ทักษิณ ชินวัตร ความหวังในกระแสคลื่นลูกที่สาม ?


นิตยสารผู้จัดการ( มิถุนายน 2538)



กลับสู่หน้าหลัก

สำหรับเมืองไทยเป็นเรื่องธรรมดาที่เหล่านักธุรกิจผู้ยิ่งยงจะมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะลิ้มลองรสชาติชีวิตนักการเมือง ซึ่งในด้านหนึ่งนับเป็นนิมิตหมายอันดี ที่ประเทศชาติจะมีผู้ทรงภูมิความรู้เข้ามาบริหาร แต่ขณะเดียวกันมักหนีไม่พ้นเสียงวิพากษ์เรื่องการยึดถือผลประโยชน์ทางธุรกิจตนเอง หรือพรรคพวกเป็นเรื่องใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เข้ามาโดยอุบัติเหตุทางการเมือง ตัวอย่างล่าสุดของนักธุรกิจระดับประเทศที่พยายามสลัดคราบพ่อค้ามาสวมบทบาทนักการเมืองผู้เสียสละเพื่อชาติคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คนรุ่นใหม่อดีตประธานกรรมการบริหาร กลุ่มชินวัตร ซึ่งที่สุดได้กลายเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไปแล้ว หลังจากเข้ามาชิมลางได้แค่ 101 วันเท่านั้น ด้วยการส่งเทียบเชิญไปจากพล.ต.จำลอง ศรีเมือง ผู้นำพรรคพลังธรรม เรียกได้ว่าปลายลิ้นยังไม่ทันได้สัมผัสรสชาติเสียด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ตาม คนหนุ่มไฟแรงอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ใช่จะหยุดความปรารถนาเพียงแค่นี้หลังจากต้องก้าวลงจากเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงบัวแก้วด้วยความจำยอมแล้ว ยังมีกระแสข่าวออกมาว่า พ.ต.ท.ทักษิณมีโครงการจะหวนกลับมาอีกครั้งโดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง อันเป็นข้อตกลงพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งจะเป็นยันต์กันคำครหาที่ได้ผลในระดับหนึ่ง

MIS Business Poll จึงร่วมกับนิตยสาร "ผู้จัดการ" ประเมินศักยภาพของพ.ต.ท.ทักษิณ ในการบริหารประเทศในระดับนายกรัฐมนตรีจากสายตาของเหล่าผู้บริหารองค์กรชั้นนำต่างๆ ในเมืองหลวง ต่อประเด็นความพึงพอใจต่อบุคลิกภาพของพ.ต.ท.ทักษิณ ความสามารถและโอกาสในการเป็นนายกรัฐมนตรีหรือในการดำรงตำแหน่งระดับผู้นำบริหารประเทศ อุปสรรคปัญหาที่สกัดกั้นเส้นทางสู่นายกฯ ตลอดจนความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ต่างๆ หากพ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี และอะไรจะเกิดขึ้นกับธุรกิจโทรคมนาคมหากตัวแทนจากกลุ่มชินวัตรเป็นผู้นำประเทศ

MIS Business Poll
ชี้ศักยภาพทักษิณในกลุ่มชนชั้นนำ

MIS Business Poll สะท้อนมุมมองต่อศักยภาพของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในการเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ จากมุมมองของกลุ่มผู้บริหารองค์กรต่างๆ ในกรุงเทพฯ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบจัดชั้น โดยแบ่งแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นผู้บริหารองค์กรที่ประกอบกิจการต่างๆ 4 กลุ่มด้วยกันคือกลุ่ม ธนาคาร/การเงิน/ประกันภัย กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต/ก่อสร้าง กลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม และกลุ่มธุรกิจบริการ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 20 เมษายน-3 พฤษภาคม 2538 ด้วยวิธีการส่งแบบสอบถามให้กลุ่มตัวอย่างตอบ

ผลปรากฏว่าได้รับกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 216 ราย ประมาณ 1 ใน 3 คือ 34.70% เป็นผู้บริหารในธุรกิจบริการ รองลงมาเป็นผู้บริหารในกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต/ก่อสร้าง 28.60% กลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม 18.80% ใกล้เคียงกับสัดส่วนผู้บริหารในกลุ่มธนาคาร/การเงิน/ประกันภัย ซึ่งคิดเป็น 17.80% องค์กรเหล่านี้ส่วนใหญ่คือ 40.90% เป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีขนาดการจ้างงาน 500 คนขึ้นไป ถัดมามีขนาดการจ้างงานต่ำกว่า 100 คน 26.50% 100-299 คน 20.90% และ 300-499 คน 11.70%

