ศึกสองดอกเตอร์ "วุติพงษ์-ศิริวรรณ" แล้วเรตติ้ง 'ทริส' จะเหลือเท่าไหร่?


นิตยสารผู้จัดการ( กรกฎาคม 2538)



กลับสู่หน้าหลัก

"มีคำถามว่า ผมริอ่านปลดดอกเตอร์จากฮาร์วาร์ดเชียวหรือ ผมขอตอบว่านั่นคือเหตุผลที่ผมรับเขาเข้ามาทำงาน ไม่ใช่เหตุผลในการปลด! ดอกเตอร์จากฮาร์วาร์ด ที่ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ กรรมการผู้จัดการของทริส เล่าให้ผังนั้นหมายถึง ดร.ศิริวรรณ ชูติกมลธรรม ผู้กลายเป็นอดีตรองกรรมการผู้จัดการไปเสียแล้ว

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ความเก่งของดร.ศิริวรรณ ที่เข้าตากรรมการอบย่างดร.วุฒิพงษ์ ก็คือ เก่งเรียน ระดับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งของเศรษฐศาสตร์ จุฬา ปริญญาโทเศรษศาสตร์การเกษตรจากมหาวทยาลัยมินิโชตา และปริญญาเอกสาขาบริหารธุรกิจจากฮาร์วาร์ด 'เก่งคิด' ซึ่งดร.ศริวรรณเคยทำงานกับธนาคารดลกที่วอชิงตัน ดี.ซี. ล่าสุดเคยทำงานแบงก์กรุงเทพและเป็นกรรมการผู้จัดการของบราทแผ่นดินทองก่อนย้ายมาทำที่ทริส

แต่พอเริ่มทำงานกันไปสักพักใหญ่ ทั้งดร.วุฒิพงษ์ และดร.ศิริวรรณ ต่างก็ตระหนักดีว่า ลืมคิดถึงความเก่งที่สำคัญไปอีกข้อหนึ่ง นั่นคือ 'เก่งคน' ที่สามารถทำให้คนอื่นยอมรับการทำงานร่วมกันจนบรรลุเป้าหมายร่วมกันได้ แม้จะแตกต่างความคิดเห็นแต่ไม่ใช่แตกแยก

ดังนั้นเพียงระยะเวลาไม่ถึงปี น้ำผึ้งระหว่างทั้งสองดอกเตอร์ช่างขมเร็วเหลือเกิน และแตกหักถึงขั้นเป็นกรณีพิพาทที่ดร.ศิริวรรณฟ้องเรียกค่าเสียหาย 12.8 ล้านบาท กรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมและถูกบีบคั้นให้ลาออกก่อนกำหนด 3 ปี

เป็นที่ยอมรับว่า มีความขัดแย้งเชิงบริหารระหว่างดร.วุฒิพงษ์ กับดร.ศิริวรรณจริง ซึ่งเป้นเรื่องปกติในองค์กรที่มีวัฒนธรรมนักวิชาการเก่ง ๆ ระดับเหรียญทองซึ่งมีอัตวิสัยสูงและยึดมั่นถือมั่นมาก ๆ เพียงแต่เวทีแห่งความขัดแย้งนี้ไม่ใช่ในมหาวิทยาลัย แต่เป็น " เวทีธุรกิจ" เกี่ยวข้องถึง "ผลประโยชน์มหาศาส" ที่ได้รับผลกระทบจากการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของกิจการบริษัท

ปมขัดแย้งที่ทางฝ่ายดร.ศิริวรรณ กล่าวอ้างเกิดจากกรณีการจัดอันดับความน่าเชี่อถือให้กับบริษํทอสังหาริมทรัพย์รายหนึ่ง ซึ่งคณะอนุกรรมการการทำงาน sub committee ซึ่งมีดร.เป็นหัวหน้าทีมยืนยันที่จะให้เครดิตเรตติ้งในระดับหนึ่ง ( Rating Committee) ซึ่งผู้มีคณวุฒิภายนอก นักวิเคราะห์ รวมทั้งดร.วุฒิพงษ์ด้วย พิจารณาว่าน่าให้เครดิตที่ดีกว่านี้

"กรณีที่อ้างว่าผมสั่งให้ทบทวนการจัดอันดับของบรัทนั้น โดยข้อเท็จจริงแล้ว การขอให้ทบทวนการจัดอันดับไม่ได้มาจากตัวผมเอง แต่เพราะบริษํทนั้นยื่นอุทธรณ์เป็นลายลักษณ์อักษรขอให้ทบทวนการจัดเรตติ้งใหม่ ซึ่งทำได้ตามขั้นตอน" ดร.วุฒิพงษ์แถลงแต่ไม่เปิดเผยชื่อบริษัท

