ศรีราชาฟาร์มกรุ๊ป เติบโตมากับสัตว์


นิตยสารผู้จัดการ( พฤศจิกายน 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

ปัจจุบัน สวนเสือศรีราชา ดำเนินงานโดย บริษัทศรีราชาฟาร์มกรุ๊ป จำกัด ภายใต้ การกุมบังเหียนของ ไมตรี เต็มศิริพงศ์ มีแหล่งรายได้ทั้งจากการเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมสวนสัตว์ การแสดงสัตว์ จากการจำหน่ายสัตว์ ซึ่งหลักๆ คือ จระเข้ และเสือ การจำหน่ายของ ที่ระลึก ที่ได้จากสัตว์เหล่านี้ และเร็วๆ นี้ กำลังจะเปิดทัวร์สุขภาพ นำลูกทัวร์จากจีนมารับการรักษาด้วยยา ที่สกัดได้จากเครื่องในจระเข้

ไมตรี เต็มศิริพงศ์ เป็นชาวกรุงเทพ มหานคร ด้วยเหตุ ที่บิดายังติดต่อสัมพันธ์

กับญาติพี่น้อง ที่เมืองจีน ในวัยศึกษาเขาจึงถูกส่งให้ไปเรียน ที่มหาวิทยาลัยเซียะเหมิน จีนแผ่นดินใหญ่ แต่พอเรียนจบกลับมาทำงานในเมืองไทย ได้เริ่มทำงานครั้งแรก ใน ตำแหน่งพนักงานทั่วไปของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ต้องทำงานทุกอย่างตั้งแต่ล้างห้องน้ำ ส่งเอกสาร

ต่อมาได้ลาออกไปทำงานขายเหล็กเส้นของบริษัทสหวิริยาพานิช (1962) จำกัด จนสามารถเก็บเงินได้จำนวนหนึ่งก่อนหันมาดำเนินกิจการค้าเหล็กเส้นเอง

ไมตรีอาศัยประสบการณ์ ที่เก็บเกี่ยวได้จากการเดินทางไปดูงานในต่างประเทศ บ่อยครั้งเมื่อครั้งทำงานอยู่ในบริษัทค้าเหล็ก เส้น ครั้งหนึ่งมีโอกาสได้รู้จักกับนักวิชาการชาวสิงคโปร์ ที่ช่วยแนะนำวิธีการเลี้ยงสัตว์หลายชนิดให้อยู่ร่วมกันได้ ซึ่งถือเป็นสิ่งท้าทายใหม่ เริ่มแรกไมตรีจึงได้ทดลองเลี้ยงไก่ และจระเข้ให้อยู่ภายในพื้นที่เดียวกัน ตามคำแนะนำของนักวิชาการชาวสิงคโปร์คนนั้น

หลังจากเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านการเลี้ยงสัตว์มากพอจึงเริ่มหันมาประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์เป็นครั้งแรก ด้วยการเลี้ยงหมูควบคู่ไปกับการค้าขายเหล็ก และทำอาหารหมูจำหน่ายสู่ตลาดพร้อมกันไปด้วย

ปี 2532 ไมตรีจึงตัดสินใจซื้อ ที่ดินในเขตอำเภอศรีราชา เพื่อจัดตั้งศูนย์วิจัยขนาดเล็กสำหรับเพาะเลี้ยงจระเข้อย่างจริง จัง เพราะเห็นว่าสามารถพัฒนาในเชิงธุรกิจได้ โดยเริ่มแรกมีจระเข้ 3 พันกว่าตัว และลูกเสือ 2 คู่ ที่ได้มาจากจังหวัดเชียงใหม่ ผลการดำเนินงานของศูนย์วิจัยขนาดเล็กแห่งนี้ ในแต่ละปีสามารถเพิ่มจำนวนจระเข้ และเสือ เพื่อส่งออกขายได้

จนกระทั่งในปี 2535 "ไซเตส" (The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora - CITES) หน่วยงานขององค์กรของสห ประชาชาติ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลการค้าสัตว์ ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ขอเข้าเยี่ยมชม และศึกษางานของศูนย์วิจัยดังกล่าว และแต่งตั้งให้ไมตรี เต็มศิริพงศ์ เป็นผู้เชี่ยวชาญในการเพาะเลี้ยงจระเข้ เนื่องจากเห็นว่าศูนย์วิจัยแห่งนี้จะช่วยขยายพันธุ์จระเข้ชนิดต่างๆ ให้แพร่หลายต่อไปได้ และอนุญาตให้ส่งผลผลิตป้อนได้ทั่วโลก ทำให้ไมตรีสามารถ ที่จะดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์ ที่เกี่ยวกับจระเข้อย่างเต็มรูปแบบ

ไซเตส ยังได้แต่งตั้งให้ศูนย์วิจัยดังกล่าวเป็นศูนย์วิจัยพันธุ์สัตว์ในเอเชีย

ในปี 2537 ไมตรีได้ก่อตั้งบริษัทศรีราชาฟาร์ม กรุ๊ป จำกัดขึ้น เพื่อดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการส่งออกจระเข้ และเพาะพันธุ์สัตว์หายากชนิดต่างๆ อย่างจริงจัง และภายหลังจากศูนย์วิจัยดังกล่าวกลายเป็นที่รู้จักในหมู่ผู้ประกอบธุรกิจ ที่เกี่ยวกับสัตว์ทั้งใน และต่างชาติมากขึ้น ประกอบกับจำนวนสัตว์ ที่เพาะพันธุ์เริ่มมีมากขึ้น การขอเข้าเยี่ยมชม และดูงานของหน่วยงานต่างๆ จึงมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง การกำเนิดธุรกิจ สวนสัตว์ขนาดเล็กจึงเริ่มนับแต่นั้น มา ถือเป็นจุดกำเนิดของสวนเสือศรีราชาตั้งแต่บัดนั้น

เปิดสวนเสือศรีราชา

ในปี 2540 เมื่อมีสัตว์ ที่เพาะเลี้ยงไว้จำนวนมากพอ ไมตรี เต็มศิริพงศ์ ได้เริ่มเปิดตัวสวนเสือศรี ราชา และศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์อย่างจริงจัง ในเนื้อ ที่ 250 ไร่ ห่างจากศูนย์วิจัยแห่งเดิมประมาณ 1 กิโลเมตร ริมทางหลวงหมายเลข 3241 ตำบลหนองขาม อำเภอศรีราชา จังหวัด ชลบุรี จุดประสงค์แรกๆ ก็ เพื่ออนุรักษ์พันธุ์

สัตว์ป่า ที่ใกล้สูญพันธุ์ให้คงอยู่ เช่น เสือ และสัตว์ป่าบางชนิด นอกจากนั้น ยังเป็นการเพาะเลี้ยง และขยายพันธุ์สัตว์ป่าบางชนิดตาม ที่ไซเตสให้เพาะเลี้ยงได้ ขณะเดียวกัน ก็สามารถเปิด เป็นธุรกิจสวนสัตว์รองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมากได้ด้วย

การจัดวางองค์ประกอบภายในสวนเสือศรีราชา ไมตรีจัดให้มีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน ส่วนแรกคือ อาคารวิชาการ เสือ ภายในอาคารประกอบด้วยห้องอนุบาลเสือ เปิดให้นักท่อง เที่ยวชมลูกเสือโคร่งแรกเกิด ซึ่งมีจุดเด่น ที่การให้ลูกเสือโคร่งดูดนมจากแม่หมู ที่ทางสวนเสือฝึกขึ้นมาเอง และถือเป็นจุดขายสำคัญของสวนเสือศรีราชา ถัดมาจะเป็นห้องพาโนรามา ที่แสดงความเป็นอยู่ของเสือโคร่ง และยังมีในส่วนของห้องวิชาการ ความรู้เกี่ยวกับเสือ

ส่วน ที่สอง เป็นอาคารวิชาการจระเข้ แบ่งออกเป็นส่วน ย่อยอีก 2 ส่วน คือ 1. ห้องวิชาการจระเข้ จัดแสดงประวัติ ความรู้เกี่ยวกับจระเข้ และแสดงแบบการเพาะพันธุ์ตามธรรมชาติของจระเข้ 2. ห้องฟักไข่จระเข้ มีห้องจัดแสดงการจำลองการฟักไข่ และห้องฟักไข่ ที่ควบคุมด้วยอุณหภูมิสมจริง ศูนย์วิจัยแห่งนี้เป็นแห่งแรก ที่สามารถใช้อุณหภูมิควบคุมเพศของจระเข้ นอกจากนั้น ยังมีห้องแกะไข่จระเข้ และมุมจำหน่าย ผลิตภัณฑ์จากจระเข้

ส่วน ที่สาม เป็นการแสดงสัตว์หายากประเภทต่างๆ ได้แก่ ลานม้า-อูฐ นกกระจอกเทศ ม้าแคระ ชะนี จิงโจ้แคระ ฯลฯ ถ้ำแมงป่อง และนางพญาแมงป่อง ซึ่งเป็นอีกจุดขายหนึ่ง ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ สนามแข่งหมู และลานช้าง รวมถึงลานสำหรับจัดแสดงกิจกรรมต่างๆ ของสัตว์ อาทิ การโชว์ช้าง แสนรู้โชว์จระเข้ โชว์โรงละครสัตว์ กิจกรรมขี่ช้างชมป่า สถานที่ พักผ่อนบริเวณศาลาหกเหลี่ยม ซึ่งเป็นสวนสาธารณะลดหลั่นเป็นชั้นไปจนถึงลำธาร ซึ่งในน้ำจะมีปลาหลากชนิด บ่อจระเข้ขนาดใหญ่ เมืองช้าง และศูนย์วิชาการช้าง ร้านขายของ ที่ระลึก และภัตตาคาร

ผลดำเนินงาน

ในช่วงระหว่างปี 2540-2541 ซึ่งถือเป็นช่วงปีแรกของการเปิดดำเนินธุรกิจสวนสัตว์แบบเต็มรูปแบบนั้น สวนเสือศรีราชา มีนักท่องเที่ยวมาเข้าชมมากถึง 9 แสนคน และในปี 2542 ได้ตั้งเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยวไว้ ที่ 1.2 ล้านคน

เป้าหมายสำคัญของสวนเสือศรีราชาในช่วงนั้น คือ การพัฒนาตัวสินค้า ที่มีอยู่เดิม ให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น เริ่มจากการเพิ่มจำนวนเสือ ที่เพาะพันธุ์จากเริ่มแรก 2 คู่ เป็น 140 ตัว และมีเป้าหมายการขยายพันธุ์สูงสุด ที่ 200 ตัว ส่วนปริมาณจระเข้ ที่มีอยู่จาก 3 พันตัว ได้เพิ่มจำนวนเป็น 2.5-2.8 หมื่นตัว และมีเป้าหมายเพิ่มสูงสุดอีก 75-80% ในปีถัดมา

สำหรับกิจกรรม ที่มีอยู่เดิม ไม่ว่าจะเป็นการแสดง ที่เกี่ยวกับจระเข้ การอยู่ร่วมกันของเสือกับสัตว์ชนิดอื่น ถูกเสริมด้วยการแสดง ที่เกี่ยวกับเสือ เช่น เสือแข่งขันว่ายน้ำ และหมูแข่งว่ายน้ำ เป็นกิจกรรมสำคัญ ที่สวนเสือศรีราชา ถือเป็นการสร้างจุดขายใหม่

ปรากฏการณ์สำคัญในการเพาะพันธุ์จระเข้ขณะนั้น ก็คือ การนำอุณหภูมิมาควบคุมการฟักไข่ได้สำเร็จ นับจากนั้น เป็นต้นมาแผนงาน ที่สำคัญของศูนย์เสือศรีราชา จึงมุ่งมั่นอยู่ ที่การใช้อุณหภูมิในการฝึกนิสัยจระเข้ เพื่อให้สามารถมีปฏิกิริยา โต้ตอบกับนักท่องเที่ยวได้ นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญในสวนเสือฯ ได้ฝึกจระเข้น้ำเค็มพันธุ์โคโรซัส พันธุ์ ที่ดุที่สุดในโลกให้เชื่องจนสามารถอยู่ร่วมกับคนได้

สำหรับการทำตลาดในปี 2542 สวนเสือศรีราชา ได้เพิ่มจุดขายด้วยการนำกายกรรมซินเจียง และการแสดงของนักเต้นระบำจากประเทศเคนยาเข้ามา เสริมความแปลกใหม่ ขณะเดียวกันยังได้ย้ายจระเข้จากบริษัทศรีราชาฟาร์ม จำกัด ซึ่งถือเป็นบริษัทแม่เข้ามาลงยังสวนเสือฯ ให้เต็ม 1 หมื่นตัวอีกด้วย

นอกจากนั้น บริษัทสวนเสือศรีราชา และศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์ จำกัด ยังได้ทุ่มงบประมาณจำนวน 100 ล้านหยวน ลงทุนใน 2 เมืองใหญ่ของจีน ในมณฑลกวางสี และฮกเกี้ยน การขยายการลงทุนในจีนแดงนั้น บริษัทตั้งเป้าหมายให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เสือขนาดใหญ่หลายๆ พันธุ์ เนื่องจาก ที่ผ่านมา บริษัทฯ ต้องแบกรับภาระค่าอาหารของเสือ ที่มีอยู่ในสวนเสือศรีราชาไม่น้อยกว่าเดือนละ 4 หมื่นบาท จึงจำเป็นต้องกระจาย สัตว์ออกไป และสร้างแหล่งเพาะพันธุ์แห่งใหม่ในประเทศจีน ซึ่งมีต้นทุนถูกกว่า

รุกผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ในปี 2543 สวนเสือศรีราชา เริ่มโครงการใหม่ร่วมกับนักวิจัยจากประเทศจีน วิจัยเครื่องในจระเข้ เพื่อสกัดเป็นยารักษาโรคบางชนิด ที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการสมัยใหม่ โดยผลจากการวิจัยพบว่า เกร็ดจระเข้สามารถรักษาตับ ขณะที่ ตับอ่อนของจระเข้สามารถรักษาโรคเบาหวาน ส่วนดีรักษาภูมิแพ้, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และปอด สำหรับเลือดจระเข้สามารถรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว

"แผนต่อมาหลังจากการวิจัยสกัดยาจากเครื่องในจระเข้สำเร็จ เราจะจัดทัวร์สุขภาพจากจีนแดงเข้ามาด้วย" ไมตรีกล่าว

ผลการดำเนินงานในปี 2542 นั้น นอกจาก รายได้หลักจากการจัดแสดงโชว์ให้แก่นักท่องเที่ยว ที่จะเข้าชมสวนเสือประมาณ 1 ล้านคนแล้ว รายได้สำคัญยังมาจากการจำหน่ายเนื้อจระเข้ไปยัง คู่ค้าหลักในจีน ฮ่องกง ส่วนหนังจระเข้จำหน่ายไปญี่ปุ่น และไต้หวัน โดยยอดส่งออกอยู่ ที่ประมาณ 3-4 พันตัว และในปี 2543 ยอดสั่งซื้อเนื้อ และหนังจระเข้มีเพิ่มขึ้นเป็น 5 พันตัว โดยเฉลี่ยเม็ดเงิน ที่ได้จากการส่งออกเนื้อ และหนังจระเข้จะอยู่ ที่ประมาณ 50 ล้านบาท

สำหรับนักท่องเที่ยว ที่เข้าเยี่ยมชมสวนเสือศรีราชาในปี 2543 ทั้งปี คาดว่าจะมียอดลดลงกว่า ปีที่ผ่านมาคือ เหลือเพียง 9 แสนคน เพราะผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ที่ตกต่ำของประเทศ ทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม ยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะกลุ่มยุโรป และรัสเซียกลับมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ สำหรับตลาดต่างประเทศ ที่ยังคงเป็นลูกค้าหลักในขณะนี้คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวจากจีน ไต้หวัน และเกาหลี ซึ่งยอดการเข้าเยี่ยมชมถึง 70% ของยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด

แผนการตลาดในปี 2544 ของสวนเสือศรีราชา จะเพิ่มความหลากหลายของการท่องเที่ยว โดยจะใช้งบลงทุนอีกประมาณ 20 ล้านบาท สร้างพิพิธภัณฑ์ช้าง เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชม ในเรื่องของการอนุรักษ์ช้าง ประวัติความเป็นมา และการแสดงต่างๆ นอกจากนั้น ยังจะเจาะลึกเรื่องเสือด้วยการเปิดเมืองเสือ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เห็นวิวัฒนาการต่างๆ ของเสือ การเลี้ยงเสือร่วมกับสัตว์อื่นๆ และการเปิดให้ชมความสัมพันธ์ ระหว่างเสือกับหมูโดยจะให้แม่หมูเลี้ยงลูกให้เสือ

ส่วนแผนเปิดตลาดทัวร์สุขภาพนั้น ได้ใช้งบประมาณ 15 ล้านบาท จ้างนักวิจัย และคณะแพทย์จากจีนแดง เข้ามาทำการศึกษาวิธีสกัดยาจากเครื่องในจระเข้แล้ว

ไมตรีบอกว่าการดึงกลุ่มแพทย์จากจีนเข้าร่วมวิจัย กับทีมวิจัยของศูนย์เสือศรีราชา ไม่ใช่ เพื่อหวังผลทางการค้าแต่เพราะต้องการจะได้ผลการวิจัย เพื่อมาใช้ให้เกิดประโยชน์ กับคนไทยแทน เพราะในแต่ละปีคนไทยจำนวนไม่น้อยต้องเสียเงิน เพื่อสั่งซื้อยา ที่สกัดจากเครื่องในจระเข้จากประเทศ จีนปีละจำนวนไม่น้อย ดังนั้น หากตนสามารถนำผลที่ได้มา วิเคราะห์ในเมืองไทย และจัดยาให้คนไทยแทนจะทำให้คนไทยซื้อยาดังกล่าวในราคา ที่ถูกลง

แต่อุปสรรคสำคัญของการนำยาสกัดจากเครื่องในจระเข้เข้ารักษาโรค กลับอยู่ ที่ปัจจุบันรัฐบาลไทยไม่มีกฎหมาย ที่ระบุให้นำยา ที่สกัดได้จากอวัยวะจระเข้เข้าจดทะเบียนตำรายาได้ การจะเปิดศูนย์สุขภาพในอนาคตจะต้องดึงแพทย์ไทยเข้าร่วมจัดยาให้กับผู้ที่จะเข้ามาพักฟื้นในศูนย์สุขภาพ

ไมตรีคาดว่าจะสามารถดำเนินการเปิดศูนย์สุขภาพได้ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ซึ่งแผนงาน ที่จะเกิดตามมาก็คือ การสร้าง ที่พักบนต้นไม้ ซึ่งเป็นแผนงานเดิม ที่เคยกำหนดไว้ เพื่อให้บริการที่พักฟื้นสำหรับผู้ที่จะเข้ามาพักฟื้นในประเทศไทย

ทั้งนี้กลุ่มทัวร์สุขภาพกลุ่มแรก ที่คาดว่าจะเป็นกลุ่มทัวร์หลักคือ ประชาชน และกลุ่มผู้ป่วยจากไต้หวัน และจีนแดง และอาจจะมีกลุ่มคนไทยบางส่วน ที่เป็นโรค ซึ่งไม่สามารถรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้แล้ว เช่น โรคเอดส์หรือมะเร็งระยะสุดท้าย

"สมัยก่อนผมคิดแค่ว่าจระเข้จะใช้ประโยชน์ได้เพียงเนื้อ และหนังเท่านั้น จนถึงวันนี้ กลับพบว่าเครื่องในจระเข้สามารถช่วยชีวิตมนุษย์ได้"

สำหรับการลงทุนใหม่ๆ ในอนาคตนั้น ไมตรีบอกว่า จำเป็นต้องชะลอการลงทุนขนาดใหญ่ไว้ก่อน เพราะขณะนี้ยังอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รายได้จากการเข้าชมสวนเสือไม่เพิ่มขึ้น แม้จะได้นักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มแต่ก็ถือเป็นรายได้ ที่เข้ามาทดแทนกลุ่มคนไทย ที่ลดน้อยลงไป งานหลักของ สวนเสือฯ ในระยะนี้ จึงเน้น ที่การสร้างกิจกรรมหรือเพิ่มการแสดงใหม่ให้น่าสนใจอยู่ตลอดเวลา



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.