ด้านตำแหน่งของผู้บริหาร ส่วนใหญ่คือ 39.50% ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับกลาง รองลงมาได้แก่ ผู้บริหารระดับต้น 36.30% ผู้บริหารระดับสูง 15.30% และเจ้าของกิจการ 8.80% โดยกว่าครึ่งคือ 58.90% จบการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี ถัดมาจบการศึกษาสูงกว่าระดับปริญยาตรี และจบต่ำกว่าปริญญาตรี คิดเป็นสัดส่วน 33.20% และ 7.90% ตามลำดับ

ภาพของพ.ต.ท.ทักษิณ นับว่าน่าประทับใจไปทุกด้านในสายตาผู้นำองค์กรธุรกิจต่างๆ ในกรุงเทพฯ จากคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อบุคลิกภาพโดยภาพรวมเท่ากับ 81.53% มีช่วงคะแนนเฉลี่ยระหว่าง 71.94%-92.80% บุคลิกภาพแต่ละด้านจึงได้รับระดับความประทับใจแตกต่างไป โดยด้านที่โดดเด่นเป็นที่สุดคือ ความมีวิสัยทัศน์ (Vision) สมกับที่เป็นผู้นำธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศ ซึ่งนับว่าเป็นกลไกสำคัญต่อการชี้อนาคตของประเทศในยุค Information Superhighway นี้ ส่วนบุคลิกภาพที่ประทับใจในลำดับถัดมา ได้แก่ ความทันสมัยทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นธรรมชาติของนักธุรกิจระดับชาติ ด้วยคะแนนเฉลี่ย 90.48% ความกล้าและฉับไวในการตัดสินใจ/ทำงาน 85.22% ความเอาใจใส่และทุ่มเทให้กับงานอย่างเต็มที่ 83.26% ความมีระบบในการทำงานภายใต้ทิศทางที่ชัดเจน 82.00%

นอกจากนี้บุคลิกภาพในเรื่องต่อมาที่ประทับใจ คือการมีระบบคิดที่มีเหตุผลกับคะแนนเฉลี่ย 81.82% ความสามารถในการบริหารงานบุคคล 79.04% ความสามารถในการสร้างภาพที่ดีในการสื่อสารกับสาธารณชน 74.98% ความมีจิตใจที่เป็นประชาธิปไตย 73.80% และสุดท้ายคือ ความประทับใจในความซื่อสัตย์ สุจริต ด้วยคะแนนเฉลี่ย 71.94%

ในมุมมองของผู้บริหารแต่ละกลุ่มกิจการต่อบุคลิกภาพของพ.ต.ท.ทักษิณ พบว่าผู้บริหารกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม มีความประทับใจต่อบุคลิกภาพของพ.ต.ท.ทักษิณมากกว่าทุกกลุ่มกิจการ ด้วยคะแนนเฉลี่ย 84.49% ถัดมาเป็นความประทับใจของผู้บริหารกลุ่มธนาคาร/ การเงิน/ ประกันภัย กับคะแนนเฉลี่ย 82.56% ตามด้วยผู้บริหารกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต/ก่อสร้าง 80.99% และกลุ่มธุรกิจบริการ 80.39%

ทั้งนี้ทุกกลุ่มดังกล่าวประทับใจบุคลิกภาพด้านความมีวิสัยทัศน์ มุมมองที่กว้างไกลของพ.ต.ท.ทักษิณ มากที่สุด รองลงมาเป็นความประทับใจต่อความไหวตัวต่อสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างรวดเร็ว ยกเว้นผู้บริหารกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม ที่ประทับใจในเรื่องความกล้าหาญรวดเร็วในการตัดสินใจ/ทำงาน มากเป็นอันดับสอง ส่วนเรื่องที่เรียกคะแนนความประทับใจได้น้อยที่สุด ในสายตาของผู้บริหารกลุ่มธนาคาร/การเงิน/ประกันภัย ตรงกับความเห็นของกลุ่มธุรกิจบริการ ที่พึงใจด้านความซื่อสัตย์ สุจริต ของพ.ต.ท.ทักษิณน้อยกว่าทุกด้าน ขณะที่ผู้บริหารกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม ประทับใจกับความมีจิตใจที่เป็นประชาธิปไตยน้อยที่สุด ส่วนผู้บริหารกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต/ก่อสร้าง ลงความเห็นว่าบุคลิกภาพที่เป็นจุดอ่อนของพ.ต.ท.ทักษิณมากที่สุดคือ ความสามารถในการสื่อสารสู่สาธารณชน ดังเช่นคำพูด ตลอดจนท่าทีที่แสดงผ่านทางสื่อมวลชน

