การเชื่อมโยง ที่มีเครือข่ายทั่วโลกในด้านการค้า การลงทุน การสื่อสารโทรคมนาคม
เทคโนโลยี ที่ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยขึ้นอยู่กับพลวัตเศรษฐกิจโลก
ภาวะซบเซา และการกระเตื้องขึ้นกับความถดถอยหรือความรุ่งโรจน์ของประเทศคู่ค้าหรือคู่แข่งมิได้เป็นปรากฏการณ์ ที่แยกออกจากกัน
แต่เป็นความสัมพันธ์ในเชิงโครงสร้าง ที่มีพลวัตสูงอย่างแยกไม่ออก และนับวันยิ่งมีลักษณะไร้พรมแดนมากขึ้น
โดยเฉพาะเศรษฐกิจไทย ที่มีระดับของการเปิดประเทศค่อนข้างสูง
สถาบันการเงิน ที่มุ่งเข้าถึงตลาดผู้บริโภคอย่างจริงจัง และประสบความสำเร็จนั้น มีเพียงไม่กี่แห่ง
ซึ่งผู้บริโภค ที่กล่าวถึงนั้น ปัจจุบันไม่มีเส้นแบ่งว่าจะอยู่ในเขตประเทศใดแล้ว
ทว่า สามารถเป็นไปได้ในทุก ที่ ที่มีศักยภาพการเติบโตดัง ที่กิจการข้ามชาติทั้งหลายมักกำหนดขอบเขตตัวเองให้เป็น
Global Company และซิตี้แบงก์ ธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของอเมริกาก็เป็นหนึ่งในจำนวนเหล่านั้น
ด้วยพิจารณาจากขนาด เครือข่ายการลงทุน และฐานลูกค้า ที่มีอยู่ทั่วโลกในตลาดสากล
รวมทั้งบริการต่างๆ ที่ให้บริการ
หลังจากเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ส่งผลให้อุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ไทยได้รับความเสียหาย
และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างใหม่ๆ อย่างมากมาย โดยเฉพาะธนาคาร ที่เรียกว่า
"hybrid bank" หรือแบงก์ลูกครึ่ง
ตลอดระยะเวลากว่า 15 ปีที่ซิตี้แบงก์เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ท่ามกลางอนิจจังลักษณะของระบบเศรษฐกิจ
ทั้งรุ่งโรจน์ และล้มเหลว ธนาคารได้แสดงถึง commitment ต่อเศรษฐกิจด้วยการขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องในเชิงรุกมาโดยตลอด
"ในช่วงเวลาวิกฤตินั้น ทุกคนเผชิญสภาพ ที่ไม่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่ ที่ว่าใครจะมีความคิดในการแสวงหาช่องทาง และโอกาสได้ดีกว่ากัน"
เฮนรี่ โฮ ผู้จัดการใหญ่ธนาคารซิตี้แบงก์ ประจำประเทศไทยกล่าวกับ "ผู้จัดการ"
(กรกฎาคม 2543)
การแปรวิกฤติให้เป็นโอกาสของซิตี้แบงก์ และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนั้น เกิดความเป็นแบงก์ระดับสากล ที่เครือข่ายทั่วโลก
และประสบการณ์ของบุคลากร ที่มีความเชี่ยวชาญจึงจัดการกับวิกฤติ ที่เกิดขึ้นได้
"ด้วยเหตุ ที่เรามีโครงข่ายอยู่ทั่วโลก และมีประสบการณ์กับวิกฤติเศรษฐกิจมาแล้วทั้งในละตินอเมริกา และ ที่อื่นๆ
ทำให้การปรับตัวของซิตี้แบงก์ไม่ติดขัดมากนัก และสามารถนำความรู้ และประสบการณ์เหล่านั้น มาประยุกต์ใช้ได้ไม่ยาก และรู้ว่าควรจะดำเนินการอย่างไร
ในขณะที่ปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นนับเป็นสิ่งใหม่สำหรับสังคมไทย ซึ่งไม่เคยเผชิญวิกฤติครั้งใหญ่เช่นนี้เลยนับตั้งแต่สงครามโลกครั้ง ที่สองเป็นต้นมา"
เฮนรี่ โฮอธิบาย
ในช่วงปี 2541 ซิตี้แบงก์ได้มีแผนระยะกลาง ที่เรียกว่า Citibank Initiative
Plan 1998 ซึ่งเป็นการประชุมผู้บริหารระดับสูงของซิตี้แบงก์ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย เพื่อตอบสนองหรือจัดการกับวิกฤติ ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้น
