ฟาร์อีสทฯดีเลย"เข้าตลาดรอกฎโฮลดิ้ง ชี้ไม่กระทบแผนปีนี้ลุยค้าหุ้นครบวงจร


ผู้จัดการรายวัน(18 มกราคม 2549)



กลับสู่หน้าหลัก

ฟาร์อีสท์ แอสเซทส์ เลื่อนเข้าตลาดหุ้นไม่มีกำหนด รอเกณฑ์โฮลดิ้ง ก.ล.ต. ผู้บริหารเผย ไม่กระทบ หลังไตรมาส 1 เตรียมแผนสองดัน บล. เข้าจดทะเบียนแทน เล็งลงทุนในหุ้นเพิ่มจากพอร์ตเดิม 300-400 ล้านบาท ตั้งเป้ามาร์เกตแชร์ บล. ปีนี้ 2.5% จากเร่งเพิ่มลูกค้าสถาบัน ขณะนี้อยู่ระหว่างขออนุมัติจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคล ปีนี้มีหุ้นใหม่ดันเข้าจดทะเบียน ประมาณ 6 บริษัท

นายชัยพันธ์ พงศ์ธนากร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟาร์อีสท์ แอสเซทส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงการเข้า จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอเกณฑ์จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ที่มีการออกเกณฑ์เรื่องการ นำกลุ่มบริษัท (โฮลดิ้ง) ที่มีธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์เป็นธุรกิจหลังในการทำธุรกิจ ซึ่งส่งผลให้แผนในการ เข้าจดทะเบียนของบริษัทเลื่อนออก ไป จนกว่าเกณฑ์ดังกล่าวจะมีการจะมีการประกาศออกมา

ทั้งนี้ การเลื่อนการเข้าจดทะเบียนจะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท เนื่องจากบริษัทยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินระดมทุน โดยบริษัทจะเสนอ ขายหุ้นจำนวน 300 ล้านหุ้น แบ่งเป็นเสนอขายต่อประชาชนทั่วไปจำนวน 250 ล้านหุ้น และอีก 50 ล้านหุ้น เพื่อรองรับการแปลงสภาพ ของใบสำคัญแสดงสิทธิ โดยภายหลังการเพิ่มทุนจะมีทุนจดทะเบียน เป็น 1,300 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 1 บาท

สำหรับขณะนี้บริษัทมีทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท นั้นแบ่ง เป็นลงทุนใน บล. 500 ล้านบาท ลงทุนในบริษัท ฟาร์อีสท์ แคปปิตอล แอ๊ดไวเซอรี่ จำนวน 100 ล้านบาท และที่เหลือก็จะนำไปลงทุนในบริษัท ที่มีศักยภาพการเติบโตที่ดี โดยที่ผ่านมาลงทุนแล้ว 2 บริษัท
เป้ามาร์เกตแชร์ปีนี้ 2.5%

บริษัทตั้งเป้าส่วนแบ่งการตลาด ของบริษัทหลักทรัพย์ปีนี้ 2.5% ซึ่ง เป็นประมาณการเดิมจากปีที่ผ่านมา โดยขณะนี้ที่มี 1.9% ซึ่งลดลงจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากปีนี้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามามีอิทธิพลต่อตลาด หุ้นไทยมากถึง 40-50% ซึ่งบริษัทฯ ไม่มีฐานลูกค้าที่เป็นต่างประเทศจึง ทำให้มาร์เกตแชร์มีการปรับตัวลดลง

