|
บีโอไอปรับกลยุทธ์กระตุ้นลงทุนลอจิสติกส์-ท่องเที่ยว รับอานิสงฆ์
ผู้จัดการรายสัปดาห์(26 มิถุนายน 2549)
กลับสู่หน้าหลัก
บีโอไอรับเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศหดตามภาวะเศรษฐกิจโลก อ้างนักลงทุนตัดสินใจลงทุนยากขึ้น แต่มั่นใจไตรมาส 3 FDI เข้ามาอีกกว่า 2แสนล้าน พร้อมดันรูปแบบการกระตุ้นเม็ดเงินลงทุนใหม่เป็นแพ็กเกจ คาดมีการจัดโซนนิ่งอุตสาหกรรมเพื่อสนองตอบแต่ละรายอุตสาหกรรมอย่างเต็มที่ ล่าสุดเตรียมปรับสิทธิพิเศษ 2 อุตสาหกรรมโลจิสติกส์และท่องเที่ยวเพิ่มยอมรับเม็ดเงินหดตามสภาวะเศรษฐกิจ
หิรัญญา สุจินัย รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ เปิดใจกับผู้จัดการรายสัปดาห์เกี่ยวกับข่าวสถานการณ์การลงทุนจากต่างประเทศที่น้อยลงจากปี 2548 ที่ผ่านมา ซึ่งหิรัญญายอมรับว่ามีการลงทุนจากต่างประเทศนั้นน้อยลงจากปีที่แล้วจริง แต่ทั้งนี้ไม่ควรที่จะตกใจกับตัวเลข เพราะเมื่อมองเห็นถึงเหตุและปัจจัยแล้วก็ถือว่ามีความสมเหตุและผล เหตุที่เศรษฐกิจโลกโดยรวม ขณะนี้ก็ไม่ได้ดีนักเมื่อเทียบกับปีที่ที่ผ่านมา ด้วยมีปัจจัยลบรุมเร้าทั้งราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งตามกันเป็นลูกโซ่ จึงทำให้นักลงทุนเองมีการชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นเมื่อปี 2548 นั้นก็มีโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการเกิดขึ้นหลายโครงการ จึงทำให้เกิดการลงทุนในโครงการใหญ่ๆน้อยลง ยกตัวอย่างโครงการใหญ่ๆที่ลงทุนเมื่อปีที่แล้วก็คือ โรงงานประกอบรถยนต์ ปิโตรเคมี โครงการท่อส่งก๊าซ โรงไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งหิรัญญามีความเห็นว่า เมื่อบริษัทใหญ่ๆได้สร้างโรงงานประกอบรถยนต์ซึ่งเป็นการลงทุนที่สูงแล้ว ต่อไปก็จะลงทุนแค่ในชิ้นส่วนรถยนต์ซึ่งเป็นโครงการที่มูลค่าไม่สูงนักแทน จึงทำให้ ปี 2549 นี้มีการลงทุนขนาดใหญ่น้อยกว่าปีที่แล้ว
ทั้งนี้ตามที่ทางคณะกรรมการการลงทุนตั้งเป้าไว้ว่าปีนี้จะมียอดการลงทุนกว่า 700,000 ล้านบาทนั้น ก็คงจะมีลำบากมากขึ้นตาที่ท่านเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสิรมการลงทุนได้กล่าวไว้ แต่อย่างไรก็ตามภายในไตรมาส 3 นี้จะมีเม็ดเงินลงทุนเข้ามาจากต่างประเทศ ในธุรกิจปิโตรเคมี ชิ้นส่วนรถยนต์ที่จะมีการขยายการผลิต และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เข้ามารวมกว่า 200,000 ล้านบาท นอกจากนั้นนักลงทุนจากอินเดียจะเข้ามาลงทุนอีก 1,000 ล้านบาทในอุตสาหกรรมสิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ และ ซอฟท์แวร์ เข้ามาเพิ่มอีกอย่างแน่นอน
"ต้องยอมรับว่าถ้าจะทำให้ได้เป้า 700,000 ล้านบาทจริงๆก็คงจะเหนื่อยมาก เพราะตอนนี้นักลงทุนตัดสินใจช้าขึ้นโดยเฉพาะกับโครงการใหญ่ๆ อีกทั้งโครงการใหญ่ๆที่ได้ลงทุนไปเมื่อปีที่แล้ว คงเป็นเรื่องยากที่จะมีการลงทุนขนาดใหญ่บ่อยๆทุกๆปี" หิรัญญากล่าว
ปรับกลยุทธ์ดึงนักลงทุนทั้งระบบ
ซึ่งทางหิรัญญาก็ย้ำว่าทั้งนี้ทาง ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรี ได้วางแผนการลงทุนทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นมาตรการใหม่ในการเข้ามาปรับจุดอ่อนของประเทศต่อมุมมองนักลงทุนต่างประเทศให้ได้มากที่สุด โดยการปรับกระบวนทัพครั้งนี้อยู่บนพื้นฐานว่าสิ่งดึงดูดใจการลงทุนจากต่างประเทศนั้นไม่ได้พึ่งพิงแค่สิทธิประโยชน์ที่ให้กับนักลงทุนเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงระบบการค้นคว้าวิจัยที้จะต้องรองรับการเข้ามาลงทุน ระบบสาธารณูปโภค และแรงงานซึ่งจะต้องมาพร้อมกันทั้งหมด นอกจากนั้นเราต้องรู้เขารู้เรา ว่าประเทศต่างๆมีสิทธิพิเศษที่มากกว่าประเทศไทยอย่างไร และเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้นักลงทุนหนีประเทศไทยไปประเทศอื่นแทนหรือไม่
