SALEEเดินเครื่องผลิตสินค้า2โครงการ มั่นใจปีนี้โตเกิน30%เหตุบริษัทย่อยหนุน


ผู้จัดการรายวัน(18 มกราคม 2549)



กลับสู่หน้าหลัก

SALEE เร่งผลิตสินค้า PIC MATE ให้ลูกค้าตาม ออร์เดอร์มูลค่า 20 ล้านบาท พร้อมทั้งสาลี่ เอคอท (ประเทศไทย) ที่จะเดินเครื่องผลิตสินค้าเดือนกุมภาพันธ์นี้ มั่นใจบริษัทย่อย และโครงการใหม่เดินเครื่องปีนี้จะทำรายได้เข้าบริษัทแม่ให้เติบโตต่อเนื่องคาดไม่ต่ำกว่า 30%

นายสาทิส ตัตวธร กรรมการผู้จัดการ บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) (SALEE) เปิดเผยว่าการผลิตสินค้าชิ้นส่วนพลาสติกที่ใช้ในครัวเรือนเป็นชุดปิคนิก (PIC MATE) เพื่อให้แก่ลูกค้าที่มีออร์เดอร์จากเยอรมนีเข้ามา โดยคาดว่าจะเดินเครื่องผลิตอย่างเป็นทางการเดือนกุมภาพันธ์นี้ ซึ่งจะทำให้บริษัทรับรู้รายได้จากงานนี้ประมาณ 20 ล้านบาท และจะบันทึกบัญชีในไตรมาสแรกปีนี้ หลังจากที่ได้ทดลองผลิตเมื่อปลายปีที่ผ่านมา

โดยการผลิตสินค้าชนิดนี้ จะผลิตที่โรงพิมพ์พลาสติกเพื่อฉีดพลาสติกเป็นสินค้าตัวใหม่ และจะส่งออร์เดอร์ล็อตแรกให้แก่ลูกค้าที่ทวีปอเมริกา และทวีปยุโรป ซึ่ง สินค้าตัวนี้ SALEE ได้รับค่ามัดจำมาแล้วประมาณ 33% ของมูลค่าสินค้าทั้งหมดตั้งแต่ปลายปีที่แล้วและบริษัทเล็งที่จะส่งออกมากขึ้น หลังพบว่าการทดลองตลาด เมื่อปลายปีที่แล้วพบว่าได้รับการตอบรับที่ดี และโครงการผลิตพลาสติกชนิดนี้ถือว่าเป็นโครงการใหญ่สำหรับ SALEE

นอกจากนี้ SALEE ยังมั่นใจว่าการร่วมทุนกับสิงคโปร์คือ บริษัท สาลี่ เอคอท (ประเทศไทย) จำกัด โดย SALEE ถือหุ้น 52% เพื่อผลิตแม่พิมพ์นั้น จะได้รับอานิสงส์จาก Ray Tech Acot Sing. เป็นบริษัทในกลุ่ม Acot Group ซึ่งบริษัทใหม่นี้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอด้วย อันจะส่งผลดีต่อรายได้ของ SALEE ให้เติบโตได้ตามเป้าหมาย

นายสาทิสมั่นใจว่า การติดตั้งเครื่องจักรและการผลิตของบริษัทนี้จะเริ่มผลิตได้ปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้เช่นกัน เพราะขณะนี้เครื่องจักรได้เริ่มทยอยมาติดตั้งแล้ว โดยบางส่วนซื้อเครื่องจักรจาก บริษัทแม่ของเอคอท และซื้อมาจากยุโรป

"นี่คือสองงานที่เราจะเริ่มต้นสำหรับปีนี้ แม้ว่าไตรมาสสุดท้ายของเราจะแย่ เพราะเป็นผลจากการ ที่เราย้ายจากโรงงานแห่งเก่าไปยังโรงงานแห่งใหม่ที่มีคลีนรูมที่ทันสมัย ทำให้เราต้องมีค่าใช้จ่ายจากการย้ายโรงงาน ตลอดจนค่าเสื่อมราคาและรับผิดชอบค่าเสื่อมของเครื่องจักรเก่าด้วย แต่เราก็ไม่หวั่น เพราะปี 49 เราต้อนรับปีใหทม่ที่สดใสแน่นอน" นายสาทิสกล่าว

โดยกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ความสามารถในการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้น โดยจากเดิมที่บริษัทผลิตให้ลูกค้าบริษัทญี่ปุ่นที่มีโรงงานอยู่ในเมืองไทย 95% และส่งออกเพียง 5% เท่านั้น ซึ่งนับจาก ปี 49 เป็นต้นไป SALEE จะเพิ่มสัดส่วนการส่งออกให้ได้ถึง 20% ที่เหลือคือการจำหน่ายในประเทศ อันเป็นผลจากการที่ได้กำลังผลิตการฉีดพลาสติกจาก 2,700 ตันต่อ ปีเป็น 4,000 ตันต่อปี

ขณะที่ สาลี่ปริ้นท์ติ้ง ที่ยังคงทำเงินให้บริษัทแม่อย่างต่อเนื่อง ด้วย ที่ทำเงินเข้าสู่บริษัทแม่ได้กว่า 100 ล้านบาท จากการทำฉลากสินค้า โดยบริษัทคาดว่าในอนาคตบริษัท P&G จะรับคำสั่งให้สาลี่พริ้นท์ติ้ง ผลิตฉลากสินค้าให้หลาก หลายมากขึ้น จากที่ปัจจุบันที่รับความไว้วางใจในการผลิตฉลากให้กับโอเลย์แล้ว ซึ่งขณะนี้ สาลี่ พริ้นท์ติ้ง จำกัด ซึ่งได้เปิดสำนักงาน สำสำนักงานขายที่ ประเทศออสเตรเลีย เพื่อเป็นตัวแทนในการ จำหน่ายสินค้าให้กับ สาลี่ พรินติ้ง และรับออร์เดอร์ในประเทศดังกล่าว และแนวโน้มดีสำหรับตลาดนี้ เพราะเป็นตลาดที่ใหญ่ ขณะที่มีผู้ประกอบการ เพียง 3-4 ราย ทำ ให้บริษัทมีโอกาสที่จะเติบโตได้มาก

สำหรับการเติบโตของรายได้ปี 49 ของ SALEE จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 30% ซึ่งเป็นการเติบโตตามอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.