ลำดับเหตุการณ์สำคัญของตระกูลว่องกุศลกิจ

โดย ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
นิตยสารผู้จัดการ( สิงหาคม 2549)



กลับสู่หน้าหลัก

ลำดับเหตุการณ์สำคัญของตระกูลว่องกุศลกิจ

พ.ศ.2482 จุดเริ่มต้นของว่องกุศลกิจจากการทำไร่อ้อยที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

พ.ศ.2499 ก่อตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงงานน้ำตาลมิตรผล โดยร่วมทุนกับตระกูลผานิตพิเชษฐ์วงศ์และว่องวัฒนสิน

พ.ศ.2515 ตระกูลว่องวัฒนสินแยกออกไปดูแลกิจการน้ำตาลมิตรเกษตร จ.กาญจนบุรี

พ.ศ.2516 ก่อตั้งโรงงานน้ำตาลมิตรสยาม จ.กำแพงเพชร

พ.ศ.2519 ก่อตั้งบริษัท ยูไนเต็ด ชูการ์ เทอร์มินัล จำกัด (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นยูไนเต็ด แสตนดาร์ด เทอร์มินัล) ทำธุรกิจคลังสินค้าและขนถ่ายน้ำตาล

พ.ศ.2522 ก่อตั้งโรงงานน้ำตาลบ้านโป่ง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

พ.ศ.2524 ตระกูลผานิตพิเชษฐ์วงศ์แยกตัวออกไปดูแลโรงงานน้ำตาลบ้านโป่ง

พ.ศ.2525 ก่อตั้งบริษัท อัมรินทร์ พลาซ่า โดยร่วมทุนกับตระกูลวัธนเวคิน (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ดิ เอราวัณ กรุ๊ป)

พ.ศ.2526 - ก่อตั้งบริษัท เหมืองบ้านปู โดยร่วมทุนกับตระกูลเอื้ออภิญญกุล (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บ้านปู)

- ก่อตั้งโรงงานน้ำตาลรวมเกษตรกรอุตสาหกรรม หรือมิตรภูเขียว อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ โดยร่วมทุนกับ Tate & Lyle Industries ประเทศอังกฤษ น้ำตาลตะวันออกและน้ำตาลหนองใหญ่

พ.ศ.2531 - สลับตัวผู้บริหารธุรกิจน้ำตาลและอัมรินทร์ พลาซ่า โดยวิฑูรย์ไปดูแลกิจการอัมรินทร์ พลาซ่า และอิสระมาดูแลธุรกิจน้ำตาล

- อัมรินทร์ พลาซ่าเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

พ.ศ.2532 เหมืองบ้านปูเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

พ.ศ.2533 ย้ายโรงงานน้ำตาลมิตรผลจาก อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี มาอยู่ที่ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี

พ.ศ.2536 ขยายธุรกิจน้ำตาลไปยังประเทศจีน

พ.ศ.2537 ยูไนเต็ด ชูการ์ เทอร์มินัลเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

พ.ศ.2538 ซื้อกิจการโรงงานน้ำตาลหนองเรือ จ.ขอนแก่น ด้วยมูลค่ากว่า 1 พันล้านบาทและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงงานน้ำตาลมิตรภูเวียง

พ.ศ.2540 - ย้ายโรงงานน้ำตาลมิตรสยามมาอยู่ที่ จ.กาฬสินธุ์และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงงานน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์

- ประเทศไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานทุกธุรกิจในตระกูลจนต้องขายทรัพย์สินบางส่วน นอกเหนือจากการปรับโครงสร้างหนี้

พ.ศ.2546 ก่อตั้งโรงงานน้ำตาลสิงห์บุรี จ.สิงห์บุรี

พ.ศ.2549 - ขยายธุรกิจน้ำตาลไปประเทศลาว

- ขายหุ้น บล.ยูไนเต็ดให้กับเอพีเอฟ โฮลดิ้งส์ ซึ่งเป็นกลุ่มทุนจากประเทศญี่ปุ่น


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.