อีจีวีเดินหน้าไอทีนำการตลาด เล็งเป้าหมายใหม่ลูกค้ามือถือ


ผู้จัดการรายวัน(6 มกราคม 2546)



กลับสู่หน้าหลัก

เปิดแผนไอทีปี 2546 ค่ายอีจีวี เพิ่มช่องทางอิเล็กทรอ-นิกส์ทุกรูปแบบ เตรียมจับมือผู้ให้บริการซื้อตั๋วหนังผ่านโทรศัพท์มือถือ หลังให้ซื้อผ่านตู้เอทีเอ็ม พร้อมงัดกลยุทธ์ CRM ทุกรูปแบบ ผ่านบัตรพลาสติก ที่ไม่ใช่แค่เป็นบัตรส่วนลดราคาอีกต่อไป

นายวิชัย พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท EGV Entertainment Public Company Limited กล่าวว่า อีจีวีอยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตรผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ในการซื้อตั๋วหนังผ่านโทรศัพท์มือถือ ภายหลังจากที่จะเปิดให้บริการซื้อตั๋วหนังจากเครื่องเอทีเอ็มภายในเดือน ม.ค.2546นี้

อีจีวีให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีด้านไอที มาพัฒนารูปแบบบริการเพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูก ค้า เนื่องจากธุรกิจโรงภาพยนตร์ ไม่ได้ มีความแตกต่างกันมากนัก เพราะภาพยนตร์ที่ฉายก็เหมือนกัน แต่สิ่งที่อีจีวีมองคือการวางตัวเองเป็นอินโนเวทีฟ มาร์เกตติ้ง ต้องมีความคิดสร้าง สรรค์ใหม่ๆออกมา ทั้งหมดต้องแข่งขันเพื่อทำอย่างไรให้ลูกค้าได้รับความสะดวกมากที่สุด

"ไอทีอยู่ในทุกๆอณูของงาน ทำ ให้ไอทีเป็นประโยชน์กับทุกคน เรากำลังบริหารข้อมูล หรือดาต้าไมนิ่งที่มีอยู่ให้เป็นดาต้า อินทิริเจนต์เพื่อให้ผู้บริหารมาวิเคราะห์ ปรับกลยุทธ์ ปรับ แผนให้ทันเหตุการณ์และคืนกำไรกลับ ไปให้ลูกค้า หรือให้ความพอใจสูงสุด"

การลงทุนด้านไอทีของอีจีวี มองได้ 2 ด้านคือด้านแรกเพื่ออำนวยความ สะดวกให้ลูกค้าในการซื้อตั๋วหนังและอีกด้านหนึ่งเพื่อนำข้อมูลลูกค้าที่ได้จากกลยุทธ์ด้าน CRM มาปรับแผนวางกลยุทธ์การแข่งขันและการพัฒนาธุรกิจ

ด้านความสะดวกของลูกค้า การบ้านของฝ่ายไอที อีจีวีคือคือทำอย่างไร ให้ลูกค้าไม่ต้องเข้าคิวนาน ในการรับตั๋ว อีจีวีนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเป็นช่อง ทางอีเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าหรือ CRM โดยเริ่มจากบัตร F-One ซึ่งไม่ใช่แค่บัตรส่วนลดการซื้อตั๋วหนังเหมือนสมาร์ทการ์ดปกติที่คุ้นเคยกันมานาน

แต่ F-One นอกจากเป็นบัตรส่วนลด 20 บาทต่อ 1 ที่นั่งแล้วยังเป็น ส่วนลดในการซื้อสินค้าใช้บริการในร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้าต่างๆที่เข้าร่วมกว่า 500 ร้านค้า โยนโบว์ลิ่งได้ 400 บาท เรียนศิลปะฟรีอีก 1,600 บาท โดยในการใช้บัตรแต่ละครั้ง ลูกค้าจะได้รับคะแนนสะสม ที่เปรียบเหมือนเงินสด อย่างกรณีใช้บริการอีจีวี ลูกค้าจะได้รับคะแนนสะสม 10% หรือเท่า กับมูลค่า 1 คะแนนเท่ากับ 1 บาท

อีจีวีให้บริษัท OneAlliance เป็นคนบริหารระบบให้ทั้งหมด โดยได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม ค่าบริหารบัตรและค่าทรานเซกชั่น

อีจีวียังพัฒนารูปแบบบัตร F-One ขึ้นมาในรูปบัตรกิ๊ฟแพ็ก โดยราคาซื้อขายอยู่ที่ 690 บาท แต่ลูกค้าได้ 600 คะแนนหรือเท่ากับ 600 บาทในการใช้เป็นส่วนลดและยังได้เพิ่มพิเศษอีก 300 คะแนนหรือ 300 บาทเพียงแต่ต้องใช้กับเก้าอี้พิเศษอย่างโกลด์คลาสหรือพรีเมียร์สวีท ซึ่งในแง่การตลาด หมายถึงการให้ส่วนลดเพื่อให้ลูกค้ามีโอกาสลองใช้บริการ เป็น การตลาดที่แอดวานซ์มากขึ้น ระบบไอทีหลังบ้านต้องแข็งแรง พร้อมรอง รับได้

"เราพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เป็นการบริหารที่นั่ง ลูกค้าได้คุณค่าเต็ม มีการ สะสมคะแนน เป็นรอยัลตี้โปรแกรม กิ๊ฟแพ็กเป็นการรวมหลายๆอย่างไว้ด้วยกันในบัตรไม่ว่าจะโยนโบว์ลิ่งฟรี เรียนภาษาแถมคอมพิวเตอร์ โปรโมชั่น เอ็มเว็บ ซึ่งทุกอย่างอยู่ภายใต้ระบบออนไลน์ของเรา"