หลังจากที่ได้ใช้ความรู้ความสามารถ ผนวกกับประสบการณ์ทางธุรกิจระดับชาติ แสดงภูมิปัญญาไม่เพียงให้สาธารณชนทั่วประเทศได้ประจักษ์เท่านั้น หากยังปรากฏต่อสายตาประเทศเพื่อนบ้านเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดของกระทรวงการต่างประเทศนับเป็นเวลากว่า 3 เดือน และ ณ วันนี้พ.ต.ท.ทักษิณยังมีปณิธานที่จะเข้ารับใช้ชาติโดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง เมื่อหยั่งเสียงของเหล่าผู้บริหารธุรกิจเอกชน ผู้ไวต่อข่าวสารต่อความสามารถของ พ.ต.ท.ทักษิณในการก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศ พบว่าแม้เสียงส่วนใหญ่คือ 39.30% ลงมติว่าพ.ต.ท.ทักษิณมีความพร้อมแล้วที่จะทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี แต่ยังมีเสียงที่ดังใกล้เคียงกันคือ 32.20% ประกาศว่ายังลังเลไม่แนใจอยู่ ซึ่งก็อาจจะเหมาะสม หรือไม่เหมาะสมก็ได้ แสดงให้เห็นว่า บารมีที่ผ่านมาของพ.ต.ท.ทักษิณยังไม่แรงกล้าพอ ขณะเดียวกันความเห็นอีก 28.50% ประเมินว่าขณะนี้พ.ต.ท.ทักษิณยังมีความพร้อมไม่พอกับการจะแอ่นอกรับภาระอันหนักหน่วงดังกล่าว

ทั้งนี้ผู้บริหารกลุ่มธุรกิจคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณมากที่สุด มีความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของพ.ต.ท.ทักษิณในการเป็นนายกรัฐมนตรีมากกว่าทุกกลุ่มกิจการ คิดเป็นสัดส่วนความเห็น 45.00% รองลงมาได้แก่ ความเชื่อมั่นของผู้บริหารกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต/ ก่อสร้าง 42.60% กลุ่มธนาคาร/ การเงิน/ ประกันภัย 36.80% และกลุ่มธนาคาร/การเงิน/ประกันภัย 36.80% และกลุ่มธุรกิจบริการ 34.20%

อย่างไรก็ตาม ความหวังที่จะก้าวถึงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพ.ต.ท.ทักษิณเห็นท่าจะไปได้ยากในการเลือกตั้งครั้งหน้า จากความเห็นถึง 64.43% ประเมินในทิศทางเดียวกันว่าการเลือกตั้งครั้งหน้าพ.ต.ท.ทักษิณยังไปไม่ถึงฝันแน่ แต่ยังพอหวังได้ในการเลือกตั้งครั้งต่อๆ ไปอีก ขณะที่ความเห็นรองลงมายังลังเลไม่แน่ใจ คิดเป็น 28.19% และมีผู้ที่มั่นใจกับศักยภาพของพ.ต.ท.ทักษิณว่าจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งหน้าเพียง 7.38% เท่านั้น

เมื่อมองลึกลงไปในความเห็นของแต่ละกลุ่มกิจการ ปรากฏว่าทุกกลุ่มมีความเห็นในทิศทางเดียวกันคือ ส่วนใหญ่เชื่อว่าโอกาสทองกับการเป็นผู้นำประเทศของพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ใช่ในระยะอันใกล้นี้แน่นอน แต่หากอดทนสะสมบารมีต่อไป ในการเลือกตั้งครั้งถัดๆ ไป นับว่ามีสิทธิลุ้น ขณะที่ความเห็นในลำดับถัดมาคือ ยังไม่แน่ใจ และความเห็นส่วนน้อยที่สุดคือ มีสิทธิเป็นถึงนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งหน้าเลยทีเดียว ซึ่งในความเห็นส่วนนี้ยังคงปรากฏว่าผู้บริหารในกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม ยังมีสัดส่วนความเห็นดังกล่าวสูงกว่าผู้บริหารทึกกลุ่มกิจการ คือ 10.70%

