ในช่วง3-4 ปีที่ผ่านมาตลาดรถยนต์ไทยมีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นนับเป็นช่วงแห่งการปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่
เพื่อให้ทันรับกับความเติบโตของตลาดรถยนต์อันส่งผลให้เกิดการแข่งขันทางการตลาดที่รุนแรง
และก่อให้เกิดผลต่อเนื่องประการสำคัญนั่นคอ ประเทศไทยกลายเป็นเป้าหมายสำคัญในการเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกของรถยนต์ญี่ปุ่นในภูมิภาคเอเซีย
ท่ามกลางกระแสเหล่านี้ มาสด้านับเป็นค่ายที่มีความเคลื่อนไหวน้อยที่สุด
ไม่ว่าจะเป็นความเคลื่อนไหวทางการขายหรือการลงทุนเทียบกับคู่แข่งจากประเทศเดียวกันแล้ว
จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน เพราะทุกวันนี้มิตซูบิชิ โตโยต้า หรือฮอนด้า
ต่างเข้ามายึดไทยเป็นฐานการส่งออกทั้งสิ้น
ในแง่การทำตลาด แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีบางช่วงบางจังหวะที่รถยนต์มาสด้าสามารถสร้างยอดขายได้มาก
เช่นการนำมาสด้า โครโนส 626 มาเปิดตลาดด้วยยอดขายสูงกว่า 5,000 คันก่อนที่จะได้รับผลกระทบจากความผันผวน
ของค่าเงินเยน หรือการเปิดตัวของมาสด้า แอสทิน่าในปี 2534 ซึ่งเป็นที่ฮือฮาด้านรูปโฉม
จนมียอดจองล้นหลามที่จะสามารถสร้างต่อเนื่องในการทำตลาดรถยนต์แต่ละรุ่นให้สืบเนื่อง
ในการทำตลาดรถยนต์แต่ละรุ่นให้สืบเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานได้
สถานการณ์ของมาสด้า ดูน่าเป็นห่วงมาก ๆ หากไม่ได้รับการเยียวยาแก้ไขอย่างทันเวลา
ซึ่งก็ยังโชคดีที่มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น แห่งญี่ปุ่น บริษัทแม่ของสุโกศล
มาสด้า ( ประเทศไทย) ดูเหมือนจะทราบความจริงข้อนี้อยู่บ้าง ดังนั้นเมื่อเดือนกรกฏาคม
2537 ที่ผ่านมา นายบุนโซ ซูซูกิ ผู้มีประวัติการทำงานกับมาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น
มานานกว่า 30 ปี จึงถูกส่งเข้ามารับหน้าที่กรรมการผู้จัดการ ที่สุโกศลมาสด้า
ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์มาสด้าในประเทศไทย และบริษัท สุโกศล มาสด้า อุตสาหกรรมรถยนต์
จำกัด แทนนายเซอิจิ มิยาจิ เพื่อพลิกฟื้นสถานการณ์ในไทยครั้งใหญ่
ถ้าดูจากประวัติการทำงานของซูซูกิ ที่มาสด้าแล้ว นับได้ว่าไม่ธรรมดา เพราะเขาได้รับความไว้วางใจให้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญๆมากมาย
เช่นการมีส่วนร่วมในการแต่งตั้งตัวแทน จำหน่ายแห่งแรกที่แคนาดาและสหรัฐอเมริกา
รวมถึงการรับผิดชอบตลาดประเทศแคนาดา การรับผิดชอบวางแผนสินค้าและกำหนดรายละเอียดของแบบรถยนต์
สำหรับทวีปอเมริกาเหนือ การรับผิดชอบงานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ของมาสด้าในอเมริกา
นอกจากนี้เขายังเคยรับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์ของมาสด้าในระดับนานาชาติ
ณ สำนักงานใหญ่ของมาสด้าที่ฮิโรชิมานานถึง 7 ปี
งานสำคัญและถือว่าเอื้อประโยชน์ต่อการเข้ามาทำงานในเมืองไทยของเขามากที่สุดก็คือ
ภารกิจในช่วง 4 ปี สุดท้ายก่อนเข้ามาอยู่เมืองไทย ซึ่งเป็นช่วงที่เขาได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดูแลภูมิภาคเอเชีย
เริ่มจากการเป็นรองผู้จัดการทั่วไป รับผิดชอบตลาดเอเชีย ออสเตรเลีย แอฟริกา
รวมทั้งในอเมริกาใต้และอเมริกากลางบ ก่อนที่จะเลื่อนขึ้นไปเป็นผู้จัดการทั่วไปของทีมเอเชีย
และผู้จัดการทั่วไปของแผนกเอเชียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตามลำดับ
ประสบการณ์ที่ผ่านมา บวกกับบุคลิกที่แตกต่างจากนักธุรกิจญี่ปุ่นทั่วไปของซูซูกิ
ทำให้สุโกศล มาสด้า ภายใต้การนำของเขากลายเป็นภาพที่แปลกตาอย่างไม่เคยเห็นมาก่อน
เริ่มจากความเป็นนักประชาสัมพันธ์เก่า นอกจากจะทำให้เขาไม่กลัวการพบปะพูดคุยกับผู้สื่อข่าวและเชื่อมั่นว่าการสื่อสารกับสื่อมวลชน
