REAL ESTATE


นิตยสารผู้จัดการ( พฤศจิกายน 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

REAL เพราะเป็นสินทรัพย์ก้อนใหญ่ คงทนถาวร แนวโน้มราคามีแต่เพิ่มขึ้น และเป็นสสาร ที่สึกหรอ อยากเคลื่อนย้าย ที่ไม่ได้ คือ เหตุว่า ทำไมธุรกิจพัฒนา ที่ดินถึงมีชื่อภาษาอังกฤษผสมคำแบบง่ายๆ ที่แปลเป็นไทยตรงๆ ว่าสินทรัพย์แท้

อยู่นิวยอร์ค ถ้าไม่เงินแข็งขนาดซื้อตึกซื้อบ้านได้เอง ถึงได้งานดีได้เงินดี แต่ไม่มีลาภอันประเสริฐใดยิ่งใหญ่ไปกว่า การได้บ้านดี หมายถึงทำเลดี ภายในดี สัญญาเช่าดี และราคาเช่าดี

แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ในเมือง ที่มีย่านกลางเมืองแค่เกาะแมนฮัตตันแต่มีพลเมืองราว 12 ล้านคน ยังมีประชากรสหรัฐ ที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำมาหากินคนต่างชาติ ที่ไม่ใช่พลเมืองแต่เข้าเมืองถูกกฎหมาย และ ที่เข้าเมืองผิดกฎหมายอีก สามกลุ่มนี้

กลุ่มหนึ่งก็ตกเป็นล้านคน

แม้ได้งานดี ค่าแรงแพง แต่ต้องหาบ้านใหม่ สัญญาเช่าใหม่ ก็จ่ายแพงสมัยนี้ค่าเช่าขึ้นสูงถึงราว 300 % ของเมื่อสิบปีที่แล้ว ลาภแท้ของมหานครเมืองนี้คือ การได้รู้จักเป็น เพื่อนกับใครสักคนที่มี LANDLORD หรือเจ้าของบ้านเช่า ซึ่งยอมอยู่ใต้ข้อตกลง Rent Controlคือ คนเก่าเคยอยู่มา 10 ปีที่ราคา450 เหรียญ คนใหม่ก็เข้ามาอยู่ได้ ที่ราคาขยับขึ้นเพียง 4-7 เปอร์เซนต์ ซึ่งมีความเป็นไปได้ยากยิ่งกว่าถูกล็อตเตอรี่ เพราะห้องเช่าราคา 450 เหรียญสมัยส10 ปีก่อน ตอนนี้ สามารถเรียกค่าเช่าได้ในราคา 1,500 เหรียญขึ้นไป แบบมีคนแย่งกันเช่าขอเข้าอยู่วันนี้เลย

ในยุคที่เศรษฐกิจอเมริกันเฟื่องฟูถึงที่สุด เพราะประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจของแมคโดนัลด์ ลี วายส์ ไนกี้ เรฟล่อน โปโล-ราฟลอเรน ทอมมี่ เอ็มมานูแอล คอลเกต ปาล์มโอลีฟ และสินค้าอุปโภค บริโภคทั้งหลาย วอร์เนอร์บราเธอร์ โซนี่ มิวสิค (ญี่ปุ่นหนุนแต่ภาพอเมริกันนำ) ยูนิเวอร์แซล นิวไลน์ซีเนมา หรือ whatever ในฮอลลีวู้ดบวกกับประสิทธิภาพธุรกิจของมาสเตอร์การด์ส วีซ่า และอเมริกันเอ็กเพรส และแน่นอนว่า คอมแพค ไอบีเอ็ม แม็คอินทอช ไมโครซอฟ และบริษัทดอทคอม ที่ขายของได้ อย่าง amazon, priceline

เมือง ที่เป็นศูนย์กลางที่สุดอย่างนิวยอร์ค แม้กระดานหุ้นจะขึ้นบ้าง ลงบ้างแต่ดัชนีค่าเช่าบ้านนั้น มีแต่พุงกระฉูด ดังพอสรุปคร่าวๆว่าในเดือนกุมภาพันธุ์ ปี 2000ราคาห้องเช่าในกลางเมืองคือ เกาะแมนฮัตตัน อยู่ ที่ระดับ 1000-1200 ดอลล่าร์ ต่อห้องเดี่ยว ระดับ1,200-1,500 ดอลล่าร์ต่อหนึ่งห้องนอน และ 1,500-2,200 ดอลล่าร์ต่อห้องแบบสองห้องนอน

ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน สำรวจราคาค่าเช่าอีกทีพบว่าพากันขึ้นค่าเช่าแบบสุดโต่งไปทุกบริเวณ ห้องเดี่ยวหรือสตูดิโอตอนนี้ราคาเรียกไปถึง 1,500-1,800 ดอลลาร์ และห้องหนึ่งห้องนอนกับสองห้องนอน ก็ไล่ขึ้นราคาไปจนขนาดเงิน 2,500 เหรียญ หาเช่าบ้านแบบสองห้องนอนไม่ง่ายอีกแล้ว

