาเงินออกมาเพื่อนำไปใช้จ่ายตามจุดประสงค์ แต่เราไม่ค่อยเห็นภาครัฐทำในลักษณะนี้ รวมถึงสงสัยต่อไปว่าเหตุใดแบงก์ทหารไทยจึงมีความจำเป็นมากที่รัฐต้องรักษาสัดส่วนไว้ ขณะที่แบงก์ชาติมีแนวคิดที่จะลดสัดส่วนการถือหุ้นของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่ถือตามสถาบันการเงินต่างๆ"
TMBโยงเทมาเส็ก
หากย้อนกลับไปเมื่อ 21 มกราคม 2547 ธนาคารทหารไทยเป็นแกนหลักในการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารดีบีเอสไทยทนุกับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ IFCT จากเดิมที่ IFCT ถูกวางตัวไว้ให้ควบกับธนาคารไทยธนาคารตามแนวทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยศึกษาไว้
ในช่วงที่ธนาคารทหารไทยมีปัญหาจนต้องขอรับความช่วยเหลือจากทางการ ต้องทำการเพิ่มทุนครั้งหนึ่งมีชื่อพานทองแท้ ชินวัตร เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ใน TMB แต่ขายออกไปเมื่อไหร่กลับไม่มีรายงาน
ในการควบรวมกิจการทำให้ดีบีเอสแบงก์จากสิงคโปร์ เดิมเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารไทยทนุ กลายเป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 2 ที่ 18.48% โดยดีบีเอสนี้ยังร่วมทุนกับกลุ่มชิน คอร์ป ในบริษัท แคปปิตอล โอเค จำกัด โดยถือหุ้น 40% ซึ่งหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารดีบีเอส คือเทมาเส็กจากสิงคโปร์ที่ถือหุ้นในธนาคารแห่งนี้ 28%
นอกจากนั้นผู้ถือหุ้นอันดับ 13 บริษัท อาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 1.03% เคยเป็นผู้บริหารเวลาในสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เมื่อครั้งที่มีพลเอกชัยสิทธิ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก โดยได้มีข้อครหาเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้องอย่างบริษัทฮาวคัม และบริษัท เอส.ที. คอม.ซัพพลาย จำกัด ที่มีคนนามสกุลชินวัตรเป็นผู้บริหาร ขณะที่ผู้เช่าเวลาอื่นถูกปรับตกผังรายการ
จากผิดเป็นถูก
แม้ว่าการขายครั้งนี้จะทำให้สัดส่วนของกระทรวงการคลังถือหุ้นใน MCOT ต่ำกว่า 70% แต่ก็ได้มีการแก้ไขกฎเกณฑ์ให้หน่วยงานภาครัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่ต่ำกว่า 70% แทน จะเห็นได้ว่าแม้บางครั้งวิธีการบางอย่างจะขัดต่อกฎเกณฑ์เดิมไปบ้าง แต่รัฐบาลก็สามารถหาทางออกได้เสมอ
คนในวงการไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ทำไมกระทรวงการคลังภายใต้รัฐบาลชุดนี้ต้องใช้วิธีการนี้ เพราะเท่ากับต้องจ่ายสูงกว่าราคาซื้อ 3 บาท บวกดอกเบี้ยอีกเกือบ 0.2 บาท แต่หากเทียบกับราคาตลาดที่ 3.40-3.50 บาทก็ยังนับว่ามีส่วนต่างราคา และราคาหุ้นก็มีสิทธิปรับลดลงได้อีกหากหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 3.22 พันล้านหุ้นเข้ามาซื้อขาย ซึ่งนักลงทุนที่ซื้อหุ้นหลังวันที่ 7 มีทางเดียวคือต้องหาจังหวะขายออกไป
ที่สำคัญดีลนี้ถูกวิพากวิจารณ์ค่อนข้างมาก แม้ว่าจะมีอุปสรรคเรื่องเกณฑ์การถือหุ้นขั้นต่ำของกระทรวงการคลัง แต่รัฐก็ใช้วิธีเลี่ยงแล้วแก้กฎเกณฑ์เพื่อสร้างความถูกต้อง ส่วนจะถูกต้องหรือไม่คงต้องแล้วแต่มุมมองของแต่ละฝ่าย
กลับสู่หน้าหลัก
 ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.
|