แซนฟอร์ด ไวลล์แห่งซิตี้กรุ๊ป ยิ่งสูงยิ่งหนาว!?

โดย รุ่งมณี เมฆโสภณ
นิตยสารผู้จัดการ( พฤศจิกายน 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

ผู้คนในแวดวงการเงินโลกไม่มีใครไม่รู้จักชื่อนี้...

แซนฟอร์ด ไอ. ไวลล์ (Sanford I. Weill)

ปัจจุบันไวลล์ดำรงตำแหน่งประธาน และซีอีโอ (CEO) ของซิตี้กรุ๊ป (Citigroup) สถาบันการเงินอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา โดยก่อนหน้านี้เขายังมีจอห์น รีด (John Reed) ร่วมเป็นผู้บริหารสูงสุดด้วย แต่วันนี้อำนาจทั้งหมดอยู่ในมือของไวลล์อย่างเบ็ดเสร็จ

ไม่น่าเชื่อว่า จากโบรกเกอร์ตัวเล็กๆ เขาจะใหญ่ได้ขนาดนี้

ไวลล์เติบโตมาในย่านเบนสันเฮิสต์ และไมอามีบีช แม้ภาพของเขาจะออกมาในทำนอง ที่ว่าสร้างตัวมาจากไม่มีอะไรจนมีอะไร แต่น้องสาวของเขาเล่าว่า ครอบครัวไวลล์มีอันจะกิน พ่อ ซึ่งเกิด ที่โปแลนด์เป็นเจ้าของโรงงานผลิตเสื้อผ้า มีรถคาดิลแล็กขับ ตัวของแซนฟอร์ด หรือ แซนดี ไวลล์เองก็ได้เข้าเรียน ที่ Peekskill Military Academy

ไวลล์เป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell) จบการศึกษาในปีค.ศ.1955 เขาไม่ได้เป็นนักเรียนชั้นเยี่ยมของ ที่นั่นก็จริง แต่เขาเป็นศิษย์เก่า ที่โด่งดังในเวลาต่อมา และเขาได้ทดแทนสถาบันการศึกษาแห่งนี้ ด้วยการบริจาคเงินให้กับคณะแพทยศาสตร์ของคอร์เนลล์ในจำนวน ที่สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐ

การหย่าร้างกันของบุพการีเป็นความขมขื่นของไวลล์... โจน (Joan) - ภรรยาของเขาตั้งข้อสังเกตว่า ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้ครอบครัวมีความสำคัญสำหรับไวลล์มาก และไวลล์ยังได้นำเอาวัฒนธรรมนี้มาใช้กับ ที่ทำงานของเขาทุกแห่งอีกด้วย ในการว่าจ้างเจ้าหน้าที่ระดับสูงหรือการเจรจาธุรกิจครั้งสำคัญๆ จะต้องมีการพบปะกับภรรยาของบุคคลเหล่านั้น ด้วยเสมอ

ว่ากันว่า ทีแรกครอบครัวของภรรยาไม่ค่อยชอบใจนัก ที่จะได้ไวลล์มาเป็นลูกเขย เพราะตอน ที่เขาเพิ่งได้รับการโปรโมตให้เป็นโบรกเกอร์ ที่วอลสตรีทนั้น โจน ไวลล์เพิ่งเป็นคุณแม่ยังสาว ที่ต้องคอยหมุนเงินค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนให้พอ เรียกว่าชักหน้าไม่ค่อยจะถึงหลัง

ในปี 1960 ไวลล์ ซึ่งตอนนั้น อายุได้ 27 ปีก็ได้ร่วมกับอาร์เธอร์ คาร์เตอร์ (Arthur Carter) เปิดบริษัทนายหน้าค้าหลักทรัพย์ โดยมีหุ้นส่วนอีก 2 คน คนหนึ่งเป็นนักเขียนเพลงโรเจอร์ เบอร์ลินด์ (Roger Berlind) และอีกคนหนึ่งคือ ปีเตอร์ โปโตมา (Peter Potoma) ตั้งเป็นบริษัท Carter, Berlind, Potoma & Weill โดยที่ไวลล์ไปยืมเงินแม่จำนวน 30,000 เหรียญสหรัฐมาลงหุ้น--นี่คือ จุดเริ่มต้นการทำธุรกิจของเขา

ผู้ที่เคยร่วมงานตอนนั้น บอกว่า ไวลล์มักจะนั่งเคี้ยวซิการ์เงียบๆ อยู่ข้างหลังเสมอ แต่ทักษะ ที่โดดเด่นของเขาคือ โน้มน้าวใจลูกค้าได้เก่ง

