แนวทางการรุกสร้างฐานการผลิตในต่างประเทศของเครือซิเมนต์ไทย หรือปูนใหญ่
เด่นชัดมากขึ้น ในยุคของชุมพล ณ ลำลียง ซึ่งอาจเพระถือเป็นนโยบายหลักประการหนึ่งของเครือข่ายแห่งนี้ในยุคโลกไร้พรมแดน
ในจำนวนกลุ่มนักธุรกิจทั้งแปดของเครือปูนใหญ่ กลุ่มที่ถือว่ามีความโดดเด่นในการสร้างอาณาจักรต่างแดน
มากที่สุดกลุ่มหนึ่ง น่าจะเป็น กลุ่มุธุรกิจ " เซรามิก" ซึ่งมีดุสิต
นนทะนาคร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ เครือซิเมนต์ไทย เป็นผู้กำกับดูแลทิศทางของกลุ่ม
การขยายอาณาจักรของกลุ่มเซรามิก เครือปูนใหญ่ ออกสู่ต่างประเทศ เป็นทั้งนโยบายเชิงรุกและตั้งรับ
ไปพร้อมๆ กัน
"เป็นการไปทดสอบคน และสร้างคนในสิ่งแวดล้อมใหม่ นี่คือ เหตุที่เราเข้าไปในอเมริกา
ส่วนการเข้าไปในฟิลิปปินส์ นั้นเพราะเราเล็งเห็นว่า ตลาดเพิ่งเริ่มต้น ยังมีศักยภาพอีกมาก
ยังมีการเติบโตต่อไป เราจึงเข้าไป"
ดุสิต ยังได้อธิบายเพิ่มเติม ถึงสิ่งที่ปูนใหญ่ต้องการเรียนรู้จากการเข้าไปทำธุรกิจในอเมริกา
ว่า เครือซิเมนต์ไทย โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจเซรามิก ต้องการเรียนรู้ว่าเวลาที่รายใหม่
ๆ เข้าไปทำตลาดในประเทศซึ่งมีการแข่งขันค่อนข้างเสรี และเป็นโลกกว้างเช่นอเมริกานั้น
ผู้มาใหม่ควรจะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้สามารถอยู่รอดในตลาดเหล่านั้นได้
ซึ่งที่ผ่านมาทางกลุ่มก็ได้ทราบบทเรียนตามที่ตั้งใจเรียนรู้ได้พอสมควร
"เราพบว่ายากมากสำหรับรายใหม่ ๆ ที่จะเข้าไปยังตลาดเช่นนั้น ซึ่งถ้าไม่มีความพร้อมและแผนงานที่ดีแล้ว
คงไม่สามารถอยู่รอดได้ ซึ่งบทเรียนที่เราได้รับเหล่านี้ ก็เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมตัวเองให้พร้อม
เพื่อรับสถานการณืในอนาคตที่เมืองไทยจะต้องเกิดรายใหม่ ๆ ที่แข็งแกร่งค่อนข้างแน่ในเวลาอีกไม่นาน
เมื่อตลาดเปิดเสรีมากขึ้น ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นเราก็จะเห็นภาพค่อนข้างชัดว่าจะเกิดอะไรขึ้น
และควรวางแผนงานอย่างไร เพื่อสกัดกั้นไม่ให้รายใหม่ ๆ เติบโตเร็วนักเหมือนเช่นที่เราถูกสกัดกั้นเมื่อเข้าไปทำการผลิตและเปิดตลาดในอเมริกา
นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้บทเรียนใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ก็เพื่อนำมาพัฒนาองค์กรโดยรวม
โดยเฉพาะในเรื่องของบุคลากรและระบบการบริหารงาน ซึ่งจะทำให้เราก้าวไปข้างหน้าอย่างเสมอต้นเสมอปลาย"
การลงทุนในสหรัฐอเมริกานั้นได้ผ่านทางบริษัท ไลท์เซอรา อิงค์ ซึ่งปูนใหญ่ถือหุ้นอยู่
100% โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2535 มีเงินทุน 1,630 ล้านบาท ทำการผลิตกระเบื้องเซรามิกปูพื้น
บุผนัง มีกำลังการผลิต 3.72 ล้านตารางเมตรต่อปี
ส่วนการเข้าไปลงทุนในฟิลิปปินส์ หรือประเทศจีนเพราะตลาดมีแนวโน้มสดใสมาก
และยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แม้จะมีผู้ผลิตอยู่บ้าง อย่างเช่นในฟิลิปปินส์
แต่ศักยภาพของเครือซิเมนต์ไทย เหนือกว่ามาก ดังนั้นสถานการณ์การรุกตลาดในประเทศเหล่านี้
เครือซิเมนต์ไทยจึงได้เปรียบ
สำหรับการลงทุนในฟิลิปปินส์นั้น ได้เริ่มมาเมื่อปีที่แล้ว ผ่านทางบริษัท
มาริวาซา แมนูแฟคเจอริ่ง อิงค์ ซึ่งปูนใหญ่ถือหุ้นโดยนักลงทุนท้องถิ่น โดยบริษัทได้ทำการผลิตกระเบื้องเซรามิกพื้น
บุผนัง ใช้เงินทุน 1,700 ล้านบาท กำลังการผลิต 5.1 ล้านตารางเมตรต่อปี
