สมาคมบลจ.ขอเวลาคลัง5ปี แต่งตัวรับFTAไทย-สหรัฐฯ


ผู้จัดการรายวัน(11 มกราคม 2549)



กลับสู่หน้าหลัก

สมาคม บลจ. เสนอกระทรวงการคลัง ขอเวลา 5 ปี เตรียมความพร้อมรับมือ FTA ไทย-สหรัฐฯก่อนเปิดเสรีอย่างเต็ม ที่ ระบุต่างชาติเข้ามาตั้งบลจ.ได้ แต่ ต้องกำหนดกรอบเอาไว้ ไม่ใช่ว่าทำ อะไรก็ได้ทุกอย่าง เผยต้องการให้ ก.ล.ต. เข้ามาตรวจสอบสินค้าที่นำเข้ามา และต้องอยู่ภายใต้กฏหมายไทยด้วย ขณะที่ความชัดเจน ในการกำหนดวงเงิน FIF ล่วงหน้า ธปท.-ก.ล.ต. เห็นด้วย เตรียมนำเข้าแผนแม่บทฯ ฉบับที่ 2 พร้อมแนวทางเพิ่มสัดส่วนนักลงทุน ด้วยการบุกตลาดภูธร

นายวีรโชติ จิรบวรพงศา ผู้อำนวยการ และเลขาธิการสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมของบริษัทจัดการกองทุน (บลจ.) สำหรับการเปิดเสรีทางการเงิน หรือ FTA ไทย-สหรัฐฯว่าทางสมาคมบลจ.ได้ส่งหลังสือถึงกระทรวงการคลังไปก่อนหน้านี้ เพื่อให้พิจารณาและรับทราบถึงแนวทางในการกำกับดูแลผู้ประกอบการต่างชาติที่จะเข้ามาหลังจากเปิดเสรีทางการเงินดังกล่าว โดยสาระสำคัญที่เสนอกระทรวงการคลังไปนั้น ต้องการให้มีการตรวจสอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนที่ผู้ประกอบการนำเข้า มา

โดยเห็นว่าผู้ประกอบต่างชาติ ที่ต้องการเข้ามาแข่งขันในธุรกิจกองทุนรวมนั้น สามารถเข้ามาตั้งบลจ.ในประเทศได้ แต่ในเบื้องต้นอยากให้มีการกำหนดกรอบเอาไว้ ไม่ใช่หลังจากเข้ามาแล้วสามารถดำเนินการได้ทุกอย่างทันที รวมทั้งต้องอยู่ภายใต้กฏหมายการกำกับของไทยด้วย ซึ่งสมาคมบลจ. ได้เสนอระยะเวลาในการเตรียมความพร้อมของบลจ.ในประเทศไว้ 5 ปี ก่อนที่จะมีการเปิดเสรีดังกล่าวอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ เพื่อให้มีการศึกษาและเรียนรู้ถึงวิธีปฏิบัติซึ่งกันและกันไปก่อน โดยในระหว่างนี้ก็ให้ภาครัฐเข้ามาช่วยส่งเสริมด้วย โดยเฉพาะเรื่องของการเข้าไปลงทุนในต่างประเทศ

"ยังไงเรื่องของ FTA ก็จะต้องเกิดขึ้นแน่นอน อยู่ที่ว่าจะช้าหรือเร็วเท่านั้น ซึ่งจะเหลืออีกกี่ปีก็ตาม เรื่องนี้ขอให้เราพร้อมก่อน แต่ถ้าจะเปิดต้องค่อยๆให้เขาเข้ามา เพื่อให้เราได้ศึกษาซึ่งกันและกันหลังจากนั้นจึงค่อยเปิดเสรีอย่างเต็มที่ เราเองก็ไม่ได้คัดค้านแต่เราต้องดูตัวเราว่าต้องทำอะไรบ้างเพื่อรับการแข่งขันดังกล่าว" นายวีรโชติ กล่าว

