บริษัทที่ปรึกษา ถึงเวลาออนไลน์

โดย ฐิติเมธ โภคชัย
นิตยสารผู้จัดการ( พฤศจิกายน 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

บริษัทที่ปรึกษาถึงเวลาปรับตัวทำธุรกิจผ่านเว็บแล้ว หลังจากที่ธุรกิจแทบทุกแขนง เข้าแถวทำธุรกิจออนไลน์กันหมด

ปัจจุบันกล่าวได้ว่า ไม่มีธุรกิจใด ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากพลังของอินเทอร์เน็ต หรืออี-บิสซิเนส ผลกระทบ ที่มีต่อธุรกิจต่างๆ มักจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งบริษัทในแต่ละธุรกิจจะต้องเผชิญหน้ากับการหาหนทาง ที่จะตอบสนองความต้อง การของลูกค้า

ตลอดจนการแข่งขันในตลาดที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับบรรดาบริษัทที่ปรึกษา ที่กระโดดเข้ามาให้บริการที่ปรึกษา อี-บิสซิเนสแก่ลูกค้าอันจะนำไปสู่ความสำเร็จของลูกค้า

สำหรับประเทศไทย เหล่าบริษัทที่ปรึกษา โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติระดับยักษ์ ต่างให้ความสนใจเสนอบริการให้ลูกค้า ในรูปแบบอี-บิสซิเนส เห็นได้จากแต่ละบริษัทจัดตั้งธุรกิจฝ่าย อี-บิสซิเนสขึ้นมาทุกแห่ง

"นี่คือการเตรียมพร้อม คือ บริษัทที่ปรึกษาขายบริการ เวลานี้ลูกค้าเริ่มทำธุรกิจแบบอี-บิสซิเนสมากขึ้น เมื่อเรามีฐานลูกค้าอยู่ เขาก็เริ่มบอกเราว่าอี-บิสซิเนส เป็นสื่อกลางในการทำธุรกิจ ฉะนั้น บริษัทที่ปรึกษาก็เตรียมการ เมื่อตลาดเปิดพวกเราก็เข้าไปหาลูกค้า นี่คือ จุดเริ่มต้น ที่ผลักดันให้บริษัทที่ปรึกษาเข้ามาให้บริการอี-บิสซิเนส" ดร.ธวัช ภูษิตโภยไคย ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัทที่ปรึกษาธุรกิจอาร์เธอร์ แอนเดอร์เซ่น กล่าว

ปัจจุบันยอมรับว่าผู้ประกอบการต้องพึ่งบริษัทที่ปรึกษา มากกว่าในอดีต เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีข้อมูลอย่างชาญฉลาดเป็นประเด็นสำคัญ ที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้ และบริษัท ธุรกิจทั่วไปก็ไม่สามารถดูแลเรื่องนี้ได้โดยลำพัง

"อี-บิสซิเนส เป็นเรื่องของการปรับรูปแบบของธุรกิจ เปลี่ยนวิธีการดั้งเดิมไปสู่รูปแบบหนึ่ง" สุนทร เด่นธรรม พาร์ตเนอร์ ดูแลด้านการบริหารความเสี่ยงของบริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส (PwC) ประจำประเทศไทยกล่าว

ด้านลีนา เมธีดล กรรมการผู้จัดการ และกรรมการบริหารกลุ่มปฏิบัติการด้านกระบวนการทางธุรกิจแห่งแอนเดอร์ เซ่น คอนซัลติ้ง ประเทศไทยบอกว่า ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการประชาสัมพันธ์ และตื่นตัวการใช้อินเทอร์เน็ตทั้งทางธุรกิจ และไม่ใช่ทางธุรกิจกันมาก

"การส่งเสริมในแง่ของภาคเอกชน และรัฐเกิดขึ้นมาก เป็นจุดที่ทำให้คนกระตือรือร้น แต่เมื่อมองเข้าไปลึกแล้วในแง่ของธุรกรรมทางธุรกิจ ที่เกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ตน้อยมาก"

อย่างไรก็ตาม นี่คือ แนวโน้มที่ดีจากการแข่งขันเสรีทาง การค้า ดังนั้น เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ประกอบการคนไทยจะไม่เข้าไปทำธุรกิจในรูปแบบอี-บิสซิเนส "สำหรับบริษัทที่ปรึกษาแล้ว ปีนี้จะเริ่มเห็นแนวความคิดการให้บริการที่ปรึกษาแก่ลูกค้าในเรื่องของอี-บิสซิเนสมากขึ้น" ลีนากล่าว