ระหว่างนั้น ไวลล์เรียนรู้การทำงานมากขึ้น กระทั่งถึงปี 1968 คาร์เตอร์ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งต้องการที่จะฮุบบริษัท อาร์เธอร์ เลวิตต์ (Arthur Levitt) ซึ่งทำงานอยู่ด้วยได้ลุกขึ้นมาต่อต้าน และบีบให้คาร์เตอร์ออกไป และปรับโครงสร้างผู้บริหารใหม่โดยมีเลวิตต์ และมาร์แชล โคแกน (Marshall Cogan) เข้ามาแทน ที่ บริษัทนี้จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Cogan, Berlind, Weill & Levitt

ปัจจุบันเลวิตต์เป็นประธานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ คาร์เตอร์เป็นเจ้าของ และผู้พิมพ์ผู้โฆษณาของ The New York Observer ขณะที่เบอร์ลินด์เป็นโปรดิวเซอร์ชื่อดังของบรอดเวย์ เลวิตต์ย้อนอดีตว่าไวลล์นั้น เป็นคนที่ไม่เคยยอมแพ้!

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ผู้ที่ทำงานใกล้ชิดกับไวลล์คือ ปีเตอร์ โคเฮน (Peter Cohen) ได้เข้าซื้อกิจการของบริษัทหลายต่อหลายบริษัทด้วยกัน รวมทั้ง H. Hentz &Co. และ Shearson Hamill and Loeb Rhoades รูปแบบก็คือ เข้าซื้อกิจการบริษัท ที่ย่ำแย่ทางธุรกิจ หลังจากนั้น ก็จัดการเรื่องต้นทุน และค่าใช้จ่าย เอาสิ่งที่ใหม่ และดีไว้ และโละทิ้งธุรกิจ ที่ไม่เข้าท่าเข้าที

ผู้ที่เคยใกล้ชิดคนหนึ่งบอกว่า การที่ไวลล์เป็นคนที่วิตกจริตตลอดเวลานี่เอง ที่ทำให้เขามีชื่อเสียงในวงการว่าเป็นพวก ที่ไม่ยอมเสี่ยง ซึ่งก็ไม่ค่อยตรงเท่าใดนัก ขณะที่บางคนก็บอกว่า ไวลล์เป็นคนที่ขาดความมั่นใจโดยพื้นฐาน ทำให้เขากลายเป็นคนประเภท perfectionist

พอถึงคริสต์ทศวรรษ 1980 เขาสนใจ ที่จะรวมกิจการกับ American Express และในการทำธุรกิจคราวนี้เขาดันโคเฮนพ้นจากวงโคจร โดยตัวไวลล์เองมาเป็นเบอร์ 2 ของเอเม็กซ์รองจากเจมส์ ดี. โรบินสัน ที่สาม (James D. Robinson 3d) ขณะเดียวกัน เขาก็ได้ผู้ใกล้ชิดคนใหม่ชื่อเจมส์ ไดมอน (James Dimon) ซึ่งจบปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจากฮาร์วาร์ด

ไดมอนเรียกได้ว่าเป็น "คู่บุญ" ของไวลล์ และเป็นอยู่นาน...

ทั้งคู่ร่วมกันดำเนินธุรกิจชนิดเคียงบ่าเคียงไหล่ ในปี 1988 ไวลล์ซื้อกิจการ Primerica Corporation ซึ่งเป็นเจ้าของ Smith Barney และในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ไวลล์ก็ได้ครอบครองกิจการ Travelers หลังจากนั้น ได้มีการเจรจา เพื่อรวมกิจการกับ J.P. Morgan แต่ไม่ลงตัว โดยเฉพาะการที่ผู้บริหารของมอร์แกนต้องการให้ไวลล์วางมือ หลังจาก ที่พ้นระยะผ่านของการรวมกิจการแล้ว แม้การเจรจากับ J.P. Morgan จะล้มเหลวแต่ก็มี Salomon เข้ามาขอเจรจาด้วยพอดี และก็เรียบร้อยโรงเรียนไวลล์

เป้าหมายต่อไปของไวลล์ก็คือ ซิตี้กรุ๊ป ที่เขาหมายตาอยู่หลายปีแล้ว

จอห์น รีด (John Reed) ผู้บริหารของซิตี้กรุ๊ป ซึ่งตอนนั้น อายุ 59 และคิดจะวางมือในเวลาอีกไม่นาน และคิดเอาเองว่าไวลล์ ซึ่งอายุมากกว่าเขาก็น่าจะคิดเกษียณเหมือนกัน

