|
ตีกรอบธุรกรรมชำระเงินผ่านอิเล็คทรอนิกส์ตั้งกำแพงป้องกันข้อมูลรั่วสร้างความเชื่อมั่น
ผู้จัดการรายสัปดาห์(24 เมษายน 2549)
กลับสู่หน้าหลัก
การชำระเงินทางอิเล็คทรอนิกส์ เป็นธุรกิจบริการที่นับวันจำนวนและปริมาณการใช้จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่การเติบโตที่เพิ่มขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็วหากไม่มีกรอบหรือกฎเกณฑ์ที่ขีดไว้อย่างชัดเจนอาจกลายเป็นผลกระทบที่ต่อความมั่นคงทางการเงิน ความน่าเชื่อถือและการยอมรับในระบบข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์ได้ และอาจสร้างความเสียหายให้แต่สาธารณะชน
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีนำมาซึ่งความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมการเงินผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์ ด้วยการสร้างความสะดวกสบายการชำระเงินในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าการหักบัญชี การใช้บริการผ่านเครือข่ายบัตรเครดิต การให้บริการสวิทส์ชิ่ง เป็นต้น ทุกกระบวนการล้วนทำได้ง่ายโดยผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์
ปรีชา ปรมาพจน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตรวจสอบความเสี่ยงและเทคโนโลยีฯ ธนาคารแห่งประเทศไทย เล่าถึงหลักการและเหตุผลที่ต้องสร้างกรอบและกฎเกณฑ์เพื่อคุมครองผลประโยชน์ของผู้บริโภค รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นและความปลอยภัยให้กับข้อมูลที่ต้องผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์ อันจะช่อยก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการกำกับดูแล
ประกอบกับเพื่อให้มาตรการกำกับดูแลเป็นมาตรการสำคัญประการหนึ่งในการสร้างความน่าเชื่อถือสำหรับการประกอบการ อันจะเป็นการส่งเสริมการใช้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันของภาคธุรกิจหรือการให้บริการของภาครัฐ
ร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อการกำกับดูแลธุรกิจบริการชำระเงินทางอิเล็คทรอนิกส์ ถูกร่างขึ้นโดยคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์ สืบเนื่องจากเพื่อเป็นการรักษาความมั่นคงทางการเงินและการพาณิชย์เพื่อเสริมสร้างความเชื่อถือและยอมรับในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อสาธารณะชน
แหล่งข่าวจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ ยกตัวอย่างให้ฟัง เช่นการให้ความคุ้มครองเอกสารอิเล็คทรอนิกส์ (e-document) ปัจจุบันยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการได้ เพราะความกังวลว่าข้อมูลดังกล่าวอาจมีการถูกเปลี่ยนแปลงและเป็นการพิสูจน์ความถูกต้องได้ยาก
"อย่างเคสหนึ่งที่เคยเกิดขึ้น มีผู้ได้รับความเสียหายจากเอกสารอิเล็คทรอนิกส์ เมื่อต้องการเอาเรื่องคู่กรณีจึงปริ้นเอกสารจากอีเมล์มาเพื่อประกอบหลักฐาน แต่เอกสารดังกล่าวก็ได้รับปฏิเสธจากคู่กรณีว่าไม่เป็นความจริง เพราะช่องโหว่ของธุรกรรมดังกล่าวคือข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายทำให้ยากต่อการสูนจ์ในชั้นศาล"
แหล่งข่าว กล่าวอีกว่าด้วยเหตุผลเช่นนี้เองการสร้างความเชื่อมั่นในระบบและการกำกับดูแลจึงเป็นส่วนที่สำคัญมาก เพื่อให้ศาลมั่นใจนำไปสู่การพิพากษาเพราะเป็นเอกสารที่ถูกต้องและสามารถรับรองได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญต่อความมั่นคงทางข้อมูลและเป็นการป้องกันความสูญเสียและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสาธารณะชน
นอกจากนนี้ในส่วนของภาคธุรกิจได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ การชำระเงินผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์ว่าเป็นสิ่งที่จะมีความสำคัญอย่างมากในอนาคต และเป็นแนวโน้มที่จะมีการใช้บริการดังกล่าวมากขึ้นด้วย เพราะไม่เพียงสะดวกสบาย แต่ยังลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจด้วย เช่นการชำระผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์อาจเสียแค่ค่าธรรมเนียมการใช้บริการ แต่ถ้าถ้าเทียบกับการชำระด้วยเงินสดบริษัทจะมีค่าดำเนินการหรือต้นทุนที่สูงกว่า เพราะต้องมีการตืดต่อกับลูกค้าโดยตรงผ่านทาง จดหมาย โทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งบริการดังกล่าวล้วนเป็นต้นทุน ดังนั้นสำหรับภาคธุรกิจแล้วแนวโน้มการใช้บริการผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์จะมีมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เอกสารอิเล็คทรอนิกส์ เป็นเพียงตัวอย่างที่ยกขึ้นมาเพื่อให้เห็นภาพของปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน โดยในส่วนของกฎหมาย และหลีกเกณฑ์การควบคุมดูแลเอกสารอิเล็คทรอนิกส์ จะเป็นคนละฉบับกับร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อการกำกับดูแลธุรกิจบริการชำระเงินทางอิเล็คทรอนิกส์
โดยขอบเขตบังคับของพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้บังคับการให้บริการใด ๆ ที่ส่งผลให้มีการชำระเงินทางอิเล็คทรอนิกส์ ซึ่งครอบคลุมธุรกิจบริการที่เป็นการชำระเงินทางอิเล็คทรอนิกส์โดยตรงเช่น การให้บริการเงินอิเล็คทรอนิกส์(e-Money) การให้บริการรับชำระเงินแทน (Payment Service Provider) เป็นต้น
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ก้าวไปอย่างรวดเร็วเหมือนดาบ 2 คม ที่ด้านหนึ่งให้คุณด้วยการให้ความอำนวยสะดวกรวดเร็วและทันใจ แต่อีกด้านหนึ่งกลับเป็นตัวที่สามารถทำลายความมั่นคงทางการเงินหรือการพาณิชย์ได้เช่นกัน การออกพระราชกฤษฎีกา ก็เพื่อที่จะป้องกันและลดความศูนย์เสียที่เกิดขึ้น
กลับสู่หน้าหลัก
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.
|