The back up

โดย ไพเราะ เลิศวิราม
นิตยสารผู้จัดการ( มกราคม 2546)



กลับสู่หน้าหลัก

ดูเหมือนว่า การเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือระบบ CDMA ของฮัทชิสันเชื่อมโยงเข้ากับการมาเปิดสำนักงานในไทย ของควอคอมม์อย่างแยกไม่ออก การเป็นเจ้าของเทคโนโลยีระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ซึ่งเป็นระบบใหม่ของโทรศัพท์มือถือที่ถูกคิด ค้นเพื่อให้มีช่องสัญญาณขนาดกว้างในการรับส่งข้อความจำนวนมากๆ แต่การเป็นระบบ ใหม่ที่ยังแพร่หลายมาก ทำให้บริษัทควอคอมม์ ต้องออกแรงเป็นผู้สนับสนุนในทุกๆ ด้าน

"เราจะเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้เขารับทราบมาในฐานะของที่ปรึกษา เอาผู้เชี่ยว ชาญทางด้านต่างๆ มาช่วย" คนึงจิตร สุริยะ ธำรงกุล ผู้อำนวยการพัฒนาธุรกิจ บริษัท ควอคอมม์ ประเทศไทย จำกัด บอกกับ "ผู้จัดการ"

แม้ว่าสำนักงานของผู้คิดค้นระบบโทรศัพท์มือถือ จะเป็นเพียง service office ขนาดเล็กๆ ตั้งอยู่บนอาคารเอ็มไทย ทาวเวอร์ ริมถนนวิทยุ แต่ไม่ใช่สิ่งบ่งบอกถึงความรับผิดชอบที่พวกเขาต้องทำนับจากนี้

ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือระบบ CDMA 120 ล้านราย จากผู้ให้บริการ 90 ราย และในจำนวนนี้ แบ่งเป็นผู้ให้บริการ ที่นำระบบ CDMA 20001x มีผู้ใช้ 10 ล้าน รายจากผู้ให้บริการ 15 ราย

สำหรับควอคอมม์ การขายทิ้งส่วนธุรกิจผลิตเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน และเครื่องลูกข่ายไม่ได้หมายถึงการล่าถอยออกจากธุรกิจนี้ แต่เป็นการจัดวางบทบาทของการเป็นผู้สนับสนุนด้านเทคโนโลยีให้กับ โอเปอเรเตอร์

เพราะถึงอย่างไรควอคอมม์ก็ยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ chip set ที่จำหน่ายให้กับ ผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน และเครื่องลูกข่าย ยิ่งตลาด CDMA ขยายตัวมาก ขึ้นเท่าใดรายได้ของควอคอมม์ยังคงเพิ่มขึ้น

ระบบ tracking ซึ่งเป็นระบบติดตาม ด้วยระบบดาวเทียม เป็น 1 ในคุณสมบัติบน chip set ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ร่วมกับระบบ CDMA ปัจจุบันใช้ในธุรกิจรถขนส่งต่างๆ ใน สหรัฐอเมริกา เช่นเดียวกับระบบการส่งภาพยนตร์ทางดิจิตอล เป็นหนึ่งในแอพพลิเคชั่นหลักอีกประเภทของควอคอมม์

Brew (binary run time) เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของ application platform ที่ถูกสร้างขึ้นสำหรับใช้ในการพัฒนาเนื้อหาให้กับระบบ CDMA เพื่อเพิ่มความสะดวกในการสร้างเนื้อหาได้มากขึ้น

"โอเปอเรเตอร์ไม่ต้องมาทำ content ด้วยตัวเอง ระบบ brew จะมี server ตัวหนึ่ง ที่รวมเกม เนื้อหา จากพันธมิตรข้างนอก"

เครือข่ายอยู่ทั่วโลก ทำให้ควอคอมม์ทำตัวเป็นคนกลางเชื่อมโยงโอเปอเรเตอร์และ content provider สร้างความหลากหลายของเนื้อหาที่นำมาให้บริการแก่ลูกค้าภายใต้ระบบ CDMA ด้วยกัน

การอยู่ในฐานะเจ้าของเทคโนโลยี ทำให้ควอคอมม์ทำงานใกล้ชิดกับผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ หรือแม้แต่ตัวแทนจำหน่าย

"เราจะคุยกับผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือล่วงหน้า 3 เดือน หรือ 6 เดือนว่า จะมี feature อะไรใหม่ๆ บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้เขาวางแผนทำตลาด"

เช่นเดียวกับการเป็นตัวกลางเชื่อมโยง เอาความรู้ และประสบการณ์ของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือระบบ CDMA ในประเทศอื่นๆ มาช่วยเปิดให้บริการในเมืองไทย เป็นภาระหน้าที่หนึ่งของควอคอมม์

"เราต้องการให้โอเปอเรเตอร์ทุกราย ประสบความสำเร็จ" คนึงจิตรบอกถึงจุด มุ่งหมาย



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.