เมื่อออกจากมหานครลอนดอน ไปสู่เมืองมหาวิทยาลัย "University of Oxford"
โดยนั่งรถไฟ Thames Trains สักชั่วโมงกว่า ก็จะพบกับสถานศึกษาอันเก่าแก่แห่งหนึ่งของ
โลก ที่ซึ่งเป็นศูนย์กลางภาษาและวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองในศตวรรษที่ 19 แต่ปัจจุบันกำลังถูก
ตั้งคำถามถึงความเสื่อมถอยของจำนวนชนชั้นผู้นำที่เคยเป็นศิษย์เก่าที่นี่
ผลสำรวจภูมิหลัง 100 ผู้นำธุรกิจ การเมืองและสังคมของอังกฤษโดย The Economist
ระหว่างปี 1972-1992 ให้ผลสำรวจที่แสดงว่า บรรดาท่านเซอร์และลอร์ดซึ่งเคยเป็นศิษย์เก่า
Oxbridge คือ มหา วิทยาลัย Oxford และ Cambridge มีจำนวน น้อยลง ขณะที่ผู้นำยุคใหม่ตกเป็นของคนเก่งที่มีความสามารถ
ตามแบบฉบับ Meritocrats ผู้ไม่ต้องอาศัยบารมีชาติตระกูลผู้ดีเก่าแก่ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจเอกชนที่เห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนในระยะ
10 ปีที่ผ่านมา ผู้บริหารหมายเลขหนึ่งส่วนใหญ่ไม่เคยเป็นศิษย์เก่าสองสถาบันหลักดังกล่าว
เช่น John Gardiner ประธาน Tesco, Niall Fitz Gerald ประธานชาวไอริชของ Unilever
ในโลกการแข่งขันรุนแรงที่มีผลจากการเปิดเสรีและโลกาภิวัตน์ในศตวรรษที่
21 หลายบริษัทยักษ์ใหญ่ควบรวมกิจการจนเป็นบรรษัทข้ามชาติ และกำลังกลืนกินระบบเศรษฐกิจโลกอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน
นักบริหารระดับสูงของบริษัทยักษ์ใหญ่ในอังกฤษเป็นชาวต่างชาติมากขึ้น เช่น
Percy Barnevik ประธานชาวสวีเดนของกิจการ AstraZeneca, Robert Thomson ผู้บริหารระดับสูงของ
น.ส.พ.Times เป็นชาวออสเตรเลีย
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ระบบการศึกษาของผู้ดีอังกฤษจะดำรงปัญญาอยู่อย่างอนุรักษ์หัวเก่าเช่นนั้นหรือ?
คำถามนี้เกิดขึ้นขณะที่เดินเที่ยวรอบๆ บริเวณมหาวิทยาลัย Oxford ที่มีบรรยากาศขรึมขลังและเก่าแก่ในหมู่ตึกทรงโบราณ
ตามประวัติ มหาวิทยาลัย Oxford มีอายุมากถึง 800 ปี ไม่ปรากฏชัดเจนว่าก่อตั้งเมื่อใด
แต่ในปี 1167 ในรัชสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 ซึ่งมีนโยบายทางการเมืองที่จะป้องกันนักเรียนอังกฤษมิให้ไปเรียนที่มหา
วิทยาลัยปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้ทรงใช้ Oxford เป็นสถาบันหลักสร้างคนหนุ่มคนสาว
อังกฤษขณะนั้น กลายเป็นแหล่งผลิตชนชั้นปกครองผู้ดีอังกฤษที่สืบทอดต่อๆ กันมา
มี นายกรัฐมนตรีอังกฤษ 25 คนที่จบจากที่นี่
อังกฤษกลายเป็นศูนย์กลางความเจริญ ในศตวรรษที่ 18-19 ปัญญาประดิษฐ์ที่นำประเทศไปสู่อุตสาหกรรมและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจการเมือง
รวมทั้งครอบงำประเทศอาณานิคม โดยภาษาและวัฒนธรรมในฐานะชนชั้นปกครอง ที่ทั่วโลกต้องส่งลูกหลานไปเรียนรู้ศาสตร์นี้
ไม่เว้นแม้แต่ประเทศ ไทย ที่นิยมส่งลูกท่านหลานเธอไปอังกฤษ แล้วกลับมารับราชการหรือทำการค้าในเวลาต่อมา
คณะเรียนของมหาวิทยาลัย Oxford ปัจจุบันมีทั้งหมด 39 Colleges รายรอบมหาวิทยาลัย
เห็นภาพนักศึกษาขี่จักรยานกัน ขวักไขว่บนถนน High Street ที่มีร้านรวงไว้ซื้อของกินของใช้
ธนาคาร ร้านขายโทรศัพท์มือถือ ร้านหนังสือ Waterstones" และสำนัก พิมพ์ Oxford