ทางด้านอาคารสำนักงาน ก็เห็นข่าวเร็วๆ นี้ว่าเจ้าของตึกประสบปัญหาพวกบริษัทดอทคอม คออ่อนคอพับตอนตลาดหุ้นตก ปิดตัวหนีค่าเช่ากันเป็นแถวๆเจ้าของตึกเลยพากันขึ้นค่าเช่า และเรียกค่ามัดจำแพงขึ้น จากบริษัทใหม่ ที่จะเข้ามา เพื่อความมั่นใจว่าได้ผู้เช่าที่มีเงินหนาพอ บางตึกบอกว่าจะขึ้นค่าเช่าถึงเท่าตัว บริษัทดอทคอมในนิวยอร์คตั้งอยู่มากแถวย่านถนนสิบสี่ และวงเวียนยูเนี่ยน สแควร์ ซึ่งเขาเรียกกันให้โก้ๆ ว่า Silicon Alley เลียนแบบเมืองอุตสาหกรรม

Silicon Vallley ซึ่งมีโรงงานผลิตซอฟต์แวร์อยู่มากมาแต่ไหนแต่ไร ดัชนีราคาบ้าน ซึ่งนอกจากอยู่ ที่ตัวบ้านแล้ว ที่สำคัญยังเป็นทำเลเหมือนกับบ้านเรา เช่นมีสีลม เป็นย่านธุรกิจ สุขุมวิทซอยต้นเป็นย่านราคาชาวต่างชาติ แต่ ที่นิวยอร์คนั้น ทุกย่านมีเอกลักษณ์ของตัวเอง ที่ชัดเจนไปกว่านั้น มาก คือ สะท้อนได้ถึงบุคลิก และรสนิยมของคนในย่านนั้น ด้วย

กรีนิช วิลเลจ หรือตอนนี้เรียกกันมากกว่า ว่าเวสท์วิลเลจ เคยเป็นย่านเก๋ ที่คนรักศิลปะ และศิลปินชอบไปอยู่กันเมื่อสักสามสิบปีก่อน แต่ตอนหลัง อีสท์วิลเลจ ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันตกของเมือง กลายเป็นย่านเก๋กว่า เริ่มตั้งแต่พวกนักเขียนชุดบีท เจนเนอเรชั่น

ของอเมริกา เบียดเข้ามาอยู่ กับพวกขี้ยา และพวกเร่รอน ปัจจุบันนี้มีสถิติว่า สถาปนิกของนิวยอร์คพักอยู่ในย่านนี้ถึง80 เปอร์เซนต์ ขณะที่อีสท์ส วิลเลจ ซึ่งคนหนุ่มสาวศิลปินไส้แห้งชอบไปอยู่กันมีเอกลักษณ์คือ คับคั่งไปด้วยอาหารโพ้นทะเลอินเดีย และญี่ปุ่น เป็นหลัก ย่าน เวสท์ วิลเลจหรือความนิยมเก่าก็เป็นร้านอาหารอิตาลี่ บาร์แจ๊ส บาร์เปียโน เสียมากกว่า

ทั้งแมนฮัตตันนั้น มีแค่ อีสท์ วิลเลจ และย่านอื่นๆ ที่ต่ำลงไปทางฝั่งตะวันออกของเมือง เป็นย่านของถูกทั้งของกินของใช้แต่ย่านทางฝั่งตะวันตกของกินของใช้จะแพงขึ้นมาทันที อย่างช่วงระหว่าง เวสท์วิลเลจ ถึงไชน่าทาวน์ มีย่านไทรเบกกา ซึ่งมีโรงถ่ายของนิวไลน์ซีเนม่า อยู่

ผู้กำกับหน้าใหม่หรือใคร ที่อยากเกิดในวงการหนังก็ชอบไปอยู่กันของก็แพงไปตามรสนิยมคนอยู่ มีแบ่งกระทั่งว่าพวกชายรักร่วมเพศ ชอบอยู่แถว เชลซีส หนุ่มสาวแท้ๆ ที่อยู่ย่านเชลซีส ก็มีเอกลักษณ์ว่า เป็นพวกศิลปินไส้ไม่แห้ง และรสนิยมเก๋จัด เช่นดีไซเนอร์

แต่สองฝั่งเมือง ที่ขึ้นชื่อว่า อัพเปอร์ คือ ข้างเซ็นทรัลพาร์ค ทั้งอัพเพอร์อีสต์ไซด์ และเวสท์ไซด์ เป็นย่านของแพง ฝั่งเวสท์ไซด์มี ลินคอล์น แจ๊สเซนเตอร์ เหมือนกับว่าคนพากันย้ายไปอยู่ ในที่ ที่ใกล้รสนิยมของตัวเอง ฝั่งอีสต์ไซด์ เคยเป็นย่านบ้านเศรษฐีเก่าพิพิธภัณฑ์ก็เยอะ และสหประชาชาติอยู่ด้านนี้ คนรวย พวกทำงานองค์กรนานาชาติ ก็เช่าห้องแพงๆ หรูๆอยู่กันแถวนี้