ทั้งนี้ การที่บริษัทจะสามารถมีมาร์เกตแชร์ตามที่ตั้งไว้นั้น บริษัท ก็จะมีการเพิ่มฐานนักลงทุนสถาบัน มากขึ้น โดยการจัดทำบทวิเคราะห์ให้นักลงทุนสถาบันมากขึ้น ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร โดยนักลงทุนสถาบันจะมีการพิจารณาการลงทุนทุกๆ 3 เดือนก็เป็นโอกาส ที่บริษัทจะได้ลูกค้าเพิ่ม ปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนลูกค้ารายย่อย 99% นักลงทุนสถาบัน 1% โดยในครึ่งปีแรก 2549 บริษัทไม่มีแผนที่จะเปิด สาขาเพิ่ม แต่คาดว่าจะมีการเปิดใน ครึ่งปีหลัง จากขณะนี้มี 5 สาขา โดยขณะนี้บริษัทมีลูกค้าเปิดบัญชี 6,000 ราย และมีการซื้อขายสม่ำเสมอ 30-40%

สำหรับมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ย ต่อวันปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 25,000 ล้าน บาทต่อวัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมที่คาด ว่าจะอยู่ที่ 20,000 ล้านบาทต่อวัน จากการที่นักลงทุนต่างประเทศยังคงมีการซื้อหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง และหากได้ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมที่คาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 20,000 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งปริมาณการซื้อขายดังกล่าวอยู่ในระดับประมาณการไว้ ก็เป็นระดับที่โบรกเกอร์ต่างๆพอใจ

นอกจากนี้ บล.ฟาร์อีสท์ ได้ร่วมทุนกับผู้บริหารจัดการกองทุน เพื่อจัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ซึ่งเป็นประเภทกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวต ฟันด์) โดยขณะนี้ได้มีการยื่นขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่ง บล.ฟาร์อีสท์จะถือหุ้น 51% โดยจะมีทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท โดยคาดว่าจะมีการเริ่มดำเนินธุรกิจได้ในครึ่งปีหลัง ซึ่งจะทำให้กลุ่มของบริษัทมีธุรกิจที่หลากหลาย

เปิดพอร์ตฟาร์อีสท์

นายศิริวัฒน์ ลิขิตนุรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทฟาร์อีสท์ แอสเซทส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การลงทุนของ บริษัทนั้นจะแบ่งเป็น 3 ส่วน ในส่วน แรกเป็นการลงทุนในพอร์ตระยะสั้น ซึ่งจะเป็นการลงทุนหุ้นในตลาด หลักทรัพย์ เน้นหุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานดี เช่น ไทยออยล์,ธ.กรุงเทพ ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม ช่วงต้นปีบริษัทได้ขายทำกำไรออกมาจนปัจจุบันนี้เหลือเพียงหุ้น ปตท.เท่านั้น

การลงทุนในส่วนที่ 2 จะเป็น การลงทุนโดยการถือหุ้นใน บริษัทหลักทรัพย์ ฟาร์อีสท์ และบริษัทฟาร์อีสท์ แคปปิตอล แอ๊ดไวเซอรี่ ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน โดยบริษัทจะมีรายได้จากเงิน ปันผลของทั้ง 2 บริษัทและการลงทุนในส่วนที่ 3 คือการลงทุนระยะยาว ได้แก่ การลงทุนในบริษัทที่ได้มีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว เช่น บมจ.โรงพิมพ์ตะวันออก (EPCO) และบมจ.ไทยเอนจิน เมนู แฟ็คเจอริ่ง(TEM) ซึ่งหุ้นที่เข้าไปลงทุนเหล่านี้จะติดไซเลนต์พีเรียดด้วย

นอกจากนี้ ยังลงทุนในหุ้นน้องใหม่ เช่น บมจ.ไทยยูนิคคอยล์ เซ็นเตอร์ (TUCC) นอกจากนี้ ยังการลงทุนในกิจการที่มีลักษณะของ การปรับโครงสร้างหนี้ที่ติดต่อให้บริษัทเข้าไปถือหุ้น

สำหรับรายได้ของบริษัทนั้นรายได้หลักจะมาจากการลงทุนในบริษัทที่มีการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่ง จะถือเป็นรายได้หลักในอนาคต ส่วนรายได้จาก บล.ฟาร์อีสท์ และบริษัทฟาร์อีสท์ แคปปิตอล แอ๊ดไวเซอรี่ ถือว่าเป็นจำนวนที่ไม่มากนัก