หาก พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี อะไรจะเกิดขึ้น ? ในมุมมองของผู้บริหารโดยภาพรวมยังมั่นใจในความสามารถบริหารประเทศของพ.ต.ท.ทักษิณค่อนข้างสูง กับคะแนนเฉลี่ย 76.13% แต่ถึงอย่างไรก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาทั้งหมดได้อย่างน่าพึงพอใจ จากช่วงคะแนนเฉลี่ยความมั่นใจต่อสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งอยู่ระหว่าง 57.94%-89.80% ทั้งนี้ในฐานะตัวแทนระดับเจ้าพ่อจากธุรกิจโทรคมนาคม จึงได้รับความเชื่อถือด้านความสามารถนำพาประเทศไปสู่ความเจริญทางเทคโนโลยีได้สูงสุดกว่าทุกด้านด้วยคะแนนเฉลี่ย 89.80% ถัดมากลุ่มผู้บริหารเชื่อมั่นว่าพ.ต.ท.ทักษิณจะสามารถเชื่อมสายสัมพันธ์กับกลุ่มนักธุรกิจด้วยกันอย่างไปได้สวย 88.82% ตามด้วยการส่งเสริมการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ 82.93% การกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศที่ชัดเจนในระยะยาว 81.16% ความสามารถในการเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีอันดีกับต่างชาติ 79.23%

นอกจากนี้ ประเด็นที่ได้รับความเชื่อมั่นประการถัดมา ได้แก่ ความสามารถสร้างความมั่นคงทางการเงินให้เกิดในประเทศ กับคะแนนเฉลี่ย 71.30% การส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตย 70.20% ความสัมพันธ์กับกลุ่มทหาร และผู้กุมกำลังในกองทัพ 70.14% การแก้ไขปัญหาการจราจร 69.28% ความสัมพันธ์กับกลุ่มพลังต่างๆ ในสังคม อาทิ นักวิชาการ กรรมกร องค์กรประชาธิปไตย เป็นต้น 67.82% การปรับปรุงระบบราชการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 67.60% การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 66.10% การแก้ปัญหาสังคม 61.99% การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 66.10% การแก้ปัญหาสังคม 61.99% การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันศาสนา 58.52% และเรื่องที่กลุ่มผู้บริหารให้ความไม่เชื่อมั่นมากที่สุด หากพ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีคือการกระจายความเจริญสู่ชนบทไม่ว่าการแก้ปัญหาเกษตรกรไม่มีที่ทำกิน การกระจายสาธารณูปโภคสู่ชนบท การพยุงราคาพืชผลการเกษตร ตลอดจนการขจัดปัญหาความยากจน ซึ่งได้รับคะแนนเฉลี่ยความเชื่อมั่นเพียง 57.94%

ส่วนความเห็นของแต่ละกลุ่มกิจการ ผลปรากฏว่าโดยภาพรวมผู้บริหารกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม มอบความไว้วางใจให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ หากดำรงฐานะนายกรัฐมนตรีสูงกว่าทุกกลุ่มกิจการ ด้วยคะแนเฉลี่ย 80.44% ทั้งนี้เรื่องที่ผู้บริหารกลุ่มธนาคาร/การเงิน/ประกันภัย ให้ความเชื่อมั่นสูงสุดตรงกับความเห็นของผู้บริหารกลุ่มธุรกิจบริการ อันได้แก่ความสามารถของพ.ต.ท.ทักษิณในการนำความเจริญทางเทคโนโลยีมาสู่ประเทศ ขณะที่ผู้บริหารกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม และกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต/ก่อสร้าง มั่นใจในเรื่องความสามารถเชื่อมสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มนักธุรกิจซึ่งพูดภาษาเดียวกันอยู่แล้วมากที่สุด ส่วนประเด็นที่ได้รับความไม่เชื่อมั่นมากที่สุดหากพ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี พบว่าความเห็นส่วนใหญ่ค่อนข้างเป็นเอกฉันท์ นั่นคือ ผู้บริหารกลุ่มธนาคาร/การเงิน/ประกันภัย มีความเห็นตรงกับกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต/ก่อสร้าง และกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม คือไม่มั่นใจต่อสเถียรภาพของกลุ่มเกษตรกรผู้ยากไร้ในชนบทมากที่สุด ขณะที่ผู้บริหารกลุ่มธุรกิจบริการไม่มั่นใจในเรื่องการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันศาสนามากกว่าทุกเรื่อง

