ประสบการณ์ของปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์กำลังถูกท้าทายอีกครั้ง กับการปฏิรูป “กรมประชาสัมพันธ์”
สื่อของรัฐ ที่กำลังถูกแรงกดดันจากกติกาใหม่ของรัฐธรรมนูญ และพัฒนาการของเทคโนโลยี
กรมประชาสัมพันธ์ เป็นหน่วยงานรัฐ ที่รับผิดชอบกำกับดูแล และให้บริการด้าน
“สื่อ” มาตลอด อยู่ในฐานะของผู้กำกับดูแล และประกอบการวิทยุ และโทรทัศน์
รวมถึง การผลิตสื่อเอง
ที่แล้วมา กรมประชาสัมพันธ์เหมือน กับหน่วยงานรัฐ ที่มีหน้าที่ควบคุม “สื่อ”
แสวงหารายได้จากสัมปทานการให้เช่าคลื่น ความถี่วิทยุ ควบคู่ไปกับการเป็นกระบอกเสียงให้กับรัฐบาลในบางครั้ง
การทำงานส่วนใหญ่ของกรมประชา สัมพันธ์ มักจะวางบทบาทขอผู้กำกับดูแล มากกว่าการสร้างประสิทธิภาพของการเป็นผู้ประกอบกิจการ
และใช้ประโยชน์ จากคลื่นความถี่ในฐานะของผู้ผลิตสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กระแสการปฏิรูป “สื่อ” ภายใต้รัฐธรรมนูญมาตรา 40 จึงเป็นแรงกระทบ ที่มีต่อกรมประชาสัมพันธ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
จุดมุ่งหมายของมาตรา 40 เกิดขึ้นมาจากความต้องการ จัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์
และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรการสื่อสารของชาติ เพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งต้องมีองค์กรอิสระขึ้นมาทำหน้าที่จัดสรร
และกำกับดูแลให้เป็นไป เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนทั้งในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น
องค์กรของรัฐ ที่เป็นอิสระ จะทำหน้าที่จัดสรร และกำกับดูแลคลื่นความถี่ต่างๆ
เพื่อให้กระจายการมีส่วนรวมทั้งในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ทางด้านการศึกษา
วัฒนธรรม ความมั่นคง และประโยชน์สาธารณะอื่นๆ สร้างกลไกให้มีการแข่งขันอย่างเสรีไม่ผูกขาด
และต้องเป็นธรรม
หมายความว่า อำนาจในการกำกับดูแลให้ใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุ และโทรทัศน์
ที่เคยอยู่ในมือของหน่วยงานรัฐ กองทัพบก กรมไปรษณีย์โทรเลข กรมประชาสัมพันธ์
อ.ส.ม.ท. จะเปลี่ยนมาอยู่ในมือของคณะกรรมการจัดสรรคลื่น ความถี่แห่งชาติ
หรือ กสช. ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับดูแลกิจการวิทยุ
และโทรทัศน์ หน่วยงานรัฐเหล่านี้จะคงบทบาทอยู่เพียงแค่การเป็นผู้ให้บริการ
รายหนึ่ง ที่จะต้องแข่งขันกับเอกชนอื่นๆ
กรมประชาสัมพันธ์ เป็นหน่วยงานรัฐ ที่มีหน้าที่ให้ใบอนุญาตการประกอบกิจการวิทยุ
และโทรทัศน์ และเป็นผู้ผลิตสื่อเอง และกำกับดูแลรายการในบทบาทของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ
(กกช.) ย่อมหลีก ไม่พ้นต่อการเปลี่ยนแปลง
“กรมประชาสัมพันธ์ต้องปรับตัวมาก จะต้องปรับ เปลี่ยนจากผู้รวจสอบดูแลกิจการด้านวิทยุ
และโทรทัศน์มาเป็น ผู้ใช้บริการ เพื่อมาเป็นนักประชาสัมพันธ์แห่งชาติให้กับรัฐ”
ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล ในฐานะสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) บอกกับ “ผู้จัดการ”
ผลกระทบแรก - คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ หรือ กกช.
