|
"เลอโอโว" สร้างแบรนด์ต่อมุ่งตลาดใหม่ "เอสเอ็มอีไทย"
ผู้จัดการรายสัปดาห์(26 มิถุนายน 2549)
กลับสู่หน้าหลัก
"เลอโนโว" คุยแผนควบรวมกิจการเป็นไปตามแผน ยอมรับต้องปรับภาพลักษณ์ "แบรนด์เมืองจีน" ขอเวลาลบภาพสินค้าราคาถูก แผนปีที่สองคงดูโฮโมเดลธุรกิ ชู "ธิงค์เพค" ลุยตลาดคอร์ปอเรต "เลอโนโว" ลุยตลาดเอสเอ็มอี ส่วนคลาดคอนซูมเมอร์ปีนี้ เลอโนโวยังไม่สน
ชื่อของ "เลอโนโว" ในตลาดคอมพิวเตอร์ยังนับว่า ค่อนข้างใหม่มากในตลาดเมืองไทย ด้วยระยะเวลาเพียง 1 ปีที่ผ่านมาภายหลังจากที่ไอบีเอ็ม บริษัทผู้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ในโลกของคอมพิวเตอร์ที่สร้าง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งเรียกกันติดปากมาจนถึงทุกวันนี้ว่า "พีซี" ตกลงใจยอมขายแผนกคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เซิร์ฟเวอร์รวมถึง โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ "ธิ้งค์แพค" ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2548 เป็นต้นมา
เมื่อมองถึงความคืบหน้าในการดำเนินการของเลอโนโวในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา คงต้องสอบถามจากปาก "ธนพงษ์ อินทริสกุลชัย" กรรมการผู้จัดการ บรัท เลอโนโว (ประเทศไทย) จำกัด ผู้รับผิดชอบการทำตลาดแบรนด์ "เลอโนโว" ในประเทศไทยว่า 1 ขวบปีของเลอโนโลในไทยเป็นอย่างไรและจะก้าวต่อไปอย่างไรหลังจากนี้
"เมื่อ 12 เดือนที่ผ่านมา ผู้บริโภคและบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในประเทศจีน น้อยคนนักที่จะรู้จักเลอโนโว ในขวบปีที่ผ่านมา ทางเลอโนโวพอใจกับการดำเนินงานในปีแรกของเลอโนโวพอสมควร โดยเราได้วางขั้นตอนการถ่ายโอนไว้เป็น 3 เฟสใช้ระยะเวลาประมาณ 5 ปี"
ธนพงษ์ อินทริสกุลชัยเริ่มเล่าถึงแผนการถ่ายโอนธุรกิจของเลอโนโวในเฟสแรกของการควบรวมธุรกิจระหว่างเลอโนโวกับไอบีเอ็ม ธนพงษ์บอกว่า เฟสแรกของการอินติเกชั่น เราตั้งเป้าหมายที่จะรักษาระดับของยอดขายและดำเนินธุรกิจให้ได้อย่างต่อเนื่องโดยให้มีผลกระทบต่อลูกค้าน้อยที่สุด ซึ่งถือว่า พอใจในจุดนี้ และถือว่า ทำได้เร็วเกินคาดด้วยซ้ำไป
ในขณะเดียวกัน เลอโนโวก็ได้เริ่มเฟสที่สองควบคู่กันไปในเวลาไล่เลี่ยกัน ซึ่งเป็นเฟสของการสร้างแบรนด์ "เลอโนโว" ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากการที่เราได้เข้าไปเป็นผู้สนับสนุนในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวที่โตริโน ที่สามารถนำแบรนด์เลอโนโวออกสู่สายตาผู้ชมผ่านโทรศัพท์กว่า 3 พันล้านคนทั่วโลก รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมสำคัญต่างๆ"
"การสร้างแบรนด์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ ของเลอโนโวโดยในระดับโลกนั้น เลอโนโวได้ให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีทั้งเครื่องพีซีและโน้ตบุ๊กที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ส่วนหนึ่งเพื่อนำแบรนด์เลอโนโวออกสู่สายตาผู้ชมทั่วโลกหวังให้เป็นที่รู้จัก"
