จ้าว เปา เฉิง นักธุรกิจหนุ่มใหญ่วัย 45 จากปักกิ่ง ภายหลังจากที่ได้ เดินทางมาสำรวจธุรกิจตามบริเวณชายแดนแล้วหลาย
ๆ เมือง และเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เขาได้เข้ามายัง หวั่นติง เมืองเล็ก ๆ ของจีน
ที่ตั้งอยุ่บริเวณชายแดน จีน-พม่า และได้เปิดเผย 'ผู้จัดการ' ว่าเมื่อมาเห็นที่นี่
เขาไม่ลังเลเลยที่จะดำเนินธุรกิจของเขาที่เมืองหวั่นติงแห่งนี้
"เมืองนี้อากาศดี มีคนเผ่าไตอาศัยอยู่มาก จิตใจดี และเป็นเมืองเล็ก
ๆ น่าอยู่มาก" จ้าว เกริ่น กับ 'ผู้จัดการ'
อย่างไรก็ตาม นี่ยังไม่ใช่เหตุผลทั้งหมดของการเข้ามาอยุ่เพื่อทำธุรกิจ
โดยเฉพาะธุรกิจระดับชาติอย่างเขา ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานบริษัทจินไต
ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านอสังหาริมทรัพย์ และมีชื่อเสียงมากทีเดียวในปักกิ่ง
" ปัจจุบันนี้ประเทศจีน ต้องการให้เมืองชายแดน มีการพัฒนามากขึ้น
เราเลือกที่หวั่นติงเพราะเป็นเมืองที่อยู่ใกล้ชิดพม่า มีผังเมืองที่ชัดเจน
ง่ายแก่การที่เราจะแต่งแต้มลงไป ถ้าลองเปรียบเทียบที่อื่นแล้วเมืองรุ่ยลี่
นั้นก็อาจจะเป็นเมืองชายแดนที่ติดพม่าเหมือนกัน แต่รุ่ยลี่นั้นใหญ่เกินไป
และมีอะไรต่าง ๆ อยุ่แล้วมากมาย ไม่เหมาะแก่การเริ่มต้นใหม่ ๆ ส่วนทางด้านเหอโขว่
นั้นติดกับชายแดนเวียดนาม เราไม่ค่อยแน่ใจในทัศนคติของคนเวียดนามว่าจะต้อนรับเรามากแค่ไหน
แต่หวั่นติง กับพม่านั้นมีความสัมพันธ์กันมายาวนาน" จ้าวกล่าว
แผนพัฒนาเมืองที่เขากล่าวถึงก็คือ แผนการสร้างเมืองใหม่ของหวั่นติง ซึ่งทางเมืองหวั่นติงได้เตรียมแผนส่งเสริมการลงทุนโดยการจัดพื้นที่จำนวน
23 ตารางกิโลเมตร ไว้สำหรับสร้างเมืองใหม่ โดยมีผังเมืองที่ชัดเจนว่าส่วนไหนจะเป็นอย่างไร
และจัดเขตพิเศษสำหรับการลงทุนต่าง ๆ ไว้ 5 ตารางกิโลเมตร เปิดโอกาสให้นักลงทุน
จากทั้งใน และต่างประเทศเข้ามาลงทุน โดยที่ทางบริษัทจินไตของจ้าวนั้น เป็นบริษัทที่ได้เข้ามารับสัมปทานในการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคต่าง
ๆ ภายในเมืองและร่วมมือกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเมืองหวั่นติง จัดการทางด้านส่งเสริมด้านการระดมต่าง
ๆ ให้เข้ามาเพื่อที่ว่าแผนการนี้เป็นจริงได้เร็วขึ้น
การเข้ามาของจินไต ที่อาจจะเรียกได้ว่าระดับชาติ นี้ จึงเป็นเสมือนแสงเทียนที่ช่วยจุดประกายความหวังในการพัฒนาเมืองหวั่นติงให้เป็นจริง
และหนทางที่จะดึงให้เมืองเล็ก ๆ อย่างหวั่นติงนั้นอยู่ในความสนใจของนักลงทุนในระดับนานาชาติได้มากทีเดียว
ทั้งนี้เพราะ บริษัทจินไตนั้นเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างนักธุรกิจจากปักกิ่ง
เซี่ยงไฮ้และกวางตุ้ง ซึ่งผู้ร่วมทุนนั้นมาจากเมืองสำคัญที่จะสามารถดึงนักลงทุนในแต่ละเมืองเข้ามาและเคยประกอบธุรกิจกับตางชาติมาแล้วมากมาย
และนอกจากการทำธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์แล้ว บริษัทจินไต ยังได้ร่วมทุนกับบริษัทต่าง
