"วิกฤติและโอกาส" การปฏิรูปการศึกษาและสังคมไทย
รายงานสภาวะการศึกษาไทยปี 2541



นิตยสารผู้จัดการ( มกราคม 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

เรากำลังต้อนรับปีใหม่ ก้าวสู่สหัสวรรษหน้า ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง และสำหรับประเทศไทย การก้าวสู่ปีค.ศ.2000 ไม ่ใช่เรื่อง ที่เราจะมาเฉลิม ฉลองวาระนี้ด้วยความหฤหรรษ์ แต่น่าจะเป็นปีแห่งการทบทวน หยุดคิด ประเมินสถานภาพของเราเสียใหม่

ด้วยเหตุผลนี้ จึงต้องเลือกหนังสือเล่มนี้ เพื่อให้ได้หยุดทบทวน และ แสวงหาข้อมูลที่ผ่านมาว่าฐานะของประเทศขณะกำลังเผชิญวิกฤติอย่างไร

วิทยากร เชียงกูลรับงานนี้ผ่านงบวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ โดยตั้งวัตถุประสงค์ไว้ว่าจะรายงานสถานภาพ ปัญหา และ ผลการดำเนินงาน จัดการศึกษาแก่ประชาชน หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ที่ ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการศึกษา เพื่อกระตุ้นให้เกิด ความสนใจ และเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาการศึกษา

วิทยากรรวบรวมข้อมูลไว้มาก และวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะนักวิจัย ที่ สังเกตการณ์สถานะของบ้านเมือง แล้วแบ่งบทย่อยออกเป็น 5 บท โดย เกริ่นถึงการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งเน้นสถานะของประเทศไทยในสังคมโลก ซึ่งเป็นบทชี้ว่าวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540-2541 ไทยต้อง ล้มละลาย ลดการผลิตมีการเลิกจ้าง ลดเงินเดือน รัฐบาลเก็บภาษีได้น้อย งบประมาณถูกตัดออกไป ขณะที่รายจ่ายเพิ่มขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งรัฐตัดทอนงบด้านการศึกษา ทั้งหมดชี้ชัดว่าเราตกอยู่ในวิกฤติ แต่ไม่เคยปร ากฏว่าในจังหวะนี้เราแปรวิกฤติให้เป็นโอกาส

ข้อมูลที่บ่งบอกถึงความตกต่ำอย่างน่าใจหายประกอบด้วยขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในปี 2541 ไทยตกไปอยู่ลำดับที่ 39 ลดลง อย่างฮวบฮาบจากปี 2540 ซึ่งไทยอยู่ในลำดับที่ 29

ดรรชนีการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติไทยอยู่ลำดับที่ 59 ของประเทศทั่วโลก และเป็นลำดับต่ำกว่าประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันมากกว่า 30 ประเทศ ทั้งๆ ที่หากเทียบขนาดประชากร และผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติแล้วไทยอยู่ในประเภทของประเทศใหญ่ลำดับ 16-17

ความสามารถหรือศักยภาพด้านการศึกษาของไทยวัดจากวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทยก็ยังอ่อนกว่านักเรียนในภูมิภาค เดียวกันเช่น ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน เวียดนาม และสิงคโปร์

หัวข้อหรือประเด็นต่อมาคือ สถานภาพ และปัญหาของการศึกษาไทย ในปี 2541 ซึ่งการรับนักเรียนระดับพื้นฐานในปีการศึกษา 2541 ลดลง นักเรียนไม่ได้เรียนต่อทุกช ั้นทั้งสิ้นจาก 12.9 ล้านเหลือ 12.7 แต่นักเรียนนอกระบบโรงเรียนกลับลดลงร่วมล้านคน

แม้ในรอบปี 2541 ความพยา-ยามจะปฏิรูปการศึกษาของหน่วยงาน ที่รับผิดชอบในหลายๆ ด้าน ทั้งในแง่การพัฒนาครู การขยายโอกาสการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนการพัฒนาการเรียนการสอน และผลักดันร่าง พระราชบัญญัติการศึกษาฉบับใหม่ แต่กระบวนการประสานโครงการไม่มี มี แต่ทำกันในลักษณะต่างคนต่างทำ

หัวข้อต่อมาคือ "ทัศนคติ และบทบาทของประชาชนในการหาทางเลือกใหม่ในการศึกษา" วิทยากร เชียงกูล อ้างความคิดเห็นประชาชน (สวนดุสิต โพล) สะท้อนว่าประชาชนร้อยละ 60 ยังไม่พอใจต่อการจัดการศึกษาของไทย ระบบการศึกษาไทยไม่ดีพอ มาตรฐานต่างกันมาก มีเส้นมีสาย และ ค่าใช้จ่ายสูง

จุดที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ก็คือ ครูอาจารย์ ควรมีคุณภาพ และจรรยาบรรณมากขึ้นรองลงมาคือ ปรับปรุงหลักสูตร และการเรียน การสอน

ที่ร้ายแรงมากได้แ ก่ภาพสะท้อนว่าเด็กนักเรียนมีปัญหาจากครอบครัว และจากครู เด็กเกิดความทุกข์ไม่เป็นสุขจากการเรียน

ประเด็นต่อมาคือ "เราจะทำให้การปฏิรูปการศึกษา และการปฏิรูปสังคม เป็นจริงได้อย่างไร"

วิทยากรชี้ว่ากรอบล้าหลังมีทั้งการมุ่งเพิ่มปริมาณสินค้ามากกว่าคุณ ภาพชีวิตตามระบบทุนนิยม นอกจากนั้น กรอบคิด ที่เน้นอภิสิทธิ์ และการหา ประโยชน์ส่วนตัว กลายเป็นความชอบธรรม