ที่ทำหน้าที่กำกับดูแลออก ใบอนุญาต เช่น การสอบใบผู้ประกาศข่าว จะต้องถูกโอนย้ายมาเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
และกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) โดยที่หน่วยงาน กกช.จะ ถูกโอนมาเป็นสำนักงานเลขาธิการให้กับ
กสช.
“หน่วยงาน กกช.รับทราบดีแล้ว ผู้อำนวยการ กกช. และ เจ้าหน้าที่ 40 กว่าคน
ก็เตรียมพร้อม ที่จะโอนมาอยู่กับ กสช.”
ประเด็น ที่สอง - ตามกติกาใหม่ของมาตรา 40 โดยเจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญนั้น
ต้องการให้ทุกหน่วยงาน รวมถึงกรมประชาสัมพันธ์ ต้องคืนคลื่นความถี่วิทยุ
และโทรทัศน์ เดิมทั้งหมดให้กับคณะกรรมการ กสช.ก่อน จากนั้น จึงมีการยื่นเรื่องขอประกอบการสถานีวิทยุ
และโทรทัศน์ใหม่ เฉพาะ ที่จำเป็นใช้ในหน่วยงานเท่านั้น
บทบาทของกรมประชาสัมพันธ์ ที่ถูกวางไว้ ก็คือ การเป็นผู้ผลิตสื่อ และบริหารสถานีวิทยุ
และโทรทัศน์ เพื่อรองรับ กับบทบาทของการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
สิ่งที่กรมประชาสัมพันธ์จะต้องทำก็คือ แผนแม่บทในการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
ซึ่งจะเป็นตัวบอกว่า กรมประชาสัมพันธ์จะมีคลื่นความถี่ไว้ในความครอบครองเท่าไร
“โดยหน้าที่ และความรับผิดชอบแล้ว กรมประชา สัมพันธ์ ก็ควรมีสถานีโทรทัศน์
และวิทยุ ทั้ง AM และ FM ที่ จะสามารถครอบคลุมทั่วประเทศ” ความเห็นของ ดร.สมเกียรติ
ที่บอกได้ว่า กรมประชาสัมพันธ์อาจไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการจัดทำแผนแม่บทจะออกมาในรูปแบบใด
แน่นอนว่า กรมประชาสัมพันธ์เอง ก็เหมือนกับหน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ต้องการสูญเสียอำนาจ
ที่มีอยู่ และปัญหาในเวลานี้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ กสช.เพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับกรมประชา
สัมพันธ์เองจะเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดทำแผนแม่บทของการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
และจนถึงเวลานี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก
ถึงแม้จะมีการทำแผนปฏิบัติการวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (พ.ศ.2542-2544)
แบ่งออกเป็น 3 เครือข่าย เครือข่ายแรก คือ การให้สาระความรู้ และบริการสาธารณะ
เครือข่าย ที่สอง เน้นให้ข้อมูลข่าวสาร และบริการท้องถิ่น เครือข่าย ที่
3 เน้นการประชาสัมพันธ์ และสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงแผนระยะสั้น
และไม่ได้ครอบ คลุมไปถึงกิจการด้านโทรทัศน์ ที่จำเป็นต้องมีแผนแม่บทออกมาด้วย
“คนส่วนใหญ่ของเรา เอาเวลาไปทำเรื่อง ที่ไม่จำเป็น เรื่องเฉพาะหน้า ส่วนเรื่องใหญ่ๆ
อย่างทำแผนแม่บท กลับไม่มี การทำ” แหล่งข่าว ที่รู้ดีของกรมประชาสัมพันธ์บอกถึงปัญหา
ผลกระทบส่วน ที่สาม - เมื่อกรมประชาสัมพันธ์ไม่อยู่ในฐานะของผู้ควบคุม และต้องคืนคลื่นความถี่กลับคืนให้กับคณะกรรมการ