ๆ จากปลายประเทศในเอเชีย อาทิ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และฮ่องกง ในการประกอบธุรกิจนำเข้าและส่งออก
ซึ่งบริษัทร่วมทุนเหล่านั้นล้วนแล้วแต่มีธุกริจของตนเองอยู่แล้วยในหลายประเทส
เหล่านี้ล้วนเป็นการดึงดูดให้มีนักลงทุนต่าง ๆ ให้หันมาให้ความสนใจหวั่นติง
และเพื่อเป็นการพิสูจน์ศักยภาพของจินไต เองที่ได้ประกาศเรียกร้องความสนใจต่อนักลงทุนทั้งหลายที่ว่าจะทำให้หวั่นติง
นั้นเป้นประตูสู่ทะเลใได้ได้ เพื่อว่านักลงทุนทั้งหลายเข้ามาแล้ว จะมองเห็นความก้าวหน้า
และ เพื่อที่จะให้เห็นว่า การลงทุนในหวั่นติงนั้นมีอนาคต บริษัทได้ลงทุนไปแล้วประมาณ
30 ล้านหยวน หรือ90 ล้านบาท เพื่อการพัฒนาพื้นที่และก่อสร้างเส้นทางสู่พม่า
" ตอนนี้เราตัดถนนจากหวั่นติง ระยะทาง 13 กิดลเมตร เชื่อมเข้ากับเส้นทาง
320 ซึ่งถนนสายนี้จะทำให้เราเข้าไปยังพม่าได้สะดวก" จ้าวกล่าว
นอกจากนั้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก้ผู้จะเข้ามาลงทุน ประธานบริษัทจินไต
ยังพูดถึงความสัมพันธ์ที่มีกับพม่าเป็นอย่างดีว่า " ขิ่น ยุ้นต์ ได้เข้าที่หวั่นติง
2-3 ครั้ง แล้ว และยังเคยมาศึกษาถึงแผนการที่เราทำแล้วด้วย และสถานการณ์ในพม่าปัจจุบันก็เช่นเดียวกันด้วย
และสถานการณ์ใหม่ในพม่าปัจจุบันก็คลี่คลายไปเยอะ เชื่อว่าในอนาคตยิ่งจะดีขึ้นไปอีก"
การเข้ามาของจินไต เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของการลงทุน ในเมืองชาแดน ของจีน
และหวั่นติงก็ไม่ได้เป็นเมืองเดียวที่กำลังปรับปรุง และพยายามระดมเงินทุนจากต่างชาติเข้ามาให้ได้มากที่สุด
เพื่อการพัฒนาประเทศจีน
ในอดีตนั้นเมืองเล็ก ๆ ตามแนวชายแดนนั้นมีความสำคัญเพียงทำการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน
หรือเป็นเพียงทางผ่านสู่ประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้น หรือเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ด้านการเมือง
แต่อาจไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสักเท่าไหร่
แนวคิดเรื่องการะดมการลงทุนจากต่างชาติเกิดขึ้นภายหลังจากที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญแก่เมืองชายเแดน
เนื่องจากสามารถทำรายได้เข้าสู่ประเทศได้มาก ได้แก่ หวั่นติง และรุ่ยลี (
ชายแดนพม่า) และเหอโขว่ ( ชายแดนเวียดนาม) เป็นเขตการค้าชายแดน และในปี 1992
รัฐบาลได้อนุมัติให้เมืองทั้ง 3 เป็นเมืองเปิดทางด้านการค้า และเป็นจุดผ่านแดนระดับชาติ
national level port ( ปัจจุบันจุดผ่านแดนระดับชาติในยูนานมี 9 แห่ง)
การประกาศเป็นจุดผ่านแดนระดับชาติแทนที่จะเป็นเพียงเมืองการค้าชายแดนเพียงอย่างเดียวนั้น
ทำให้เมืองต่าง ๆ ได้เร่งหาจ้อได้เปรียบของตนออกมาเป็นจุดขายเพื่อดึงดูดการลงทุนเข้ามาให้ได้มากที่สุดเท่ที่จะเป็นไปได้
และได้เกิดความตื่นตัวมากขึ้น มีการแกฉวยเอาการที่เป็นจุดผ่านแดนระดับชาติ
