ขณะที่ตลาดซบเซา เช่นตลาดรถยนต์เมืองไทยในช่วงเวลานี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักตัดสินใจที่จะเฝ้าดูเพื่อรอโอกาสครั้งใหม่
ซึ่งก็นับว่าเป็นวิธีที่ไม่เลวร้ายอะไร แต่การเฝ้าดูเพื่อรอโอกาสครั้งใหม่
ซึ่งก็นับว่าเป็นวิธีที่ไม่เลวร้ายอะไร แต่การเฝ้าดูนั้นต้องมีแนวทางที่หวังกับอนาคตได้บ้าง
ในทางกลับกัน ขณะที่ตลาดซบเซา แต่ผู้ประกอบการกลับบุกอย่างไม่ลืมหูลืมตา
ก็เท่ากับเดินสู่เส้นทาง ไม่นรกก็สวรรค์ วัดกันไป ซึ่งแนวคิดนี้เสี่ยงอยู่มาก
แต่ก็สร้างความยิ่งใหญ่ให้กับรายเล็ก ๆ มาไม่น้อย
สถานการณ์เช่นนี้อยากจะกล่าวว่า "สวีเดนมอเตอร์ส" เลือกหนทางปฏิบัติได้อย่างรัดกุมเหมาะสมที่สุด
ไม่เงียบเป็นป่าช้า แต่ก็ไม่บุกอย่างบ้าระห่ำ
บริษัท สวีเดนมอเตอร์ส จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์วอลโว่ในตลาดเมืองไทย
ได้ปรับโครงสร้างการบริหารในองค์กรครั้งใหญ่ เมื่อ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา
ด้วยการจัดสายงานแบ่งแยกอย่างชัดเจนออกเป็น 6 สายและ 1 ฝ่าย กล่าวคือ สายงานปฏิบัติการสาขา,
สายงานปฏิบัติการตัวแทนจำหน่าย, สายงานการขาย, สายงานการตลาด, สายงานบริการหลังการขาย,
สายงานการเงินและธุรการ และฝ่ายสารสนเทศ
เป้าหมายหลักของการปรับครั้งนี้ก็เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 6
ประการ คือ การลดต้นทุน, เสริมสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้เกิดกับลูกค้า, พัฒนาสาขา
และตัวแทนจำหน่าย, พัฒนาองค์กร, เสริมสร้างภาพพจน์ และสุดท้ายก็เพื่อการเพิ่มยอดจำหน่าย
"ใช่ เป็นการเปิดนโยบายเชิงรุกของเราในขณะที่ตลาดซบเซาอยู่ในช่วงเวลานี้
และหวังว่าอนาคตอันใกล้เราจะก้าวไวปข้างหน้าได้ดีกว่าคู่แข่ง" คำกล่าวของ
เจฟฟรีย์ โรว์ ซึ่งเดิมดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาดและการขาย
และจากโครงสร้างใหม่นี้ เขาจะรับตำแหน่งรองประธานบริหาร ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจตัดสินใจแทนได้เทียบเท่าประธานฝ่ายบริหาร
เดิมนั้น ในระดับสูงสุดของการบริหารงาน สวีเดน มอเตอร์ส จะต้องรอการตัดสินใจของ
ไซม่อน อี. โบไนเธิน ประธานกรรมการบริหาร หรือบางครั้งจะต้องรอการประชุมคณะกรรมการบริหารเลยทีเดียว
ซึ่งหลายครั้งจะช้าเกินไป และอีกประการหนึ่งประธานกรรมการบริหารมีภารกิจมากต้องเดินทางไปต่างประเทศบ่อยครั้งโครงสร้างใหม่จึงให้ไซม่อน
ดำรงตำแหน่งประธานฝ่ายบริหาร (C.E.O.& President) แล้วดัน เจฟฟรีย์ โรว์
