ลาก่อน... แดนเนรมิต


นิตยสารผู้จัดการ( เมษายน 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

ใจหาย...เมื่อ "แดนเนรมิต" ดินแดนมหัศจรรย์แห่งทุ่งลาดพร้าว ที่สร้างความสุขสนุกสนานให้กับเด็กๆ มายาวนาน บัดนี้เครื่องเล่นทุกชนิดใกล้หยุดเคลื่อนไหวเหตุผลง่ายๆ "หมดสัญญาเช่าที่ดิน"

แ ดนเนรมิตเปรียบเสมือน เพื่อนสนิทของคนจำนวนมาก ที่เคยผ่าน และผูกพันกันมานาน วันหนึ่ง เพื่อน ที่แสนดี "แดนเนรมิต" กำลังลาจาก...

ตระกูล "กิติพราภรณ์" เป็นครอบครัวนักลงทุนในกลุ่มธุรกิจ ที่มีเส้นสายโยงใยกับความบันเทิงไม่ว่าจะเป็นโรงภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด โคลีเซียม ปารีส พาราเม้าท์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของธุรกิจบันเทิงนอกเหนือจากโรงภาพยนตร์ จึงเกิดไอเดียดำเนินธุรกิจสวนสนุกขึ้นมา เพื่อตอบสนองนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น เพราะช่วงนั้น ประเทศไทยยังมีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจไม่มากนัก ที่เห็นเด่นชัดมีเพียงย่านสยามสแควร์เท่านั้น

เม็ดเงินก้อนแรกจำนวน 100 ล้านบาท และ ที่ดิน 33 ไร่บริเวณลาดพร้าว ถูกแปรเปลี่ยนสร้างเป็นสถานที่ ที่มีเครื่องเล่น เป็นดินแดนมหัศจรรย์ ท่ามกลางความผันผวนทางการเมืองในปี 2519 แต่ก็ไม่สามารถทัดทานความฝันของตระกูล "กิติพราภรณ์" ที่ต้องการสร้างเมืองจากจินตนาการที่ไม่มีให้เห็น ที่ไหนในไทยมาก่อน

"ความผันผวนทางการเมืองไม่เกี่ยวกับเรา เพราะรู้ว่าคนไทย "เฮไหนเฮ นั่น" เห่อของใหม่ แม้ยุคนี้ถ้ามีของใหม่ เขาก็อยากไปสัมผัส เพราะธรรมชาติของคนไทยไม่ว่ายุคไหน ถึงจะมีความโศกเศร้าแต่ยังมี mood ความสนุกสนานอยู่ในที" อำพล สุทธิเพียร ผู้อำนวยการ ฝ่ายการตลาดกลุ่มสวนสนุกดรีมเวิลด์ กล่าว

การก่อกำเนิดของแดนเนรมิตในช่วงนั้น ถือได้ว่า "ถูกราคา" และ "ถูกเวลา" จนกลายเป็นความฝันของเด็กๆ ที่อยากเข้ามาสนุกสนานกับเครื่องเล่นนานาชนิด ที่แดนเนรมิตสรรค์สร้างขึ้นมา

เคล็ดลับความสำเร็จ ที่ทำให้แดนมหัศจรรย์แห่งนี้โดดเด่นขึ้นมาคือ ความเชื่อ ที่ว่าตลาดธุรกิจสวนสนุกในประเทศไทยมีโอกาสดีๆ อยู่มากมายพอฟัดพอเหวี่ยงกับความท้าทายของการลงทุน

เป็นที่รู้กันว่าธุรกิจสวนสนุกถือเป็นธุรกิจ ที่จำต้องอาศัยความฝันเป็นตัวจุดประกายก่อกำเนิดให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา ขณะเดียวกันเมื่ออยู่ระหว่างการดำเนินงานยังต้องอาศัยพลังขับเคลื่อนทางจิตใจเป็นน้ำเลี้ยง เพื่อรอวันเติบใหญ่ เพราะลักษณะการลงทุนในธุรกิจดังกล่าวจำเป็นต้องมีเงินลงทุนมหาศาล

ในทางตรงกันข้ามนักลงทุนเองก็ต้องใช้น้ำอดน้ำทนรอเก็บเล็กผสมน้อย เพื่อให้ได้ทุนคืนกลับมา และทุนนั้น เข้ากระเป๋าไม่ทันอุ่นก็ต้องนำไปใช้ ปรับปรุงสถานที่ และเครื่องเล่นให้ทันสมัยอยู่เสมอ

หากตัดเรื่องการลงทุนสูงกำไรต่ำออกไป ธุรกิจสวนสนุกยังต้องประสบปัญหาการทำโปรโมชั่น เพื่อรักษานักท่องเที่ยว ดังนั้น ธุรกิจนี้จึงไม่มีวันหยุดนิ่งได้เลย จำเป็นต้องหาวิธีการทำโปรโมชั่นใหม่ๆ ที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