กสช.เท่ากับว่า กรมประชา สัมพันธ์จะต้องสูญเสียรายได้จากค่าสัมปทานคลื่นวิทยุ
ที่ให้แก่เอกชนไปดำเนินการ
ปัจจุบัน กรมประชาสัมพันธ์ มีคลื่นความถี่โทรทัศน์ ที่รับผิดชอบ 1 สถานี
คือ สถานีวิทยุ และโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 และสถานีวิทยุกระจายเสียง
145 คลื่นความถี่ แบ่งเป็นคลื่นสถานีวิทยุ FM 77 สถานีวิทยุ AM 53 สถานี
ที่เหลือเป็นคลื่นสั้น ที่ใช้กระจายเสียง
กรมประชาสัมพันธ์ มีรายได้หลักมา จากการให้เอกชนเช่าเวลาสถานีวิทยุ FM ในกรุงเทพฯ
จำนวน 5 ความถี่ คือ ย่านความถี่ 88, 93.5, 97, 95.5 และ 100.5 เมกะเฮิรตซ์
มีรายได้เดือนละ 12 ล้านบาท หรือประมาณปีละ 120 ล้านบาท ในขณะที่ รายได้จากสถานีโทรทัศน์ช่อง
11 มีเพียงปีละ 20 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งในช่วง ที่เศรษฐ กิจดีๆ กรมประชาสัมพันธ์เคยมีรายได้
400 ล้านบาทต่อปี
เอกชน ที่เช่าเวลาสถานี 93.5 และ 88 ให้กับกลุ่มแกรมมี่ ส่วนคลื่น 97 เป็นของบริษัททรีนิตี้
และยูแอนด์ไอ จำนวน 2 คลื่น คือ 95.5 และ 105 นอกจากนี้ยังมีคลื่น 92.5 ที่กรมประชาสัมพันธ์บริหารรายการเอง
สัญญา ที่กรมประชาสัมพันธ์ทำไว้กับเอกชนทั้ง 3 ราย มีอายุสัญญา 6 ปี เริ่มตั้งแต่ปี
2539 จะสิ้นสุดในปี 2545
ตามกติกาใหม่ของมาตรา 40 เมื่อคณะกรรมการ กสช. จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ
กรมประชาสัมพันธ์ และทุกหน่วยงานจะต้องคืนคลื่นความถี่ให้กับคณะกรรมการ กสช.
ที่จะ กลายเป็นคู่สัญญากับเอกชนเหล่านี้แทน และในระหว่างนี้กรมประชาสัมพันธ์ไม่มีสิทธิ
ที่จะต่ออายุสัญญากับเอกชนทั้ง 3 รายได้
นั่นหมายความว่า กรมประชาสัมพันธ์จะต้องสูญเสียรายได้ ที่เคยได้รับ ที่จะนำมาใช้เป็นเงินอุดหนุนสำหรับผู้บริหาร
และพนักงาน หลังจาก ที่คณะกรรมการ กสช.จัดตั้งขึ้น
ถึงแม้ว่า กรมประชาสัมพันธ์เป็นหน่วยงาน ที่รัฐเป็นเจ้าของสื่อเดิม สามารถปรับตัวตามมาตรา
40 ได้อย่างรวดเร็ว และไม่ได้ออกมาโต้แย้งเหมือนกับกองทัพ แต่การปรับตัวของ
กรมประชาสัมพันธ์ ที่ผ่านมา ทำให้เห็นว่ากรมประชาสัมพันธ์จำเป็นต้องปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง
กรมประชาสัมพันธ์ ก็เหมือนกับหน่วยงานรัฐอื่นๆ ที่ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการทำสัญญาเพิ่มเติมกับเอกชนทั้ง
3 ราย ในลักษณะของการร่วมกันผลิตรายการ เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในการผลิตรายการมากขึ้น
แทน ที่จะเป็นการให้เอกชนเช่าเหมาเวลาไปดำเนินการเอง โดยกรมประชาสัมพันธ์ไม่มีส่วนร่วม
ส่วนรายได้นั้น จะมาจากค่าโฆษณา แทน ที่จะเป็นค่าสัมปทาน
“สาเหตุที่ทำเช่นนี้ เพราะกรมประชาสัมพันธ์ต้องการแสดงศักยภาพให้เห็นว่า
คลื่นวิทยุ ที่กรมประชาสัมพันธ์มีอยู่ ได้ถูกใช้ประโยชน์โดยหน่วยงานของกรมประชาสัมพันธ์
ไม่เช่นนั้น แล้วเมื่อคลื่นวิทยุ ที่เอกชนเช่าเวลาเอาไว้หมดลง คณะกรรมการกสช.จะนำเอาคลื่นความถี่จากกรมประชาสัมพันธ์ไปจัดสรรใหม่”