นายพิทักษ์ กิตติอัครเสถียร กรรมการผู้จัดการ บริษัทฟาร์อีสท์ แคปปิตอล แอ๊ดไวเซอรี่ จำกัดเปิดเผยว่า การลงทุนในบริษัทที่ปรับโครงสร้างหนี้แล้วนั้น ตามปกติจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนประมาณ 20-50% แต่บริษัทได้ตั้งเป้าว่าจะได้รับผลตอบแทนประมาณ 50-100%

แผนสองดันบล.เข้าตลท.แทน

สำหรับการนำ บมจ.ฟาร์อีสท์ แอสเซทส์ คอร์ปอเรชั่น เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯนั้น หลังจากไตรมาสแรกแล้ว บริษัทอาจจะมีการทบทวน เพื่อที่จะปรับแผนการนำเข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ใหม่ก็ได้ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้กำหนด แต่ก็มีความเป็นไปได้เช่นกันที่จะนำบริษัทหลักทรัพย์ ฟาร์อีสท์เข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ฯแทน แต่การนำบริษัทหลักทรัพย์ อาจจะมีความอ่อนไหว ในธุรกิจ เพราะธุรกิจหลักทรัพย์นั้นรายได้จะขึ้นอยู่กับภาวะตลาดหุ้นโดยรวม แต่ถ้านำบริษัทแม่ ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้งเข้าจดทะเบียนนั้น จะมีความมั่นคงมากกว่า เพราะจะมีรายได้หลายด้าน ไม่ได้พึ่งพิงแต่รายได้จากธุรกิจหลักทรัพย์เท่านั้น

นายธำรงค์ เชียรเตชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทฟาร์อีสท์ แคปปิตอล แอ๊ดไวเซอรี่ จำกัดกล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารอาคาร สงเคราะห์(ธอส.) ให้เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ในการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL) ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านบาท โดยจากการศึกษาข้อมูลบริษัทได้แนะนำให้ ธอส.จัดแบ่งหนี้ออกเป็น 2 ส่วนเป็นจำนวน 6 กองซึ่งแต่ละกองจะมีมูลค่าประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ การจัดแบ่งหนี้ออกเป็น 2 ส่วนนั้น ในส่วนแรกจะมีหนี้เอ็นพีแอล 2 กองทุน เพื่อนำไปขายให้แก่ผู้สนใจ ซึ่งปรากฏว่า บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพ (บสก.)เป็นผู้ประมูลได้ทั้งหมด และขณะนี้อยู่ระหว่างรับโอนหนี้ และหนี้ในส่วนที่ 2 ซึ่งได้จัดแบ่งเป็น 4 กองนั้นทาง ธอส. จะจ้างผู้คนนอกเข้ามาบริหาร

จากการที่บริษัทเป็นที่ปรึกษา ทางการเงินในการแก้ปัญหาหนี้เอ็นพีแอลนั้น ทำให้บริษัทจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท และเชื่อว่ายังมีสถาบันการเงินที่ต้องการแก้ปัญหาหนี้เอ็นพีแอล และกำลังหาที่ปรึกษาทางการเงินอยู่

นายธำรงค์ กล่าวว่า ในปีนี้บริษัทรับเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการเข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ ในทีมของตน จำนวน 3-4 บริษัท ซึ่งได้มีการยื่นไฟลิ่งแล้ว 1 บริษัท คือ เอกรัฐวิศวกรรม ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าระดมทุน 400-500 ล้านบาท และที่เหลือก็จะเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจพาณิชย์ และเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งทั้ง 2 บริษัทจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ซึ่งมีขนาดระดมทุน 100-200 ล้านบาท

ส่วนอีก 1 ทีม มี 2-3 บริษัท เช่น ธุรกิจออแกไนเซอร์ เกษตรและเหล็ก นอกจากนี้ก็จะมีที่ปรึกษา ด้านอื่น เช่น การควบรวมกิจการ ซึ่งเป็นทั้งในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดหลักทรัพย์


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.