จะเป็นผลดีกับมาสด้า เพราะทำให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ข่าวสารของมาสด้ามากขึ้นแล้ว
เขายังนำประโยชน์ของการสื่อสารไปใช้ในองค์กรด้วย
" ตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่ง ผมก็ได้ริเริ่มให้มีการประชุมระดับบริหาร
หรือที่เรียกว่า แมเนจเมนท์ มิทติ้งทุกสัปดาห์ โดยเชิญผู้บริหารฝ่ายต่าง
ๆ เข้ามาร่วมปรึกษาหารือ จุดมุ่งหมายของการประชุมนี้มิได้อยู่ที่การพูดคุยและตัดสินใจปัญหาใดปัญหาหนึ่งเท่านั้น
แต่ยังเป็นการฝึกให้มีการสื่อสารระหว่างกัน ผมอยากให้ทุกคนกล้าแสดงออก กล้าพูดในสิ่งที่ตัวเองคิด
ผมรำคาญคนที่เงียบมากว่าคนพูดมาก"
ช่วง 9 เดือน ที่เขาเข้ามาบริหารงานในประเทศไทย ซูซูกิ ถือว่ายังเป็นช่วงเวลาของการปรับตัวและเรียนรู้สิ่งใหม่
ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนภาษาไทยจนสามารถพูดและอ่านได้บ้างแล้ว
การเรียนรู้อุปนิสัยการทำงานของคนไทย เรียนรู้สภาพตลาดและรสนิยมของลูกค้า
แต่ก็นับเป็นช่วงที่สุโกศล มาสด้ามีการเปลี่ยนแปลงด้านองค์กรสูงมาก
ไม่ว่าจะเป็นการปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
หลังจากเข้ามารับงานได้ 6 เดือน โดยการรวม 3 หน่วยงานหลัก คือ ฝ่ายขาย ฝ่ายบริการ
และฝ่ายอะไหล่ ให้รวมศูนย์อยู่ที่เดียวกัน โดยทั้ง 3 ฝ่ายจะอยู่ภายใต้การดูแลของนายฮิโรชิ
อิวาตานิ รองกรรมการผู้จัดการ มิใช่ต่างเป็นรับอิสระที่ขึ้นตรงต่อกรรมการผู้จัดการอย่างแต่ก่อน
นอกจากนี้ยังมีการสับเปลี่ยนตัวผู้บริหารในแผนกต่าง ๆ เช่น นายลิชล จันท์รัศมี
จากรองผู้จัดการทั่วไปฝ่ายบริการ นายเฉลิม นาคบรรพ์ จากรองผู้จัดการทั่วไปฝ่ายบริการหลังขาย
มาเป็นรองผู้จัดการทั่วไปฝ่ายอะไหล่
นี่ยังไม่นับรวมถึงการย้ายนายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนาพงษ์ จากรองผู้จัดการทั่วไปฝ่ายพัฒนการรตลาด
ของสุโกศล มาสด้า ไปเป็นผู้จัดการทั่วไปของบริษัท กิจกมลโกศล เพื่อดูแลดีลเลอร์ในเขตกรุงเทพฯ
โดยเฉพาะ ซึ่งการโยกย้ายครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากเขารับตำแหน่งได้ประมาณ 4
เดือน
ซูซูกิ ยอมรับว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสุโกศล มาสด้า เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามผลักดันให้รถยนต์มาสด้าประสบความสำเร็จในเมืองไทยมากกว่าอดีตที่ผ่านมา
กล่าวคือสุโกศล มาสด้า หวังทึ่จะมีส่วนแบ่งตลาด10%ใน 5 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันซึ่งมีส่วนแบ่งอยู่ประมาณ
3%
โดยจุดสำคัญที่ตจะทำมให้มาสด้าไปถึงเป้าหมาย นอกจากจะต้องมีผลิตภัณฑ์ที่ดี
และการวางแผนสนับสนุนดีลเลอร์ให้ปรับปรุงด้านบริการหลังการขาย โดยบริษัทกำลังลงทุนสร้างไฮเทค
เซ้นเตอร์พัฒนาประสิทธิภาพด้านเทคนิค การซ่อมบำรุงที่ทันสมัยให้กับผู้แทนจำหน่าย
และการสร้างศูนย์อะไหล่กลาง ซึ่งจะช่วยให้ราคาอะไหล่ของบริษัทถูกลงและให้บริการได้คามความต้องการของลูกค้ามากขึ้น
ความหวังอีกอย่างหนึ่งของสุโกศล มาสด้า ก็คือ การลุ้นให้แผนการร่วมทุนเข้ามาตั้งโรงงานผลิตรถกระบะเพื่การส่งออกในประเทศไทยของมาสด้า
และฟอร์ด ประสบความสำเร็จ เพราะนั่นหมายถึงว่า สุโกศล มาสด้าจะมีรถกระยะขนาด
1 ตัน สนองความต้องการลูกค้ามากขึ้นกว่าปัจจุบันที่ไม่สามารถทำได้ เพราะต้องพึ่งพาการป้อนเครื่องยนต์จากอีซูซุ
บุนโซ ซูซูกิ ยอมรับว่า เขาประทับใจและสนุกสนานกับการทำมาทำงานในเมืองไทยมาก
และหากมาสด้าสามารถกู้สถานการณ์กลับขึ้นมาอยู่ในอันดับ 5 ของผู้ค้ารถยนต์เมืองไทยได้
รวมทั้งมียอดขายกระเถิบเข้าไปไกล้อันดับสี่มากกว่าที่ผ่านมา ก็จะยิ่งทำให้เขาประทับใจเมืองไทยมากขึ้น
ซึ่งเขาเองก็ยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