ก้าวใหม่ในเมืองไทยของ"จิม ทอมป์สัน"


นิตยสารผู้จัดการ( ธันวาคม 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

จิม ทอมป์สัน ใช้เวลาถึง50ปีในการทำตลาดสร้างชื่อเสียงจนเป็นรู้จักกันทั่วโลก บนจุดแข็งของประสบกาณ์ทางด้านงานดีไซน์ และการหว่านเม็ดเงินมหาศาล เพื่อควบคุมคุณภาพของกระบวนการผลิต จนยาก ที่ใครจะตามได้ทัน

ปี2543 จิม ทอมป์สัน ตัดสินใจหันกลับมารุกตลาดในเมืองไทยมากขึ้น ด้วยกลยุทธ์ใหม่อย่างเงียบๆ แต่ต่อเนื่องทั้งปี

บริษัทอุตสาหกรรมไหมไทย เจ้าของแบรนด์ดัง "จิม ทอมป์สัน"เป็นตัวอย่างหนึ่งของการพัฒนางานศิลปหัตถกรรม ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านในชุมชนเล็กๆแห่งหนึ่งของเมืองไทยให้กลายไปเป็นอุตสาหกรรมไหม ที่มีการลงทุนครบวงจร จนเป็นที่รู้จักในตลาดโลก และกำลังถูกจับตามองจากผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกันว่าก้าวต่อไปของ ผ้าไหมไทย จิมทอมป์สัน จะยังคงหนักแน่นอย่างในอดีต ที่ผ่านมาหรือไม่

สิ้นยุค จิม ทอมป์สัน นายทหารอเมริกัน ผู้ก่อตั้งบริษัทเมื่อปี2510(อ่านรายละเอียดในเรื่องจิม ทอมป์สัน ยุทธศาสตร์ ต้องใหญ่ ผู้จัดการรายเดือนฉบับเดือนกันยายน2542) ในปี2531ผู้บริหารยุคต่อมาของบริษัทได้ตัดสินใจลงทุนปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และวิจัยพันธ์ไหม เองในพื้นที่ฟาร์มประมาณ3,000ไร่ ที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพของผ้าไหมตั้งแต่ต้น และหวังจะให้เป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งของสินค้า

แน่นอนว่าการทำฟาร์มหม่อนไหมนั้น จะเป็นการลงทุน ที่ค่อนข้างสูง และต้องใช้เวลาเป็นอย่างมากในการที่จะพัฒนาคุณภาพของพันธ์ไหม ทำให้ถูกย้อนตั้งเป็นคำถามกลับขึ้นมาว่า ตรงจุดนี้จะกลายเป็นปัญหาในเรื่องของต้นทุนการผลิต ที่จะเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพราะ บริษัทสามารถรับซื้อไหมดิบจากจีน หรือจากประเทศอื่นๆ ที่มีคุณภาพดี มาป้อนโรงงานทอผ้าไหมก็ได้ เช่นเดียวกับผู้ประกอบการรายอื่น ที่ไม่เลือกลงทุนด้วยการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเอง แต่จะตัดตอนด้วยการซื้อไหมดิบจากต่างประเทศหรือในประเทศแทน

ทุกวันนี้ แม้จิม ทอมป์สันจะใช้รังไหมจากการพัฒนาสายพันธุ์ของตนเอง แต่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ ยังจำเป็นต้องนำเข้าไหมดิบจากเมืองจีน หรือประเทศรัสเซียในสัดส่วนประมาณ50-50 เปอร์เซ็นต์

สุรินทร์ ศุภสวัสวดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ซึ่งดูแลหลักในเรื่องการผลิตให้กับจิมทอมป์สันมานานกว่า30ปียืนยันกับ"ผู้จัดการ" ว่า บริษัทยังคงต้องเดินหน้าต่อไปในเรื่องของการวิจัยสายพันธ์ และการลงทุนปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ด้วยวิธีการเดิมคือ การขายพันธ์ไหมให้กับชาวบ้านไปเลี้ยง และรับซื้อรังไหมสดป้อนสู่โรงงานทอผ้าอีกครั้งหนึ่ง

ในปี2543 ผลผลิตทั้งหมด ที่รับซื้อจากชาวบ้านๆได้มาเพียง 800ตันเท่านั้น ในขณะที่ความต้องการของบริษัทมีมากถึง 1,500ตัน

ตลอดทั้งปีที่ผ่านมาทางบริษัทจึงได้จัดเจ้าหน้าที่ๆมีความเชี่ยวชาญ และมีเทคนิคต่างๆในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม อบรมให้กับชาวบ้าน ที่เป็นสมาชิกของบริษัทอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

"เป็นเรื่อง ที่น่าดีใจว่าจาก ที่ชาวบ้านเคยทำน้ำหนักได้เพียง 40ตัน ต่อกล่องก็สามารถเพิ่มเป็น63 ตันต่อกล่อง ทำให้คาดว่าในปี2544จะได้ผลผลิตในส่วนนี้เพิ่มขึ้นเป็น1,100ตัน" สุรินทร์กลาวยืนยัน และเล่าเพิ่มเติมว่าปัจจุบันมีชาวบ้าน ที่เป็นสมาชิกเลี้ยงไหมให้กับบริษัทประมาณ 2,000ครอบครัว และได้มาลงชื่อเพิ่มไว้อีกประมาณ 400ครอบครัว ซึ่งตรงจุดนี้ทางบริษัทถือเป็นหน้าที่ว่า จะต้องส่งเสริมชาวบ้านให้มีอาชีพจากภูมิปัญญาของเขาเอง และให้เชื่อมั่นในกิจการที่เขากำลังทำให้ได้

"หากคำถาม ที่ว่าเราจะแบกต้นทุนการผลิต ที่สูงกว่าบริษัทอื่นหรือไม่นั้น ถามมาเมื่อ2-3ปีที่แล้ว ผมอาจจะคิดหนักเหมือนกัน แต่เมื่อถึงวันนี้เราต้องยืนยันว่าเดินมาถูกทางแล้ว เพราะเราสามารถพัฒนาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมได้อย่างดียิ่งไม่แพ้ตลาดจากประเทศอื่นๆ

และสักวันหนึ่งเมื่อสามารถสร้างผลผลิตเพิ่มขึ้น มันก็จะถึงจุดหนึ่ง ที่คาดหวังไว้ คือ การลดต้นทุนการผลิตได้อย่างแน่นอน เพราะอาจจะไม่จำเป็นต้องนำเข้าไหมดิบจากต่างประเทศอีกต่อไป นอกจากลดต้นทุนได้แล้วเราก็พร้อม ที่จะส่งไหมดิบออกไปขาย เพื่อทำรายได้เข้ามาอีกทาง "สุรินทร์กล่าวถึงความหวังในอนาคต

ปัจจุบันนี้ตลาดของไหมดิบ ที่มีคุณภาพไม่ได้มีมากมายนักเจ้าตลาดใหญ่ยังคงมาจากประเทศจีน ซึ่งสามารถกำหนดราคาให้เพิ่มสูงขึ้นได้ตลอดเวลาโดยไม่มีการบอกล่วงหน้า

ในเรื่องของการผลิต จิม ทอมป์สัน ยังให้ความสำคัญของจุดขาย ที่เน้นการทอผ้าส่วนหนึ่งด้วยมือ และยังคงยืนยันว่าเป็นโรงงานทอผ้าด้วยมือ ที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยมีพนักงานทอผ้าด้วยกี่ทอมือประมาณ 1,000คน และได้มีการอบรมการฝึกทอแก่คนงานใหม่อยู่อย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นโรงงาน ที่มีการใช้เครื่องจักร ที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพราคาแพงไปควบคู่กันด้วย

ท่ามกลางฐานการผลิต ที่เข้มแข็ง และถอยหลังไม่ได้อีกแล้ว บทบาทสำคัญณ.วันนี้จึงตกอยู่กับเรื่องของการทำตลาด

อีริค บีบูทซ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดต่างประเทศ ของบริษัทอุตสาหกรรมไหมไทย ได้ให้สัมภาษณ์ "ผู้จัดการ เมื่อเดือน กันยายน 2542 ว่า ในปี2543จะเป็นปีที่ จิม ทอมป์สัน จะบุกตลาดในเมืองไทย ด้วยการขยายสาขาเพิ่มมากขึ้น มีการพัฒนาสินค้าใหม่ๆหลากหลายขึ้น และจะสอดแทรกไปในทุกระดับราคา รวมทั้งเตรียมบุกตลาดครั้งใหม่ด้วย" จิมทอมป์สัน ไลฟ์สไตย์ " ซึ่งเป็นสินค้าใหม่เกี่ยวกับการตกแต่งบ้าน

การแข่งขัน ที่ค่อนข้างรุนแรงของตลาดผ้าไหมโลก ไม่ว่าจะเป็นผ้าไหมจากประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น หรือผ้าไหมจากเมืองไทยเอง เป็นตัวแปรสำคัญ ที่ทำให้ จิม ทอมป์สัน เริ่มหันกลับมาให้ความสำคัญตลาดของคนไทยเองเพิ่มขึ้นอีกทาง

"เราต้องการให้คนไทยด้วยกันรู้ว่า จิม ทอมป์สัน เป็นสินค้าไทย ที่มีคนไทยเป็นเจ้าของ และเป็นสินค้า ที่มีคุณภาพ เป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก แล้วทำไมคนไทยด้วยกันไม่ใช้" นั่นคือ แนวความคิดสำคัญ ของอีริค ชายหนุมวัย 30ปี ลูกชายคนเดียวของ วิลเลียมเอ็ม บูทซ์ กรรมการผู้จัดการของ จิม ทอมป์สัน คนปัจจุบัน ซึ่งดำรงตำแหน่งนี้มานานเกือบ 27 ปี และกำลังถ่ายทอดประสบการ์ต่างๆให้กับอีริคอย่างใกล้ชิด เพื่อรอวันเวลา ที่จะวางมือได้อย่างสบายใจ

ในยุคการทำตลาดของคนหนุ่มใหม่อย่างอีริค จึงไดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากมาย มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และพยายามมีกิจกรรมต่างๆ ที่สร้างความใกล้ชิด และคุ้นเคยกับลูกค้ากลุ่มใหม่ในเมืองไทยมากขึ้น แม้ว่าบุคลิก และสไตย์การทำงานของ อีริคเอง ค่อนข้างเป็นคนเรียบง่าย และยังไม่ยอมเปิดตัวกับสื่อมวลชนมากนัก

การขยายสาขาในเมิองไทยจาก14 สาขาเพิ่มเป็น23 สาขาไปแล้วอย่างเงียบๆ ในปี 2543 เป็นสิ่งที่ยืนยันว่าแผนงาน ที่กำหนดไว้กำลังเดินหน้าอยู่อย่างเป็นรูปธรรม

ในขณะเดียวกันก็ได้เปิดแนวรบต่างประเทศอย่างไม่หยุดยั้งเช่นกัน ปีนี้ จิม

ทอมป์สัน ได้ เปิดสาขาใหม่ ที่สิงคโปร์ เพิ่มขึ้นอีก1 สาขาเมื่อประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน2543 ที่ผ่านมา โดยเป็นสินค้าทางด้านตกแต่งบ้าน รวมกับ2สาขาเดิมเป็น3สาขา. ที่ประเทศมาเลเซียก็เปิดเพิ่มอีก1สาขาเช่นกันรวม เป็น2สาขาส่วน ที่ประเทศญี่ปุ่นจะมีถึง7สาขาแต่เป็นของบริษัทตัวแทน ซึ่งจะขายสินค้าของพวกนิคแนค ผ้าไหม เนคไท เป็นส่วนใหญ่ ส่วนทั่วโลกนั้น จิม ทอมป์สันจะมีเอเยนต์ ที่ดูแลเรื่องผ้าตกแต่งบ้านทั้งหมด35ประเทศ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะขายให้พวกดีไซน์เนอร์ และสถาปนิก ในร้านเหล่านั้น จะมีสินค้าประเภทเดียวกันของยี่ห้ออื่นอยู่ด้วย แต่ ที่เป็นของจิม ทอมป์สันโดยตรงก็จะมี ที่นิวยอร์ค และลอนดอน

อีริค บีบูทซ์ ยอมรับว่า บริษัทอุตสาหกรรมไหมไทย มีทรัพยากรบุคคล ที่มีความเชี่ยวชาญอย่างมากในเรื่องการทอผ้าไหม และการดีไซน์ลายผ้ามานานถึง50ปีแต่ เพื่อให้สอดคล้องกับสินค้าใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสินค้าทางด้านเสื้อผ้า หรือสินค้าตกแต่งบ้าน จิม ทอมป์สัน บริษัทจำเป็นต้องใช้วิธีเรียนลัดด้วยการดึงเอาผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ในเรื่องต่างๆเหล่านั้น มาร่วมงาน เพื่อเร่งสร้างความโดดเด่นของสินค้า โดยจัดเป็นคอลเลคชั่นพิเศษต่างๆร่วมกับบรรดามืออาชีพเหล่านั้น

เมื่อวันที่ 16-19 มิถุนายน ที่ผ่านมา จิม ทอมป์สัน ไดร่วมมือกับ"อู้ พหลโยธิน" ออกแบบโฮม คอลอลเคชั่น รวมไปถึงการออกแบบห้องต่างๆสำหรับ นิทรรศการ" Living with Jim Thompson " ที่จัดแสดงณ. ดิเอ็มโพเลียม

ชื่อของอู้ เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในฐานะดีไซน์เนอร์รุ่นใหม่ ที่มาแรงที่สุด เป็นหนึ่งในนักออกแบบชั้นแนวหน้าจากประเทศอังกฤษ ที่มีผลงานอันโดดเด่นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อู้ศึกษาวิชาการออกแบบจาก Les Atcliers,ENSCI กรุงปารีส ได้รับรางวัลหลายรางวัล ที่สำคัญเป็นเครื่องการรันตี ถึงความเป็นหนึ่งในฝีมือเช่นรางวัลจาก "MUJI"ในปี2538 และรางวัล "New Designer" จาก International Contemporary Furniture Fair ที่นิวยอร์ก ในปี2540 อู้มีผลงานในร้านค้าแบรนด์ดังระดับโลกหลายแห่ง รวมทั้งคนดังต่างๆในวงสังคมชั้นสูง

หลักในการออกแบบให้จิม ทอมป์สันครั้งนี้ เขาได้เน้นถึงความต่อเนื่องของอารมณ์ และความรู้สึกในแต่ละห้องที่สอดคล้องกลมกลืน มีเสน่ห์ และครบครันด้วยการใช้ประโยชน์ใช้สอย โดยเน้นโทนสี ที่ให้ความสงบสบายของสีเทา และเขียว เพิ่มความสดชื่นเร้าใจด้วยสีส้ม และเหลือง

"เราได้ชวนคุณอู้เข้ามาดีไซน์คอลเล็กชั่นสำหรับการตกแต่งบ้าน เป็นเฟอร์นิเจอร์ พวกตะเกียง โคมไฟต่างๆจุดเด่นคือ คุณอู้เองเขาก็อยู่ ที่ลอนดอน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของแฟชั่นโลก เขาจะรู้ถึงกระแสของความนิยม ที่เกิดขึ้น เพราะได้เห็นไอเดียใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญคือ คุณอู้เป็นคนไทย ที่อยู่เมืองนอก ทำให้เขาสามารถ ดีไซน์สินค้าไทยให้เหมาะกับการใช้สอยจริงของคนต่างชาติได้ด้วย "

จิม ทอมป์สัน ยังได้ดึงเอาปริญญา มณีเสถียร แห่งPrinya มาออกแบบเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เช่นเดียวกับ การร่วม มือกับนคร สัมพันธารักษ์มาดีไซน์สินค้า ที่เป็นเสื้อผ้าแฟชั่น

นคร สัมพันธารักษ์ เป็นเจ้าของร้านนาการ่า ที่มีชื่อเสียงอย่างมากในการออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยผ้าไหมในแวดวงของคนชั้นสูงของเมืองไทย การเข้ามาร่วมกับ

จิม ทอมป์สัน ด้วยแนวความคิดของโครงการ "NAGARA FOR JIMTHOMPSON " ทำให้นาการ่าเอง และจิม ทอมป์สัน ต่างได้กลุ่มลูกค้าใหม่ ที่เพิ่มมากขึ้นด้วย

และเมื่อเดือนพฤศจิการยน 2543 มาถึง ลมหนาวได้เริ่มต้นพัดผ่าน ฤดูแห่งสีสันกำลังเริ่มต้นอีกครั้งหนึ่ง นคร กับจิม ทอมป์สัน ก็ได้ร่วมกันจัด Nagara For Jim Thompson ขึ้นอีกครั้งโดยในครั้งนี้ได้นำเอาไหมญี่ปุ่น มาแต่งแต้มสีสัน ผสมผสานกันอย่างลงตัวกับผ้าไหมไทย นอกจากนั้น ยังได้นำผ้าทอชนิดต่างๆไม่ว่าจะเป็นผ้าทอมัดหมี่ในลวดลายต่างๆ ผ้าChenilleไหม ผ้าไหมทอแบบJacquard และผ้าไหมwill ซึ่งเป็นผ้าทอข้ามเส้น 2เส้น ทำให้มีลายเฉียงมาเสนอในคอลเลคชั่นนี้ด้วย

