Horst Koehler ผู้นำ IMF คนใหม่

โดย รุ่งมณี เมฆโสภณ
นิตยสารผู้จัดการ( เมษายน 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

วุ่นกันอยู่พักหนึ่งในที่สุดก็ลงตัวจนได้

การสรรหาตัวกรรมการจัดการของกองทุน การเงินระหว่างประเทศ (International Mone- tary Fund - IMF) คนใหม่สืบแทนนายมิเชล กอง เดอซูส์ (Michel Camdessus) ที่ลาออกไปกลายเป็นว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด โดยเฉพาะเมื่อสหรัฐฯ ไม่ยอมให้การสนับสนุน นายไคโอ คอค-เว เซอร์ (Caio Koch-Weser) รัฐมนตรีช่วยคลังของเยอรมนี ที่สหภาพยุโรป เสนอมาในตอนแรก โดยอ้างว่านายคอค-เวเซอร์ไม่เข้มแข็งพอ ที่จะเป็นผู้นำ IMF ในยุคนี้

ยุคที่วิกฤติการณ์ทางการเงิน และเศรษฐกิจ เกิดขึ้นเกือบทั่วหัวระแหงของโลก รวมทั้งวิกฤติแห่งศรัทธา ที่บรรดาชาติสมาชิกส่วนหนึ่งมีต่อ IMF เอ ง

ท่าทีของสหรัฐฯ ดังกล่าว ที่ออกมาปฏิเสธ ผู้แทนของสหภาพยุโรปแบบ "ขวานผ่าซาก" นั้น ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรป โดยเฉพาะระหว่างสหรัฐฯ กับเยอรมนีขุ่นมัวขึ้นมาอย่างช่วยไม่ได้

เพราะได้มีการตกลงกันในลักษณะ "สัญญาสุภาพบุรุษ" จนกลายเป็นประเพณีตลอด มานับแต่ก่อตั้ง IMF ว่าตำแหน่งผู้นำของ IMF จะต้องเป็นของยุโรป ในขณะที่สหรัฐฯ ดูแลธนาคารโลก (World Bank) ดังนั้น เมื่อสหรัฐฯ มีปฏิกิริยาดังกล่าวออกมา จึงก่อให้เกิดคำถามจาก ทางด้านยุโรปว่า หรือสหรัฐฯ ต้องการคุมทิศทางของระบบการเงินโลกผ่าน IMF เสียเอง

อย่างไรก็ตาม ในที่สุดสหภาพยุโรปก็ได้ถอนชื่อนายคอค-เวเซอร์ และ เสนอนายฮอร์สต์ เคอเลอร์ (Horst Koehler) ประธาน European Bank for Reconstruction and Development หรือ EBRD ซึ่งเคยเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยคลังของเยอรมนีขึ้นมาแทน

คราวนี้ ทุกฝ่ายหายใจทั่วท้อง เมื่อประธานาธิบดีบิล คลินตัน (Bill Clinton) แห่งสหรัฐฯ ออกมารับรองนายเคอเลอร์โดยไม่รั้งรอ

ไม่เพียงแต่เท่านั้น ทางด้านญี่ปุ่นเองก็ออกมา "ให้ความร่วมมือ" ด้วยดี เมื่อสหรัฐฯ กับเยอรมนีกลับมาอี๋อ๋อกันอีกครั้ง โดยถอนชื่อ นาย เอซุเกะ ซะกะกิบะระ (Eisuke Sakakibara) หรือ "มิสเตอร์เยน" ซึ่งญี่ปุ่นส่งลงชิงตำแหน่ง ดังกล่าวในนามตัวแทนของเอเชีย ขณะที่นายสแตนลีย์ ฟิชเชอร์ (Stanley Fischer) ชาวอเ มริกันเชื้อสายเยอรมัน รองกรรมการจัดการ IMF คนที่ 1 ซึ่งรักษาการกรรมการจัดการ และเป็นผู้ที่ประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะในแอฟริกา และชาติอาหรับบางประเทศเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่งผู้นำ IMF ครั้งนี้ก็ได้แสดงเจตจำนงว่าพร้อม ที่จะอยู่กับ IMF ต่อไป แม้ว่าจะไม่ได้เป็นเบอร์หนึ่งก็ตาม!

ใคร ที่เคยคิดว่าศึกชิง IMF ครั้งนี้จะวุ่นวายเหมือนคราวสรรหาตัวผู้นำองค์การการค้าโลก หรือ WTO ก็เป็นอันว่าคิดผิด!