สถานีวิทยุ AM ในต่างจังหวัด อีก 77 สถานี ที่หมดสัญญาให้เอกชนเช่าคลื่นไปไม่นาน
กรมประชาสัมพันธ์นำมาจัดรายการเอง เพื่อรองรับกับเจ้าหน้าที่ 3,000 คนทั่วประเทศ
และทำเป็น “วิทยุชุมชน” ที่เปิดโอกาสให้กลุ่มประชาคมท้องถิ่น เข้ามาจัดรายการในรูปแบบของบริการสาธารณะในหลายจังหวัด
โครงการวิทยุชุมชน ยังได้รับไฟเขียวจากรัฐบาล โดยคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้กำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ ได้กล่าวไว้ว่า
ในขณะที่รอการตั้งองค์กรอิสระ สำนักนายกฯ ได้มอบนโยบายให้กับกรมประชาสัมพันธ์
และอ.ส.ม.ท.ดำเนินการจัดทำโครงการวิทยุชุมชน ของทั้งสองหน่วยงาน
จากเอกสารชี้แจงต่อคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่
ระบุว่า กรมประชาสัมพันธ์จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ และโครงสร้างการบริหารให้มีบทบาทการประชาสัมพันธ์
และเผยแพร่ ที่เหมาะสม และตามความเห็นของคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการเห็นสมควรให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง
11 ออกไปเป็นองค์กรมหาชน
ทั้งหมดนี้ การแก้ปัญหาด้วยการ “หางานให้ตัวเอง เพื่อความอยู่รอด” ไม่ว่านำคลื่นความถี่
ที่มีอยู่เหล่านี้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างของหน่วยงาน
ภายในกรมประชาสัมพันธ์ เริ่มมาตั้งแต่ปี 2541 แผนการปฏิรูปสถานีโทรทัศน์ช่อง
11 ให้เป็นองค์กรมหาชน
“กรมประชาสัมพันธ์ มีภาระในเรื่องของบุคลากร ข้าราชการจำนวน 3,000 คนที่อาจไม่มีงานทำ
หรืออาจกลายเป็นภาระ หากกรมประชาสัมพันธ์ต้องถูกลดบทบาทลง” แหล่งข่าวในกรมประชาสัมพันธ์บอกถึงเหตุผล
ไม่ว่าเนื้อแท้ของการปฏิรูปตนเอง ในเรื่องของอำนาจ ที่มีอยู่ และไปสู่กติกาใหม่
ที่เป็นธรรม จะทำได้จริงหรือไม่ก็ตาม กรมประชาสัมพันธ์ยังเตรียมรับมือกับผลกระทบ
ที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ที่จะตามมา
ดิจิตอลทีวี จะเป็นตัวแปรสำคัญ ที่จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบธุรกิจสื่อทีวี
และวิทยุทุกราย
คุณสมบัติ ที่สำคัญของเทคโนโลยีดิจิตอล ที่ใช้กับ “สื่อ” ก็คือ ความสามารถในการบีบอัดสัญญาณ
เพื่อให้คลื่นความถี่สามารถนำไปใช้งานได้มากขึ้น
ในกรณีของคลื่นวิทยุ การแบ่งช่องความถี่ของคลื่น วิทยุบนหน้าปัดเดิมจะแบ่งกัน
ที่ .5 แต่เทคโนโลยี .25 ซึ่งในบางประเทศก็ได้มีการใช้งานแล้ว นั่นหมายความว่า
คลื่นความ ถี่วิทยุในเมืองไทย ที่เคยมีอยู่ 527 คลื่นความถี่ จะมีคลื่นความ
ถี่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว
เช่นเดียวกับสถานีโทรทัศน์ เทคโนโลยีดิจิตอล ที่สามารถบีบอัดสัญญาณจะส่งผลให้สถานีโทรทัศน์มีช่องรายการเพิ่มขึ้นมากมายจากคลื่นความถี่เพิ่มขึ้น
เปรียบง่ายๆ ก็เหมือนกับเคเบิลทีวีในเวลานี้ ที่มีช่องรายการมากกว่า 30 ช่อง
แหล่งข่าวในกรมประชาสัมพันธ์เล่าว่า ภาคส่งของสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ในปัจจุบันพัฒนาไปเป็นระบบดิจิตอลหมดแล้ว
