18 มีนาคม ที่ผ่านมา เป็นวันที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มีอายุ ครบรอบ
40 ปี
"เราจะใช้จุดครบรอบ 40 ปีนี้ เป็นจุดเริ่มต้นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการทำงาน
ตลอดจนวิธีคิดต่างๆ ใหม่ เพื่อให้สามารถรับกับสถานการณ์แวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป"
ภราเดช พยัฆวิเชียร ผู้ว่าการททท.คนที่ 5 ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคม
ที่ผ่านมากล่าวกับ "ผู้จัดการ"
ททท.เป็นรัฐวิสาหกิจ ที่ถือกำเนิด ขึ้นในยุคที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ในปี 2503
ช่วงเวลาดังกล่าว ถือเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาคธุรกิจ ครั้งใหญ่ในประเทศไทย
อันเนื่องมาจากการเริ่มหลั่งไหลกลับเข้ามาอีกครั้ง ของเงินทุนจากตะวันตก
หลังจากหยุดนิ่งไปยาวนานในช่วงหลังสงครามโลกครั้ง ที่ 2
ปัจจัย ที่เกื้อหนุนให้รัฐบาลในขณะนั้น เห็นความสำคัญของการท่องเที่ยว มาจากรายงานของบริษัทเช็คกี้
ที่สมาคมส่งเสริ มการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก (PATA) ได้ว่าจ้างเข้ามาศึกษาเกี่ยวกับศักยภาพทางด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้
ระบุว่าประเทศไทย สามารถพัฒนาเป็นประเทศท่องเที่ยวได้ โดยมีเหตุผลสำคัญ 2
ประการ คือ
1. ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค และ 2. ประเทศไทยมีวัตถุดิบ
ที่สามารถพัฒนาการท่องเที่ยวในตัวอยู่แล้วเป็นจำนวนมาก
จอมพลสฤษดิ์ได้สถาปนาองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว (อ.ส.ท.) ขึ้นมา เพื่อดูแลการพัฒนาการท่องเที่ยวในประเทศโดยเฉพาะ
โดยให้ความสำคัญถึงขั้นมอบหมายให้ พล.ท.เฉลิมชัย จารุวัสตร์ นายทหารคนสนิท
เข้ามาเป็นผู้อำนวยการคนแรก และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจาก อ.ส.ท. เป็น ททท.
ในปี 2522
ตลอดเวลา ที่ผ่านมาการท่องเที่ยว ได้รับการยอมรับว่าเป็น 1 ในแหล่งรายได้หลักของประเทศนอกเหนือจากการส่งออก
เพราะจำนวนนักท่องเที่ยว ที่เดินทางเข้ามาในประเทศ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก
81,340 คนในปี 2503 มาเป็น 8,580,332 คนในปี 2542 ส่งผลให้มีรายได้เข้าประเทศเพิ่มสูงขึ้นจาก
196 ล้านบาท มาเป็นปีละ 3 แสนล้านบาทในปัจจุบัน
และเม็ดเงิน ที่ได้รับจากการท่องเที่ยวก็เป็นเงินสด ที่กระจายลงไปทั่วทุกภูมิภาค
ไม่กระจุกตัวอยู่ในภาคใดภาคหนึ่ง
โดยเฉพาะในช่วง ที่เกิดภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวถือเป็นความหวังสำคัญ
ที่จะกระตุ้นให้เศรษฐกิจของประเทศสาม ารถฟื้นตัวขึ้นได้จากรายได้ ที่มีเข้ามาเป็นจำนวนมากดังกล่าว
แต่จากรายได้ ที่มีเพิ่มเข้ามา ก็เป็นแรงกดดันสำคัญ ให้ททท.จำเป็นต้องปรับตัว
ภราเดชมองว่า ปัจจุบันสถานการณ์ต่างๆ ที่แวดล้อมธุรกิจท่องเที่ยวของไทย
ได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการแข่งขันจากประเทศต่างๆ ที่มีแหล่งท่องเที่ยวอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน
ตลอดจนการเข้ามาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ที่สำคัญฐานการท่องเที่ยวของไทยก็เปลี่ยนแปลงไปเพราะนักท่องเที่ยว ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยขณะนี้
มีความตระหนักถึงความปลอดภัยสุขอนามัย และมีความสนใจเฉพาะทางมากขึ้น
"เดิมเราเคยเน้นแต่เรื่องของ SUN-SAND- SEA แต่เดี๋ยวนี้เราต้องคำนึงถึงความแท้ดั้งเดิม
ความเป็นท้องถิ่น และวัฒนธรรมพื้นบ้านมากขึ้น" จุดดังกล่าวเป็นสิ่งที่ภราเดชมองว่า
หลังจากนี้ไป ททท.จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการวางโครงการพัฒนา และแผนการตลาดให้มีความสอดคล้องกับ
ฐานการท่องเที่ยว ที่เปลี่ยนไปดังกล่าว
นอกจากนี้ มาตรการรักษาความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
ที่ภราเดชให้ความสำคัญค่อนข้างมาก เพราะสถิติอาชญากรรม ที่เกิด ขึ้นกับนักท่องเที่ยว
มีเพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็วในช่วงหลัง
จึงได้มีการประสานงานไปยังหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไปให้ช่วยกันดูแลให้ความปลอดภัย
และความสะดวกกับนักท่องเที่ยว ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น
การปรับตัวของ ททท.แม้จะเป็นเรื่องสำคัญต่อการพัฒนาการท่องเที่ยว แต่ก็ยังคงเป็นเพียงการปรับตัวจากหน่วยงานในภาครัฐ
สิ่งที่ภราเดชยังมีความกังวลอยู่ก็คือ ในภาคเอกชน เพราะการที่ธุรกิจท่องเที่ยว
ยังไม่มีองค์กร ที่เป็นกลาง ที่จะเข้ามาดูแลอย่างแท้จริง เป็นเรื่อง ที่มีผลถึงแนวทางการพัฒนาในระยะยาว
บทบาทดังกล่าว ททท.ไม่สามารถทำได้เพราะมีข้อจำกัดตรง ที่เป็นหน่วยงานของรัฐ
ซึ่งจะต้องดำเนินการตามกฎหมาย
"ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นธุรกิจ ที่ไม่มีระบบล็อบบี้ยิสต์ แม้ว่าจะสามารถทำรายได้ให้ประเทศนับแสนล้าน"
ภราเดชยกตัวอย่างข้อแตกต่างของธุรกิจท่อง เที่ยว ที่ไม่เหมือนธุรกิจอื่น
ที่สามารถทำรายได้เข้าประเทศได้น้อยกว่า
"ภาคการเกษตร ภาคการประมง เวลาเขามีปัญหา เขาก็สามารถนัดชุมนุมยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐได้
แต่ธุรกิจท่องเที่ยวเวลามีปัญหาอะไร เขาไม่มีคนกลาง ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการเจรจากับรัฐ
ซึ่งถือเป็นอุปสรรคสำคัญ"
เป็นสิ่งที่ภราเดชอยากให้เกิดขึ้นในช่วงหลังจากนี้
แต่ใครจะเป็นผู้ริเริ่มระหว่างรัฐหรือเอกชน