นายเทโอ ไวเกิล (Theo Waigel) อดีตรัฐมนตรีคลังของเยอรมนี ซึ่งเคยเป็น "นายเก่า" ของนายเคอเลอร์กล่าวว่า นายเคอเลอร์เป็นผู้เหมาะสมที่สุด สำหรับตำแหน่งกรรมการจัดการ IMF แม้ว่าทางอิตาลีจะงอดแงดในตอนแรกเกี่ยวกับตัวนายเคอเลอร์ โดยยอมรับว่าดีกว่านายคอค-เวเซอร์ แต่ก็ยังไม่เหมาะที่สุดในเชิงภูมิรู้ แต่ท้ายที่สุดอิตาลีก็ยอมหนุนนายเคอเลอร์ให้เป็นตัวแทนของสหภาพยุโรป

เพราะอย่างน้อยที่สุดก็ยังทำให้ตำแหน่งนี้ เป็นของยุโรปต่อไปตาม"ข้อตกลงสุภาพบุรุษ" ที่ทำกันไว้จนกลายเป็นประเพณีสืบต่อกันมา

แม้ว่าสหรัฐฯจะเป็นผู้กำหนดชัยชนะของยุโรปครั้งนี้ก็ตาม

IMFถือกำเนิดขึ้นมาภายหลังสงครามโลกครั้ง ที่สองมีกรรมการจัดการมาแล้ว7คนด้วยกันเป็นชาวฝรั่งเศส3คนรวมทั้งนายกองเดอซูส์ ซึ่งอยู่ในตำแหน่งนานถึง13ปีเป็นชาวสวีเดน2คนชาวเบลเยียม1คน และชาวเนเธอร์แลนด์อีก1คน

นายเคอเลอร์วัย57ปีผู้ที่สหภาพยุโรปเลือกให้เป็นตัวแทนสำหรับตำแหน่งกรรมการจัดการIMFผู้นี้ ถือว่าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ไม่น้อยในฐานะผู้ที่อยู่เบื้องหลังคอยแก้ไขปัญหาต่างๆทางการเงินการคลัง ในฐานะรัฐมนตรีช่วยคลังของเยอรมน ีเขามีส่วนในการทำให้ค่าเงินของ "2เยอรมนี" มามีอัตราแลกเปลี่ยนเดียวกัน รวมทั้งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการต่อรองในMaastrichtTreaty เกี่ยวกับ Europeaneconomicandmonetaryunion และเป็นผู้ที่ยอม ให้มีการจ่ายเงินจำนวนหลายพันล้านมาร์ก เพื่อ ที่จะให้กองทัพแดงของรัสเซียถอนออกไปจากเยอรมนีตะวันออก

ผู้ที่เคยทำงานกับนายเคอเลอร์บอกว่าเขาเป็นคนที่มีแรงขับเคลื่อน และเรียกร้องคนที่ทำงานร่วมกับเขาอย่างมาก... เป็นคนซื่อสัตย์ และเป็นคนที่ไม่เคยเก็บงำความคิดเห็นแม้เมื่อพูดหรือแสดงออกไปแล้วจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกอึดอัดก็ตาม

ส่วนผู้ที่ร่วมงานกับเขา ที่EBRD ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน ที่เน้นให้ความช่วยเหลือแก่ยุโรปกลางยุโรปตะวันออก และเครือจักรภพแห่งรัฐอิสระหรือCIS และมีสำนักงานใหญ่อยู่ ที่กรุงลอนดอนบอกว่า มีการเปลี่ยนแปลง ที่EBRDน้อยมากนับตั้งแต่นายเคอเลอร์ไปเริ่มบริหารEBRDเมื่อเดือนกันยายน1998โดยก่อนหน้านั้น นายเคอเลอร์ทำงาน ที่ German Saving Bank Association อยู่นาน5ปี

อย่างไรก็ตาม เพื่อนร่วมงานของนายเคอเลอร์ก็ยอมรับว่าเขาได้แสดงออกให้เห็นถึงความเป็น"นักสู้" ที่สามารถรับมือกับวิกฤติการณ์ต่างๆโดยเฉพาะในการจัดการกับงบดุลหลังจาก ที่EBRDได้รับผลกระทบอย่างมากจากการล่มสลายของเศรษฐกิจรัสเซีย

นายเคอเลอร์เป็นคนที่ทำงานหนักอย่างเหลือเชื่อ และต้องการให้ เพื่อนร่วมงานทำงานหนักเช่นเดียวกับเขา

แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีคำถามถึงความเหมาะสมของนายเคอเลอร์กับตำแหน่งกรรมการจัดการของIMF โดยเฉพาะกับความเป็นคนเจ้าอารมณ์ของเขา

รวมไปถึงคำถาม ที่ว่า กรรมการจัดการของIMFจำเป็นที่จะต้องเป็นคนยุโรปเท่านั้น ละหรือ

อย่างไรก็ตาม ก็คงต้องติดตามดูบทบาทของผู้นำIMFคนใหม่ ว่าจะสามารถรับมือกับวิกฤติการณ์ทางการเงิน ที่เกิดขึ้นอยู่เกือบทั่วโลกได้ดีเพียงไร...

โดยเฉพาะจะรับมือกับวิกฤติศรัทธา ที่คนจำนวนมากมีต่อ IMF เวลานี้อย่างไร..



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.