"ประเด็นสำคัญ คือ กลยุทธ์ยังคง ที่จะมี commitment กับเอเชียต่อไป และช่วยลูกค้าของเราในการฝ่าวิกฤติทุกๆ
ด้าน ทั้งในแง่การปล่อยสินเชื่อ การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน" เฮนรี่ โฮบอก
นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาส ที่จะเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดในเชิงธุรกิจ ที่สำคัญซิตี้แบงก์จะช่วยลูกค้าฝ่าวิกฤติทางเศรษฐกิจออกไปให้ได้
อีกทั้งยังเน้นการลงทุนทางด้านทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้ตอบโต้หรือสามารถอยู่รอดได้ภายใต้วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ
"การลงทุนด้านบุคลากร เราให้ความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะ local staff คือ
ผู้บริหารระดับสูงในท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศนั้น ในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี
เพราะคนไม่ได้อยู่ ที่เดียว จะเคลื่อนย้ายตลอดเวลา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมแบงก์โดยรวม"
ซิตี้แบงก์ในประเทศไทย ได้มีการเน้นการฝึกอบรมเพิ่มขึ้นมาก โดยใช้เวลาในช่วงวิกฤติ
เพราะช่วงดังกล่าวธุรกรรมจะลดลง นอกจากนี้ยังปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนได้ด้วย
และผู้บริหารสถาบันการเงินหลายแห่งในประเทศไทยก้เคยผ่านการทำงาน ที่ซิตี้แบงก์มาก่อน
ตรงนี้เป็นส่วนหนึ่ง ที่ธนาคารภูมิใจในฐานะ ที่เป็นโรงเรียนของแบงเกอร์ และนักการเงิน
"การดำเนินการเช่นนี้ทุกประเทศจะทำด้วยยุทธศาสตร์ ที่เหมือนกัน แล้วก็นำไปใช้ตามแต่สถานการณ์ของประเทศนั้น "
เฮนรี่ โฮกล่าว
นอกจากนี้ ในช่วงระหว่างวิกฤติซิตี้แบงก์ได้พัฒนาเทคโนโลยีให้เกิดขึ้น อย่างเช่น
การนำระบบออโตเมติกมาพัฒนาสำนักงาน พนักงานใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพ
รวมถึงขบวนการในการให้บริการทุกอย่าง
"ปัจจุบันซิตี้แบงก์เพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้มากขึ้น ขณะที่ในแง่ของลูกค้าเราพยายามปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้า ที่มีธุรกิจที่ดี
มีการบริหารที่ดี ขณะที่บางแบงก์ ที่มีปัญหาเกิดขึ้น เราก็เข้าไปดูแลลูกค้าบางกลุ่มจากแบงก์ ที่ถอนตัวออกจากการปล่อยสินเชื่อ"
เฮนรี่ โฮอธิบาย
การดำเนินดังกล่าวเป็นความได้เปรียบของซิตี้แบงก์อย่างเห็นได้ชัด นอกจากจะอยู่ ที่กลไกการดำเนินงาน ที่มีขอบเขตกว้างขวางแล้ว
ส่วนหนึ่งเกิดจากการประเมินช่องทางในการประกอบธุรกรรม ที่แตกต่างออกไปจากสถาบันการเงินแห่งอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม เฮนรี่ โฮบอกว่าการดำเนินธุรกิจของซิตี้แบงก์ในประเทศไทยไม่ใช่ในลักษณะ
aggressive "ซิตี้แบงก์จะดำเนินการแบบ innovative bank คือ แบงก์ ที่มีนวตกรรมสูง
มีพลวัตสูง ฉะนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งการทำเช่นนี้เรามีความชัดเจนที่สุดในบรรดาแบงก์ระดับโลกทั้งหลาย"
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนอกจากจะถูกจากแรงบีบคั้นจากสถานการณ์ประเทศไทย ที่ยังหนักหนาสาหัสแล้ว
อนาคตพลวัตแห่งกระแสโลกาภิวัฒน์เป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ การทำธุรกิจจะยากลำบากมากขึ้น
อำนาจผูกขาดหรือทำธุรกิจแบบเสือนอนกินคงยาก
ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ซิตี้แบงก์อธิบายว่า ระบบธนาคารในทศวรรษหน้าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ทั้งในระดับโครงสร้าง
รูปแบบการดำเนินงาน และประเภทธุรกรรม บทบาทของธนาคารในระบบการเงินจะเปลี่ยนแปลงไป
ซึ่งเขาตั้งข้อสังเกต ดังนี้
- การทะยอยลดลงของส่วนแบ่งทางการตลาดของการปล่อยสินเชื่อของธนาคารสู่ภาคการผลิต และภาคธุรกิจ
- การเคลื่อนย้ายของ corporate sector borrowing สู่ commercial paper หรือ
debt instrument market
- การลดลงของการออมเงินของประชาชนในระบบธนาคาร
- การเติบโตของ non-bank financial institution เช่น บล. ประกันภัย consumer
finance institution ในการให้บริการทางการเงินทั้งในระดับรายย่อย และสถาบัน
จากคำพูดของเฮนรี่ โฮ บ่งบอกได้ว่าการดำเนินแบบ innovative bank นั้น ก็คือ
การหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เข้ามาบริการลูกค้าในประเทศไทย เช่น การบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
ซึ่งในอดีตประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคง ที่ ซิตี้แบงก์รวมไปถึงแบงก์อื่นๆ
ไม่จำเป็นต้องมีผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
"แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว เราก็มีผลิตภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนนี้มาก
และมีผลิตภัณฑ์บางตัว ที่ไม่เคยมีในประเทศไทย เราพยายามนำเข้ามา เช่น derivative
swap, currency option, forward contract หรือ interest rate option"
นอกจากนี้ ทางด้านการลงทุนใหม่ๆ ที่จะนำเสนอให้ลูกค้า ซิตี้แบงก์มองเห็นว่าในปัจจุบันยังมีลูกค้าบางรายมีเงินสดเหลืออยู่
จึงหาทาง ที่จะเข้าไปช่วยลูกค้าบริหารเงินให้ได้ประโยชน์สูงสุดในภาวะ ที่ดอกเบี้ยต่ำ
โดยแนะนำให้ไปลงทุนในสิ่งที่ได้ผลตอบแทนมากที่สุด
อีกด้าน ซิตี้แบงก์ได้เข้าไปช่วยเหลือลูกค้าในแง่การปรับโครงสร้างองค์กรธุรกิจ
เช่น การออกบาทบอนด์ "เราต้องการให้ลูกค้าได้รับผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการทางการเงิน"
เฮนรี่ โฮบอก
ทิศทางการปรับตัว การแข่งขันดังกล่าวเกิดขึ้นจากในอดีต ที่ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่พึ่งพิงรายได้จากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเป็นหลัก
"บางธนาคารมีสัดส่วนของรายได้จากดอกเบี้ยสูงถึง 80% ของรายได้ทั้งหมด จึงต้องปรับตัวในอนาคต"
ดร.อนุสรณ์กล่าว
ขณะที่สถานการณ์ในปัจจุบันการปล่อยสินเชื่อทำได้ยาก อีกทั้งธนาคารพาณิชย์ต้องลงทุนในด้านเทคโนโลยีจึงต้องคิดค่าบริการ
ค่าธรรมเนียมต่างๆ กับลูกค้า แต่ธนาคารก็คงต้องให้บริการที่ดีต่อลูกค้าด้วย
กระนั้น ก็ดี อุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ ที่จะมุ่งไปหารายได้ ที่ไม่ดอกเบี้ยนั้น มีความเป็นเป็นไปได้
"แต่ไม่ใช่ระยะเวลาอันสั้น" เฮนรี่ โฮบอก และว่า "เพราะระบบธนาคารของไทยจะพึ่งพิงการระดมทุนจากการปล่อยสินเชื่อ"
แต่รายได้อื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียม การทำธุรกิจต่างๆ แม้กระทั่งการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินจะเพิ่มขึ้นในอนาคต
อย่าง กรณีของซิตี้แบงก์ เรื่อง การให้บริการธุรกิจคัสโตเดียน (custodian)
