พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อ ที่ชุมนุมรัฐมนตรี ข้าราชการ
และประชาชนเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540 เนื่องในวโรกาสวันเฉลิม พระชนมพรรษา
ณ ศาละดุสิดาลัย สวนจิตรลดา ทรงเตือนสติชนชาวไทย ว่า การใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือยหรือเกินความพอเพียงนับเป็นเหตุปัจจัยสำคัญ
อันนำมา ซึ่งวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ พระองค์ทรงมีพ ระราชดำรัสเกี่ยวกับ ความพอมี
พอกิน พอใช้ มาเป็นเวลากว่า 25 ปี แต่ไม่มีผู้นำรัฐบาลขุนนางนักวิชาการ (technocrats)
หรือข้าราชการท่านใดน้อมเกล้ารับพระราชดำรัสของพระองค์ไปพิเคราะห์ และผลักดันไปสู่การปฏิบัติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำเสนอ "ทฤษฎีใหม่" เป็นครั้งแรกในปี
2537 เพื่อให้เกษตรกรสามารถสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ และปรับ เปลี่ยนการผลิต เพื่อลดทอนความเสี่ยงอันเกิดจากความแปรปรวนทางธรรมชาติ
และความผันผวนทางเศรษฐกิจ และ เพื่อให้เกษตรกรยืนอยู่บนขาของตนเอง พระองค์ทรงเผยแพร่
"ทฤษฎีใหม่" อีกวาระหนึ่งภายหลังวิกฤติการณ์เศรษฐกิจ เดือนกรกฎาคม
2540 คราวนี้พสกนิกร น้อมเกล้ารับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่อย่างดียิ่ง
ทั้งนี้อาจเปรนเพราะความรุนแรงของวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้น
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสอด คล้องกับปรัชญาพุทธศาสนา ในประเด็นการยึดทางสายกลาง
ในการดำเ นินชีวิต ทั้งระดับปัจเจกชน ระดับครอบครัว ระดับชุมชน และระดับรัฐ
อีกทั้งสอด คล้องกับเศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ (Bud-dhist Economics) และ เศรษฐศาสตร์แบบคานธี
(Gandhian Economics) ในประเด็นการอยู่พอดีกิน พอดี และการพึ่งตนเอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงสนับสนุนการพึ่งตนเองชนิดสุดโต่ง
ถึงระดับ ที่ครัวเรือน ต้องผลิตทุกสิ่งทุกอย่างอันจำเป็นแก่การครองชีพเอง
ดังนั้น การใช้ความชำนัญพิเภษในการผลิตยังคงมีอยู่ เพียงแต่มีการกระจายการผลิต เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ
การแลกเปลี่ยนซื้อขายระหว่าง ครัวเรือนยังคงมีอยู่ ในทำนองเดียวกันปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมิได้ให้ข้อเสนอแนะในการปิดประเทศ
การค้าระหว่างประเทศยังคงมีตามปกติ เพียงแต่มิได้เน้นการผลิต เพื่อการพาณิชย์หรือการผลิต เพื่อการส่งออก
ในช่วงเวลาเดียวกับ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในปี
2517 ขบวนการพึ่งตนเองในชนบทเริ่มก่อตัว ทั้งนี้เป็นผลจากวิกฤติการณ์น้ำมันครั้งแรกในช่วงปี
2516- 2517 ขบวนการดังกล่าวนี้เติบใหญ่ และขยายตัวมากขึ้นภายหลังวิกฤติการณ์น้ำมันครั้ง ที่สองในปี
2522 จนก่อเกิด "ยุทธศาสตร์ ชุมชนท้องถิ่นพัฒนา"
การพึ่งตนเอง และ การผลิต เพื่อยังชีพ เน้นยุทธวิธีหลักของยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ทดลองแนวทางวนเกษตร นายแพทย์ประเวศ วะสี เสนอแนวทางพุทธเกษตรกรรม
การพัฒนาบนพื้นฐานของวัฒนธรรมชุมชน การให้ความสำคัญแก่ภูมิปัญญาท้องถิ่น
การรวมกลุ่ม เพื่อจัดตั้งองค์กรชุมชนหรือองค์กรชาวบ้าน เพื่อสร้างความแข็งแกร่ง และอำนาจต่อรองของภาคประชาชน
รวมตลอดจนการส่งเสริม ให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการจัดศรรทรัพยากรท้องถิ่นเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นยุทธวิธีสำคัญ
ของยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
ตลอดช่วงเวลา ที่ระบบเศรษฐกิจไทยเผชิญภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ระหว่างปี 2523-2529
ราษฎรในชนบทต้องพึ่งตนเองมากขึ้น เพราะมิอาจพึ่งรัฐบาลได้ ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นพัฒนาขยายตัวในชนบท
จนก่อให้เกิดทวิลักษณะของยุทธศาสตร์การพัฒนา ในขณะที่ราษฎรในชนบทยึดกุมยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทุกแห่งหน ที่เสด็จประพาส
รัฐบาลส่วนกลางกลับยึดกุมยุทธศาสตร์ "โลกานุวัตรพัฒนา" อันเป็นไปตาม
ฉันทมติแห่งวอชิงตัน (Washington Consensus)
ฉันทมติแห่งวอชิงตันเกิดจากการผลักดันขององค์กรโลกบาล (อันประกอบด้วยธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ)
องค์กรผลิตความคิด (Think Tanks) (ดังเช่น Institute for International Economics)
และ กลุ่มล็อบบี้ยิสต์ (Lobbyists) ณ นครวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา แนวนโยบาย
เศรษฐกิจตามฉันทมติแห่งวอชิงตันตรงกันข้ามกับ ฉันทมติว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจแบบเคนส์
(Keynesian Consensus)
เศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ (Key-nesian Economics) เปล่งอิทธิพล ภายหลังภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในทศวรรษ
2470 (The Great Depression)เนื่องจากสามารถให้อรรถาธิบาย และให้ข้อเสนอแนะทางนโยบายในการแก้ปัญหาได้
ในขณะที่สำนักเศรษฐศาสตร์คลาสสิก เผชิญภาวะความล้มเหลวทางวิชาการ อิทธิพลของเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์
ปรากฏโฉมชัดเจนมากขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้ง ที่สอง จนก่อเกิดกระบวนการโลกานุวัตรของเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์
(Globalization of Keynesian Economics) หรืออาจเรียกว่า กระบวนการเคนสานุวัตร
(Keynesianization)
กระบวนการเคนสานุวัตรมิได้เติบใหญ่เฉพาะในวงวิชาการเศรษฐศาสตร์เท่านั้น
หากขยายสู่กระบวนการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจด้วยจนก่อเกิด ฉันทมติว่าด้วยนโยบาย
เศรษฐกิจแบบเคนส์ (Keynesian Consensus) สาระสำคัญของฉันทมติดังกล่าวนี้อยู่ ที่
การแก้ปัญหาการว่างงาน และการจัดระบบรัฐสวัสดิการ (Welfare State) อันเป็นแนวนโยบายเศรษฐกิจ ที่เน้นบทบาทของภาครัฐบาล
ในทศวรรษ 2510 เมื่อเกิดภาวะ Stayflation (=Staynation+Inflation) อันเป็นสภาวการณ์ ที่ระบบเศรษฐกิจมีปัญหาการว่างงาน
และปัญหาเงินเฟ้อพร้อมๆ กันเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ก็ถึงจุดอับ เมื่อมิอาจให้อรรถาธิบาย
และข้อเสนอแนะทางนโยบายได้ ครั้นเมื่อเกิดวิกฤติ กยรณ์น้ำมันครั้งแรกในปี
2516 ฉันทมติว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจแบบเคนส์ก็สิ้นอิทธิพล โดยที่ฉันทมติแห่งวอชิงตันถีบตัวขึ้นมามีอิทธิพลแทน ที่
ลัทธิเสรีนิยมสมัยใหม่ (Neo-Liberalism) ลงรากปักหลักในสังคม เศรษฐกิจโลก
เมื่อโรนัลด์ เรแกน ยึดกุมเก้าอี้ประธานาธิบดีอเมริกัน และ มาร์กาเร็ต แธตเชอร์
ยึดครองอำนาจการบริหารสหราชอาณาจักรในช่วงต้น ทศวรรษ 2520 นับตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา
ฉันทมติแห่งวอชิงตันก็แผ่อิทธิพลปกคลุมโลก
แนวนโยบายเศรษฐกิจตามฉันทมติแห่งวอชิงตันมีพื้นฐานจากลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ
ดังนั้น จึงเน้นแนวทางเสรีนิยมทั้งด้านการค้า การลงทุน และการเงินระหว่างประเทศ
และด้วยเหตุ ที่เชื่อมั่นในประสิทธิภาพของกลไกราคาในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
ฉันทมติแห่งวอชิงตันจึง ต้องการการถ่ายโอนการผลิตจากภาครัฐบาลไปสู่ภาคเอกชน
(Privatization) และการลดการกำกับ และลดการควบคุม (Deregulation)
นับตั้งแต่ปี 2504 เมื่อสังคมเศรษฐกิจไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจ ที่ใช้เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนา ที่ไม่สมดุล
(Unbalanced Growth) โดยเน้นการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม และลงโทษภาคเกษตรกรรม
อีกทั้งให้ความสำคัญแก่เป้าหมายการจำเริญเติบโต ทางเศรษฐกิจมากกว่าเป้าหมายการแก้ปัญหาความยากจน
และการกระจายรายได้ ในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม ยุทธศาสตร์ ที่ใช้เริ่มต้นจากการพัฒนาอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้า
(Import Sub-stitution Industrialization) แล้วปรับเปลี่ยนมาเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อการส่ง
ออก (Expord-oriented Industrialization) โดยที่สังคมเศรษฐกิจ ไทยเข้าสู่ลู่วิ่งทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
(Catching-up Process) โดยหวัง ที่จะเปลี่ยนโครงสร้างเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่
(Newly Industrializing Country=NIC)
กระบวนการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจไทย ซึ่งปรับสู่แนวทางฉันทมติ แห่งวอชิงตันนับตั้งแต่ทศวรรษ
2520 และปรากฏโฉมชัดเจนนัชตั้งแต่ทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา เป็นกระบวนการที่ตรงกันข้ามกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เพราะละเลยหลักการ "อยู่พอดี กินพอดี" ละเลยหลักการพึ่งตน เอง
และละเลยการสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ผู้นำรัฐบาลไทย และขุนนางนักวิชาการเร่งเครื่อ
งสังคมเศรษฐกิจไทยในลู่วิ่งระหว่างประเทศ โดยหวัง ที่จะเป็น "เสือ"
เศรษฐกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสว่า
"...การจะเป็นเสือนั้น ไม่สำคัญ สำคัญอยู่ ที่เรามีเศรษฐกิจแบบ พอมีพอกิน
..."
บัดนี้ สังคมไทยพากันกล่าวขวัญถึงเศรษฐกิจพอเพียง วงวิชาการเศรษฐศาสตร์
แม้แต่เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ก็ถกเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง หน่วยราชการชูปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการของบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติประกาศ ที่จะยึด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ
ฉบับ ที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) ผู้นำรัฐบาล ข้าราชการ และนักเศรษฐศาสตร์พากันลงเรือ
"เศรษฐกิจพอเพียง" บางคนด้วยความเชื่อมั่นอันบริสุทธิ์ใจ โดยที่บางคนมิได้มีความบริสุทธิ์แห่งจิต
บัดนี้ เศรษฐกิจพอเพียงกลายเป็น "ฉันทมติแห่งกรุงเทพฯ" (Bangkok
Consensus) โดยที่ประชาชนในชนบท ในหลายภูมิภาค เดินตามแนวทางนี้มาก่อนเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว
สำหรับนักศึกษาปรากฏการณ์สังคม ประเด็น ที่สมควรแก่การศึกษาก็คือ เศรษฐกิจพอเพียงจะกลายเป็นยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาเศรษฐกิจไทยได้หรือไม่
และได้อย่างไร ในประการสำคัญ ฉันทมติแห่งกรุงเทพฯ จะขจัดอิทธิพลของฉันทมติแห่งวอชิงตันได้หรือไม่