|
9หุ้นไทยติดดัชนีFTSE/ASEAN40 เพิ่มน้ำหนักตลาดทุนเป็น15.35%
ผู้จัดการรายวัน(8 พฤษภาคม 2549)
กลับสู่หน้าหลัก
กลุ่ม FTSE ได้เพิ่มหุ้นไทยเข้าคำนวณดัชนี FTSE/ASEAN 40 จำนวน 9 หลักทรัพย์ โดยเพิ่มขึ้นอีก 3 หลักทรัพย์"แบงก์ไทยพาณิชย์-ทีพีไอ-แบงก์กรุงไทย" ส่งผลทำให้น้ำหนักหุ้นไทยเพิ่มเป็นกว่า 15.35% ในดัชนี FTSE/ASEAN 40
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า กลุ่ม FTSE ซึ่งเป็นผู้จัดทำดัชนี FTSE/ASEAN 40 ได้เพิ่มรายชื่อหลักทรัพย์ของไทยที่ใช้คำนวณดัชนี FTSE/ASEAN 40 อีกจำนวน 3 หลักทรัพย์ ทำให้จำนวนหลักทรัพย์รวมของไทยที่ถูกนำไปคำนวณในดัชนีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 9 หลักทรัพย์“ในการคำนวณดัชนี FTSE/ASEAN 40 ครั้งแรกนั้นมีหุ้นไทยจำนวน 6 หลักทรัพย์ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในการคำนวณดัชนี ส่วนอีก 34 หลักทรัพย์เป็นหุ้นที่กระจายอยู่ในตลาดอาเซียน 4 แห่ง ซึ่งได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์เบอร์ซ่ามาเลเซีย ตลาดหลักทรัพย์จาการ์ต้า ตลาดหลักทรัพย์ฟิลิปปินส์ และตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์
"เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กลุ่ม FTSE ได้ปรับปรุงรายชื่อหลักทรัพย์ที่ใช้ในการคำนวณดัชนี FTSE/ASEAN 40 ซึ่งปรากฎว่ามีหุ้นไทยสามารถผ่านเกณฑ์การคัดเลือกของ FTSE ทั้งเกณฑ์ด้านมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) และเกณฑ์สภาพคล่องของการซื้อขาย (Liquidity Screen) เพิ่มเป็น 9 หลักทรัพย์”นายเศรษฐพุฒิกล่าว
สำหรับหลักทรัพย์ของไทยที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อใช้คำนวณดัชนี FTSE/ASEAN 40 ได้แก่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (PTTEP) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (ADVANC) และบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCC)
ส่วนอีก 3 หลักทรัพย์ใหม่ที่เพิ่งได้รับคัดเลือกให้ร่วมในการ คำนวณดัชนี FTSE/ASEAN 40 ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) (TPI) และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) ส่งผลให้น้ำหนักหุ้นไทยเพิ่มเป็นกว่า 15.35% ในดัชนี FTSE/ASEAN 40
สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกหลักทรัพย์ที่ใช้ในการคำนวณดัชนี FTSE/ASEAN 40 ประกอบไปด้วยเกณฑ์ด้านมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) ที่ต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ และเกณฑ์สภาพคล่องของการซื้อขาย (Liquidity Screen) ซึ่งพิจารณาจากอัตราหมุนเวียนปริมาณการซื้อขาย (Turnover) ที่ต้องไม่น้อยกว่า 20% ของจำนวนหุ้นที่สามารถซื้อขายได้ภายหลังการปรับค่าการกระจายหุ้นให้แก่ผู้ลงทุนรายย่อยแล้ว (Free Float Adjusted) ในรอบ 12 เดือน ก่อนการพิจารณาปรับปรุงรายชื่อหลักทรัพย์ที่ใช้คำนวณดัชนี ทั้งนี้ รายชื่อหลักทรัพย์ในดัชนี FTSE/ASEAN 40 จะถูกปรับปรุงและประกาศในเดือนมีนาคมของทุกปี
กลุ่ม FTSE และตลาดหลักทรัพย์อาเซียน 5 แห่ง คือ ตลาดหลักทรัพย์เบอร์ซ่ามาเลเซีย ตลาดหลักทรัพย์จาการ์ต้า ตลาดหลักทรัพย์ฟิลิปปินส์ ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันเปิดตัวและใช้ดัชนี FTSE/ASEAN และ FTSE/ASEAN 40 ครั้งแรกอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสินค้าภายใต้แบรนด์ “อาเซียน” ให้โดดเด่น เป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับการลงทุน
ดัชนี FTSE/ASEAN 40 เป็นดัชนีเพื่อการซื้อขาย (Tradable Index) ที่สามารถนำไปใช้ในการสร้างสินค้าที่อ้างอิงดัชนีโดยตลาดหลักทรัพย์อาเซียนคาดว่าสินค้าตัวแรกที่จะอ้างอิงกับดัชนี FTSE/ASEAN 40 คือกองทุนอีทีเอฟ ทั้งนี้ ค่าของดัชนี FTSE/ASEAN 40 ได้ปรับเพิ่มขึ้นจาก 5,252.20 จุด ณ วันที่ 21 กันยายน 2548 เป็น 6,381.15 จุด ณ วันที่ 21 เมษายน 2549 หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้นถึง 21.5%
สำหรับดัชนี FTSE/ASEAN ถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมในการสร้างดัชนีแนวความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในห้าดัชนีซึ่งผ่านการตัดสินรอบสุดท้ายของการประกาศรางวัล William F. Sharpe Indexing Achievement Awards หมวด “ดัชนีใหม่เชิงสร้างสรรค์ที่ดีที่สุด” (Most Innovative Index) จัดโดยบริษัท IndexUniverse.com ในช่วงปลาย
กลับสู่หน้าหลัก
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.
|