ข้อมูลในหนังสือเล่มนี้ถือได้ว่าดี ที่สุ ดมีแผนภาพเกี่ยวกับเศรษฐกิจ และข้อมูลทางการเงิน ไปจนถึงข้อมูลเชิงสังคมเช่น การแพร่ระบาดของยาบ้า ซึ่ง เพิ่มอย่างน่าตกใจระหว่างพ.ศ.2538-2541

ตารางเปรียบเทียบผู้ว่างงานรวมทั้งประเทศ ชี้ให้เห็นถึงปัญหาแรงงาน ซึ่งเป็นผลพวงทางเศรษฐกิจตกต่ำ

ยังมีตารางค่าใช้จ่ายด้านการวิจัย และพัฒนาของประเทศต่างๆ ในเอ เชียในปีพ.ศ.2539 ข้อมูลเปรียบเทียบกยรลงทุนทางการศึกษาของประเทศ ที่มีอันดับการพัฒนามนุษย์สูงกับประเทศไทยปี 2538 ข้อมูลเปรียบเทียบผลการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกนานาชาติ ระหว่างประเทศในแถบเอเชีย กับประเทศไทย ข้อมูลเดียวกันกรณีผลการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิก และ เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยในการทดสอบวิชาคณิต ศาสตร์ ฯลฯ

กล่าวได้ว่าหนังสือให้ข้อมูลความจริงมากที่สุด และข้อมูลเหล่านี้ผู้อ่านก็สามารถมีวิธีวิเคราะห์ ที่แตกต่างไปจากวิทยากร เชียงกูล ได้ แต่วิทยา กรให้ภาพการเปลี่ยนแปลงของโลกกับสถานะของไทยได้ชัดเจน เช่นการวิเคราะห์ความล้มเหลวทางเศรษฐกิจว่ามันมีปัญหามาจากโครงสร้าง ซึ่งเรา มุ่งการเจริญทางวัตถุ และการใช้ทรัพยากรของชาติ โดยผลาญให้สูญเสียมากกว่าคำนึงถึงความยั่งยืนในการพัฒนา

วิกฤติเศรษฐกิจลามไปถึงปัญหา สังคม ที่ชัดเจนที่สุดก็คือ การแพร่ยา บ้า ซึ่งเริ่มจากภาคกลางได้ขยายตัวในปีเดียว คลุมพื้นที่เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 300 เปอร์ เซ็นต์ ในปี 2540 การแพร่ระบาดยาบ้าคลุมถึงทุกพื้นที่ของประเทศ ในปี 2541 ความรุนแรงของยาบ้ากระจายตัวอย่างรวดเร็ว

ประเด็นน่าสนใจที่สุด ที่วิทยากร เชียงกูล พยายามจะชี้ให้เห็นก็คือ ท่ามกลางวิกฤตินี้ ไทยขาดศักยภาพ ที่จะแปรวิกฤติให้เป็นโอกาส

แต่สิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดก็คือ เศรษฐกิจทางเลือกเช่น การพัฒนา ที่พึ่งตนเอง เศรษฐกิจพอเพียง การลดการบริโภคสินค้าต่างชาติ ที่ฟุ่มเฟือย

น่าเสียดาย ที่แม้แต่ระดับนำของรัฐบาลก็ไม่ได้ใช้โอกาสวิกฤตินี้สร้างพื้นฐานของชาติให้สอดคล้องกับวิธีคิดใหม่ๆ วิทยากรชี้ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย เป็นไปในลักษณะพึ่งพิงการลงทุนการค้าระหว่างประเทศเป็นสัดส่วนสูงกว่าเมื่อ 40 ปีที่แล้วมาก และสูงกว่าหลายประเทศ

ผลกระทบเศรษฐกิจกระเทือนต่อระบบการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจในการพัฒนามนุษย์ ซึ่งเกี่ยวโยงโดยตรงต่อคุณภาพแรงงาน และศักยภาพในการ แข่งขันในอนาคต

ปัญหาการพัฒนาสังคม ที่จะแข่งขันได้ต้องเป็นการพัฒนาสร้าง คนให้รู้จักคิด ปัจจุบันสังคมป้อนตลาดแรงงาน และผลิตทรัพยากรบุคคล เพื่อรับใช้ ระบบการผลิต ที่ไม่ต้องใช้ระบบความคิด

เหตุ ที่ต้องแนะนำให้มีการศึกษา และอ่านรายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2541 ก็เพราะผู้วิจารณ์เชื่อว่าผู้อ่านจะรับทราบถึงศักยภาพ ที่แท้จริงทั้ง ด้านเศรษฐกิจสังคม และข้อมูลทรัพยากรมนุษย์ เมื่อรู้แล้วจะได้ก้าวเข้าไปหาปี 2000 ด้วยการเห็นภาพ ที่ถูกต้อง

ถ้าความรู้เป็นอำนาจ ความรู้ ที่ถูกต้องย่อมหมายความว่าอำนาจนี้เมื่อนำไปใช้ย่อมได้ผลที่ถูกต้องด้วย

นักธุรกิจ, นักลงทุน, นักการศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไปควรรับรู้ ข้อมูลเช่นนี้ เพื่อนำไปคิด และนำไปเป็นพื้นฐานในการประกอบการทำธุรกิจ ที่มั่นคงต่อไป

กลับสู่หน้าหลัก


Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.