ขึ้นมาเป็นรองประธานเพื่อที่จะตัดสินใจแทนในเรื่องต่าง ๆ
นอกจากนี้ ในระดับปฏิบัติการแล้ว ผู้รับผิดชอบทั้ง 6 สาย และ 1 ฝ่าย จะมีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจด้วยตนเอง
มากขึ้น ซึ่งจากโครงสร้างใหม่นี้ แสดงว่าสวีเดนมอเตอร์ส ได้ตัดสินใจแล้วที่จะกระจายอำนาจการบริหารงาน
หลังจากที่บริหารงานในลักษณะครอบครัวและรวบอำนาจมาตลอด
"เดิมการตัดสินใจจะรวมศูนย์อยู่ที่คนเพียงคนเดียวหรือบางครั้งอาจถึงขั้นต้องผ่านบอร์ด
แต่ต่อไปจะตัดสินใจกันเร็วขึ้น ขั้นตอนสั้นลง" ผู้บริหารกล่าว
ดูการขับเคลื่อนครั้งนี้แล้ว คงอีกไม่นานที่องค์การแห่งนี้จะกลับมาทวงความยิ่งใหญ่ในตลาดรถยนต์หรูหราของเมืองไทยได้สำเร็จ
หลังจากปล่อยให้คู่แข่งสำคัญอย่างเมอร์เซเดส-เบนซ์ เริงร่าอยู่เกือบ 5 ปีแล้ว
กัมพล กันจิตวัฒนา ผู้อำนวยการสายงานปฏิบัติการสาขา กล่าวว่า ที่ผ่านมา
ตลาดรถยนต์หรูหรานั้น เมอร์เซเดส-เบนซ์, บีเอ็มดับบลิว และวอลโว่ จะถูกนึกถึงมากกว่ายี่ห้ออื่น
และหลังจากเปิดเสรีเรื่อยมาจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในหลายลักษณะด้วยกัน
ด้านยอดขายและภาพพจน์นั้นชัดเจนว่า เมอร์เซเดส-เบนซ์ ยังมาเป็นอันดับหนึ่ง
และพุ่งทยานในหลายปีนี้ หรืออย่างบีเอ็มดับบลิวนั้น แม้ภาพพจน์และยอดจำหน่ายจะยังไม่เท่าเมอร์เซเดส-เบนซ์
และระยะหลังยอดจำหน่ายบีเอ็มดับบลิว โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีนี้ ค่อนข้างเงียบ
แต่ก็ยังนับว่าพอจะไปได้ในตลาด จึงเป็นเรื่องที่สวีเดนมอเตอร์สต้องหาหนทางฟื้นตลาดวอลโว่ให้กลับมาอยู่เหนือ
12 คู่แข่งสำคัญนั้นให้ได้
"เรายังมั่นใจว่า การก้าวเดินของเราแม้จะช้า แต่ก็ถูกต้องและมั่นคงพอที่จะทำให้เรากลับมานำในตลาดได้
แม้จะใช้เวลาบ้างก็ตาม" ผู้บริหาร กล่าว
มองจากยอดจำหน่ายนับจากปี 2534 ซึ่งเป็นปีที่เปิดเสรีรถยนต์เมืองไทยเรื่อยมา
พอจะมองเห็นได้ว่า เส้นทางเดินของ 3 ยี่ห้อนี้เป็นอย่างไร เมอร์เซเดส-เบนซ์
ยังคงรักษาระดับของตนเองไว้ได้ สำหรับบีเอ็มดับบลิวนั้นน่าเป็นห่วงไม่น้อยเพรายอดจำหน่ายวูงลงค่อนข้างมาก
ส่วนวอลโว่นั้นพื้นฐานตลาดดูจะมั่นคงกว่าคู่แข่ง ซึ่งผู้บริหารของสวีเดนมอเตอร์ส
ก็มั่นใจเช่นนั้น
สวีเดนมอเตอร์ส เลือกเส้นทางเดินของตนเอง ด้วยความพยายามที่จะวางรากฐานตลาดให้แข็งแกร่ง
เห็นได้ชัดจากนโยบายอนุรักษ์นิยมในช่วงที่เปิดเสรีใหม่ ๆ เพราะทั้งเมอร์เซเดส-เบนซ์
และบีเอ็มดับบลิวใช้ยุทธวิธีนำเข้ามาเปิดตลาด ซึ่งแน่นอนว่าทำได้เร็ว แต่ตลาดก็ขึ้นลงวูบวาบเหมือนกัน
ส่วนสวีเดนมอเตอร์ส ได้ยืนยันการประอบในประเทศเป็นหลัก