นอกจากเรื่องการสร้างแบรนด์แล้ว กิจรรมที่เลอโนโวดำเนินการในเฟสที่สองยังมีเรื่องของการยกระดับมาตรฐานการใช้งานโน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ด้วยการเปิดตัวโน้ตบุ๊ก "ธิงค์เพด" ถึง 4 รุ่น เปิดตัวคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในตระกูลเลอโนโว 3000 ซึ่งเป็นการเปิดตัวคอมพิวเตอร์ภายใต้แบรนด์ "เลอโนโว" ครั้งแรกนอกประเทศจีน โดยมุ่งเจาะตลาดผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีอยู่ทั่วโลก ผสานงานวิจัยและพัฒนาจากแผนกคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของไอบีเอ็มกับเลอโนโวเข้าด้วยกัน รวมถึงความคิดริเริ่มด้านการใช้สื่อ การทำตลาดและโฆษณาต่างๆ เพื่อสร้างการจดจำในแบรนด์รวมถึงส่งเสริมคุณค่าของเลอโนโวไปทั่วโลก
"สิ่งเหล่านี้ เลอโนโวสามารถดำเนินการได้เสร็จภายในปีเดียว เร็วกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้"
เมื่อย้อนกลับถึงการสร้างแบรนด์ "เลอโนโว" ในประเทศไทยช่วง 1 ปีที่ผ่าน นับเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารของเลอโนโวต้องดำเนินการ ธนพงษ์บอกถึงเรื่องนี้ว่า 12 เดือนก่อนแทบไม่มีใครรู้จักชื่อเลอโนโวเลยเหมือนเป็นการเริ่มต้นจากศูนย์ก็ถือว่าเป็นงานที่หนักทีเดียว ถึงแม้ว่า ในวันนี้การสร้างแบรนด์เลอโนโวในไทยก็ยังไม่มีความคืบหน้ามากเท่าไร หากกำหนดเป็นคะแนนเต็ม 100 วันนี้ หากให้คะแนนคงได้ประมาณไม่ถึง 10 แต่เลอโนโวก็ได้ดำเนินการสร้างแบรนด์อะแวร์เนสตามแผนงานที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง ทั้งการโฆษณาสินค้าแบรนด์เลอโนโวผ่านสื่อต่างๆ มากมาย ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อภายนอกอาคาร เว็บไซต์รวมถึงภาพยนต์โฆษณาทางโทรทัศน์
"ความยากลำบากอย่างหนึ่งในการสร้างแบรนด์ "เลอโนโว" ก็คือ ภาพความเป็นแบรนด์จีนที่ทำให้ผู้บริโภคมักจะคิดถึงสินค้าที่คุณภาพไม่ค่อยดี และมีราคาถูกซึ่งตรงข้ามกับภาพลักษณ์ในอดีตที่ยังเป็นแบรนด์ไอบีเอ็มโดยสิ้นเชิง
ธนพงษ์ย้ำอีกว่า จริงๆ แล้ว คอมพิวเตอร์ของเลอโนโวที่ขายในเมืองจีน ไม่ได้เน้นที่ราคาถูก ภาพลักษณ์ของเลอโนโวในจีนป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ซึ่งการจะสื่อสารแมสเซสนี้ไปยังผู้บริโภคคนไทยให้เข้าใจจำเป็นต้องใช้เวลา ซึ่งคงจะต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป
"กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ทางเลอโนโววางไว้ 5 ปี" ถึงแม้ภาวะเศรษฐกิจในประเทศโดยรวมจะดูย่ำแย่ ซึ่งการทุ่มงบประมาณในการสร้างแบรนด์ของเลอโนโวในช่วงเวลานี้ ถือเป็นเรื่องจำเป็น เพราะได้มีการเตรียมงบประมาณในส่วนนี้ไว้แล้ว
"ปีที่สองของเลอโนโวจะยังคงมุ่งสร้างแบรนด์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการสร้างแบรนด์ในระดับโลก เลอโนโวได้เลือกให้โรนัลโด้ เดอ อาสซิส มอริเอร่า หรือ "โรนัลดินโญ่" เป็นตัวแทนแบรนด์เลอโนโวทั่วโลก เนื่องจากการที่โรนัลดินโญ่ได้นำการเล่นระดับโลกและการทำงานร่วมกันเป็นทีมมาสู่สนาม อีกทั้งยังพยายามปรับปรุงการเล่นอยู่ตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้สอดคล้องเป็นอย่างดีกับเลอโนโว"