การปะทะกันระหว่างหัวหน้าทีม 'มุ้งเล็ก' กับ 'มุ้งใหญ่' ที่ต่างยึดมั่นถือมั่นว่าตัวเองกระทำอยู่บนพื้นฐานหลักการ และกระบวนการถูกต้องทั้งการวิเคราะห์เชิงปริมาณและคุณภาพอย่างมืออาชีพที่เยี่ยมยุทธ์ กลายเป็นชนวนแตกแยกที่ร้างลึกจนถึงวันเผด็จศึกเมื่อต่างฝ่ายต่างแถลงไขความไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม

ข้อกล่าวหาสี่ข้อที่ดร.วุฒิพงษ์ ตอกย้ำยกเลิกสัญญาว่าจ้างดร.ศิริวรรณ ก่อนกำหนด ตามมติคณะกรรมการสวบสวนเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ที่ผ่านมา เพราะ ข้อแรก-ฝ่าฝืนคำสั่งของผู้บังคับบัญชา สอง-เปิดเผยข้อมุ,ลับต่อคณะกรรมการบริษัท สาม-พฤติกรรมขัดขวางองค์กรเนื่องจากยื่นฟ้องบริษัททริสต่อศาลแรงงาน เมื่อมกราคม 2538 เพื่อขอให้พิจารณาแต่งตั้งกลับเข้าทำงานที่เดิม คือ รองกรรมการผู้จัดการและผู้จัดการฝ่ายควบคุมงานวิเคราะห์ด้านการจัดอันดับเครดิตทั้งหมด สี่-มีพฤติกรมไม่เหมาะสมต่อตำแหน่งหน้าที่การงาน โดยในปี 2537 ลาป่วยถึง 14 ครั้ง รวม 12.5 วัน

"ผมไม่สามารถจัดองค์กรเพื่อเอาใจคนใดคนหนึ่ง แต่ต้องจัดเพื่อเตรียมไง้รองรับการขยายตัวในอนาคต ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงการบริหารตามปกติที่เกิดขึ้น" ดร.วุฒิพงษื กล่าวโต้ตอบกับดร.ศิริวรรณที่อ้างถึงแรงบีบคั้นต่าง ๆ นานาเพื่อให้ลาออกจากงาน โดยถูกลดตำแหน่งลงจากผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์การจัดอันดับเครดิตทั้งหมด มาเป็นผู้จัดการฝ่ายธุรกิจทั่วไป และมีการแต่งตั้งคนอื่นมารับผิดชอบแทน ซึ่งดร.วุฒิพงษ์ ก็อ้างอีกว่าการตั้งผู้จัดการฝ่ายสถาบันการเงิน เพื่อดูแลงานวิเคราะห์ตราสารหนี้ที่จะขยายตัวในอนาคต

ตลอดเวลาของงานแถลงข่าวนี้ เจ้าหน้าที่ ก.ล.ต. ได้เข้าร่วมรับฟังข้อมูลจากทั้งสองฝ่ายอย่างตั้งอกตั้งใจ และในที่สุด ทาง ก.ล.ต.ได้เข้าร่วมรับฟังข้อมูลจากทั้งสองฝ่ายอย่างตั้งอกตั้งใจ และในที่สุด ทางก.ต.ล. ได้ส่งจดหมายเชิญประธานกรรมการของทริส ดร.พนัส สิมะเสถียร ซึ่งเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งที่ถูกอ้างว่าเป็นผู้รับฟังคำร้องขอความเป็นธรรมจากดร. ศิริวรรณ จนนำไปสศู่การฝ่าฝืนกฎเหล็กของทริส ที่ห้ามนำข้อมูลจัดอันดับเครดิตเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกที่ทำให้ดร.ศิริวรรณผิดจรรยายบรรณทันที

ขณะเดียวกันก็มีเสียงสะท้อนความวิตกกังวัลของลูกค้าที่ให้ทริสจัดอันดับความน่าเชื่อถือว่า ผลงานของทริสได้มาตรฐานเพียงใด พร้อมทั้งเสนอให้ทางการส่งเสริมให้เกิดสถาบันจัดอันดับเครดิตเพิ่มขึ้นมากว่าหนึ่งแห่ง เพื่อสร้างดุลยภาพและทางเลือกใหม่แก่กิจการบริษัทต่าง ๆ

บทเรียนจากปัญหาที่เกิดขึ้นครั้งนี้ จึงเป็นเรื่องใหญ่ที่ต่างคนต่างคิดว่าตัวเองถูกต้องและออกมาโต้กัน ทำให้ปัญหามันขยายวงไปและเสื่อมเสียต่อภาพพจน์ของสถาบันจัดอันดับอย่างทริสมาก เพราะลูกค้าจะชะงักและข้องใจว่าการจัดอันดับเครดิตของทริสน่าเชื่อถือและมีมาตรฐานเพียงใด ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สสถาบันอย่างทริสมาก ๆ อย่างคาดไม่ถึง แม้ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะชนะหรือแพ้ก็ตาม.



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.