ซึ่งสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องให้กับซิตี้แบงก์
"สภาพดังกล่าวนี้จะไม่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้น แต่ในอนาคตจะเกิดขึ้นแน่นอน
และรายได้ ที่มาจากดอกเบี้ยก็จะเป็นรายได้หลักของแบงก์ในระยะขณะนี้"
นอกจากนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้มีส่วนสำคัญช่วยให้ซิตี้แบงก์ได้เปรียบคู่แข่ง
โดยเฉพาะธุรกิจลูกค้ารายย่อย (retail banking) ธนาคารต่างชาติอย่างซิตี้แบงก์
และธนาคารลูกครึ่งทั้งเอบีเอ็น แอมโร เอเชีย และสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน
กำลังรุกเข้าสู่สมรภูมิลูกค้ารายย่อยอย่างดุดัน
โดยอาศัยเทคโนโลยีให้บริการทางการเงินผ่านทางโทรศัพท์ ผ่านคอมพิวเตอร์บุคคล และอินเทอร์เน็ต
"ในอนาคตอันใกล้นี้ทำให้เครือข่ายสาขา และขนาดของธนาคารไม่ใช่ข้อจำกัดในการแข่งขันอีกต่อไป
มีแนวโน้มว่าลูกค้าธนาคารจะใช้บริการธนาคารผ่านโทรศัพท์ และคอมพิวเตอร์มากขึ้น"
ดร.อนุสรณ์อธิบาย
ขณะที่การชำระเงินด้วยเงินสด และเช็ค ซึ่งเป็นประเพณี ที่ปฏิบัติกันอยู่เดิมจะได้รับความนิยมน้อยลง
เพราะผู้คนจะหันมาไปชำระเงินผ่านทาง ATM ทำให้ปริมาณงานสาขาธนาคารลดลงอย่างมาก
จึงเท่ากับว่าต้นทุนลดลง และใช้คนน้อยลงด้วย
ล่าสุด ซิตี้แบงก์เปิดตัวบริการข้อมูลทางการเงิน "Citi Alert" ซึ่งจะเสนอข่าวสาร ที่มีผลต่อความเคลื่อนไหวในตลาดปริวรรตเงินตรา และข้อมูลทางการเงินทั่วโลกผ่านระบบมือถือ
"การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องได้อย่างรวดเร็วมีความจำเป็นการเปลี่ยนแปลง ที่ผันผวน และรวดเร็วของโลกการเงินในขณะนี้"
เฮนรี่ โฮกล่าว นอกจากนี้ความคืบหน้าที่สำคัญ ที่จะบรรลุสู่เป้าหมายในการให้ลูกค้าเข้าถึงการให้บริการทางการเงิน ที่หลากหลายโดยไม่ถูกจำกัดโดยระยะทาง
ตลอดระยะเวลา ที่ซิตี้แบงก์เข้ามาประกอบธุรกรรมในประเทศไทย ในช่วงก่อน ที่จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจนั้น
ดูเหมือนว่าสถาบันการเงิน และธนาคารพาณิชย์ท้องถิ่นจะไม่ใช่คู่แข่ง ที่สมน้ำสมเนื้อกับซิตี้แบงก์มากนัก
เพราะในขณะที่สถาบันการเงิน และธนาคารพาณิชย์ท้องถิ่นกำลังสาละวนอยู่กับการแก้ปัญหาภายในองค์กร และการนำเครื่องมือทางการเงินใหม่ๆ
เข้ามาใช้ภายใต้ paradigm ของระบบธุรกิจเดิมๆ นั้น ซิตี้แบงก์กลับเร่งรุกขยายธุรกิจออกไปโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน
อย่างไรก็ตาม เฮนรี่ โฮยังมองว่าธนาคารท้องถิ่นยังเป็นคู่แข่ง ที่สมน้ำสมเนื้อกับซิตี้แบงก์อยู่
เพราะธนาคารท้องถิ่นมีความแข็งแกร่งทางด้านการตลาดจากเครือข่าย ที่มีมายาวนาน
และโครงข่ายสาขามากมาย ฐานลูกค้า ที่ใหญ่ และกระจายอยู่มาก
"พวกเขาจะแพ้เราในด้านเทคโนโลยี แต่เรื่องนี้สามารถตามทันได้ถ้ามีการถ่ายโอนเทคโนโลยี"
ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารไทยพาณิชย์ ทั้งสามแบงก์นี้มีการปรับปรุงเรื่องเทคโนโลยีอย่างมาก และต่อเนื่อง
"น่าจะอยู่ในฐานะ ที่แข็งขันได้"
ตรงกันข้าม สิ่งที่ซิตี้แบงก์ และธนาคารต่างประเทศอื่นๆ เสียเปรียบธนาคารท้องถิ่น
คือ ไม่มีสาขา และมีฐานลูกค้าค่อนข้างแคบ
"ฐานลูกค้า อย่าง consumer bank เรามีเฉพาะลูกค้า ที่มีรายได้ค่อนข้างสูง
