นายชาตรี โสภณพนิช ประธานกรรมการ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าธนาคาร
มีแผนที่จะขยายสาขาในต่างประเทศ และเพิ่มขนาดของสินเชื่อต่างประเทศให้เป็น
10% ภายใน 2 ปี นี้จากปัจจุบันที่อยู่ที่ 7% เนื่อง จากในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจธนาคาร
ได้มีการลดขนาดของสาขาต่างประเทศ โดยเน้นแต่การปล่อยสินเชื่อในประเทศเป็นจำนวนมากทำ
ให้สัดส่วนของสินเชื่อในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 93% จากเดิม 70%
"หลังจากนี้ธนาคารจะให้ความสำคัญในการขยายธุรกิจสาขา ที่อยู่ในเอเชียมากขึ้น
ซึ่งประเทศที่จะเน้นให้ความสำคัญมากๆ ในช่วง นี้ได้แก่ จีน ฮ่องกง และไต้หวันโดย
จะเจาะกลุ่มลูกค้าที่เคยเป็นลูกค้าเดิมของธนาคารให้กลับมาใช้บริการของธนาคารใหม่"ประธานกรรมการธนาคารกรุงเทพกล่าว
นายชาตรี กล่าวว่า ปัจจุบันธนาคารมีเงินทุนที่เพียงพอต่อการขยายธุรกิจ แต่ในปี
2547 จะเป็นปีแรกที่หุ้นบุริมสิทธิควบหุ้นกู้ด้อยสิทธิในรูปแบบของสลิปแคปส์ครบกำหนดไถ่ถอน
หากเงินกอง ทุนไม่เพียงพอก็ต้องเพิ่มทุนซึ่งเชื่อว่าในช่วงดังกล่าวตลาดจะอำนวยต่อการเพิ่มทุน
และหากภาวะไม่เอื้อ อำนวยธนาคารก็สามารถไถ่ถอนแคปส์ได้ถึงปี2549
นายประสงค์ อุทัยแสงชัย กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า ธนาคารกรุงเทพ
ได้ยื่นขอจัดตั้งสาขาที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ต่อรัฐบาลจีน ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา
ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งในการได้รับอนุมัติ เนื่องจากที่จีนได้เข้าไปเป็นสมาชิกของดับเบิลยูทีโอ
ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ จากทั่วโลกก็ยื่นขอจัดตั้งสาขาที่กรุงปักกิ่งเพิ่มขึ้นจำนวนมากเช่นกัน
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ รอง กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
กล่าวว่า ธนาคารจะให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจในประเทศจีนมาก ยิ่งขึ้น
โดยขณะนี้ได้มีสาขาเซินเจิ้น สำนักงานตัวแทนเซี่ยงไฮ้ สำนัก งานตัวแทนปักกิ่ง
และสำนักงานตัวแทนคุนหมิง ซึ่งธนาคารกำลังจัดทำแผนยุทธศาสตร์ทางธุรกิจ ในจีนอยู่
เพื่อให้ชัดเจนมากกว่าที่ผ่านมา หลังจาก เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ธนาคารชะลอการทำธุรกิจใน
สาขาต่างประเทศลง เพื่อเข้ามาดูแลธุรกิจภายใน ประเทศก่อน
ขณะนี้ธนาคารมีความพร้อมที่จะบุกธุรกิจต่างประเทศ โดยเฉพาะเรื่องของสาขาในประเทศ
จีน ที่มองเห็นศักยภาพของธุรกิจในประเทศจีน จะมีประโยชน์ต่อประเทศและลูกค้าของธนาคาร
มากที่สุด เนื่องจากประเทศจีนเป็นประะเทศที่ใหญ่ มีความสำคัญในภูมิภาคและมีความเกี่ยวเนื่องครอบคลุมด้านการค้าขายและการลงทุนอย่างกว้างขวาง
สำหรับการบริการลูกค้าในต่างประเทศ โดย เฉพาะประเทศในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกานั้น
ธนาคารได้อาศัยพันธมิตรช่วยให้บริการ ซึ่งขณะนี้ได้มีพันธมิตรเกือบทุกประเทศของโลก
ที่จะสามารถให้บริการลุกค้าของธนาคารได้อย่าง ทั่วถึง และนโยบายการมีพันธมิตรจะสามารถให้
บริการลุกค้าได้มากกว่าที่ธนาคารไปเปิดสาขาเอง
ไทยพาณิชยยังไม่เปิดสาขาตปท.