และย่านนี้ก็จะมีเอกลักษณ์ เป็นพวกไม่ชอบอะไร ที่หลุดกรอบ มารยาท ประเพณีฝรั่งมากนัก

ถึงแม้ทักทายได้ไม่หมดว่าคนอยู่ย่านไหน มีรสนิยมอย่างไร รายได้ขนาดไหนเพราะห้องรูหนู ในย่านคนรวยก็มีหรือบ้านหรูในย่านคนจนก็มีบ้าง และชาวเปอร์โตริกัน ซึ่งเป็นประเทศอาณานิคมเดียวของอเมริกา และมีสิทธิเข้ามาทำมาหากินได้เลย ลูกเยอะหลานเยอะกระจายอยู่ทั่ว

ห้องเช่าราคาถูกสมัยก่อน ซึ่งตอนนี้กลายเป็นเขตห้องเช่าราคาปานกลางค่อนข้างแพงไปแล้ว กระนั้น ก็มีความแตกต่างของแต่ละย่านอย่างเห็นได้ชัดมาก เช่นรายการอาหารมื้อกลางวัน ย่านอีสท์วิลเลจ อยู่ ที่ 5 ดอลล่าร์ แต่ย่านอัพเพอร์อีสด์ไซด์อยู่ ที่ราคา

10ดอลล่าร์ แม้แต่ผลไม้ชิ้นหนึ่งก็ราคาต่างกันเป็นเท่าตัว ที่ไม่ต่างกัน ก็เช่น ทุกย่านต้องมีแมคโดนัลด์ ร้านของชำเกาะหลี และร้านยาซุปเปอร์สโตร์ของอเมริกันสองร้านหลักยี่ห้อด้วนหรีด และซีวีเอส

ฮาร์เล็มยอดเหนือของเซ็นทรัลพาร์ค ซึ่งเป็นย่านคนดำยังเป็นฮาร์เล็ม ที่อาจจะเลิกขายยา ตั้งก๊วนข้างถนน และทำมากินเป็นพนักงานระดับกลางกันไปแล้วแต่ยังมีบ้านเช่าที่สกปรก และผู้เช่าที่ไม่พัฒนาคุณภาพชีวิตอยู่ ถึงตอนนี้ก็มีบริษัทพัฒนา ที่ดินเริ่มขยับสูงขึ้นไปปัดกวาดฮาร์เล็มแล้ว

ฝรั่งชนชั้นกลางในสมัยก่อน ซึ่งตอนนี้ก็ชรา และเกษียรภาพอยู่กันมากแถวยอดเกาะ ซึ่งเป็นย่านวอชิงตัน ไฮท์ และริเวอร์ไซด์ ไดร์ฟ ที่อพาร์ทเมนต์แถวนั้น ยังมีภาพเมืองฝรั่งคือ ตึกเก่าๆ มีมุข มีหน้าจั่ว ให้ดูกันบ้างเพราะนิวยอร์คเป็นเมือง ที่ถ้าเข้าไปอยู่ข้างไหนแล้ว ไม่ค่อยรู้สึกเหมือนอยู่เมืองฝรั่ง นอกจากว่าจะรวยมาก และชีวิตกรีดกรายอยู่ตามสังคมหรูๆ เท่านั้น

คนไทยอยู่กันมาก นอกแมนฮัตตัน ในเขตควีนส์ แถวย่านวูดไซด์ จนถึงเอล็มเฮิรส์ท ซึ่งเป็นย่าน ที่แรงงานละตินอเมริกัน(เปอร์โตริกัน โดมินิกันเม็กซิกัน)อยู่กันมากเหมือนกัน แถวนี้มีร้านอาหารรสไทยแท้ วัดไทย ร้านหนังสือไทย ร้านของชำไทย กระจายเล็กน้อย และยังมีบ้านเช่าเจ้าของคนไทย มีแลนด์ลอร์ดไทย ที่บางคนทำธุรกิจแบบไทยๆ คือ คิดค่าเช่าไม่แพง แต่บ้านก็ตอกเข้าไปเป็นห้องเล็กห้องน้อย ไม่ได้ดูเป็นบ้านฝรั่งอย่างที่เห็นในหนัง

อย่างไรเสีย บ้านเหล่านี้ก็เป็นที่พึ่งของนักเรียน และแรงงานไทยด้วยค่าเช่าเพียงคนละ 300-350 เหรียญ ซึ่งพอเอาค่าเงินบาทตกๆ คูณเข้าไป ก็ถือว่าหนักกระเป๋าพอแล้ว

ความเดือดร้อน เรื่องบ้านเช่า ของคนที่มาอยู่ใหม่ๆ นั้น มีสูงมากกว่าจะหาห้องเช่าได้ ต้องลดราเงื่อนไขไปเสียหมด จนกระทั่งมาถึงว่า ไม่ต้องบ้านน่าอยู่ไม่ต้องมีความเป็นส่วนตัว ไม่ต้องสะอาด ไม่ต้องทำเลดี และราคาสูงกว่าความเหมาะสมนิดหน่อยก็เอาถึงตอนนั้น อาจหาได้สักห้อง.



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.