"อุปสรรค คือ เงินลงทุน ที่สูง และไม่สามารถกำหนดระยะเวลาคืนทุนได้" อำพล กล่าว

หากพิจารณาอย่างถ่องแท้แล้ว ความคุ้มทุนของการลงทุนธุรกิจสวนสนุก "ไม่คุ้ม และไม่น่าลงทุน" แต่ธุรกิจนี้เกิดมาได้ด้วยปัจจัยสำคัญ คือ ตอบสนองความฝันของนักลงทุน ขณะที่ต้องรอกำไรในระยะยาวกว่าจะได้เป็นกอบเป็นกำ

"การเติบโตของสวนสนุกหากมองในแง่ธุรกิจแล้วเป็นธุรกิจ ที่ลงทุนสูงใช้พื้นที่มาก ขณะที่การ return ค่อนข้างช้า ต้องใช้เวลานานเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่นๆ" อำพลกล่าวเห็นได้จากมีนักลงทุนสนใจธุรกิจสวนสนุกน้อยมาก นอกจากกลุ่มแดนเนรมิตแล้วก็มีเพียงสวนสยาม และซาฟารีเวิลด์เท่านั้น ที่ยืนอยู่แถวหน้าในประเทศไทย

เป็นที่ยอมรับกันว่าแดนเนรมิต "เกิดได้" เนื่องจากสมัยนั้น ประเทศไทยมีสถานที่เที่ยวน้อย ขณะเดียวกันถือเป็นของแปลกใหม่ ความตื่นเต้น และความต้องการมาเที่ยวจึงสูง "ช่วงนั้น ไม่มี ที่ไหนไป ทุกคนก็มา ที่นี่กัน พื้นที่แค่ 33 ไร่ จึงไม่สามารถรองรับคนได้มาก" อำพลเล่า

แดนเนรมิตเกิดขึ้นท่ามกลางการ "ลองผิดลองถูก" เป็นการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หลายๆ เรื่องราวในดินแดนแห่งนี้ยังไม่ค่อยเต็มที่นี่คือ ยุคแรกๆ นอกจากแดนเนรมิตแล้วยังมีสวนสนุกแฮปปี้แลนด์เกิดขึ้นตามมาห่างกันเพียง 3 เดือน แต่สร้างความสนุกสนานได้แค่ 4 ปีก็ปิดตัวเองลง แล้วหันไปดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งสามารถให้ผลตอบแทนเร็วกว่าสวนสนุก

ขณะที่แดนเนรมิตยืนหยัดให้บริการเด็กๆ และวัยรุ่นผ่านเครื่องเล่นต่อไป จึงเป็นความโชคดีของเด็ก และวัยรุ่นในยุคนั้น ต่อมา

"แดนเนรมิตทำสวนสนุก และพัฒนามาเรื่อยๆ และเติบโตอย่างช้าๆ มีเครื่องเล่นใหม่ๆ ถือเป็นยุคบูมยุคหนึ่งในช่วงนั้น ถ้าจะว่าตามตรงยุคของแดนเนรมิตมียุคเดียวคือ ยุคพัฒนาอย่างต่อเนื่อง"

ที่สำคัญแดนเนรมิตเป็นตัวกระตุ้นชักชวนให้คนที่ไม่เคยเที่ยวสวนสนุก ออกมาหาสิ่งแปลกใหม่ตลอดระยะเวลา 25 ปี คนกลุ่มหนึ่ง ที่ไม่เคยรู้จักสวนสนุกก็เริ่มรู้จักมากขึ้นทีละน้อย ขณะเดียวกันแดนเนรมิตก็ค่อยๆ เปิดตัว เครื่องเล่นจาก 5-6 ชนิด เพิ่มเติมเข้าไปอย่างต่อเนื่องเมื่อมีรายได้เข้ามาจนเต็มพื้นที่

"มองในแง่ธุรกิจแล้วแดนเนรมิตไม่ลำบากในการลงทุน ไม่เหมือนเดี๋ยวนี้ อย่างดรีมเวิลด์ลงทุนครั้งแรก 1,500 ล้านบาท ขณะที่แดนเนรมิต 100 ล้านบาทกับ ที่ดิน 33 ไร่ถือว่าใหญ่แล้ว แต่ดรีมเวิลด์ 1 60 ไร่ มีความแตกต่างกันมาก ดังนั้น แดนเนรมิตได้เปรียบตรง ที่ค่อยๆ โตอย่างมีขั้นตอน" อำพลเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

นับแต่เริ่มสร้างความสนุกสนาน ตื่นเต้น จนถึงปัจจุบัน แดนเนรมิตเปิดโลกสวนสนุกให้เติบโตขึ้นใน "ระดับหนึ่ง" คือ ไปเที่ยวสวนสนุกแล้ว "บอกต่อ" จนกลายเป็นพฤติกรรมพาลูกหลานไปเที่ยวในวันเสาร์ และอาทิตย์จาก ที่ในอดีตไปเที่ยวเฉพาะช่วงเทศกาลเท่านั้น