โดยการยิงสัญญาณดาวเทียม 1 ทรานสปอนเดอร์ ที่จะทำให้สามารถส่งได้ถึง 4 ช่อง
เมื่อเครื่องรับโทรทัศน์เปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอล หรือ ใช้วิธีติดตั้งอุปกรณ์
set to box ที่มีความสามารถในการแยก สัญญาณ เพื่อจะทำให้สถานีโทรทัศน์ พัฒนาไปสู่ดิจิตอลทีวี
สถานีโทรทัศน์หลายแห่งเวลานี้ก็ได้เตรียมศึกษาเรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว เพียงแต่ทุกรายรอความพร้อมในเรื่องของเทคโน
โลยี ที่จะเป็นมาตรฐาน และเครื่องรับ ที่จะต้องมีราคาถูกลง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฟากของชินคอร์ปอเรชั่น ที่ประกาศนโยบายไว้แล้วว่า ไอทีวี
จะต้องถูกปรับเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยี ดิจิตอล เพื่อ ที่จะใช้ประโยชน์จาก content
รายการที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ซึ่งชินคอร์ปเอง ก็ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องเหล่านี้ไว้แล้ว
นอกจากนี้ สิ่งที่ตามมากับพัฒนา การของเทคโนโลยี ก็คือ ซอฟต์แวร์รายการที่จะต้องถูกพัฒนาเพิ่มขึ้นตามช่องรายการที่เพิ่มขึ้น
“ประเด็นไม่ได้อยู่ ที่ราคาของเครื่อง ทีวี ที่ยังอยู่นช่วงเริ่มต้น ยังมีราคาแพงเท่านั้น
แต่อยู่ ที่การขาดแคลนซอฟต์แวร์รายการที่จะนำมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งซอฟต์แวร์รายการที่มีคุณภาพ”
สรรค์ชัย เตียวประเสริฐกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทไอทีวี จำกัด บอก
นอกเหนือจากพัฒนาการของ “สื่อ” ที่มีอยู่เดิม ที่กรมประชาสัมพันธ์ต้อง เตรียมตัวให้ทันแล้ว
พัฒนาการของเทคโน โลยี “สื่อ” ใหม่ๆ เป็นแรงกระแทกสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อกรมประชาสัมพันธ์ทั้งในปัจจุบัน
และอนาคต
การมาของ “อินเทอร์เน็ต” อิทธิพล ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่ออุตสาห-กรรม
“สื่อ” ที่ชัดเจนที่สุด ต่อความหมายของคำว่า “สื่อ” ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่
โทรทัศน์ หรือวิทยุ หนังสือพิมพ์เท่านั้น แต่ สามารถเปิดสถานีข่าวบนเว็บไซต์
ที่จะมีผู้อ่านได้ทั่วโลก
ในอนาคตข้างหน้า เทคโนโลยี digital convergecet พรมแดนในเรื่องความแตกต่างของเทคโนโลยีก็จะหายไป
โทรศัพท์มือถือ จะเห็นภาพดูทีวีได้ ในขณะที่โทรทัศน์จะต่อเชื่อมเข้าอินเทอร์เน็ต
ไม่ต้องมีอุปกรณ์ set tob box คอมพิวเตอร์จะสื่อสารได้ด้วยเสียง
“ต่อไป อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ ปาล์มทอป จะหาคำจำกัดความไม่ได้ว่า
คือ อุปกรณ์อะไร เพราะจะทำงานเหมือนกันได้หมด” บุญคลี ปลั่งศิริ ประธานกรรมการบริหาร
ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าว
การรุกขยายของธุรกิจโทรคมนาคม ต่อภาคอุตสาหกรรมด้าน “สื่อ” เป็นตัวแปร ที่สะท้อนได้ดีถึงการเปลี่ยนแปลง
ที่จะเกิดขึ้น การขยายกิจการอินเทอร์เน็ต และการซื้อกิจการไอทีวี ของกลุ่มชินคอร์ปอเรชั่น