หลังจากที่บริษัทที่ปรึกษาเคยเป็นผู้ช่วยลูกค้า ในการนำคำปรึกษาลงสู่การปฏิบัติ ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีข้อมูล ไปปฏิบัติโดยการหาระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มาใช้งาน โครงการทำงานทำนองนี้เคยทำรายได้ให้กับบริษัทที่ปรึกษาทั้งในแง่ค่าชั่วโมง ที่ปรึกษานับพันๆ ชั่วโมง หรือคิดเป็นค่าธรรม เนียมรวมสำหรับโครงการทั้งหมด

ในยุคอินเทอร์เน็ต บริษัทลูกค้าต้องการความช่วยเหลือ มากกว่านั้น และต้องการสิ่งที่แตกต่างจากเดิมด้วย เช่น ลูกค้า อาจต้องการให้ช่วยนำธุรกิจเข้าสู่อีคอมเมิร์ซจากพื้นฐานเดิม ที่ไม่มีอะไรมาก่อน และมอบหมายภารกิจนี้ให้เป็นหน้าที่ของ ที่ปรึกษาทั้งหมด และต้องการความรวดเร็วด้วย

ลูกค้าบางคนต้องการมากกว่านั้น นอกจากจะให้ ที่ปรึกษาช่วยจัดตั้งอี-บิสซิเนสแล้วยังต้องการตัวผู้บริหารด้วย เมื่อถึงจุดนั้น ที่ปรึกษาก็จะไม่เหมือน ที่ปรึกษาในแบบ ที่เคย เป็น แต่มีบทบาทคล้ายกับการทำเวนเจอร์ แคปปิตอลมากกว่า

"ค่าตัวของคนไอที หรือ ที่ปรึกษาสูงมาก เพราะพวกนี้ขายไอเดีย และแต่ละคนมีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัวในด้านการพัฒนาการ ในอนาคตมีความสำคัญสูงมากภายใต้ระบบเศรษฐกิจยุคใหม่ อี-บิสซิเนส" ดร.ธวัชบอก

เหตุผลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจต่างๆ ต้องการความเร่งด่วนในการเข้าสู่โลกธุรกิจในรูป อี-บิสซิเนส ขณะที่บริษัทที่ปรึกษามองเห็นภาพโอกาสทางธุรกิจ ที่บริษัทกำลังแข่งขันช่วงชิงกันอยู่ คือ บริษัทที่ปรึกษาเล็งจะเข้าช่วงชิงส่วนแบ่งผลประโยชน์ก้อนโตนี้ต่างเริ่มพัฒนาโครงการด้านอี-บิส ซิเนสให้กับลูกค้าไม่ว่าจะเป็นบริษัทเล็กหรือใหญ่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และนำมาใช้งานจริงได้

"ทุกวันนี้ลูกค้าคนไหน ที่มาปรึกษาเรา จะมีอินเทอร์เน็ต เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ" ชาราด แอพเต้ ผู้จัดการแอล.อี.เค. คอน ซัลติ้ง ประเทศไทยกล่าว ดังนั้น จึงสังเกตได้ว่าหากลูกค้าคนไหนเดินเข้าไปบริษัทที่ปรึกษา พวกเขาจะทำตัวเป็นอินเทอร์เน็ต คอนซัลแทนต์

จากนี้ไปการดำเนินธุรกิจทุกคนจะต้องมุ่งเข้าสู่ อี-บิสซิเนส และคงเป็นไปไม่ได้ ที่จะไม่เข้าไปในวงจร อีคอมเมิร์ซ เนื่องจากไทยเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกยุคใหม่

"ถ้าเขาไม่เข้าไปทำธุรกิจแบบใหม่เขาจะรู้สึกว่าไม่ได้อยู่ในวงจรการค้านั้น มันถูกกดดันมาจากลูกค้า และซัปพลายเออร์ จึงต้องตามเข้ามาด้วย" ลีนาอธิบาย

ดังนั้น อี-บิสซิเนส จึงเป็นตัวอย่างหนึ่งของแนวโน้ม และโอกาส ถ้าหากมองเข้าไปยังธุรกิจ ที่นั่งเฉยๆ แล้วมองอีกธุรกิจหนึ่งว่ากำลังมีแนวคิด ที่จะทำธุรกิจในรูปแบบอี-บิสซิเนส บริษัทนั้น กำลังเสี่ยงกับการที่ไม่สามารถตามคู่แข่งได้ทัน

