อภิชาติ ดำดี เดินอีกครั้งกับ Walk Rally


นิตยสารผู้จัดการ( กรกฎาคม 2538)



กลับสู่หน้าหลัก

การก้าวขึ้นสู่ความสำเร็จของแต่ละบุคคลนั้น จะยึดถือแนวทางที่ค่อนข้างหลากหลาย แต่ก็มักจะยึดภาษิตที่ว่า การทำงานที่ตนถนัดนั่นแหละ จึงจะไปถึงชัยชนะ แต่นั่นก็อาจจะไม่เพียงพอ สำหรับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ซึ่งต้องเพิ่มความเข้มข้นด้านการไขว่คว้าหาจุดขายี่ไม่มีใครเหมือน มาแผ้วถางทางไปสู่จุดหมายที่ตนต้องการ

"อภิชาติ ดำดี " เป็นผู้หนึ่งที่เกิดมาเป็นนักพูดโดยเฉพาะ ด้วยคารมโวหารที่สามารถเอื้อนเอ่ยร้อยแก้ว ร้อยแก้ว ร้อยกรองได้อย่างไม่ติดขัด รวมถึงความสามาถพูดภาษาไทยได้ทุกภาค และภาษาต่างชาติได้หลายภาษาทำให้อภิชาตรู้ตัวดีว่า ตัวเองนั้นจะต้องยึดแนวทางการเป็นนักพูดที่ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน แต่ด้วยยุคสมัยที่ไม่หยุดนิ่ง ซึ่งไม่ยอมปล่อยให้การเป็นนักพูดที่ดีแต่ขาดข้อแตกต่างซึ่งเป็นจุดขายของตน ประสบความสำเร็จได้โดยง่ายเหมือนในอดีต

ดังนั้นหลังจากคลุกคลีอยู่กับวงการนักพูดจนจบทุกกระบวนยุทธ์ จนกระทั่งได้พบกับแนวทางในการทำธุรกิจที่เหมาะสม เมือ่ไปร่วมงานกับบริษัทภาษรโปรโมชั่น ของกรรณิการ์ ธรรมเกษร อภิชาติพบว่า ธุรกิจฝึกอบรมที่เรียกว่า Inhouse Training น่าจะไปได้ดีกับความต้องการของตลาดปัจจุบัน แต่ธุรกิจฝึกอบรมแบบนี้ จะไม่ถึงเป้าหมายไว้เลย หากอภิชาติไม่อาจสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ Inhouse Training นี้ได้

"อาดัมกรุ๊ป ( Adam Group) บริษัทที่มุ่งหวังจะสานต่อแนวความคิดของอภิชาติให้เป็นรูปเป็นร่างจึงได้เกิดขึ้น ( Institute of Management Science) โดยได้เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2535 ในช่วงแรกนั้นอภิชาตมุ่งหวังจะฝึกฝนวิทยายุทธ์ในวงการฝึกอบรม และสร้างศรัทธาให้ผู้คนทั่งไปได้รู้จักเสียก่อน นอกจากนั้นยังจะมุ่งขายที่แปลกและแตกต่างดังว่า

ซึ่งในที่สุดอภิชาติ ก็ค้นพบ " Walk Rally" เทคนิคในการฝึกอบรมแบบใหม่ ซึ่งแม้จะมีการนำมาใช้กันในเมืองไทยบ้างแล้ว แต่ก็ยังกระจุกตัว รู้กันเฉพาะในหมู่ผู้เชี่ยวชาญกิจการฝึกอบรมเท่านั้น ซึ่งอันที่จริงแล้ว Walk Rally มีต้นกำเนิดของบริษัทโซนี่ ที่เมืองอัสชิกิ โดยชิเกรุ โคบายาชิ ผู้จัดการใหม่ของบริษัทนี้ได้นำเอาเทคนิค walk Rally นี้มาใช้ในการพัฒนาบุคลากรของบริษัทอย่างได้ผล จนกระทั่งแพร่หลายมาที่เมืองไทย

Walk Rally นี้คล้ายคลึงกับการแข่งขันแรลลี่ของรถแทบทุกประเภท โดยจะมีแผนที่ใช้ในการเดินทาง มีจุดควบคุมเวลา ( Time Control) มีการค้นหาเครื่องตรวจสอบผ่าน จะมีการถามตอบปัญหาในแต่ละด่านที่ผู้เข้าอบรมต้องผ่าน โดยแรลี่ประเภทนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญอยู่ 2 ประการ คือการฝึกทักษะของการบริหารการสร้างพัฒนาทีมงาน การวางแผนการทำงาน คงวามเป็นผู้นำ การแก้ไขข้อขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อไปจุดจุดหมายที่วางไว้แม้จะมีโดย walk rally จะเริ่มจาการสร้างกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เป็นประเดิม เพื่อให้มีความคุ้นเคยและรู้จักกันก่อน และเป็นการสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะเข้หากันด้วย หลังจากนั้นจึงเป็นการเดินเพื่อค้นหาตำแหน่งที่ต้องทำกิจกรรมประเภทอื่นร่วมกัน สรุปตบท้ายด้วยการหาข้อยุติจากกิจกรรม เพื่อหาข้อดีที่ได้จากภารกิจครั้งนี้