ในฟิลิปปินส์ นอกจากโครงการที่เริ่มแล้วข้างต้น ยังมีโครงการส่วนขยายอีก
2 ส่วนหลัก คือ ส่วนขยายการผลิตกระเบื้องเซรามิก ปูพื้น บุผนัง เพิ่มขึ้นอีก
4.4 ล้านตารางเมตรต่อปี ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 1,130 ล้านบาท และขยายสายการผลิตไปสู่เครื่องสุขภัณฑ์
กำลังการผลิต 4.5 แสนชิ้นต่อปี คาดว่าใช้เงินลงทุน 595 ล้านบาท ทั้งนี้ส่วนขยายทั้งสอง
จะเป็นการตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ โดยปูนใหญ่ และบริษัท มาริวาซฯ จะร่วมกันถือหุ้น
ทางด้านโครงการในประเทศจีนนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา ซึ่งคาดว่าเดือนสิงหาคมที่จะมาถึงนี้
จะสามารถลงนามในสัญญาร่วมทุนและเดือนตุลาคมจะสามารถเริ่มมีการก่อสร้างได้
โดยโรงงานจะอยู่ที่เมืองปักกิ่ง ทำการผลิตกระเบื้องเซรามิกปูพื้น บุผนัง
กำลังการผลิตสูงสุด 4 ล้านตารางเมตร ต่อปี
มองอย่างผิวเผิน อาจจะเห็นว่านโยบายการออกไปลงทุนในต่างแดน ของเครือซิเมนต์ไทย
โดยเฉพาะในกลุ่มเซรามิกนั้น เป็นเพราะสายตาที่มองไปข้างหน้า และเป็นการรุกออกโดยเตรียมรับเหตุการณ์อนาคต
แต่จากข้อมูลทางด้านการตลาดอุตสาหกรรมด้านนี้ ในประเทศในระยะ 1-2 ปีที่ผ่านมา
จะเห็นว่าแรงบีบมีมากมายมหาศาลภายใต้กลไกตลาดที่เข้มข้น ด้วยการแข่งขันที่รุนแรงยิ่ง
ในขณะนี้การส่งกระเบื้องเซรามิกจากต่างประเทศเข้ามาดัมพ์ตลาดในเมืองไทยยังกระทำไปได้ยาก
เนื่องจากกำแพงภาษียังอยู่ที่ 55% แม้จะลดลงจากช่วงก่อนที่สูงถึง 80% ก็ตาม
แต่ระยะภายในไม่กี่ข้างหน้า ภาษีนำเข้าของผลิตภัณฑ์ด้านนี้จะลดลงเหลืองเพียง
30% ในปี 2540 และเหลือเพียง 0-5% ภายในอี ก7 ปี ข้างหน้า ภายใต้ข้อตกลงอาฟตา
ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นเป็นเรื่องที่ดูจะยาก ลำบากสำหรับผู้ผลิตในประเทศที่จะแข่งขัน
แม้ยังไม่มีการส่งสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาแข่งขัน อุตสาหกรรมการผลิตกระเบื้องเซรามิกของไทยก็อยู่ในภาวะล้นตลาดเสียแล้ว
ด้วยการแข่งขันของผู้ผลิตรายใหญ่ ๆ 3 รายที่ศักยภาพทัดเทียมกันมาตลอด คือ
ไทย-เยอรมัน เซรมิค อินดัสตรี ผู้ผลิตกระเบื้องเซรามิก "คัมพานา"
ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 25% สหโมเสค อุตสาหกรรม ผู้ผลิตกระเบื้องเซรามิก
"ดูราเกรส" และ " ลีลา" ซึงมีส่งนแบ่งการตจลาดประมาณ
20% และผู้ผลิตภายใต้เครือปูนใหญ่ยี่ห้อคอตโต้ ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ
24%
มีการคาดการณ์กันว่าปี 2538 นี้การผลิตกระเบื้องเซรามิกจะล้นตลาดประมาณ
25% โดยการผลิตรวมจะมีประมาณ 75-80 ล้านตารางเมตร ซึ่งน่าจะทำให้ราคาของกระเบื้องเซรามิก
จะยังคงตกต่ำต่อไป ทั้งการขยายตลาดไปยังต่างประเทศโดยการส่งที่ยากยิ่งเช่นกัน
เพราะตลาดต่างประเทศก็มีการแข่งขันที่รุนแรงไม่แพ้ในเมืองไทย
ประการสำคัญต้นทุนการผลิตของไทยยังสูงกว่าคู่แข่งสำคัญในภูมิภาคนี้ อย่างมาเลเซียและอินโดนีศัย
ซึ่งต้นทุนการผลิตต่ำกว่า อันเนื่องมาจากต้นทุนด้านวัตถุดิบและต้นทุนค่าพลังงานทั่ฐเห้นความสำคัญและเกื้อหนุนให้
ภาวะที่ค่อนข้างบีบคั้นผู้ผลิตให้ต้องดิ้นรนเพื่อคงอยู่ในตลาดเป็นเรื่องสำคัญ
แต่การขยายตลาดในประเทศเป็นเรื่องยากลำบาก จึงต้องหาทางออก ซึ่งดูเหมือนว่าเครือปูนใหญ่จะตัดสินใจก่อนคู่แข่งรายใด
ที่จะรุกออกนอกประเทศเพื่อสร้างศักยภาพ และเครือข่ายไว้เตรียมรับมือการแข่งขันที่จะเข้มข้นยิ่งขึ้นในอนาคต