"คู่แข่งทำโครงการอี-บิสซิเนส และทำสำเร็จ รูปแบบของธุรกิจจะเปลี่ยนไป เขาอาจจะแย่งลูกค้าไปได้ชั่วข้ามวัน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้ง่ายในปัจจุบัน" สุนทรอธิบาย

เมื่อธุรกิจเข้าสู่การดำเนินงานยุคใหม่แล้ว มีความเชื่อว่า จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่าการทำธุรกิจแบบเดิม เพราะหากทำธุรกิจแบบอี-บิสซิเนส จะลดต้นทุนออกไปได้ มาก "นอกจากนี้ธุรกิจ ที่ซ้ำซ้อนเราก็นำ automate เข้ามา ช่วย" ศรีสุชา ลิ่มทอง รองกรรมการผู้อำนวยการอาร์เธอร์ แอนเดอร์เซ่นกล่าว

บริษัทที่ปรึกษาจะเข้าไปให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าด้านอี-บิสซิเนส มีเป้าหมายเหมือนกัน คือ การมองหาโอกาสของธุรกิจให้ลูกค้า

หนึ่ง - เป็นการมองหาสถานที่ ที่สามารถใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซเข้าไปสนับสนุนหรือช่วยเพิ่มให้ธุรกิจเดิมของลูกค้ามีศักยภาพมากขึ้น

"สามารถทำให้ลูกค้าแข่งขันในตลาดรูปแบบใหม่ๆ ได้มากขึ้น ช่วยปรับประสิทธิภาพการทำงาน และลดต้นทุนในธุรกิจเดิม" ลีนากล่าว

สอง - หาโอกาสใหม่ๆ ให้ลูกค้า ซึ่งรูปแบบการทำธุรกิจ แบบเก่าอาจจะทำไม่ได้ แต่เมื่อเกิดอีคอมเมิร์ซขึ้นมา จะทำให้มีโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น เช่น จากเดิมมีลักษณะเป็นเพียงขาย ตรง ที่ผ่านดีลเลอร์ แต่เมื่อมีอีคอมเมิร์ซก็ทำให้เกิดช่องทาง การค้าใหม่ๆ เกิดขึ้น

เมื่อกระแสอี-บิสซิเนส เข้ามามีอิทธิพลในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น จึงมีการคาดว่าผลดีจะตกแก่บริษัทที่ปรึกษา คือ รายได้ของ ที่ปรึกษาจะเติบโตมากขึ้นในอนาคต โดย PwC และ อาร์เธอร์ แอนเดอร์เซ่น คาดว่าในอนาคตรายได้จากการให้คำปรึกษาด้านอี-บิสซิเนส จะสูงเกิน 50% ของรายได้รวม

ด้านแอนเดอร์เซ่น คอนซัลติ้ง ที่ผ่านมาตัวเลขการเติบโตของธุรกิจอี-บิสซิเนส เพิ่มขึ้นประมาณ 20% ขณะที่แอล.อี.เค.คอลซัลติ้ง รายได้เกินครึ่งมาจากแผนกอี-บิสซิเนส "ปัจจุบันลูกค้าของบริษัทที่ปรึกษามีสองแบบ คือ ทำธุรกิจโดย ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นฐาน และลูกค้าแบบดั้งเดิม ซึ่งแบบหลังจะลดน้อยลงไป ฉะนั้น รายได้ของบริษัทที่ปรึกษา ที่มาจากอี-บิสซิเนส จะเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก มันเป็น growing market นี่คือ สิ่งที่เป็นอยู่" ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ที่ปรึกษาอาวุโสแอล.อี. เค.คอนซัลติ้งบอก

คำถาม ที่ตามมา คือ บริษัทที่ปรึกษาเข้าไปวางยุทธ ศาสตร์ให้ลูกค้าอย่างไร "ตอน ที่เข้าไปหาลูกค้า เราจะไม่ก๊อบปี้ คำตอบให้เลย แต่จะศึกษาความสามารถของบริษัทก่อนว่ามีความพร้อมแค่ไหน อยู่ในสนามแข่งอันดับเท่าไรเราต้องเข้าใจสถานการณ์ของลูกค้าทั้งหมดก่อน ที่จะนำคำปรึกษาไปเชื่อมให้ตามความต้องการ" ชาราดอธิบาย