จากการประเมินทัศนะชนชั้นนำขององค์กรต่างๆ พบว่าแนวโน้มของธุรกิจโทรคมนาคมภายใต้ยุคพ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีจะเข้าสู่ความเป็นเสรีมากขึ้น ไม่ผูกขาดอยู่เฉพาะกลุ่มเพียงหนึ่งหรือไม่กี่กลุ่มดังเช่นปัจจุบัน และแม้แต่กลุ่มชินวัตรเองก็ไม่ได้รับโอกาสให้ผูกขาดธุรกิจโทรคมนาคมด้านใดด้านหนึ่งอย่างถาวรเช่นกัน ดังความเห็นต่อธุรกิจดาวเทียม ปรากฏว่าสัดส่วนความเห็นว่ากลุ่มชินวัตรจะเป็นฝ่ายผูกขาดธุรกิจนี้ หากพ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีใกล้เคียงกับสัดส่วนความเห็นว่าธุรกิจนี้จะเสรียิ่งขึ้นอย่างมากคิดเป็น 29.40% กับ28.10% ตามลำดับ ส่วนความเห็นในลำดับต่อมาคือ จะมีการผูกขาดในธุรกิจดาวเทียมมากขึ้น 22.20% และไม่แน่ใจ คิดเป็นสัดส่วน 20.30%

ในประเด็นเดียวกันนี้ผู้บริหารกลุ่มธนาคาร/การเงิน/ประกันภัย ส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกับกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม คือคาดว่าธุรกิจดาวเทียมจะเปิดเสรีมากขึ้น ส่วนผู้บริหารกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต/ก่อสร้าง ส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกับผู้บริหารกลุ่มธุรกิจบริการ คือคาดว่ากลุ่มชินวัตรจะเข้ามาผูกขาดในการดำเนินธุรกิจดาวเทียมมากขึ้น ซึ่งในขณะนี้นับว่าผูกขาดอยู่แล้วในฐานะผู้ได้รับสัมปทานดาวเทียมไทยคมที่ให้บริการในไทยเพียงเจ้าเดียวถึง 8 ปี

สำหรับความเห็นต่อนโยบายสื่อเสรี ไม่ว่าทีวีเสรี หรือเคเบิลทีวี หากอยู่ภายใต้การชี้นำของพ.ต.ท.ทักษิณ ความเห็นส่วนใหญ่คาดว่าจะเปิดให้หน่วยงานต่างๆ เข้าดำเนินธุรกิจได้อย่างเสรียิ่งขึ้นคิดเป็น 48.70% รองลงมาลงความเห็นว่าจะผูกขาดมากขึ้น 17.10% เปิดทางให้กลุ่มชินวัตรผูกขาดธุรกิจมากขึ้น 15.80% และมีกลุ่มที่ไม่แน่ใจอีก 18.40% ทั้งนี้เมื่อแยกแยะความเห็นของผู้บริหารแต่ละกลุ่มกิจการ พบว่าทุกกลุ่มลงความเห็นส่วนใหญ่ว่าหากพ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีเชื่อว่าจะเปิดทางให้การดำเนินธุรกิจด้านสื่อต่างๆ เสรียิ่งขึ้น โดยผู้บริหารกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม เชื่อมั่นต่อความเป็นเสรีในเรื่องนี้มากกว่าผู้บริหารทุกกลุ่ม คิดเป็นสัดส่วน 58.60%

เช่นเดียวกับทัศนะต่อธุรกิจการสื่อสารทางโทรศัพท์และไปรษณีย์ ที่ผู้บริหารส่วนใหญ่ยังคงเชื่อว่าภายใต้การนำของพ.ต.ท.ทักษิณ ธุรกิจนี้จะเข้าสู่มิติการดำเนินกิจการที่เสรียิ่งขึ้นคิดเป็นสัดส่วนความเห็นถึง 42.80% รองลงมามีความเห็นว่าจะเกิดการผูกขาดมากขึ้น 20.70% และเปิดโอกาสให้กลุ่มชินวัตรเข้าผูกขาดแทน เท่าเทียมกับสัดส่วนความไม่แน่ใจ คือ 18.40% ทั้งนี้ผู้บริหารทุกกลุ่มกิจการต่างเชื่อมั่นว่าธุรกิจสื่อสารทางโทรศัพท์และไปรษณีย์จะเสรียิ่งขึ้น หากพ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี โดยผู้บริหารกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม มีสัดส่วนความเห็นในเรื่องดังกล่าวมากกว่าทุกกลุ่มกิจการ คือคิดเป็น 55.20%

การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดบนเส้นทางการเมืองย่อมมิใช่หนทางที่ราบเรียบ และเต็มไปด้วยความรื่นรมย์ตรงข้ามกลับเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนาม และหลุมพรางที่คอยทิ่มตำให้สะดุด หรือพลาดท่าจนอาจต้องชีวิตทางการเมืองไป ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญยิ่งสืบเนื่องจากการเดินเกมการเมืองของเหล่านักการเมืองชั้นนำแต่ละท่าน ที่ต่างพยายามหาแรงส่งให้ตนเองขึ้นไปให้สูงที่สุด ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พ.ต.ท.ทักษิณไม่สามารถหลบเลี่ยงได้หากตกลงปลงใจเดินเข้าสู่เวทีการเมือง

สืบเนื่องจากประเด็นดังกล่าว คู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดในการช่วงชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรีกับพ.ต.ท.ทักษิณในทัศนะของผู้บริหารส่วนใหญ่ คิดเป็นสัดส่วน 41.10% ลงความเห็นว่าคือนายอำนวย วีรวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคนำไทยผู้ลงทุนสละตำแหน่งประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ ซึ่งมาในมาดนักธุรกิจเช่นเดียวกับพ.ต.ท.ทักษิณ ส่วนบุคคลที่เป็นคู่แข่งคนถัดมา ได้แก่นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ด้วยสัดส่วนความเห็น 20.80% ตามด้วยนายบรรหาร ศิลปอาชา ผู้นำฝ่ายค้าน หัวหน้าพรรคชาติไทย 13.90%

ลำดับถัดมาเป็นคู่แข่งที่กลุ่มผู้บริหารลงความเห็นว่ายังห่างชั้นกับพ.ต.ท.ทักษิณมากนักอันได้แก่ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นักการเมืองรุ่นลายคราม หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา 6.60% พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใฟม่ 2.60% พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หัวหน้าพรรคพลังธรรม ผู้ชักนำ พ.ต.ท.ทักษิณเข้าสู่สนามการเมืองอย่างเต็มตัวเป็นครั้งแรก 2.00% และบุคคลอื่นๆ อันได้แก่ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ หัวหน้าพรรคเสรีธรรม และ น.พ.กระแส ชนะวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คิดเป็นสัดส่วนความเห็นเพียง 1.30% ขณะเดียวกันยังมีผู้ที่ไม่สามารถระบุคู่แข่งตัวจริงของพ.ตท.ทักษิณได้อีก 10.60%

สำหรับความเห็นต่อนโยบายสื่อเสรี ไม่ว่าทีวีเสรี หรือเคเบิลทีวี หากอยู่ภายใต้การชี้นำของพ.ต.ท.ทักษิณ ความเห็นส่วนใหญ่คาดว่าจะเปิดให้หน่วยงานต่างๆ เข้าดำเนินธุรกิจได้อย่างเสรียิ่งขึ้นคิดเป็น 48.70% รองลงมาลงความเห็นว่าจะผูกขาดมากขึ้น 17.10% เปิดทางให้กลุ่มชินวัตรผูกขาดธุรกิจมากขึ้น 15.80% และมีกลุ่มที่ไม่แน่ใจอีก 18.40% ทั้งนี้เมื่อแยกแยะความเห็นของผู้บริหารแต่ละกลุ่มกิจการ พบว่าทุกกลุ่มลงความเห็นของผู้บริหารแต่ละกลุ่มกิจการ พบว่าทุกกลุ่มลงความเห็นส่วนใหญ่ว่าหากพ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีเชื่อว่าจะเปิดทางให้การดำเนินธุรกิจด้านสื่อต่างๆ เสรียิ่งขึ้นโดยผู้บริหารกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม เชื่อมั่นต่อความเป้นเสรีในเรื่องนี้มากกว่าผู้บริหารทุกกลุ่มคิดเป็นสัดส่วน 58.60%

เช่นเดียวกับทัศนะต่อธุรกิจการสื่อสารทางโทรศัพท์และไปรษณีย์ที่ผู้บริหารส่วนใหญ่ยังคงเชื่อว่าภายใต้การนำของพ.ต.ท.ทักษิณ ธุรกิจนี้จะเข้าสู่มิติการดำเนินกิจการที่เสรียิ่งขึ้นคิดเป็นสัดส่วนความเห็นถึง 42.80% รองลงมา มีความเห็นว่าจะเกิดการผูกขาดมากขึ้น 20.40% และเปิดโอกาสให้กลุ่มชินวัตรเข้าผูกขาดแทน เท่าเทียมกับสัดส่วนความไม่แน่ใจ คือ 18.40% ทั้งนี้ผู้บริหารทุกกลุ่มกิจการต่างเชื่อมั่นว่าธุรกิจสื่อสารทางโทรศัพท์และไปรษณีย์จะเสรียิ่งขึ้น หากพ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี โดยผู้บริหารกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม มีสัดส่วนความเห็นในเรื่องดังกล่าวมากกว่าทุกกลุ่มกิจการ คือคิดเป็น 55.20%

การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดบนเส้นทางการเมืองยิ่มมิใช่หนทางที่ราบเรียบ และเต็มไปด้วยความรื่นรมย์ตรงข้ามกลับเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนาม และหลุมพรางที่คอยทิ่มตำให้สะดุด หรือพลาดท่าจนอาจต้องจบชีวิตทางการเมืองไป ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญยิ่งสืบเนื่องจากการเดินเกมการเมืองของเหล่านักการเมืองชั้นนำแต่ละท่าน ที่ต่างพยายามหาแรงส่งให้ตนเองขึ้นไปให้สูงที่สุด ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พ.ต.ท.ทักษิณไม่สามารถหลบเลี่ยงได้หากตกลงปลงใจเดินเข้าสู่เวทีการเมือง

สืบเนื่องจากประเด็นดังกล่าว คู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดในการช่วงชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรีกับพ.ต.ท.ทักษิณในทัศนะของผู้บริหารส่วนใหญ่ คิดเป็นสัดส่วน 41.10% ลงความเห็นว่าคือนายอำนวย วีรวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคนำไทย ผู้ลงทุนสละตำแหน่งประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ ซึ่งมาในมาดนักธุรกิจ เช่นเดียวกับพ.ต.ท.ทักษิณ ส่วนบุคคลที่เป็นคู่แข่งคนถัดมา ได้แก่นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันด้วยสัดส่วนความเห็น 20.50% ตามด้วยนายบรรหาร ศิลปอาชา ผู้นำฝ่ายค้าน หัวหน้าพรรคชาติไทย 13.90%

ลำดับถัดมาเป็นคู่แข่งที่กลุ่มผู้บริหารลงความเห็นว่ายังห่างชั้นกับพ.ต.ท.ทักษิณมากนักอันได้แก่ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นักการเมืองรุ่นลายคราม หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา 6.60% พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ 2.60% พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หัวหน้าพรรคพลังธรรม ผู้ชักนำ พ.ต.ท.ทักษิณเข้าสู่สนามการเมืองอย่างเต็มตัวเป็นครั้งแรก 2.00% และบุคคลอื่นๆ อันได้แก่ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ หัวหน้าพรรคเสรีธรรม และ น.พ.กระแส ชนะวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คิดเป็นสัดส่วนความเห็นเพียง 1.30% ขณะเดียวกันยังมีผู้ที่ไม่สามารถระบุคู่แข่งตัวจริงของพ.ต.ท.ทักษิณ ได้อีก 10.60%

สำหรับความเห็นของผู้บริหารกลุ่มธนาคาร/การเงินประกันภัย ต่อคู่แข่งคนสำคัญของพ.ต.ท.ทักษิณ ในการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศตรงกับความเห็นของผู้บริหารกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต/ก่อสร้าง และกลุ่มธุรกิจบริการต่างๆ อันได้แก่ นายอำนวย เช่นเดิม โดยกลุ่มธนาคาร/การเงิน/ประกันภัย ให้ความเชื่อมั่นต่อความสามารถของนายอำนวยมากกว่าทุกกลุ่มกิจการ ขณะที่ผู้บริหารกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม เชื่อว่านายชวนคือคู่ปรับคนสำคัญที่สุดของพ.ต.ท.ทักษิณ

ส่วนคู่ปรับที่อยู่นอกสายตามากที่สุด จากผลการสำรวจพบว่าผู้บริหารกลุ่มธนาคาร/การเงิน/ประกันภัย ลงความเห็นว่าคือนายชวนและพล.ต.จำลอง ผู้บริหารกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต/ก่อสร้าง มีความเห็นตรงกับกลุ่มธุรกิจบริการ คือเลือกพล.อ.ชวลิต ขณะที่ผู้บริหารกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม เชื่อว่านักการเมืองชั้นนำหลายท่านล้วนทาบรัศมีพ.ต.ท.ทักษิณไม่ติดอันได้แก่ นายบรรหาร พล.อ.ชาติชาย พล.อ.ชวลิต และพล.ต.จำลอง