ในที่สุดไวลล์สามารถผนวกอาณาจักรของเขากับซิตี้กรุ๊ปสำเร็จ

และแล้วประวัติศาสตร์ก็ซ้ำรอยเดิม สถานการณ์ ที่ไดมอนเผชิญไม่ผิดไปจากเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นกับโคเฮนเมื่อ 16 ปีก่อน

และท้ายที่สุด ไดมอนถูกเรียกตัวไปพบในวันอาทิตย์ เพื่อขอให้ลาออก

ปัจจุบันไดมอนเป็นประธาน และซีอีโอของ Bank One Corp

บางคนมองว่า การจากไปของไดมอนทำให้ชีวิตของไวลล์ ที่ซิตี้กรุ๊ปซับซ้อนน้อยลง แต่ก็มีผู้มองว่า ไม่มีใคร ที่ตรงไปตรงมา และกล้าขัดใจไวลล์อย่างไดมอนอีก คนรอบตัวมีแต่เกรงใจเขาทั้งสิ้น แม้กระทั่งโรเบิร์ต รูบิน (Robert Rubin) อดีตรัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ซึ่งเข้ามาดูด้านยุทธศาสตร์ให้กับซิตี้กรุ๊ป

จอห์น รีด และแซนฟอร์ด ไวลล์ ร่วมกันเป็นผู้บริหารสูงสุดของซิตี้กรุ๊ป

ยิ่งนานวัน ความแตกต่างทั้งทางด้านวัฒนธรรมองค์กร และตัวผู้บริหารทั้งสองคนก็ปรากฏให้เห็นเด่นชัดยิ่งขึ้น รีดเป็นคนเก็บตัว มักจะอยู่แต่ในห้องทำงาน และติดต่อสื่อสารในองค์กรด้วยการใช้บันทึก ขณะที่ไวลล์เป็นประเภทชอบสังสันทน์ มักจะเห็นเขาไปงานแต่งงาน และงานศพของครอบครัว เพื่อนร่วมงานอยู่เสมอ อีกทั้งยังชอบรับโทรศัพท์เองโดยไม่ยอมให้เลขานุการกลั่นกรองก่อนแบบผู้บริหารคนอื่นๆ จนมีผู้วิจารณ์ว่า เขาบริหารงานด้วยข่าวซุบซิบภายในองค์กร

ความแตกต่างในที่สุดก็นำมา ซึ่งความแตกแยก

ต้นปีนี้ รีดตัดสินใจเกษียณตัวเอง... ในระหว่าง ที่มีงานเลี้ยงอำลาให้กับรีด ปรากฏว่าไวลล์ไปอยู่ ที่บราซิล

สำหรับแซนฟอร์ด ไวลล์วัย 67 ยังไม่มีการพูดถึงเรื่องเกษียณอายุ โดยเฉพาะในยาม ที่ซิตี้กรุ๊ปอยู่ในมือเขาเต็มมือเช่นนี้ เขาสามารถทำให้ธุรกิจทุกตัวในอาณาจักรของเขาเกื้อกูล และถักทอเป็นเนื้อเดียวกันได้อย่างบรรเจิดเกินความคาดหมายของตลาด แต่หลายคนก็มองว่า สถานการณ์เปลี่ยนไป อาณาจักรของเขาใหญ่ขึ้น ไวลล์จำเป็นต้องปรับตัว จะบริหารแบบเดิมๆ ต่อไปไม่ได้อีกแล้ว นับเป็นการท้าทายอีกครั้งสำหรับไวลล์

เขามีเวลาอีกอย่างน้อย 3 ปี ถ้าจะไปวางมือเอาตอน ที่อายุ 70

ไวลล์มีบุตรชายหญิง 2 คน ซึ่งเขาต้องการอย่างมาก ที่จะให้เติบโตภายใต้ร่มเงาของเขา มาร์ก (Marc) ลูกชาย ที่ตอนนี้อายุ 43 ยังคงช่วยงานอยู่ ขณะที่เจสซิกา (Jessica) ลูกสาววัย 40 ครั้งหนึ่งเคยทำงานให้พ่อ แต่เมื่อค้นพบว่าไม่ใช่สิ่งที่เธอต้องการก็ได้ลาออกไปพร้อมกับวาทะ ที่ว่า เพื่อ ที่เราจะได้กลับมาเป็นพ่อลูกกันอีก...

แม้จะมีผู้มองว่า ยิ่งไวลล์ใหญ่ขึ้นเท่าใดเขายิ่งโดดเดี่ยวมากขึ้นเท่านั้น

แต่ไวลล์ก็คงไม่รู้สึกเช่นนั้น โดยเฉพาะเมื่อมีโจน-ศรีภรรยาเคียงข้าง

เพราะสำหรับเธอแล้วเขามาเป็นอันดับหนึ่งเสมอ!

 



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.