ในแง่ความสะดวกของลูกค้า บัตรประเภทนี้จะให้ลูกค้าลงทะเบียนเป็นสมาชิก ซึ่งทำให้อีจีวีรู้จักพฤติ-กรรมการใช้ชีวิตผ่านบัตรของลูกค้า นอกจากนี้ในเดือนม.ค.อีจีวีจะให้บริการซื้อตั๋วหนังผ่านตู้เอทีเอ็ม ประ- มาณ 50-60 เครื่องในช่วงแรก โดยที่ลูกค้าสามารถเลือกที่นั่งชำระเงินได้ทันที โดยจะได้รับสลิปพร้อมรหัสในการรับตั๋ว

ลูกค้าที่ลงทะเบียนเป็นสมาชิกบัตรของอีจีวี หรือซื้อตั๋วผ่านเอทีเอ็ม จะได้รับความสะดวกสบายในการรับตั๋วผ่านช่องฟาสต์เลน ที่ไม่ต้องเข้าคิวรอนาน ไม่ต้องมาก่อนเวลาหนังฉายครึ่งชม.

อีจีวียังอยู่ระหว่างพัฒนาคอลเซ็นเตอร์ เนื่องจากที่ผ่านมาคอลเซ็น เตอร์มีปัญหาเรื่องไม่สามารถปิดการขายได้ เนื่องจากจำนวนคู่สาย 200 คู่สาย พนักงานรับโทรศัพท์ไม่เกิน 30 คนรองรับได้ประมาณ 3-4,000 คอลต่อวัน แต่ทุกวันนี้ลูกค้าโทรเข้ามา 7,000-10,000 คอล เมื่อใช้บริการผ่าน ระบตอบรับอัตโนมัติ IVR อย่างถามเรื่องย่อ ถามโปรแกรม จนถึงระดับอยากจองตั๋วแต่พนักงานที่มีอยู่ไม่ว่าง ในขั้นตอนนี้ก็ทำให้ไม่สามารถปิดการขายได้ ในแง่ไอทีถือว่าเป็นเรื่องของการเสียโอกาสในการขาย

ในการพัฒนาระบบคอลเซ็น- เตอร์ ซึ่งจะเริ่มใช้ในเดือนก.พ.หรือมี.ค.นี้นอกจากจะรองรับได้หลายหมื่น คอลต่อวันแล้ว ลูกค้าสามารถซื้อตั๋วได้ด้วย

ส่วนด้านผู้บริหาร สามารถนำข้อมูลลูกค้าผ่านพฤติกรรมการจองตั๋ว หนังต่างๆมาปรับแผนการจัดโปร- แกรมการฉายหนังได้ทันท่วงที รวมทั้งมีผลเรื่องการวางแผนโฆษณา งบสื่อ โฆษณาซึ่งต้องดูข้อมูลจากปฏิกิริยาของลูกค้า วันนี้อีจีวีอยู่ในธุรกิจที่เล่นเป็นรายวัน แต่ละวันต้องมาสรุป วิเคราะห์ว่าวันรุ่งขึ้นจะเกิดอะไรขึ้น

ทั้งหมดนำมาทำเป็นแผนตั้งแต่จัดอัตรากำลังคน หากพนักงาน 400 คนไม่สามารถให้บริการได้เพียงพอก็จะเรียกคัสชัวร์ สตาฟฟ์ เป็นนักศึกษา พาร์ตไทม์ ผ่านการฝึกอบรมมาตรฐาน อีจีวี เพื่อมาช่วยด้านบริการ

"เป็นเรื่องการบริหารล้วนๆ เรื่องการวางแผนบริหารมีเดีย ทำให้ไดเร็ก-ชั่นเราชัดเจนขึ้นคมขึ้น และการบริหาร รายได้คือรอบฉาย ต้องทำไปในทิศ ทางเดียวกันเหมือนเล่นคอนเสิร์ต"

เขากล่าวว่าในปี 2546 จะเห็นทุก อย่างเกี่ยวกับการซื้อตั๋วไม่ว่าจะผ่านตู้เอทีเอ็ม โทรศัพท์มือถือ หรือผ่านเว็บ ซึ่งกับลูกค้าโทรศัพท์มือถือจะเป็นเป้าหมายสำคัญอีกกลุ่มของอีจีวี ซึ่งจะมีผู้ให้บริการค่ายหนึ่งเป็นสปอนเซอร์หลักในการทำการตลาดร่วมกับอีจีวี ทำให้บัตรอีจีวี เข้าไปอยู่กับลูกค้ามือถือ ใกล้ชิดมากขึ้น และได้สิทธิประโยชน์เท่าลูกค้าเอฟ-วันได้ประโยชน์เท่ากับเป็นการเข้าหาลูกค้ามือถือโดยตรง

"ที่ผ่านมาอีจีวีเราไปจอยกับมือถือโดยใช้ระบบ SMS ให้ส่วนลดกับลูกค้ากับทางเอไอเอส การซื้อตั๋วหนังจากมือถือ อยู่ในแผนปี 2546 เราคิดว่าพันธมิตรอยากให้เปิดตัวพร้อมกัน ทุกอย่างที่พูดมาเป็นต้นทุนหมดเลย แต่แบ่งกันเรารับภาระบ้าง เจ้าของหนังบ้าง พันธมิตรบ้าง แต่คนได้ประโยชน์จริงๆคือลูกค้า"



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.