ด้านสุภศักดิ์ กฤษณามระ รองกรรมการผู้จัดการ ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ประเทศไทยบอกว่า บริษัทจะได้เข้าไปช่วยเหลือลูกค้าพัฒนากลยุทธ์ และปรับรื้อระบบจัดส่งสินค้าขององค์กร เพื่อปรับแผนธุรกิจแบบดั้งเดิมให้สอดคล้องกับแบบแผนอีคอมเมิร์ซ

ขณะที่ PwC มุ่งให้บริการลูกค้า ที่ต้องการเปลี่ยนธุรกิจ ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีต้นทุนลดลง เปิดช่องทางการจัด จำหน่ายใหม่ๆ เช่น โรงงานต้องการจะเชื่อมต่อระบบของตัวเอง กับคู่ค้า

"เราจะให้ลูกค้าตอบคำถามว่าจะชูจุดไหนขึ้นมาก่อน ด้านซื้อหรือด้านขายหรือทั้งระบบ บางบริษัทจะเริ่มอี-บิสซิเนส ด้านการขายก่อน เราจะดูว่าลูกค้าเป็นใคร จะเชื่อมต่อระบบอย่างไร บางคนจะทำด้านซื้อเราก็จะไปดูคู่ค้า" สุนทรอธิบาย

ขณะที่ศรีสุชาบอกว่า "ถ้าลูกค้าเดินมาหาเราจะต้องบอก คำเดียวว่าคุณต้องเข้าสู่โลกอี-บิสซิเนส แต่สิ่งสำคัญ ที่จะบอกกับลูกค้า คือ อะไรเป็นอุปสรรค ที่เขาเข้าไปแล้วช้า"

สำหรับแอนเดอร์เซ่น คอนซัลติ้ง นอกจากจะมองหาโอกาสให้ลูกค้ายังเข้าไปจัดวางระบบให้ตามความต้องการของลูกค้า " เพื่อทำให้ลูกค้าแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ" ลีนากล่าว

อย่างไรก็ดี บริษัทที่ปรึกษาเหล่านี้ไม่ได้เข้าไปให้คำแนะนำลูกค้าเพียงแค่การวางระบบเท่านั้น แต่ต้องเข้าไปวิเคราะห์ธุรกิจให้ลูกค้า เพื่อหาทางออกร่วมกัน ท้ายที่สุดแล้วหนีไม่พ้น convergence คือ การมาบรรจบพบกันของธุรกิจ ที่มาจากอุตสาหกรรมต่างๆ

ลูกค้าจะหันมาเน้นทำเฉพาะธุรกิจ ที่เป็นแกนหลัก ซึ่งสามารถทำได้ดีกว่าคู่แข่ง และลูกค้าให้การยอมรับ และตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป เช่น บัญชี ระบบซื้อ บริหารลูกหนี้ เจ้าหนี้ หรือการผลิต โดยเน้นเรื่องการขาย การให้บริการ และการออกแบบ

เมื่อตัดสิ่งที่ไม่ต้องดูแลออกไป ก็ไม่ต้องเสียเวลาในการบริหารงาน ทำให้มีเวลามาบริการลูกค้ามาก ขึ้น "นี่คือ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ลูกค้า ด้วยการมองว่า ลูกค้าต้องการอะไรเพิ่มเติม นอกจาก ที่เขาให้บริการอยู่ เราจะมองธุรกิจ ที่ไม่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันในการที่จะมารวมกัน เพื่อเสริมประสิทธิภาพการให้บริการแล้ว ไปเสนอลูกค้า" สุนทรชี้แจง

แม้ว่าอี-บิสซิเนส จะเปิดโอกาสให้ธุรกิจเพิ่มผลผลิต ขยายรายได้ ปรับปรุงบริการ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และลดต้นทุน แต่การจะทำให้การดำเนินธุรกิจอี-บิสซิเนส มีความน่าเชื่อถือนั้น อี-บิสซิเนส จะต้องมีความปลอดภัยด้วย

"บริษัทที่ปรึกษาสามารถช่วยลูกค้าสร้างหลักประกันความสุจริตขององค์กร ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปจัดการด้านความเสี่ยง การพัฒนาความปลอดภัย และดำเนินการ เพื่อความปลอดภัย การรับรองความปลอดภัย หรือระดับความปลอดภัยของการจัดการ" สุภศักดิ์กล่าว