"การรักษาตลาดที่แท้จริงให้ได้ แม้จะต้องยอมมียอดขายเพียงไม่กี่พันคันในแต่ละปี
เราก็ต้องทำ ซึ่งขณะนี้แนวโน้มมันพิสูจน์แล้วว่า เส้นทางเดินของตลาด 4-5
ปีที่ผ่านมานั้นถูกต้อง เราสามารถวางแผนเพื่อขยายงานเป็นขั้นเป็นตอนได้ แม้ตลาดโดยรวมจะซบเซาแต่เราก็ยังขายสินค้าได้"
ผู้บริหารกล่าว
เจฟฟรีย์ โรว์ กล่าวถึงทิทางของสวีเดนมอเตอร์สในการทำตลาดรถยนต์วอลโว่ในไทยว่า
เรามุ่งหวังว่าอย่างน้อยภายในปี ค.ศ.2000 รถยนต์นั่งวอลโว่ จะกลับมาเป็นอันดับหนึ่ง
ในด้านความพึงพอใจของลูกค้า แต่ด้านยอดขายเรากำลังพยายามอยู่ และจะกลับมาเป็นอันดับหนึ่งของตลดารถยนต์หรูหราของเมืองไทยได้อีกหรือไม่นั้นคงกล่าวว่า
เป็นเรื่องยากลำบากพอสมควร แต่เราก็ยังมีความหวัง
อย่างไรก็ดี สวีเดนมอเตอร์ส ตั้งเป้าหมายว่าในปี ค.ศ.2000 ยอดจำหน่ายของวอลโว่ในไทยจะเพิ่มขึ้นเป็น
9,500 คันต่อปี โดยคาดว่าส่วนแบ่งตลาดรถยนต์หรูหราของวอลโว่จะอยู่ที่ 25%
ภายใต้โครงสร้างที่ปรับเปลี่ยนในครั้งนี้ เจฟฟรีย์ โรว์ กล่าวว่า จะทำให้สวีเดนมอเตอร์ส
ก้าวหน้า และพัฒนาไปอีกมาก แผนงานที่พอจะเป็นรูปร่างชัดเจนในขณะนี้ก็คือ
การพัฒนาสาขาที่มีอยู่ทั้งหมด 10 แห่งในเขตกรุงเทพมหานคร ให้บริหารงานในรูปแบบขององค์กรเอกเทศชัดเจน
รับเพียงนโยบายหลัก ๆ จากบริษัทเท่านั้น
การปรับการบริหารสาขาเช่นนี้จะช่วยให้ต้นทุนการดำเนินการชัดเจนขึ้น มีการแบ่งแยกรายได้รายจ่าย
ตั้งงบประมาณขึ้นมาแล้วดูแลกันเอง ขั้นตอนการดำเนินการก็จะกระชับขึ้น รวดเร็วขึ้น
และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้เห็นทั้งข้อดีข้อด้อยของแต่ละสาขา เพื่อที่จะปรับปรุงต่อไป
ซึ่งขั้นตอนการแบ่งแยกรายได้รายจ่าย และให้อำนาจในการตัดสินใจในกิจกรรมต่าง
ๆ นั้นจะสามารถเริ่มต้นได้ ภายในสิ้นปี พ.ศ.2540 นี้
เจฟฟรีย์ โรว์ กล่าวว่า วการจัดการให้งานบริหารสาขาออกมาในรูปลักษณ์คล้ายกับดีลเลอร์นั้น
ขณะนี้เริ่มใช้กันมากขึ้นในญี่ปุ่น และได้ประเมินออกมาแล้วว่า ได้ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นประมาณ
20%
ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่สวีเดนมอเตอร์ส กำลังพยายามปรับและอยู่ในแผนอันเกี่ยวเนื่องจากการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่นี้
และหลายสิ่งหลายอย่างนั้นจะเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้นภายในสิ้นปี พ.ศ.2540 นี้
1 ปีกว่าจากนี้คงได้รู้ว่า มีความเป็นไปได้แค่ไหนที่วอลโว่จะกลับมาเป็นรถยนต์หรูหราอันดับหนึ่งของตลาดเมืองไทย