ผู้บริหารของเลอโนโลในเมืองไทยยังบอกถึงกลยุทธ์ในปีที่สองให้ฟังว่า แผนธุรกิจของเลอโนโวต่อจากนี้ไปจะเริ่มเข้าสู่เฟสที่สาม ซึ่งจะเป็นเรื่องของการคงโมเดลธุรกิจที่เป็นจุดแข็งของไอบีเอ็มที่เป็นโคเปอเรตแบรนด์ในตลาดองค์กร ควบคู่กับโมเดลการทำธุรกิจของเลอโนโวในประเทศจีนมีความแข็งแกร่งในตลาดเอสเอ็มอีควบคู่กันไป
"โมเดลธุรกิจต่อจากนี้ไปของเลอโนโวนั้นจะเดินคู่ขนานกันไประหว่างโมเดยธุรกิจของไอบีเอ็มที่ประสบผลสำเร็จในตลาดองค์กร กับจุดแข็งของเลอโนโวในตลาดเอสเอ็มอีเข้าด้วยกัน"
ธนพงษ์กล่าวว่า เลอโนโวจะต้องเจอทั้งศึกในและนอก ต้องเดินหน้าสร้างแบรนด์พร้อมกับบุกตลาดใหม่ โดยเฉพาะตลาดเอสเอ็มอีและรีเทล คอนซูมเมอร์หรือโซโฮ เป็นตลาดใหญ่มีส่วนสัดส่วนในตลาดถึง 65% ตลาดองค์กร 35% โดยเลอโนโวจะยังคงรักษาฐานลูกค้าในระดับองค์กรให้มียอดขายไว้อยู่และจะรุกเข้าตลาดเอสเอ็มอีให้มากขึ้นในปีนี้
การเดินเข้าสู่ตลาดใหม่ของเลอโนโวในปีนี้ ธนพงษ์บอกว่า จะเดินเกมรุกร่วมมือกับคู่ค้าในกลุ่มที่ทำตลาดที่เป็นโครงการปัจจุบันมีอยู่ 4 ราย ได้แก่บริษัท โฟร์ท เวฟ โซลูชั่น จำกัด บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)บริษัท คอมพิวเตอร์ ยูเนี่ยน จำกัดและบริษัท ซีดีจีเอ็ม จำกัด ซึ่งถือเป็นคู่ค้าที่สำคัญมาเสริมความแข็งแกร่งในตลาดโครงการ เพื่อขับเคลื่อนตลาดภาครัฐหรือองค์กรและช่วยรักษาฐานลูกค้าหลัก
นอกจากนี้ นำความแตกต่างของสินค้าไอบีเอ็มและเลอโนโวมาขยายผลิตภัณฑ์ไหม่ครบไลน์มากกว่าที่ผ่านมา ได้แก่ ธิงค์เพด 4 รุ่น เลอโนโว โน้ตบุ๊ก 3 รุ่น และเลอโนโว พีซี 2 รุ่น โดยที่แบรนด์ "ธิงค์เพด" เจาะกลุ่มตลาดองค์กรและโน้ตบุ๊กด้วยเทคโนโลยีและสิทธิบัตรทางนวัตกรรมลงทุนพัฒนาวิจัยที่ในแต่ละปีมีสูงถึง 4-5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นรากฐานในการพัฒนาในส่วนแบรนด์เลอโนโวที่เข้ามาเสริมในตลาดรีเทลคอนซูมเมอร์มากขึ้น เพื่อให้ลูกค้าง่ายต่อการจดจำ แต่ต่างจากผู้เล่นรายอื่นๆ ที่มีธุรกิจส่วนต่างๆ ทับซ้อนกัน ไม่ว่าจะเป็นสินค้า ทีมงาน และสายการผลิต
สำหรับแนวทางการบุกตลาดคอนซูเมอร์นั้น ธนพงษ์บอกว่า จะยังไม่เข้าไปทำจริงจัง เนื่องจากโรด์แมปที่วางไว้ 5 ปีในการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักแข็งแกร่งในตลาดเอสเอ็มอี กับโซโฮก่อน หลังจากนั้นจึงลงมาทำตลาดคอมซูเมอร์จริงจัง ทั้งนี้ก็ตอบไม่ได้ว่าเลอโนโวจะพร้อมเมื่อไหร่ที่จะเข้าทำตลาดคอนซูเมอร์ซึ่งอาจตามแผนงานหรืออาจจะเร็วกว่านั้นจึงต้องขึ้นอยู่กับการตอบรับของตลาดในแบรนด์เลอโนโว
"โดยส่วนตัวยังต้องเรียนรู้และรอทิศทางความพร้อมของตลาด เพื่อเจาะตลาดคอมซูมเมอร์ให้เกิดผลตามเป้าหมาย เราคงจะค่อยๆ ทำตลาดไป ซึ่งในปีนี้เราคงจะยังไม่ลงไปเล่นในตลาดคอนซูเมอร์อย่างแน่นอน"
กลับสู่หน้าหลัก
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.
|