คือ สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงแนว โน้มเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน
“ต่อไปคนออกจากบ้านจะใช้มือถือของชิน อยู่บ้านดูทีวี อยู่ ที่ทำงานก็เล่นอินเทอร์เน็ต”
วิชั่นของบุญคลีกับอนาคตของชินคอร์ป ที่จะเกิดในอนาคต
เช่นเดียวกับการรุกขยายของบริษัทเทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น หรือทีเอ ที่มีทั้งโทรศัพท์พื้นฐาน
โทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต เคเบิลทีวี และเป้าหมายของทีเอ คือ ยังต้องการพัฒนาเทคโนโลยี
ที่จะทำให้อุปกรณ์ปลายทางทุกประเภทสามารถเข้าถึงข้อมูลในอินเทอร์เน็ตได้เหมือนกัน
โดยไม่มีปัญหาในเรื่องความแตกต่างของเทคโนโลยี
สิ่งเหล่านี้สะท้อนได้ชัดเจนว่า เมื่อความแตกต่างไม่ได้เป็นข้อจำกัดอีกต่อไป
“สื่อ” ถูกเปลี่ยนสภาพกลายเป็นคอม พิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ
ผลที่ตามมาจะทำให้อุตสาหกรรม ที่แยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ผู้ที่เป็นเจ้าของ
network และ software รายการ
ในส่วนของ network นั้น อำนาจต่อรองเหล่านี้จะตกไปอยู่ในมือของผู้ที่สามารถยึดครองเครือข่ายโทรคมนาคม
เคเบิลใยแก้ว ดาวเทียม โทรศัพท์พื้นฐาน และในไทย ผู้ที่มีบทบาทในการเป็นเจ้าของเครือข่ายสื่อสาร
5 ราย คือ ชินคอร์ปอเรชั่น ยูคอม เทเลคอมเอเซีย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศ
ไทย และการสื่อสารแห่งประเทศไทย
นั่นหมายความว่า ถึงแม้ว่า กรมประชาสัมพันธ์จะไม่สามารถยึดติดกับรูปแบบเดิมได้อีกต่อไป
และกรมประชา สัมพันธ์จะยังคงเป็นเจ้าของสถานีเครือข่ายสถานีโทรทัศน์ และวิทยุอยู่ทั่วประเทศ
แต่อาจไม่ใช่อำนาจต่อรองอีกต่อไป หากไม่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เมื่อพัฒนาการของ
“สื่อ” ถูกเปลี่ยนรูปไปอยู่ในสายไฟเบอร์ออพติก ดาวเทียม และ อินเทอร์เน็ต
“บทบาทของกรมประชาสัมพันธ์ต้องปรับตัว ไปใช้ software นำ hardware มุ่งเน้นบทบาทของการเป็นผู้ผลิตรายการ”
แหล่งข่าวในกรมประชาสัมพันธ์กล่าว
นอกจากนี้ สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ควรจะถูกปฏิรูปให้ บริหารในรูปแบบขององค์กรมหาชน
เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน โดยจะได้รับเงินอุดหนุนจากทางภาครัฐบางส่วน
และหารายได้บางส่วนจากการให้บริการในภาครัฐ
แต่ปัญหาสำคัญของกรมประชาสัมพันธ์อยู่ ที่การขาดความพร้อม จะเห็นได้ว่า
ตลอดเวลา ที่แล้วมา กรมประชา สัมพันธ์จะมีหน้าที่ดูแล “สื่อ” แต่ในทางปฏิบัติแล้ว
เป็นหน่วย งานล้าหลัง วัฒนธรรมองค์กร ยังเป็นระบบราชการพนักงานขาดความรู้ความสามารถ
ขาดการพัฒนาต่อเนื่อง ทำงานตามสั่ง
ทั้งๆ ที่กรมประชาสัมพันธ์เอง ได้ชื่อว่ามีความพร้อมในเรื่องของอุปกรณ์
เครือข่ายสถานีวิทยุ และเครือข่ายสถานีโทรทัศน์ ที่ครอบคลุมสัญญาณทั่วประเทศ
มีสำนักข่าวผลิตข่าวทั่วประเทศมากกว่าองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.)