โดยในการปรับใหม่ครั้งนี้ทางสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดย ดร.อำพล กิตติอำพล รองเลขาธิการ เป็นประธานดูแลศึกษาการปรับกระบวนทั้งหมด โดยจะดูถึงทิศทางการจัดโซนนิ่งจัดระบบอุตสาหกรรม เพื่อจะได้จัดระบบสาธารณูปโภคได้ถูกต้องต่อความต้องการที่แตกต่างกันไปตามรายอุตสาหกรรม ซึ่งคาดว่าทางสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะทำการศึกษาแล้วเสร็จ ดร้าฟแรกภายในสิ้นเดือน มิถุนายน นี้ และคาดว่าก่อนสิ้นปี 2549 จะสามารถนำแผนการกระตุ้นการลงทุนทั้งระบบมาปรับใช้เพื่อให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งเห็นได้แล้วจากการเตรียมที่จะสร้างนิคมอุตสาหกรรมเฉพาะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในนิคมอุตสาหกรรมนั้นจะเพียบพร้อมไปด้วยระบบการพัฒนาและวิจัยที่จะสอดคล้องกับการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่จะเปลี่ยนไปในอนาคต โดยขณะนี้อยู่ที่กำลังหาพื้นที่ดำเนินการ และคาดว่าจะสามารถเห็นโครงการเป็นรูปร่างขึ้นมาก่อนสิ้นปีนี้อย่างแน่นอน ดังนั้นคาดว่าภาพรวมแต่ละรายอุตสาหกรรมและพื้นที่จะมีความชัดเจนและแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนภายในสิ้นปีนี้ด้วยเช่นกัน
และนอกจากการแบ่งพื้นที่ทางอุตสาหกรรมเพื่อสร้างระบบสาธารณูปโภคให้สอดคล้องแล้ว รองเลขาธิการคณะกรรมการการลงทุนได้เน้นว่า หนึ่งในกลยุทธ์ที่จะปรับเปลี่ยนใหม่ได้มีการศึกษาถึงข้อได้เปรียบเสียเปรียบของประเทศคู่แข่งทางการลงทุนของประเทศไทยอย่าง จีนและเวียดนามว่ามีจุดด้อยและจุดเด่นอย่างไรบ้าง และประเทศไทยต้องปรับระเบียบและสิทธิพิเศษการลงทุนอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดข้อเสียเปรียบให้นักลงทุนต่างประเทศสนใจประเทศอื่นมากกว่าได้ ขณะนี้ไทยถือว่ามีข้อได้เปรียบในเรื่องแรงงาน ซึ่งขณะนี้ไทยมีแรงงานที่มีคุณภาพมากกว่าประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ถึงแม้ค่าแรงจะแพงกว่า แต่แรงงานไทยมีทักษะและความสามารถทำให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายของสินค้าไม่ได้มาตรฐานต่ำลง ซึ่งอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ต้องการแรงงานที่มีคุณภาพเป็นอย่างมาก เห็นได้จากประเทศอินเดีย
ซึ่งมีบริษัทซอฟต์แวร์ย้ายฐานการผลิตไปที่อินเดีย เป็นจำนวนมาก ดังนั้นหากประเทศไทยจะต้องหันมาเสริมจุดเด่นอย่างแรงงาน และอุดจุดด้อยด้วยการสร้างระบบสาธารณูปโภคอย่างครบครัน ซึ่งการสร้างแรงงานนี้ทางกระทรวงศึกษาธิการได้เข้ามามีส่วนร่วมวางแผนพัฒนากับทางสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในการร่วมมือกันผลิตแรงงานที่มีคุณภาพตามความต้องการให้ได้ทันก็จะสร้างจุดแข็งให้กับประเทศไทยได้อย่างมาก
"อย่างเรามองที่เวียดนามเขามีข้อได้เปรียบไทยที่รัฐบาลสั่งการได้ทุกอย่าง อยากจะเอาน้ำเอาถนนเข้าไปตรงไหนก็ทำได้ทันที่ แต่ว่าเขาก็มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ในการสร้างนิคมอุตสาหกรรมเช่นกันเพราะจะต้องอยู่บริเวณเฉพาะที่กำหนดไว้เช่น โฮจิมินท์ เพียงพื้นที่เดียว แต่ในขณะที่ประเทศไทยก็เด่นในเรื่องแรงงานที่มีความรู้ซึ่งอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ต้องการแรงงานที่รู้ภาษาอังกฤษ ไทยจึงน่าจะเด่นกว่าเวียดนามในเรื่องเหล่านี้" หิรัญญากล่าว
และนอกจากการปรับโครงสร้างส่งเสริมการลงทุนทั้งระบบแล้ว ในส่วนของสิทธิประโยชน์การลงทุนที่ทางบีโอไอรับผิดชอบก็ได้มีการปรับเปลียนให้ทันกับสภาวะที่เปลี่ยนไปด้วย เพื่อดึงดูดนักลงทุนมากยิ่งขึ้น ซึ่งเริ่มปรับไปแล้วตั้งแต่ปลายปี 2548 ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่เน้นให้มีความครบวงจรมากขึ้น และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่เน้นให้เกิดการลงทุนในเทคโนโลยีระดับสูง สำหรับในปีนี้ทางบีโอเตรียมที่จะปรับเปลี่ยนให้สิทธิพิเศษการลงทุนใหม่ให้กับ 2 รายอุตสาหกรรมด้วยกัน
ปรับสิทธิพิเศษใหม่อุตฯบริการ
โดยกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ที่จะมีการปรับเปลี่ยนสิทธิประโยชน์ก็คือ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ซึ่งมีความซับซ้อนกันในรายอุตสาหกรรมย่อยอีกทั้งปรับเปลี่ยนกฏกติกาและสิทธิประโยชน์ทางภาษีบางส่วนเพื่อให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้น
โดยในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์นั้น ที่ผ่านมาได้สร้างความสับสนให้กับนักลงทุนอันเนื่องจากแบ่งแยกรูปแบบการทำธุรกิจเป็น6 หมวด ได้แก่ กิจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและรถไฟขนส่งสินค้า (เฉพาะระบบราง) กิจการขนส่งทางท่อ กิจการขนส่งทางอากาศ กิจการขนส่งทางท่าเรือ กิจการเรือเฟอร์รี่ และกิจการเรื่อกำลังสูง ซ่างจะเห็นว่าทั้ง 6 หมวดนี้มีการซับซ้อนอยู่ภายในตัวของมันเอง เช่น กิจการขนส่งทางเรือและกิจการเรือเฟอร์รี่ ดังนั้นทางคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงจะมีการปรับเปลี่ยนหมวดกิจการโลจิสติกส์เสียใหม่เพื่อให้ครอบคลุมกิจการมากยิ่งขึ้น อีกทั้งมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์เพิ่มมากขึ้นจากเดิมด้วย นอกจากการปรับเปลี่ยนหมวดกิจการให้มีความครอบคลุมมากขึ้นจะทำให้นักลงทุนสามารถสร้างแรงจูงใจให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรทโลจิสติกส์ได้มากขึ้น และส่วนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวก็จะมีการปรับเปลี่ยนหมวดหมู่ใหม่ไม่ให้ซับซ้อนเช่นเดิม โดยเป้าหมายหลักคือปรับเปลี่ยนจากให้สิทธิพิเศษโดยยึดหลักพื้นที่มาเป็นยึดหลักรูปแบบธูรกิจที่อยู่แต่ละพื้นที่แทน เพราะที่ผ่านมาประสบปัญหาเรื่องการให้สิทธิประโยชน์ตามพื้นแลเวไม่ตรงกับรูปแบบกิจการของผู้ประกอบการ ดังนั้นทางบีโอไอจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้สิทธิประโยชน์ใหม่เพื่อตรงกับกิจการในแต่ละท้องที
ผุดโรงงานเคลือบเลนส์ในไทย
ทั้งนี้ล่าสุดบริษัท Transitions Optical สหรับอเมริกาผู้ผลิตปรับแสงอันดับ 1 ของโลกได้ขยายฐานการผลิตมายังประเทศไทย ริชาร์ด ซี อีเลียส ประธานกรรมบริษัท Transitions Optical สหรัฐอเมริกากล่าวว่า มูลค่าการลงทุนทั้งหมดในกานลงทุนกว่า 540 ล้าน ในการผลิตเลนส์หรือแว่นตาประกอบ มีกำลังการผลิตปีละประมาณ 5,850,000 ชิ้น เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา ไอร์แลนด์ บราซิล ออสเตรเลีย โดยการขยายการผลิตครั้งนี้ เป็นการลงทุนของผู้ถือหุ้นจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับบริษัท นอกจากนั้นยังมีพันธมิตรทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมผลิตเลนส์ระดับโลกร่วมด้วยคือ PPG Industried และ Essilor International
ทั้งนี้การย้ายการผลิตมายังประเทศไทย เนื่องจากเล็งเห็นศักยภาพของประเทศไทยในด้านเศรษฐกิจ ความพร้อมเรื่องแรงงาน และระบบสาธารณูปโภคและสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับจากบีโอไอ ซึ่งโรงงานนี้เป็นโรงงานที่ 6 จาก 5 แห่งในสหรัฐอเมริกา ไอร์แลนด์ ออสเตรเลีย บราซิล และฟิลิปปินส์
กลับสู่หน้าหลัก
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.
|