ฉะนั้น เมื่อไม่มีเครือข่ายสาขาเราก็เจาะลึกลำบาก แม้ว่าจะมีเทคโนโลยี แต่ก็ช่วยได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น "
เฮนรี่ โฮบอก
ฉะนั้น โดยภาพรวมธนาคารท้องถิ่นจะยังคงมีบทบาทต่อไปในอุตสาหกรรมธนาคารไทย
และธนาคารต่างประเทศไม่สามารถมีอิทธิพลหรือครอบงำ (dominate) ตลาดได้ทั้งหมด
"หาก 3 แบงก์ใหญ่ของไทยสามารถแก้ปัญหา NPLs ได้ จะสามารถกลับเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมเขาได้ต่อไป"
และถึงแม้ว่าซิตี้แบงก์จะมีสาขาเดียว แต่มีความสามารถ ที่จะสร้างเครือข่ายพันธมิตร
(best alliance)ที่ดีที่สุดในประเทศไทย ซึ่งตอนนี้รวมไปถึงธนาคารท้องถิ่น"
(เป็น correspondence bank) ที่ทำการไปรษณีย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ บริษัทเกาหลีบางแห่ง
และบริษัทหลักทรัพย์
ปัจจุบัน ซิตี้แบงก์ดำเนินธุรกิจสายบุคคลธนกิจ (Global Consumer Banking)
ธุรกิจสายสถาบันธนกิจ (Global Corporate Bank) และสายธุรกิจธนบดีธนกิจ (Private
Banking)
กล่าวได้ว่า ซิตี้แบงก์คือ โมเดลธนาคารยุคใหม่ของประเทศไทย อีกทั้งการเป็นสถาบัน ที่มีความเป็นสากล และดำเนินธุรกิจในเอเชียมานาน
ส่วนผสมของความเข้าใจท้องถิ่น
ซิตี้แบงก์ได้กล่าวอย่างชัดเจนถึงแนวคิดในลักษณะ Global ที่เชื่อมโยงซิตี้แบงก์ไว้กับแนวคิด
กลุ่มลูกค้า และเศรษฐกิจระโลกว่าต้องการเป็นธนาคารท้องถิ่นในแง่ทัศนะคติ และการให้บริการ
และได้วางตนเองเป็นธนาคารแห่งเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นแนวทาง ที่ไม่ใหม่เลย
เนื่องจากการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในเอเชียนั้น ได้อาศัยเวลาตลอดการเข้ามาทำธุรกิจ เพื่อวัตถุประสงค์นี้มาตลอด
สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมธนาคารในปี 2544 เฮนรี่ โฮ บอกว่าสถานการณ์ไม่น่าจะแตกต่างไปจากปีที่ผ่านมามากนัก
เพราะในแง่ของธนาคารพาณิชย์ ที่เป็นตัวกลางของผู้ออม และผู้ลงทุน ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจ
"คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะไม่ค่อยแตกต่างกัน"
หากมองในแง่ของธนาคารท้องถิ่น ซึ่งจะต้องแก้ปัญหา NPLs ต่อไป แต่ธนาคารเหล่านั้น ยังมีเวลามากขึ้น ที่จะหันกลับมาดูการดำเนินธุรกิจใหม่ๆ
ได้มากขึ้น ขณะที่ธนาคารต่างประเทศคงจะปรับปรุงตน และรุกส่วนแบ่งทางการตลาดให้มากขึ้น
"เพราะพวกเรา right off หนี้เสียไปเรียบร้อยแล้ว"
เฮนรี่ โฮ บอกว่าปี 2544 จะเป็นปีที่น่าสนใจเพราะประเทศไทยจะมีรัฐบาลใหม่
"เราต้องดูว่ามีความต่อเนื่องทางด้านนโยบายอย่างไรบ้าง และประเทศไทยคงจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีในการที่จะฟื้นตัวอย่างเต็มที่"
ในยาม ที่เศรษฐกิจเริ่มเห็นสัญญาณกระเตื้องบ้าง และยังมีความเสี่ยงอยู่มากพอสมควรในช่วงวิกฤติการณ์
สถาบันการเงินในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งประเทศไทยได้ล้มหายตายจากไปจำนวนมาก
แต่ก็มีธนาคารหรือสถาบันการเงิน ที่มีความเข้มแข็งพอ และสามารถปรับตัวรับสถานการณ์นี้ได้
มิหนำซ้ำยังสามารถเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสได้ ธนาคาร ที่ปรับตัว ปรับโครงสร้างได้เร็ว และมีคุณภาพก็น่าจะอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน ที่เข้มข้นในอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน