|

ตลาดเฟอร์นิเจอร์ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง
ผู้จัดการรายวัน(31 กรกฎาคม 2549)
กลับสู่หน้าหลัก
จับตาตลาดเฟอร์นิเจอร์ของไทยดิ้นหนีคู่แข่ง ทั้งจากจีน เวียดนาม หลังนักลงทุนต่างชาติแห่ไปตั้งฐานการผลิต หวังใช้ข้อได้เปรียบเรื่องต้นทุนที่ต่ำในการบุกตลาดส่งออก แนะพัฒนาสินค้า ดีไซน์ สร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า
ฝ่ายวิจัยธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ได้เผยแพร่ตลาดเฟอร์นิเจอร์ของไทยว่า ปัจจุบันธุรกิจเฟอร์นิเจอร์มีอัตราการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะด้านราคา ทั้งจากสินค้าที่ผลิตในประเทศ และสินนำค้าเข้าจากจีนและเวียดนาม เพราะมีนักลงทุนจากต่างชาติ ย้ายฐานการผลิตเข้าไปในจีนจำนวนมาก ทำให้ได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ขณะที่ผู้ประกอบการไทยต้องประสบกับปัญหาต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากราคา วัตถุดิบรวม และต้นทุนค่าขนส่ง ประกอบกับการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์มาก
ส่วนตลาดส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทยไปยังตลาดต่างประเทศในปี 2549 (ม.ค.-พ.ค.) มีมูลค่ารวม19,141.9 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อน 0.24% เนื่องจากการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนด้านค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า ทำให้การส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทยไปสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น มีอัตราการขยายตัวลดลง ประกอบกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากคู่แข่งอย่างประเทศจีนและเวียดนาม ที่สามารถขายสินค้าได้ในราคาที่ถูกกว่าเพราะต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทย 2-3 เท่าตัว ในขณะที่วัตถุดิบไม้ยางพารามีราคาสูงขึ้นมาก จึงมีผลต่อต้นทุนในการผลิตสินค้า
สำหรับประเภทของเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนที่ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศนั้น แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ คือ เฟอร์นิเจอร์ไม้ เฟอร์นิเจอร์โลหะ ที่นอนหมอนฟูก เฟอร์นิเจอร์อื่นๆ และชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งกว่า 50% จะส่งออกในรูปของเฟอร์นิเจอร์ไม้ โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ที่ทำมาจากไม้ยางพารา สำหรับประเภทของเฟอร์นิเจอร์ที่การส่งออกมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นในปี 2549 (ม.ค.-พ.ค.) ได้แก่ ชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งมีอัตราการขยายตัวสูงถึง 21.90% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา รองลงมาได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ไม้ มีอัตราการขยายตัว 0.90% ทั้งนี้จะเห็นว่าชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ไทยเป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศมาก เนื่องจากผู้นำเข้าได้นำไปผลิตในขั้นตอนที่ใช้เทคโนโลยีสูงขึ้นหรือผลิตในอีกขั้นตอนหนึ่ง ตามความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ ส่วนเฟอร์นิเจอร์โลหะมีอัตราการขยายตัวลดลง 29.29% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อันเป็นผลมาจากเหล็กซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตมีราคาสูงขึ้นมาก ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเฟอร์นิเจอร์โลหะสูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ เฟอร์นิเจอร์อื่นๆ และที่นอนหมอนฟูกปรากฏว่า การส่งออกได้ขยายตัวลดลงเช่นกัน ในอัตรา 5.97% และ 4.83% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ
สำหรับการส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทยไปยังตลาดต่างประเทศในปี 2549 (ม.ค.-พ.ค.) มีมูลค่าทั้งสิ้น 19,141.9 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อน 0.24% เนื่องจากการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนด้านค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า ทำให้การส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทยไปยังตลาดส่งออกที่สำคัญหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น มีอัตราการขยายตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับภาวะการแข่งขันที่ทวีความรุนแรง โดยได้รับแรงกดดันจากคู่แข่งอย่างประเทศจีนและเวียดนาม ที่สามารถขายสินค้าได้ในราคาที่ถูกกว่าเพราะต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทย 2-3 เท่าตัว ในขณะที่วัตถุดิบไม้ยางพารามีราคาสูงขึ้นมาก จึงมีผลต่อต้นทุนในการผลิตสินค้า อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังมีตลาดส่งออกที่สำคัญอื่นๆ ที่มี
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังมีตลาดส่งออกที่สำคัญอื่นๆ ที่มีแนวโน้มขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี เฉพาะอย่างยิ่งตลาดออสเตรเลีย ซึ่งเป็นผลมาจากข้อตกลง FTA ระหว่างไทย-ออสเตรเลีย ซึ่งมีการลดภาษีนำเข้าจาก 10% เหลือ 5% และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของธุรกิจก่อสร้าง
ส่วนแนวโน้ม อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนในปี 2549 คาดว่า จะมีมูลค่าการส่งออกขยายตัวประมาณ 6% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งต่ำกว่าเป้า 10% เนื่องจากปัจจัยลบต่างๆ ดังกล่าวที่มีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งภาวะการแข่งขันทางการค้าในตลาดโลกรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะคู่แข่งที่มีข้อได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า เช่น จีน, เวียดนาม, อินโดนีเซีย และไต้หวัน ทำให้ปี 48 ไทยต้องสูญเสียตลาดเฟอร์นิเจอร์ระดับล่างให้กับจีนและเวียดนามไปค่อนข้างมาก
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทยยังคงมีปัจจัยหนุนที่สำคัญจากการส่งออกเฟอร์นิเจอร์จากวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ กก ผักตบชวา ที่ได้รับความสนใจจากตลาดต่างประเทศมากขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป มีการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี และอุปสงค์เฟอร์นิเจอร์ในตลาดส่งออกรายใหม่ของไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมก่อสร้างที่เพิ่มมากขึ้นในตลาดต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศในแอฟริกาใต้ หรือตะวันออกกลาง ดังนั้นผู้ประกอบการต้องพยายามรักษาและขยายส่วนแบ่งตลาดเฟอร์นิเจอร์ ด้วยการหาแนวทางที่จะพัฒนารูปแบบและประสิทธิภาพการผลิต เพื่อให้คงความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก
กลับสู่หน้าหลัก
 ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.
|