นับว่าเป็นการทำตลาดแบบใหม่ ที่ดึงเอาคนที่มีชื่อเสียงในแต่ละด้านเข้ามาร่วมงาน โดยดีไซน์เนอร์หลักของจิม ทอมป์สัน เป็นผู้จินตนาการ และรังสรรค์ลายผ้า

ส่วน.จิม ทอมป์สัน ไลฟ์สไตล์ ยังรวมไปถึงสินค้าประเภทผ้าปู ที่นอนเครื่องใช้ในห้องนอน ในห้องน้ำต่างๆ ซึ่งปัจจุบันบริษัทกำลังพัฒนาสินค้าประเภทนี้ และคาดว่าปีหน้าจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นผ้าปู ที่นอน และของใช้ในห้องนอนมากขึ้น ในขณะที่สินค้าของปีนี้ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งบ้าน เช่น ปลอกหมอน และของใช้บนโต๊ะ เช่นแจกันไม้

สิ่งของต่างๆเหล่านั้น ดีไซน์เนอร์ของจิม ทอมป์สันจะรับบทบาทหลักในการดีไซน์สินค้า เพื่อส่งต่อไปยังโรงงาน ที่เลือกสรรแล้วว่าสามารถผลิตของได้อย่างมีคุณภาพ อย่างไรก็ตาม อีริคยืนยันว่าบริษัทจะยังไม่ก้าวล้ำไปยังการสร้างโรงงาน หรือเทคโอเวอร์โรงงานเหล่านั้น อย่างนอน เขาย้ำว่ามันไม่ใช่สิ่งที่พวกเขามีความชำนาญ

ในปี2544 สินค้าหลักของบริษัทก็คงยังเป็น เลื้อเชิต เนคไท ผ้าไหม ของชำร่วย ของขวัญต่างๆ ที่เรียกกันว่า"นิคแน็ค" รองลงมาก็จะเป็นผ้าไหม ที่ใช้ตกแต่บ้าน และเน้นตลาดประเทศ และสุดท้ายก็จะเป็นสินค้าของ จิม ทอมป์สัน ไล์ฟสไตย ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย ก็ยังเป็นคนไทยหรือคนต่างชาติ ที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทย

อีริค ยังวาดแผนว่าจะเพิ่มสาขา ที่เมืองไทยอีกประมาณ2-3สาขา อาจจะเป็นที่จังหวัดภูเก็ต ส่วนในกรุงเทพฯจะเน้นพื้นที่ในศูนย์การค้า ที่เปิดใหม่ ซึ่งหากเศรษฐกิจยังคงชะงักงันอย่างนี้ก็คงจะเป็นเรื่องยาก แต่อาจจะมีความเป็นไปได้ ที่ศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ เป็นแห่งแรก

แม้ในปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจโดยรวมยังคงตกต่ำแต่ยอดขายของบริษัทกลับมีตัวเลขที่ดีคือ ประมาณ1300ล้านบาท ซึ่งเป็นเพราะ1.มีการขยายสาขามากขึ้น 2.การที่เงินบาทตกลงจากดอลล่าห์ละ38-89ในปี2542 และปัจจุบันลดลงเหลือดอลล่าห์ละ43-44บาทนั้น กลับมีผลดีกลับการส่งออก 3.ในขณะเดียวกันผลพวงของการสนับสนุนปีท่องเที่ยวไทยในปีอเมซซิ่งไทยแลนด์ ก็ยังมีผลให้นักท่องเที่ยวในเมืองไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ยอดขายในประเทศก็เพิ่มขึ้นตามเช่นกัน

และในต้นปีหน้า ลูกค้าในเมืองไทยคลิกไปพบกับสินค้าใหม่ของจิม ทอมป์สัน และข่าวคราวของบริษัท รวมทั้งสั่งซื้อสินค้าได้ผ่านwww.jim thompson.com และบริษัทกำลังพัฒนาข้อมูล และระบบเครือซื้อขายได้ทั่วโลกภายในปีหน้าเช่นกัน



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.