เพิ่มใช้พันธมิตรธุรกิจ
นางมาลีรัตน์ ปลื้มจิตรชม ผู้ช่วยกรรม การผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์
จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าธนาคารยังคงให้ความสำคัญกับสาขาต่างประเทศอยู่ ซึ่งขณะนี้มีสาขาและสำนักงานตัวแทนที่ให้บริการลูกค้าได้อย่างครบถ้วน
โดยมีสาขาที่ฮ่องกง สิงคโปร์ เวียดนาม และมุมไบ ประเทศอินเดีย ทั้งหมดนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลุกค้าได้
ดังนั้นจึงยังไม่มีนโยบายที่จะเปิดสาขาต่างประเทศเพิ่มเติม
นอกจากนี้ธนาคารยังมีเคลือข่ายพันธมิตรทางด้านธุรกิจอยู่ทั่วโลก โดยสาถบันการเงินทั่วโลกได้เป็นพันธมิตรกับธนาคารอยู่แล้ว
ซึ่งจะสามารถดูแลหรือให้บริการลูกค้าได้เป็นอย่างดี อีกทั้งระบบเทคโนโลยีต่างๆที่มีความทันสมัย
โดย ธนาคารจะใช้ประโยชน์จากเครื่องมือทางการเงินใหม่เข้ามาบริการกับลูกค้าได้เพียงพอ
ด้านธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) รายงนว่า ธนาคารยังคงใช้สาขาและสำนักงานตัวแทนที่มีอยู่แล้วให้บริการลุกค้า
โดยขณะนี้ยังไม่มีแผนการขยายสาขาในต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีสาขา
3 แห่งคือ สาขาฮ่องกง สาขาเวียงจันทน์ และสาขาเคแมน
กรุงไทยเพิ่มสาขาต่างประเทศขยายสินเชื่อ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากธนาคารกรุงไทย (KTB) ว่ากลุ่มตลาด การเงินและสถาบันการเงิน
(ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสายงานธุรกิจต่างประเทศและตลาดการเงิน) ทำหน้าที่ดูแลการประกอบธุรกิจของสาขาในต่างประเทศของธนาคารซึ่งมียอดสินเชื่อคิดเป็นร้อยละ
0.14 ของยอดสินเชื่อ ทั้งหมด (ไม่รวมตั๋วสัญญาใช้เงินพิเศษ) ซึ่งยอด สินเชื่อดังกล่าวนับเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับยอดสินเชื่อทั้งหมดของธนาคาร
การให้กู้ระหว่างประเทศจะเน้นในด้านการให้สินเชื่อ เพื่อการส่งออกและนำเข้าและภาคธุรกิจส่งออกสินค้าไทย
โดยปกติสาขาในต่างประเทศจะให้กู้เป็นเงินในสกุลท้องถิ่นและสกุลเงินตราต่างประเทศหลัก
อาทิ เงินเหรียญสหรัฐภายใต้สัญญาให้กู้ร่วมที่ให้บริษัทในประเทศขนาด ใหญ่และบริษัทไทยที่ประกอบธุรกิจในต่างประเทศ
ทั้งนี้ ธนาคารได้ใช้สำนักงานสาขาในต่างประเทศโดย เฉพาะสำนักงานสาขาในประเทศสิงคโปร์เป็นสำนักงานที่ทำหน้าที่ในการหาเงินทุน
ในสกุลเงินต่างประเทศ
นอกจากนั้นสำนักงานสาขาในต่างประเทศ ยังมีส่วนช่วยในด้านการดำเนินงานเกี่ยวกับการปริวรรตเงินตรา
และการเข้าทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงโดยการแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทหรืออัตราดอกเบี้ย
(Swap) และอนุพันธ์หรือธุรกรรม การป้องกันความเสี่ยงอื่นๆ (Hedgin)
ปัจจุบัน ธนาคารมีสาขาในต่างประเทศทั้ง หมด 7 สาขา ได้แก่ สาขาลอสแองเจลิส
,สาขานิวยอร์ก, สาขาสิงคโปร์, สาขาคุนหมิง ,สาขามุมไบ, สาขาพนมเปญ และสาขาเวียงจันทน์
(โดย ธนาคารอยู่ระหว่างการรวมการดำเนินงานของสาขานิวยอร์กให้มาอยู่ที่สาขาลอสแองเจลิส)
โดย ธนาคารได้วิเคราะห์และประเมินศักยภาพในการขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของสาขาต่างประเทศอย่างต่อเนื่องทั้งนี้
เพื่อใช้เครือข่ายสาขาต่างประเทศในการพัฒนาและเสริมสร้างธุรกิจของธนาคารในภูมิภาคนี้
สาขาในต่างประเทศแต่ละแห่งปฏิบัติตามกระบวนการอนุมัติและการติดตามสินเชื่อที่กำหนดโดยสำนักงานใหญ่และคณะผู้ตรวจสอบ
ภายในรวมทั้งผู้ตรวจสอบอิสระจะทำการตรวจสอบการดำเนินงานด้านสินเชื่อของสาขาเหล่านี้อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
นอกจากนี้สาขาในต่างประเทศแต่ะลแห่งยังต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ ของหน่วยงานกำกับดูแลธนาคารของประเทศที่เป็นสถานที่ตั้งสาขาดังกล่าวด้วย
สำหรับบริการการค้าระหว่างประเทศ สาขาในต่างประเทศนอกจากให้บริการด้านสินเชื่อแล้วยังให้บริการด้านอื่นๆ
อาทิ การโอนเงิน, การส่งเงิน,การออกเลตเตอร์ออฟเครดิต, หนังสือค้ำประกันการออกสินค้าและบริการด้านสินเชื่อ
และธุรกรรมทางการค้าอื่นๆ ดังจะเห็นได้ ว่าในเดือนมกราคม 2544ธนาคารได้รับมาตรฐาน
ISO 9002 สำหรับบริการด้านสินเชื่อ
ผู้สื่อข่าวรายงาน สำหรับธนาคารของรัฐอีก 2 แห่ง คือ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด(มหาชน)
SCIB และธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) BTจากการสอบถามผู้บริหารปรากฏว่าธุรกิจด้าน
สาขาในต่างประเทศนั้นขณะนี้ยังไม่มีแผนที่จะดำเนินการในการเปิดสาขาหรือนโยบายเชิงรุกใน
ตลาดต่างประเทศเหมือนธนาคารพาณิชย์อื่นๆในระยะนี้