"กิจกรรม Walk Rally นี้จะว่าไปก็เหมือนการออกค่ายลูกเสือของเด็กเล็ก ที่ต้องเคร่งครัดในระเบียบวินัยมากพอสมควร แต่ของเราจะเน้นการทำงานร่วมกันเป็นสำคัญ ขณะนี้ก็เริ่มมีผู้สนใจกิจการรมประเภทนี้บ้างแล้ว แต่ก็ยังอยู่ในวงค่อนข้างจำกัด กลุ่มลูกค้ารายใหญ่ที่เข้ามาใช้บริการจากเราก็มีเล่น โรงแรมโอเรียนเต็ล อเมริกัน เอ็กซเพรส ซึ่งคาดว่าด้วยวิธีปากต่อปากก็คงทำให้มีผู้เข้ามาใช้บริการของเราเพิ่มขึ้น"

ปัญหาในการเผยแพร่แนวคิด Walk Rally ออกไปนั้น ความคุ้นเคยกับการขับรถแรลลี่ที่มีเครื่องทุ่นแรง ทำให้ไม่ต้องตรากตรำต่อความยากลำบากมากนัก ดูจะเป็นข้อเปรียบเทียบสำคัญที่ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ ยังกริ่งเกรงว่ากิจกรรม Walk Rally นี้จะเหน็ดเหนื่อยจนเกินไป ซึ่งโดยปกติในการจัดแรลลี่ประเภทนี้จะใช้เวลาประมาณ 3 วัน เดียวกันทุกวัน เพื่อให้มีการพัฒนาด้านการเดินต่อเนื่องทุกวัน ซึ่งหากไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยากอันจะนำมาซึ่งความสามัคคีแล้ว

Walk Rally ก็น่าจะให้อะไรได้ไม่น้อยหน้าไปกว่าการแข่งรถแรลลี่ทั่วไป

อภิชาตยังเปิดเผยด้วยว่า แรลลี่แบบนี้จะเป็นเสมือนตัวจุดประกายที่ทำให้เกิดความคึกคักในหมุ่บริษัทฝึกอบรมที่จะหันมาให้ความสนใจเปิดหลักสูตร Inhouse Traing เองนั้น ที่มุ่งเจาะเป็นรายบริษัท และสนองตอบความต้องการด้านการฝึกอบรมเป็นเฉพาะรายไปนั้น ดุจะเป็นเครื่องมือทางการบริหารนอกระบบที่ผุ้บริหารสมัยใหม่จะมองข้ามไปไม่ได้เลย

ซึ่งจะส่งผลให้การแข่งขันในหมู่บริษัทฝึกอบรมย่อมจะรุนแรงขึ้นอย่างแน่นอน การงัดกลเม็ดเด็ดพรายที่จะชวนเชิญให้ผู้สนใจมาใช่บริการ ก็น่าจะมากเป็นเงาตามตัว การแข่งขันของบริษัทเหล่าน ี้นอกจากจะเพื่อรองรับการเข้ามาของบริษัทฝึกอบรมจากต่างชาติ โดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกา ยุโรปที่เริ่มมีกระแสเข้ามาลงทุนเพื่อเปิดสาขาในสิงคโปร์ หรือมาเลเซีย รวมถึงไทย ซึงเป็นเป้าหมายต่อไป

"กระแสความรุนแรงที่เขาเข้ามานั้น เป็นไปได้อย่างมากว่าเขาอาจจะมาเปิดในรูปของเฟรนไชส์ ซึ่งเขาจำเป็นต้องหาผู้ลงทุนชาวไทยที่มีอุดมการณ์เดียวกับเขา เราจึงกำลังจับตามองและศึกษาดูว่า จะมีโอกาสขยายกิจการส่วนนี้ในอนาคตหรือไม่"

ณ วันนี้อภิชาติ ดำดี คงตระหนักดีแล้วว่า อาดัมกรุ๊ป ที่เขาสร้างขึ้นมานั้น จะไม่ก้าวมาถึงจุดนี้ได้เลย หากเขามองความต้องการตลาดไม่ขาด และไม่สามารถนำสิ่งแปลกใหม่เสนอแก่ลูกค้าผู้มาใช้บริการได้



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.