รวมทั้งนำเอาการรัฐบาลจันเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในจีน ได้มาเป็นข้อได้เปรียบในการดึงดูดความสนใจนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเข้ามาในเขตของตนเอง
การเปิดเมืองชายแดนต่าง ๆ ขึ้นมานี้ อาจเรียกได้ว่า เป็นกลยุทธ์ของการระดมการลงทุนจากต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในเมืองต่าง
ๆ ของจีน และถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาด้านการลงทุน ทั้งนี้ภายหลังจากทีรัฐบาลจีนเริ่มนำระบบเศรษฐกิจการตลาดเข้ามาผสมผสานกับระบบเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ในปี
2522 และได้เปิดประเทศสู่โลกภายนอก ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจขอประเทศกระเตื้องขึ้นมาก
การตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตพิเศษตามแนวชายฝั่ง สามารถดำเนินการไปได้ด้วยดีดังนั้น
รัฐบาลจึงได้ประกาศเขตส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติมตามเมืองตาง ๆ เพิ่มขึ้น
กลยุทธ์การส่งเสริมการลงทุนของจีนนี้ สำหรับเมืองที่อยู่ห่างไกลจากส่วนกลางแล้ว
จะให้ทุกส่วนได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลโดยตรงทั้งหมด นั้นเห็นจะเป็นไปได้ยาก
ส่วนกลางนั้น คงได้แต่ให้นโยบาย ส่วนการดำเนินการหรือภาคปฏิบัตินั้นจึงขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละเมือง
ดังนั้นเมืองตาง ๆ จึงพยายามหาจุดขายของตน เพื่อเรียกร้องให้มีการลงทุนเข้ามาในเขตของตนให้มากที่สุด
ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นการสร้างความเจริญ และนำรายได้เข้าสู่ท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นการพิสูจน์ให้รัฐบาลกลางได้เห็นว่า
เป็นเมืองที่สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะมีผลต่อการมีอำนาจต่อรองอื่น
ๆ ต่อไปในอนาคตอีกด้วย
เมืองหวั่นติง เมืองที่อยู่ภายในเขตการปรกครองเต๋อหง ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองคุนหมิง
อันเมืองหลวงของมณฑลยูนาน 868 กิดลเมตร ที่ถึงแม้จะเป็นเมืองเล็ก ๆ มีพื้นที่พียง
103 ตารางกิโลเมตร แต่โดยที่มีชายแดนติดกับพม่า จึงได้ใช้ความแตกต่างจากเมืองอื่นอันนี้
เป็นข้อได้เปรียบในการดึงดูดการลงทุน
" เมืองหวั่นติงของเรานี้ มีชายแดนทั้งสิ้น 28.6 กิโลเมตร แต่ละหมู่บ้านอยู่ห่างชายแดนไม่เกิน
5 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเมือง ลาโชของพม่า เพียง 188 กิโลเมตรเท่านั้น และห่างจากเมืองมัณทะเลย์
ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของพม่าเพียง 584 กิโลเมตร นับว่าเป็นจุดทีสะดวกมากสำหรับการใช้ที่นี่เป็นฐานการผลิต
เพื่อการส่งออก" นายหม่า อี้จง ผู้อำนวยการฝ่ายวิเทศสัมพันธฺ์ ประจำเมืองหวั่นติง
กล่าวกับ " ผู้จัดการ" เป็นการเกริ่นให้ฟังถึงลักษณะทั่วไปของมืองหวั่นเติง