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ประกอบการในประเทศ จะต้องสร้างฐานลูกค้าของตัวเองให้กว้างและมีความแข็งแกร่งมากขึ้น เพื่อรองรับ การแข่งขันดังกล่าว เนื่องจากธุรกิจ กองทุนรวม เป็นธุรกิจที่อาศัยความ ไว้วางใจจากผู้ลงทุน จำเป็นที่จะต้องเตรียมควาพร้อมในเรื่องนี้ ซึ่งหลังจากแข็งแกร่งแล้ว การเข้ามาของผู้ประกอบการต่างชาติก็จะไม่มีผลกระทบมากนัก แต่ก็อาจจะมีนักลงทุนที่มีความรู้บางส่วนสนใจการลงทุนแบบใหม่ๆ บ้าง แต่ก็จะมีการกระจายความเสี่ยงออกไปด้วยเช่นกัน

สำหรับเรื่องการขอวงเงินจัดสรรให้บลจ.นำไปลงทุนต่างประ-เทศผ่านกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIF) นั้น นายวีรโชติกล่าว ว่า ได้มีการหารือระหว่างสำนักงาน ก.ล.ต.และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเรื่องดังกล่าวทั้งสองฝ่ายเห็นด้วย ส่วนตัวเลขวงเงินที่จะจัดสรรให้แต่ละปีนั้นจะเป็นเท่าไหร่นั้น ยังไม่มีการกำหนด

ทั้งนี้ การกำหนดวงเงินลงทุน ในต่างประเทศไว้ล่วงหน้าและมีความชัดเจนในแต่ละปี จะช่วยให้ผู้ประกอบการใช้เป็นบททดสอบเพื่อรับมือการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นหลังการเปิดเสรีทางการเงิน ซึ่งการลงทุนต่างประเทศที่เกิดขึ้นช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ยังไม่มีการกำหนดวงเงินที่ชัดเจนว่าในอนาคต จะให้อีกหรือไม่และจะให้อีกเท่าไหร่ ทำให้ไม่มีความต่อเนื่องในการขายหน่วยลงทุน นอกจากนี้ การที่ไม่ มีวงเงินล่วงหน้า ทำให้บลจ.ต้องรีบ ขอเนื่องจากเกรงว่าจะไม่ได้รับการจัดสรรอีก ซึ่งหากมีการกำหนดไว้ล่วงหน้าอย่างชัดเจน บลจ.ที่ยังไม่มีความพร้อมก็อาจจะรอใช้ในปีต่อไปได้

"เงินที่ได้รับการจัดสรรมาต้องกระจายให้แต่ละบลจ. ในสัดส่วนที่เท่ากัน ซึ่งการที่บางส่วนยังไม่ไปลงทุนในต่างประเทศ เนื่อง จากต้องการเซตอัปกองทุนให้มีขนาดใหญ่พอสมควร เพราะการลงทุนในต่างประเทศหากเล็กเกินไป ก็ไม่ได้รับความสนใจจากนักลง ทุนมากนัก โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติ" นายวีรโชติกล่าว

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของวง เงินที่ลงทุนในต่างประเทศ สมาคม บลจ.จะบรรจุเรื่องดังกล่าวไว้ในแผนที่จะเสนอเข้าไปในแผนแม่บทพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 2 ด้วย นอกจากนี้ ยังจะให้ความสำคัญแก่การเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนในธุรกิจ กองทุนรวม ผ่านทั้งกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนอื่นๆ มากขึ้น โดยจะเน้นการขยายฐานผู้ลงทุนในพื้นที่ต่างจังหวัด ด้วยการเข้าไปให้ความรู้ความเข้าในเกี่ยวการลงทุนในกอง ทุนรวมมากขึ้น ซึ่งจะลงลึกไปถึงการวางแผนการลงทุนด้วย เพื่อให้ผู้ลงทุนเห็นว่า การลงทุนผ่านกอง ทุนรวมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการลงทุน และการออม


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.