ช่วง มูลพินิจ ศิลปินภาพเขียนลายเส้น ที่มีชื่อเสียงห่างหายจากการจัดนิทรรศการเดี่ยวเป็นเวลานานเกือบ
13 ปีเต็ม
ในโอกาสครบรอบอายุ 60 ปีที่จะมาถึงในวันที่ 7 ธันวาคมนี้ ศิลปิน ผู้นี้จึงได้มีการจัดแสดงนิทรรศการ
“60 ปี ช่วง มูลพินิจ จิตรกร” ขึ้น ที่ เดอะ เมอร์คิวรี่อาร์ต ตรงข้ามเซ็นทรัลชิดลม
ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน-24 ธันวาคม 2543 เป็นการแสดงผลงานศิลปกรรมย้อนหลัง
ตั้งแต่ปี 2504-2543 เป็นครั้งแรกของเขา โดยรวบรวมผลงานกว่า 80 ชิ้น หลากหลายเนื้องาน
เช่น ภาพลายเส้น ภาพสีน้ำมัน และภาพสีน้ำ ที่อาจจะหาดูกันได้ไม่ง่ายนัก
ในวัย 60 ปี ช่วงยังคงแข็งแรง รูปร่างสูงใหญ่แต่มีความหนาของลำตัวเพิ่มขึ้น
แผงเครายังคงรกเฟิ้มเป็นเอกลักษณ์ ผมถูกขมวดมัดไว้ ที่ท้ายทอย และทุกวันนี้ได้ใช้เวลาส่วนใหญ่อย่างมีความสุข
ด้วยการเขียนรูป
“จิตรกร มีความบันดาลใจในความงามมากมายคั่งอยู่ในความคิด เมื่อ ได้คายออกด้วยการทำงานจึงเกิดความสุข
การทำงานเหมือนลมหายใจ คือ ชีวิตของจิตรกร” ช่วงตอบคำถามของ “ผู้จัดการ” ที่สงสัยว่าทำไมถึงได้เขียน
รูปได้ทุกวัน
ภายในรั้วบ้าน ที่เต็มไปด้วยพรรณไม้นานาชนิดของเขา ที่หมู่บ้านธารารมณ์ บางกะปิ
ซึ่งย้ายเข้ามาอยู่เป็นปีที่ 3 แล้วนี้ มีบ้าน 2 หลังอยู่ติดกัน หลังแรกเป็นที่พักของเขา
ภรรยาจินดารัตน์ และลูกสาวอีกหนึ่งคนชื่อ ปานวาด ซึ่งกำลังศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยเอแบค
ส่วนอีกหลังเป็นตึกสูง 3 ชั้น ชั้นล่างจัดเป็นห้องทำงาน แบ่งเป็นส่วน รับแขกเล็กๆ
ชั้นบนอีก 2 ชั้น ได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์เก็บผลงานต่างๆ ที่หลากหลายของเขา
เพื่อให้คนที่สนใจได้แวะเยือนมาดู มาศึกษา เขาบอกว่า ตั้งใจมานานแล้วว่า
หากมีบ้านก็จะเอารูป ที่เก็บไว้มาให้คนดูเพราะนึกย้อนกลับไปเมื่อวัยเด็กอยากดูรูปพวกนี้มากแต่หาดูไม่ได้
ผลงาน ที่บ้านนี้จึงมีหลายรูป ที่หลายคนต้องการขอซื้อไว้เป็นสมบัติเชยชมเป็นส่วนตัว
แต่เขาไม่ได้ขายไปเพราะต้องการเก็บไว้ให้เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ เช่น
รูป “นาคสมพงศ์” หนึ่งในผลงาน ที่สร้างชื่อเสียงให้เขาอย่างมากๆ
วันใดไม่มี เพื่อนมาเยี่ยมเยียน แวะตั้งวงเหล้าในยามเย็น ชีวิตประจำวันของเขาก็จะเป็นไปอย่าง
เรียบง่าย ดูข่าวเสร็จ 3 ทุ่มเข้านอน ตื่นนอนตอนเช้าตั้งแต่ประมาณตี 3 ฟังเพลงต่างๆ
จากวิทยุ ชอบ มากเป็นพิเศษก็คือ เพลงลูกทุ่ง เพลงไทยเดิม โดยเฉพาะเทปบรรเลงเสียงซอ
ของ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ หรือเทปบรรเลงของ นพ โสตถิพันธ์ จนกระทั่ง 6 โมงเช้า
ทานข้าวต้ม หรือกาแฟ ไข่ลวก 7 โมงครึ่ง ออกเดินจากบ้านไปประมาณ 1 กม. ไปถึงร้านก๋วยเตี๋ยว
กินก๋วยเตี๋ยว 1 ชาม กลับบ้าน อ่านหนังสือ พิมพ์ เมื่อเหงื่อแห้งแล้วก็อาบน้ำ
ลงมือทำงานไปเรื่อยๆ จนกระทั่ง 5-6 โมงเย็น ซึ่งจะเป็นเวลาทำกับแกล้มง่ายๆ
ให้ตัวเองอีกครั้ง หรือนั่งอ่านต่วยตูน พ็อกเก็ตบุ๊คเล่มโปรด
ภาพส่วนใหญ่ ที่วาดอยู่ทุกวันนี้ เป็นเรื่องของดอกไม้ ต้นไม้ ที่เขาบอกว่าเป็นวัตถุดิบ ที่หาดูได้ทั่วไป
โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไกลไปสเกตช์ภาพ เช่นเดียวกับภาพตัวละครในวรรณคดี
และยังมีเรื่องราวของงานอีกมากมาย ที่จินตนาการคั่งค้างอยู่ในความคิด และได้ทยอยบันทึก
ไว้ในหนังสือส่วนตัวเล่มเล็กๆ รอเวลาในการสร้างสรรค์
ย้อนกลับอดีตวัยเด็ก ช่วงเป็นบุตรของนายก้าน นางชั้น มูลพินิจ ชาวอำเภอบางคนที
จังหวัดสมุทรสงคราม เรียนชั้นประถม ที่วัดบางน้อย ชั้นมัธยม ที่วัดกลางเหนือ
สากลวิสุทธิ์ เพราะเป็นเด็กโรงเรียนวัดมาตลอด ทำให้เขาชอบทางด้านภาพปั้น
และงานเขียน จึงเข้ามากรุงเทพฯ เรียนศิลปะ ที่โรงเรียนศิลปศึกษา ศึกษาต่อ ที่มหา
วิทยาลัยศิลปากร จนจบอนุปริญญา คณะจิตรกรรม และประติมากรรม
เริ่มต้นทำงาน ที่ศูนย์ออกแบบ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ตำแหน่งออกแบบผลิต
ภัณฑ์เครื่องเขิน ระหว่างการทำงานอยู่ ที่นี่ได้รับการชักชวนจากสุลักษณ์
ศิวลักษณ์ให้มาเขียนภาพลายเส้นประกอบหนังสือสยามสมัยต่อมาได้เขียนภาพประดับในหนังสือ และนิตยสารต่างๆ
เช่น ช่อฟ้า ชาวกรุง เฟื่องนคร สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ จนเริ่มเป็นที่รู้จักด้วยผลงานเขียนลายเส้นฟรีแฮนด์ ที่มีแบบเฉพาะตัว
ภาพประดับ และหน้าปกหนังสือรวมเรื่องสั้นชุด “เสเพลบอยชาวไร่ ”หนังสือ ที่ในปี
2512 ราคาเพียงเล่มละ 6 บาท ของรงษ์ วงศ์สวรรค์ เพื่อนรักรุ่นพี่ ที่ระยะหลังได้ไปใช้ชีวิต ที่เชียงราย
ก็คือ ส่วนหนึ่งของผลงานเขา
ช่วงลาออกจากกระทรวงอุตสาหกรรมหลังจากทำอยู่ 9 ปี เริ่มงานใหม่ ที่บริษัทโฆษณาอีก
3 ปี หลังจากนั้น ก็ลาออกจากโลกแห่งพาณิชย์ศิลป์มาเป็นศิลปินอิสระเต็มตัว
ผลงาน ที่รู้จักกันดีอีกอย่างหนึ่งคือ การออกแบบตัวหนังสือชื่อเรื่อง และโปสเตอร์
ภาพยนตร์ไทยในแนววรรณคดี หรือเรื่องพื้นบ้านไทยสมัยเก่า เช่น แผล เก่า เลือดสุพรรณ
เพื่อน-แพง ไกรทอง กากี งานโปสเตอร์ของหนัง เพื่อน-แพง ได้รับเลือกเป็นโปสเตอร์ ที่งามที่สุดในโลกในการส่งเข้าประกวด ที่สถาบันโรงภาพยนตร์แห่งชาติ
กรุงลอนดอน เมื่อปี 2526
งานของช่วงในระยะแรกเริ่มเป็นภาพลายเส้น ที่ประยุกต์ความอ่อนช้อยของลายไทย
เข้ากับรูปทรงแบบเหมือนจริงได้อย่างกลมกลืน ต่อมาจึงได้พัฒนามาใช้เทคนิคสีน้ำ และสีน้ำมัน
ความงาม ที่ศิลปินผู้นี้เนรมิตขึ้น ส่วนใหญ่แสดงถึงเรื่องราวของดอกไม้ แมลง
สัตว์ มนุษย์ ทั้งในแง่อีโรติก จนกระทั่งถึงนัยการมองเห็นในวัฏสงสารของชีวิต
เป็นการผนึกเรื่องราวทางอุดมคติกับธรรมชาติเข้าไว้ด้วยกันอย่างงดงาม แนบเนียน
ลงตัว
นอกจากนั้น ยังมีผลงานออกแบบ และปั้นเกี่ยวกับศาสนาอีกหลายชิ้น เช่น ออกแบบ และปั้นพระพุทธรูปยืนลีลาห้ามญาติ
“พระพุทธอภัยมงคลสมังคี” ที่สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช ทรงสร้างถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
เพื่อนำไปพระราชทานแก่ทุกจังหวัดในวโรกาสฉลองกรุงรัตน โกสินทร์ 200 ปี ได้ออกแบบ และควบคุมการตกแต่งพระมหาเจดีย์วัดธรรมมงคล
101 สุขุมวิท และวาดภาพสีน้ำมันขนาดใหญ่ 8 ภาพเป็นภาพปริศนาธรรมในวัดแห่งนี้
“พุทธศิลป” กับงานทางด้าน “อีโรติก” ที่ดูเหมือนจะอยู่กันคนละขั้ว แต่กลับมีความลงตัวกันได้ในผลงานของท่านผู้นี้