คงไม่ใช่เรื่องง่ายกับการเล่นการเมืองไทยอย่างเต็มตัวครั้งแรก แล้วจะได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนจนสามารถขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ได้มีการสั่งสมบารมีมาสักระยะหนึ่งก่อน กรณีของพ.ต.ท.ทักษิณจึงต้องอาศัยเวลาพิสูจน์ให้เกิดการยอมรับอยู่ อย่างไรก็ตาม กับชั้นเชิงความสามารถในระดับเจ้าพ่อธุรกิจโทรคมนาคม ซึ่งเป็นธุรกิจที่กำลังเปล่งประกายรุ่งโรจน์ในปัจจุบัน ผู้บริหารองค์กรธุรกิจกว่าครึ่งคือ 57.30% จึงลงความเห็นว่าหากไม่กล่าวถึงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ทักษิณเหมาะสมกับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการมากที่สุด โดยกระทรวงที่ตรงกับความชำนาญที่สุดคือ กระทรวงคมนาคม รองลงมาคือ กระทรวงการต่างประเทศ ความเห็นในลำดับถัดมาได้แก่ความเหมาะสมกับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี 24.50% รัฐมนตรีช่วยว่าการ 8.30% ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 6.70% และส.ส.ฝ่ายค้าน 3.10%

สำหรับมุมมองของแต่ละกลุ่มกิจการ พบว่าผู้บริหารทุกกลุ่มเชื่อมั่นว่า หากไม่กล่าวถึงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วพ.ต.ท.ทักษิณมีความเหมาะสมกับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการมากที่สุด โดยผู้บริหารกลุ่มธุรกิจบริการมีสัดส่วนความเห็นในเรื่องนี้มากกว่าผู้บริหารกลุ่มอื่นๆ ซึ่งคิดเป็น 61.90% ทั้งนี้กระทรวงที่เหมาะสมกับพ.ต.ท.ทักษิณมากที่สุดได้แก่ กระทรวงคมนาคม ยกเว้นผู้บริหารกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม ที่ประเมินว่ากระทรวงการต่างประเทศเหมาะกับความรู้ความสามารถของพ.ต.ท.ทักษิณมากกว่ากระทรวงใดๆ

ในด้านตรงข้าม ตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมกับพ.ต.ท.ทักษิณมากที่สุดในสายตาของผู้บริหารกลุ่มธนาคาร/การเงิน/ประกันภัย ตรงกับความเห็นผู้บริหารกลุ่มธุรกิจบริการ และกลุ่มคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม อันได้แก่ ตำแหน่ง ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลคือตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมกับศักยภาพของพ.ต.ท.ทักษิณมากที่สุด

หนทางสู่นายกฯ ยังต้องรอเวลาสั่งสมบารมี

โดยสรุปภาพลักษณ์ของพ.ต.ท.ทักษิณในมุมมองของบุคคลระดับผู้นำองค์กรธุรกิจในเขตเมืองหลวง นับว่าเป็นตัวแทนของผู้บริหารแห่งยุคคลื่นลูกที่สามอย่างแท้จริง ด้วยลักษณะของผู้ที่เต็มไปด้วยการมองไปข้างหน้า ทันยุคทันเหตุการณ์กล้าคิดกล้าทำ มีความพร้อมอย่างสูงที่จะปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์โลก จึงเชื่อมั่นได้ว่าหากพ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีจะนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีอย่างแน่นอน รวมทั้งมีแนวโน้มเข้าสู่ยุคโทรคมนาคมเสรีมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันปัญหาความล้าหลังจะยังผูกติดอยู่กับภาคเอกชนเช่นเดิม

อย่างไรก็ตาม แม้ประสบการณ์ความรู้ความสามารถของพ.ต.ท.ทักษิณจะได้รับการยอมรับในกลุ่มชนชั้นนำองค์กรธุรกิจ แต่ในการเลือกตั้งครั้งหน้าหรือประมาณ 1 ปีข้างหน้าตามกำหนดการ คงยากที่จะมีศักยภาพสูงถึงระดับนายกรัฐมนตรี สำหรับพ.ต.ท.ทักษิณยังต้องอาศัยเวลาสั่งสมบารมีให้เกิดการยอมรับกับคนส่วนใหญ่ในประเทศ ประการสำคัญยังต้องเรียนรู้ยุทธวิธีเดินเกมการเมืองที่ลุ่มลึกอีกระยะหนึ่ง ท่ามกลางการเทใจช่วยของชนชั้นนำในกลุ่มธุรกิจคอมพิวเตอร์/โทรคมนาคม มากกว่ากลุ่มใดๆ



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.