ในขณะที่บริษัทที่ปรึกษาต่างผนึกแนวคิดอี-บิสซิเนสเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในแบบแผนของธุรกิจ สิ่งหนึ่ง ที่จำเป็น ก็คือ การประเมินผล และรับเอาระบบอี-บิสซิเนส ที่ปลอดภัยมาใช้อย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

"เราไม่ได้มองว่าจะให้บริการในรูปแบบอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ หรือการสร้างเว็บไซต์ แต่จะเข้าไปจัดการความเสี่ยงให้ลูกค้า ออกแบบไม่ให้ข้อมูลรั่วไหล" สุนทรบอก

สิ่งที่น่ากลัว หากอี-บิสซิเนสเกิดขึ้น พ่อค้าคนกลางแทบ จะไม่มีความหมายอีกต่อไป เพราะอี-บิสซิเนส คือ พ่อค้าคน กลางยุคใหม่ ไม่ใช่ธุรกิจ ที่ซื้อมาขายไปอย่างเดียวอีกต่อไป

"มีคนที่เป็นห่วงอนาคตของพ่อค้าคนกลาง คือ เดิมถ้าดูพัฒนาการของอี-บิสซิเนส จะมี one-to-one จากนั้น ขึ้นไปสู่ one-to-many ตอนนี้มีลักษณะ digital marketplace ที่เป็น many-to-many ฉะนั้น โดยช่องทางหนึ่งพ่อค้าคนกลาง ยุคเก่า ถ้ามายุคเจนเนอเรชั่น ที่ให้ความสำคัญกับอี-บิสซิเนสเขาจะเห็นว่าช่องทาง digital marketplace เป็นทาง ที่ทำให้เขาอยู่รอดจากตรงนั้น " ศรีสุชาอธิบาย

เธอยังกล่าวเพิ่มเติมว่า "แต่ถ้าเขาจะยังคงรักษาห้องแถวให้เป็น physical deliver of goods ในกรณี ที่ขายสินค้า ก็ยังมีช่องทาง ที่อยู่รอดปลอดภัย เพียงแต่คนเหล่านี้ต้องมี ที่ปรึกษาอย่างเราคอยจับพวกนี้ว่าเคยอยู่ ที่ไหน common interest อยู่กับใคร"

อย่างไรก็ตาม หากมองลงไปยังบรรดาดอทคอม ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในไทย ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด จากการสำรวจของเนคเทค พบว่าปัจจุบันไทยมีเว็บไซต์ทั้งสิ้น 3,120 เว็บไซต์ แต่ประสบความสำเร็จจริงๆ เพียง 133 เว็บไซต์ เท่านั้น

เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีคน 2-3 คนออกมาตั้งเว็บไซต์แล้วสร้างโมเดลธุรกิจ ขึ้น จากนั้น ไปหาเงินทุนจากเวนเจอร์แคปปิตอลแล้วก็เปิดตัว กรณีเช่นนี้ฮือฮามากเพราะสามารถเปลี่ยนฐานะเป็นเศรษฐีได้ในเวลาอันสั้น

ต้นปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นแนสแดคถดถอย เมื่อนักลงทุน สงสัยว่าพวกดอทคอมทั้งหลายประสบความสำเร็จกี่รายกันแน่ เพราะบางรายทำธุรกิจโดยไม่มีการวางแผน เขาวัดความสำเร็จ เพียงแค่จำนวนคนเข้าชมเว็บไซต์เท่านั้น หรือ

อย่างไรก็ดี บริษัทที่ปรึกษายังมองแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจอี-บิสซิเนส ค่อนข้างดี แม้ว่าปัจจุบันผู้ประกอบการบางส่วนยังไม่พร้อมก็ตาม แต่เมื่อไทยเป็นส่วนหนึ่งของตลาดเสรี คงเป็นไปไม่ได้ ที่จะไม่เข้าไปในวงจรอีคอมเมิร์ซ

"ถ้าจำนวนลูกค้าจะเพิ่มไม่มาก แต่ลักษณะการทำงานจะเพิ่มมากขึ้น" ลีนาบอก

ธุรกิจที่ปรึกษากำลังเปลี่ยนโฉมหน้าครั้งใหญ่ จาก ที่ปรึกษาไปสู่การทำงานกับลูกค้ามากกว่า ที่จะให้เพียงคำปรึกษา เท่านั้น "



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.