นายจ้างชะลอตั้งกองทุนสำรองฯ ฟินันซ่าชี้สับสนเงินสมทบกบช.


ผู้จัดการรายวัน(20 มกราคม 2549)



กลับสู่หน้าหลัก

วงการกองทุนยอม รับความไม่ชัดเจนในการจัดตั้งกอง ทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) ฉุดให้การขยายตัวธุรกิจกองทุนสำรอง เลี้ยงชีพมีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่อง จากนายจ้างชะลอการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หวั่นต้องจ่ายเงิน 2 เด้ง ทั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและ กบช."ฟินันซ่า"ประกาศบุก Employee's Choice สมบูรณ์แบบเจ้าแรกเผย 9 เดือนแรกกองทุนหุ้นมั่งคั่ง ให้ผลตอบแทนกว่า 15% ขณะที่กอง ทุนสำรองเลี้ยงชีพรูปแบบปกติให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 4% ตั้งเป้าพอร์ตกองทุนสำรองฯปีนี้ขยายตัว 15%

นางปาจรีย์ บุณยัษฐิติ ผู้อำนวย การ ฝ่ายการตลาดและบริการลูกค้า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ฟินันซ่า จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมการขยายตัวของธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในช่วงที่ผ่านมามีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากผู้ประกอบการชะลอการตัดสินใจจัดตั้งกองทุนสำรอง เลี้ยงชีพ เพื่อรอความชัดเจนเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่ง ชาติ(กบช.) ซึ่งจะเป็นกองทุนภาคบังคับ เพราะเกรงว่านายจ้างจะต้องส่ง เงินสมทบทั้งในส่วนของกองทุน สำรองเลี้ยงชีพที่มีอยู่แล้ว และต้องส่งเงินสมทบให้กับกบช. ซึ่งถือว่าเป็น การเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการที่สนใจจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่เป็นการออมภาคสมัครใจ

สำหรับพอร์ตกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ของบริษัทจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทั้งระบบ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2548 อยู่ที่ 329,206.46 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับสิ้นปี 2547 ที่มีพอร์ตรวมทั้งสิ้น 305,462.27 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 23,744.19 ล้านบาท

โดยในส่วนของบลจ.ฟินันซ่า ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2548 มีพอร์ตกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารจำนวน 13,792 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับสิ้นปี 2547 มีพอร์ตภายใต้การบริหาร 14,332.78 ล้านบาท หรือลดลง 540.78 ล้านบาท

"สาเหตุส่วนหนึ่งที่ให้พอร์ตกอง ทุนสำรองเลี้ยงชีพของเราปีนี้ปรับตัวลดลง เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่อง จากนายจ้างบางรายยกเลิกกิจการ ทำ ให้ต้องปิดกองทุน ขณะเดียวกันยังได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความไม่ชัดเจนในการจัดตั้งกบช. ส่งผลให้ผู้ประกอบการบางรายตัดสินใจชะลอการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ"

นางปาจรีย์ กล่าวว่า แผนการดำเนินงานในปีนี้บริษัทจะให้น้ำหนักกับการขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ โดยตั้งเป้าเพิ่มพอร์ตกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขยายตัวประมาณ 15% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยบริษัทจะมีการนำเสนอให้สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแต่ละคนสามารถเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเองได้ ซึ่งบริการนี้บริษัทนำเสนอภายใต้แนวคิด ของ Employee's Choice

โดยในปีที่ผ่านมา บริษัทได้เริ่มแนะนำ Employee's Choice ให้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภายใต้การบริหารของบริษัท ในช่วงเดือนมีนาคม มีนายจ้างเข้าร่วม 8 นายจ้าง คิดเป็นเงิน 20 ล้านบาท ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2549 หลังจากบริหารมาเป็น เวลา 9 เดือนให้ผลตอบแทนสูงถึง 10% เมื่อเทียบกับพอร์ตกองทุนสำรองเลี้ยง ชีพ ที่บริหารโดยทั่วไปของบริษัทให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยประมาณ 4%

สำหรับพอร์ตกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่บริหารในรูปแบบปกติจะแบ่งเป็นรูปแบบ A,B และ C โดยรูปแบบการบริหารแบบ A จะเน้นการลง ทุนในเชิงรุก ซึ่งจะลงทุนในตลาดหุ้นไม่เกิน 15% รูปแบบ B ลงทุนในหุ้นไม่เกิน 10% และรูปแบบ C จะเป็นแบบอนุรักษนิยม จะไม่ลงทุนในหุ้น

"ในปีนี้เราตั้งเป้าเพิ่มกลุ่มนาย จ้างที่สนใจลงทุนในรูปแบบของ Employee's Choice เพิ่มเป็น 50 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา มีการลงทุนจำนวน 20 ล้านบาท และ Employee's Choice ของเราถือเป็น เจ้าแรกที่เปิดทางให้สมาชิกสามารถเลือกลงทุนได้ตามความเหมาะสมของแต่ละคนได้"นางปาจรีย์ กล่าว

นางปาจรีย์กล่าวว่า Employee's Choice ของบริษัทจะแบ่งเป็น 2 กอง ทุน คือ กองทุนที่ลงทุนในพันธบัตร 100% และกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นทั้งในและต่างประเทศ (กองทุนหุ้นมั่งคั่ง) โดยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เข้า ร่วมโครงการ สมาชิกสามารถกำหนดสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรและหุ้นได้ด้วยตนเอง ตามความเหมาะสมของแต่ละคน

โดยกองทุนหุ้นมั่งคั่ง จะมี นโยบายนำเงินลงทุนในหุ้น SET 50 ประมาณ 40% และที่เหลือ 60% นำไปลงทุนในต่างประเทศผ่านกองทุนรวม ซึ่งปัจจุบันกว่า 80% ของเงินที่นำไปลงทุนในต่างประเทศลงทุนในกองทุน Finansa Global Allocation Fund (FAM GAF) ซึ่งเป็นกองทุนที่ตั้งขึ้นเพื่อนำเงินไปลงทุนในหน่วยลงทุนของ UBS Global Asset Management ซึ่งกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์กว่า 600 หลักทรัพย์ ใน 60 ประเทศทั่วโลก โดยมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 11% ต่อปี ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.