แต่กรมประชาสัมพันธ์กลับล้าหลัง อ.ส.ม.ท. ซึ่งมีการพัฒนาองค์กรไปได้มากกว่า
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตอบรับกับการมาของสื่ออินเทอร์เน็ต การทำเว็บไซต์จนเป็นที่รู้จัก
มีการปรับปรุงรายการทีวี ถึงแม้ว่าในหลายๆ ด้านยังมีความบกพร่อง อยู่ก็ตาม
แต่ก็ยังนับได้ว่ามีพัฒนาการเหนือกว่ากรมประชา สัมพันธ์ ที่ขาดพัฒนาการในด้านต่างๆ
แม้กระทั่ง บทบาทการเป็นประชาสัมพันธ์ให้กับรัฐ ก็ยังขาดความโดดเด่น หรือเป็นเอกภาพ
หน้าที่เหล่านี้จึงถูกกระจายให้หน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐดำเนินการเองโดยได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล
สาเหตุของปัญหา ที่ฝังรากลึกมานาน มากจากกรมประชสัมพันธ์ขาดผู้นำองค์กร
ที่มีทักษะความรู้ความสามารถ ขาดความสามารถในการตัดสินใจ จะเห็นได้ว่า ที่แล้วมาการคัดเลือกสรรอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
จะใช้วิธีคัดเลือกจากคนภายใน โดยจะอิงกับกระแสของการเมืองเป็นหลัก
“รองอธิบดีมีมากเกินไป และแต่ละคนไม่โดดเด่น ที่สำคัญไม่เข้มแข็งพอ ที่จะมาช่วยในการปฏิรูปช่อง
11”
บ่อยครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ก็มักจะมีการเปลี่ยนแปลง อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
และก็คัดเลือกจากรองอธิบดี ซึ่งมีอยู่หลายคน ปัญหา ที่ตามมาคือ การแตก แยกภายในองค์กร
แบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย
ส่วนหนึ่ง ที่ อ.ส.ม.ท.พัฒนาขึ้นมาได้ มาจากการที่รัฐบาลในยุคนั้น ตัดสินใจคัดเลือกผู้อำนวยการที่มาจากภายนอก
เช่น ยุคของแสงชัย สุนทรวัฒน์ เป็นยุคที่ อ.ส.ม.ท. มีพัฒนาการมากที่สุด
“การที่รัฐส่งคุณปิยสวัสดิ์มานั่งในตำแหน่งอธิบดี ส่วนหนึ่งก็ เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาความแตกแยกขององค์กรด้วย
เพราะถ้าเลือกรองอธิบดีคนใดคนหนึ่ง ก็ต้องมีปัญหากับรองอธิบดีคนอื่นๆ เวลาทำงานก็ไม่ได้รับความร่วมมือ”
แหล่งข่าวผู้รู้เรื่องดีในกรมประชาสัมพันธ์เล่า
ถึงแม้ว่ากรมประชาสัมพันธ์จะวางแนวทาง เพื่อรับมือกับผลกระทบ ที่เกิดขึ้น
ในการแปรรูประบบของสถานีโทรทัศน์ ช่อง 11 ให้เป็นองค์กรมหาชน จัดตั้งสถาบันพัฒนาการประชา
สัมพันธ์แห่งชาติ ที่อยู่ในรูปขององค์กรมหาชน ที่จะใช้ประสบ การณ์ และความรู้เดิมมาสร้างรายได้
รวมถึงการวางบทบาทของการเป็นสำนักงานคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
แต่สิ่งเหล่านี้จะพัฒนาไปไม่ได้ หากขาดผู้นำที่ดี ที่มีความรู้ความสามารถ
ที่เป็นปัญหาสำคัญของหน่วยงานแห่งนี้มาตลอด ก็คงไม่สามารถบรรลุสู่ป้าหมายได้ง่าย
รัฐบาลเองจะสูญเสียหน่วยงาน ที่จะทำหน้าที่ในการเป็นกระบอกเสียงที่ดีให้กับภาครัฐ
และนี่เป็นความท้าทายใหม่ของปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตผู้บริหาร ที่คร่ำหวอดงานด้านพลังงาน
จะอาศัยประสบ การณ์ในการตอบรับกับพลังของ “สื่อ” ที่ซับซ้อนมากขึ้น เหล่านี้ได้อย่างไร