นอกจากนั้น หวั่นติงยังได้อาศัยความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของตนที่เคยเป็นจุดผ่านของเส้นทางสายไหมของตะวันตกเฉียงใต้
และการมีเส้นทางสายพม่า ( Burma Road) ผ่าน แสดงถึงความสามารถในการติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
เช่น พม่าได้อย่างง่ายดาย มาเป็นจุดที่ทำให้หวั่นติงสามารถดึงดูดการลงทุนในเขตนี้ได้มาก
นายกเทศมนตรีหนุ่มแห่งเมืองหวั่นติง ยังได้กล่าวถึงสิ่งที่ทำให้หวั่นติงน่าสนใจอีกว่า
เมืองหวั่นติงนั้นมีชื่อเสียงทางด้านเป็นเมืองที่มีการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านมาช้านาน
"เรื่องความมีชื่อเสียงนี้ หวั่นติงนั้น มีชื่อเสียงมากว่า หมางซื่อ
ที่เป็นเมืองหลวงของเต๋อหงเสียอีก ทั้งนี้ เพราะมีถนนสายเตียน-เมี่ยน ( Burma
Road)ที่มีความสำคัญมาตั้งแต่อดีตตั้งแต่ปี 1948 ( 2491) มีสินค้าผ่านเข้า-ออกมากมาย
นอกจากนั้น ยังมีสะพานที่เชื่อมต่อกันกับประเทศทีโจว เอิน ไหล ( อดีตนายกรัฐมนตรีจีน)
และ อู บา ฉ่วย ( อดีตนายกรัฐมนตรีพม่า) เคยมาข้ามแล้ว"
นอกจากนั้น ด้วยขนาดของเมืองที่เล็กนี่เอง ที่จะทำให้การจัดการต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
ในขณะที่ความเป็นเมืองชายแดนติดพม่าที่ใกล้ชิดมาก จนชาวหวั่นติง และชาวจิวกู่
( เกียวกก) ของพม่าสามารถมองเห็นกันได้จากฝั่งของตนเอง และลักษณะของการค้าขายซึ่งเป็นการค้าชายแดนมายาวนาน
ซึ่งสามารถนำไปสู่การขยายเส้นทางการค้าได้รวดเร็วขึ้น
จินไตก็เล้งเห็นถึงจุดที่หวั่นติงได้เปรียบเพราะการที่ติดกับพม่า และสามารถหาทางออกสู่ทะเลได้อย่างไม่ไกลและไม่ลำบากนัก
จึงได้พยายามนำข้อได้เปรียบดังกล่าวมาเสนอต่อต่างชาติ รวมทั้งอาศัยจุดขายที่จีนมีความสัมพันธ์อันดีต่อพม่า
เพื่อให้ต่างชาติมั่นใจได้ว่าการลงทุนจะไม่สูญเปล่า
ขณะที่หวั่นติงมีแผนการสร้างเมืองใหม่ รุ่ยลี ซึ่งเป็นเมืองชายแดนอีกเมืองหนึ่งก็เตรียมการเพื่อจะเป็น
'เวินเจิ้นแห่งจีนใต้' เพร้อมชักชวนพม่าให้ตั้งเขตการค้าปลอดภาษีร่วมกัน
และยังมีเมืองอื่น ๆ อีกหลายเมืองที่อยู่ตามชายแดนของมณฑลยูนนานที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
ก็ได้ตั้งเขตเพื่อ ส่งเสริมการลงทุนภายใต้ชื่อ 'เขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจ'
(Econmic cooperation Zone)
รุ่ยลี ได้เตรียมแผนการ เพื่อการดึงดูดการลงทุน โดยการตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจขึ้น
3 เขต ได้แก่เขตพิเศษเจียก้าว เขตร่วมมือเศรษฐกิจชายแดนรุ่ยลี่ และเขตขนถ่ายสินค้าหนงก้าว
และยังได้พัฒนาความได้เปรียบบนพื้นฐาน ที่อาศัยความสัมพันธ์อันดีกับพม่า
คือได้ริเริ่มที่จะร่วมกันจัดตั้งเขตปลอดภาษีร่วมกับพม่า เขตการค้าปลอดภาษีดังกล่าวจะตั้งอยู่บนเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจเจียก้าว
ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองรุ่ยลี 4 กิโลเมตร และอยู่ติดกับเมืองมูเซของพม่า
โดยพื้นที่ในเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจเจียก้าวมีเนื้อที่ 6 ตารางกิโลเมตร
ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับการส่งเสริมการลงทุน และในบริเวณเดียวกันนี้บนพื้นที่
1.9 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีพื้นที่ติดกับดินแพนของพม่าจะตั้งเป็นเขตการค้าปลอดภาษี
"ในขณะที่มณฑลของเรามีนโยบายความร่วมมือกับต่างประเทศเรื่องสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ
ทางเมืองลุ่ยลี่เองเราก็มีนโยบายเช่นกัน เป็นการร่วมมือกับพม่าโดยเราจะตั้งเป็นเขตการค้าเสรีหรือเขตปลอดภาษีขึ้น
เราได้คุยกับทางพม่าแล้ว เขาก็เห็นพ้องว่าจะทำเช่นเดียวกับในฝั่งเขาด้วย
ดังนั้นในบริเวณนี้ก็กลาย เป็นเขตปลอดภาษีทั้งสองฝั่งซึ่งหากโครงการสำเร็จผมคิดว่า
รุ่ยลี่ ก็คลจะกลายเป็นเซินเจิ้นแห่งที่ 2 ของจีนขึ้นมาก็ได้ และเราก็หวังว่าจะให้แล้วเสร็จภายในทศวรรษนี้"
เหยียน ปัน ผู้อำนวยการสำนักวานการค้าชายแดน ประจำเมืองรุ่ยลี่ มณฑลยูนนาน
เปิดเผย ' ผู้จัดการ'
และเมือเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย เอดีบี
ได้แสดงความเห็นชอบแล้วที่จะให้เงินช่วยเหลือ 20,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อทำกรศึกษาความเป็นไปได้ในโครงการเขตการค้าปลอดภาษีดังกล่าว
จนถึงปัจจุบันทางจีนและพม่าได้ร่วมมือกันสร้างถนนในบริเวณพื้นที่ของทั้งสองประเทศชื่อ
ถนนจีน-พม่า หรือ จงเหมี่ยน เจี่ย และจะสร้างศูนย์แสดงสินค้า และร้านค้าปลอดภาษีตามแนวถนนสายนี้ทั้งสองฝั่ง
รุ่ยลี่ เป็นเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองของเขตการปกครองของตนเอง ชนชนติไตและจิ่งโพเต๋อหง
ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของมณฑลยูนาน เป้เมืองที่มีชายแดนติดต่อกับพม่า เช่นเดียวกันกับหวั่นติง
แต่รุ่ยลี่ นั้นเป็นเมืองที่ใหญ่กว่ามาก กล่าวคือ มีพื้นที่ถึง 960 ตารางกิโลเมตร
โดยมีความยาวของเส้นชายแดนถึง 140 กิโลเมตร และเป็นเมืองทีมีปริมาณการค้าชายแดนมากถึง
2 ใน 3 ของปริมาณการค้าชายแดนของมณฑล
ผู้อำนวยการค้าชายแดนยังกล่าวเพิ่มเติมถึงความคืบหน้าของโครงการว่า สำหรับการลงทุน
ในเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจนี้มีพื้นที่ประมาณ80% ได้ถุกจับจองเพื่อการลงทุนประเภทต่าง
เรียบร้อยแล้ว
"ตอนนี้เราได้ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่และได้เริ่มสร้างอาคาร้านค้าตาง
ๆ ไปบ้างแล้ว เพื่อรองรับสินค้า ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ในส่วนของพม่าเองก็ได้เริ่มทำไปบ้างแล้วเช่น
เดียวกัน" นายเหยียน ปัน กล่าว
แม้ว่าหวั่นติง และลุ่ยลี่ นั้น ต่างก็เป็นเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองของเจตเดียวกัน
และยังมีชายแดนที่ติดต่อกับพม่าเหมือนกัน แต่ทั้งสองเมืองก็พยายามแข่งขันกันที่จะหาจุดขายต่าง
ๆ ที่เป็นการดึงดุดทุนเข้าสู่เมืองของตนดองให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
และจุดหนึ่งที่สองเมืองจะต้องนำมานำเสนอและขาดไม่ได้ก็คือ ความสัมพันธ์กับพม่าความใกล้ชิดกับพม่าทีเมืองอื่นไม่มี
ทางชายแดนด้านอื่น คือ ทางเวียดนามเมืองเหอโขว่ นั้น ก็พยายามที่จะหาจุดขายที่เป็นหนทางออกสู่ทะเลที่ใกล้และสะดวกที่สุด
กล่าวคือ ที่นั่นมีรถไฟสามารถเดินทางไปถึงท่าเรือไฮฟอง ของเวียดนาม โดยระยะทาางจากเหอโข่วถึงเมือง
ไฮฟองเพียง 389 กิโลเมตรเท่านั้น แต่ปัจจุบันยังไม่เปิดใช้
และที่เหอโข่ว เองก็มีเจตความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเขตส่งเสริมการลงทุนเช่นเดียวกันกับที่อื่น
ๆ ที่เป็นเมืองชายแดน แต่ก็ไม่อาจสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้ ทั้งนั้นเพราะนักลงทุนไม่มั่นใจว่าความสัมพันธ์อันดีระหว่างจีนกับเวียดนาม
นั้นจะเกิดขึ้นได้เมื่อใด แม้ว่ารัฐบาลทั้ง 2 ประเทศพยายามที่จะลืมความขมขื่นในอดีตกันอยู่
และหันมาสานสัมพันธ์กันใหม่แต่อาจจะต้องใช้เวลาอีกนานในการเปลี่ยนทัศนคติของผู้คนของทั้งสองประเทศ
ส่วนชายแดนด้านลาว อาจจะไม่มีปัญหาความสัมพันธ์มากนัก แต่ลาวนั้นเป็นประเทศเล็ก
และไม่มีทางออกสู่ทะเล ถึงแม้ปัจจุบันจะมีโครงการขอความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับอนุภูมิภาค
6 ประเทศ ที่จะให้มีการสร้างเส้นทางรถไฟคุนหมิง-หนองคาย โดยผ่านลาว แต่นั่นก็เพิ่งจะเริ่มมีการสำรวจ
และยังต้องใช้เวลาอีกนาน เกี่ยวกับเรื่อง เขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ( Economic
Cooperatin Zone) นั้น แหล่งข่าวจากวงการธุรกิจไทยในเมืองคุนหมิงเปิดเผยกับ
"ผู้จัดการ" ว่ายังมีความแตกต่างกันอยู่ระหว่างเขตเศรษฐกิจพิเศษกับเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ซึ่งถ้าไม่ศึกษาอย่างละเอียดแล้ว ก้อาจจะเกิดปัญหาในภายหลังได้
"คือแต่ละเมืองนั้นพยายามดึงสิทธิพิเศษในเขตเศรษฐกิจพิเศษออกมา ใช้เช่น
การยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบ หรือเครื่องจักร ที่นำมาใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออกและสิทธิในการใช้ที่ดินที่มีระยะเวลานานที่สุดก็๕ือ
70 ปี แต่คราวนี้พวกระเบียบการลงทุนต่าง ๆ นั้นยังไม่เหมือนกันเสียทีเดียว
จริง ๆ แล้วเขตร่วมมือทางเศรษฐกิจนั้นเป็นเขตส่งเสริมการลงทุนระดับมณฑลไม่ใช่ระดับชาติ
ซึ่งการลงทุนในระดับมณฑลนั้นหากการลงทุนไม่เกิน 30 ล้านเหรียญ สหรัฐ ผู้ว่าราชการมณฑลมีสิทธิที่จะอนุมัติได้เลย
แต่ถ้ามากว่านี้ ถึงแม้ว่าจะเป็นการลงทุนในเขตส่งเสริมการลงทุน หรือเขตร่วมมือทางเศรษฐกิจก็ตามยังคงต้องส่งเรื่องให้รัฐบาบกลางพิจารณาอยู่ดี
รวมทั้งต้องพิจารณาเรื่องสิทธิพิเศษต่าง ๆ ด้วย ซึ่งทำแบบ case by case อาจเสียเวลาไปได้บ้างเหมือนกัน"
แหล่งข่าวกล่าว