University Press ตลอดจนร้านขายของที่ระลึกของที่นี่ด้วย
ไม่ใกล้ไม่ไกลจาก Central Oxford เดินไปดูสายน้ำเทมส์ที่ Henley สถานที่จัดแข่งเรือประเพณีระหว่างมหาวิทยาลัย
Oxford กับ Cambridge อันเก่าแก่ตั้งแต่ปี 1829 จวบจนถึงปัจจุบัน ซึ่งล่าสุด
Oxford เป็นทีมชนะในการแข่งเรือครั้งที่ 148 เมื่อมีนาคมปี 2002 นี้เอง ในอดีตเคยมีอาจารย์บางคนเสนอ
ให้งดประเพณีนี้ไปเพราะเสียเวลาและเสียเงิน แต่ก็ไม่สำเร็จ ด้วยความยึดมั่นถือมั่นของคนอังกฤษว่า
สิ่งไรที่เป็นประเพณีแล้วในประเทศ อังกฤษ ยากที่ผู้ใดจะมาเลิกได้ง่ายๆ
อย่างไรก็ตาม ที่ Oxford นี้ยังมีโครง การให้ทุนและแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหา
วิทยาลัยทั่วโลก 80 ประเทศ ภราไดย ธีระธาดา หรือ "คุณดุ๊ก" ศิษย์เก่า
Oxford ซึ่งเป็น คนไทยที่เกิดและเติบโตที่สหรัฐฯ คุ้นเคยกับระบบการศึกษาแบบฝรั่งมาตั้งแต่ประถมที่โรงเรียนชั้นนำ
St.Steven จนจบปริญญาตรีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย North Carolina ด้วยคะแนนเกียรตินิยม
และสมัครเข้าเรียนโครงการแลกเปลี่ยนที่ Oxford เหมือนที่บิล คลินตัน เคยทำ
เล่าใหัฟังว่า
"ผมอยากเรียนด้านกฎหมายที่นี่ซึ่งดีกว่าอเมริกา จึงสมัครเข้าโครงการแลกเปลี่ยน
3 ปี คล้ายปริญญาโท graduate school ตอนสมัครผมเขียนเรียงความเรื่อง คนเอเชียในอเมริกามีปัญหาอะไรและรัฐบาลสหรัฐฯต้องทำอย่างไรให้เสมอภาคทั้งชาติผิวสีต่างๆ
หลังจากนั้นเขาก็รับอาจารย์ของผมดีมาก ท่านอายุ 75 แล้วแต่ยังมีสมองปราดเปรื่อง
สอนพวกเรา 5-6 คนในห้องอาจารย์ เป็นคลาสเล็กๆ เราเรียนหนักมาก แต่ก็ยังต้องเล่นกีฟาด้วย
เช่น ฟุตบอล เบสบอล หรือรักบี้
ขณะเรียนกฎหมายที่ออกซ์ฟอร์ด ก็จะมีการจำลองคดีในศาล ผมก็ต้องใส่วิกและสวมชุดทนาย
barrister เพื่อว่าความdefense คดี บรรยากาศเครียดมาก ผมจึงอยากทำให้มันสนุก
จึงผูกเนกไทรูปผู้หญิงโป๊ไปงานนี้ โดนอาจารย์ผู้หญิงว่า เนกไทไม่เหมาะสม
ผมก็อ้างว่าเนกไทเส้นเก่ามันสกปรก จึงต้องใส่อันนี้แทน แต่อาจารย์บอกว่าถึงจะสกปรก
ก็คงจะไม่สกปรกเท่าอันนี้หรอกนะ เรียกเสียงหัวเราะได้"
อารมณ์ขันแบบนี้มีประปรายในการเรียน แต่โดยส่วนใหญ่เขาเล่าว่า จะเครียดมาก
จนนอนไม่หลับโดยเฉพาะช่วงสอบมิดเทอมและสอบ final หลังจากจบแต่ละภาคการศึกษา
ซึ่งมีอยู่ 3 เทอม คือ Michaelmas Term (ต.ค.-ธ.ค.) Hilary Term (ม.ค.-มี.ค.)
และ Trinity Term (เม.ย.-มิ.ย.) ก่อนจะพักยาว 11 วันในเดือนกันยายน
เมื่อเปรียบเทียบการเรียนระหว่างมหาวิทยาลัย เขาบอกว่า Cambridge จะมีวิธีเรียนที่
conservative และ traditional น้อย กว่า Oxford
"ผมชอบออกซ์ฟอร์ด ซึ่งเขาให้ทุนคนจนได้มีโอกาสเรียน เพราะส่วนใหญ่นักเรียน
ออกซ์ฟอร์ดจะรวย" ตัวเลขหนึ่งในสามของนักศึกษาจำนวน 16,500 คน ในปี
2000-2001 มาจากคนร้อยพ่อพันแม่จาก 130 สัญชาติผิดแผกแตกต่างกัน มีจำนวน
5,000 คน เรียน ระดับปริญญาโท และที่น่าสนใจคือตัวเลขบัณฑิตตกงานของ Oxford
ประมาณ 5.5% ของทั้งหมด หรือประมาณ 800 กว่าคน
ตัวเลขนี้ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า บัณฑิต Oxford ตกงานบางส่วนเหล่านี้อาจจะเป็นภาพสะท้อนถึงความไม่สามารถแข่งขันได้ในสังคมยุคโลกาภิวัตน์นั่นเอง
!