การผลักดันแผนการขยายตลาดอยู่บนพื้นฐานความคิด ที่บ่งบอกแนวทางในการเพิ่มมูลค่าให้กับตนเอง จากธุรกิจ ที่ใครๆ ก็คิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ ในขณะนั้น เพราะความคิดดังกล่าวน่าจะใช้ได้ดีในต่างประเทศ

"ความต้องการสวนสนุกของคนไทยยังมีอีกมากเพียงแต่ตลาดกลุ่มนักท่องเที่ยวสวนสนุกมีกลุ่มเดียว ถ้าเทียบกับจำนวนประชากรยังไม่พอ แต่แน่นอน คนเที่ยวก็เที่ยว ตลาดนี้ก็จะเติบโตไปได้เล็กน้อยเท่านั้น ยังไม่รวดเร็วอะไรต่างจากเมืองนอก ที่สวนสนุกมีมากมาย ดังนั้น สวนสนุกในไทยพอเพียง สำหรับคนไม่เคยเที่ยว และไม่พอต่อคนชอบเที่ยว" อำพลกล่าว

เมื่อแดนเนรมิตหวังจะเติบโตจำเป็นต้องหว่านเมล็ดพันธุ์ลงบนผืนดินอันอุดมสมบูรณ์แห่งทุ่งลาดพร้าว ยุทธศาสตร์อยู่ ที่เครื่องเล่น ที่ตอบสนองผู้เล่น กลุ่มวัยเด็ก และวัยรุ่นได้มากกว่า ที่อื่น เพราะเครื่องเล่นเน้นไป ที่ความตื่นเต้น เร้าใจทั้งรถไฟเหาะ เครื่องเล่นโมโนเวล เรือไวกิ้ง หรือสัตว์โลกล้านปี โดยมีพาเหรดแฟนตาซีเป็นจุดดึงดูดกลุ่มเด็กๆ

แม้ว่าแดนเนรมิตช่วงแรกๆ การออกแบบจะไม่ทันสมัยเหมือนในปัจจุบัน แต่ยังมีเอกลักษณ์แบบไทยในยุคนั้น "แค่นี้คนก็พอใจแล้ว และเป็นช่วงหนึ่ง ที่ครอบครัวได้มาเที่ยวเพราะไม่มี ที่ไป เราพยายามทำแดนเนรมิตให้ครอบครัวมาเที่ยวด้วยกัน"

ในความเป็นเอกลักษณ์ไทย แดนเนรมิตได้คอนเซ็ปต์มาจากสวนสนุกดิสนีย์แลนด์ แต่ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้เพราะเอกลักษณ์ของแต่ละแห่ง แตกต่างกัน เพียงนำความสนุกสนานของดิสนีย์แลนด์มาเท่านั้น "นำของดีเขามาใช้ เขามีเครื่องเล่น เราก็มี แต่เป็นเอกลักษณ์ของเราคือ ดึงจุดดีของสวนสนุกหลายๆ แห่งทั่วโลกมาใช้ในแดนเนรมิต"

หลังจากผ่านร้อนผ่าน หนาวมานาน เมื่อเอ่ยถึงความตื่นเต้น สนุกสนาน หลายคนนึกถึงแดนเนรมิต ที่ได้สร้างบรรยากาศ และความทรงจำดีๆ ที่ สามารถสะท้อนอะไรหลายๆ อย่าง

แม้ตระกูล "กิติพราภรณ์" จะพยายามทุกวิถีทาง ที่จะช่วยเหลือดินแดน มายาแห่งนี้ให้คงอยู่ต่อไป แต่เนื่องจากไม่สามารถสู้กับราคา ที่ดิน ที่พุ่งสูงราวติดจรวดได้ แดนเนรมิตจึงต้องจากไป

"25 ปีของแดนเนรมิต คุ้มค่ามาก สำหรับเราเป็นเหมือนตำนาน เป็นคนเปิดรอยยิ้มแห่งความสนุกให้วัยรุ่น และเด็กๆ มี ที่เที่ยว และสวนสนุกไม่ใช่แค่สนามเด็กเล่นอย่างเดียว แต่เป็นตัวจุดประกายแห่งสวนสนุก" อำพล กล่าว

ความอิ่มเอิบใจ ที่ได้สัมผัสแดนเนรมิตจากอดีตถึงปัจจุบันจะไม่หยุดนิ่ง ถ้าสัญญาการเช่าที่ดินไม่มาสิ้นสุดลงในกลางปี 2543 แม้จะรู้ชะตากรรมของตนเอง แต่เครื่องเล่นทุกชิ้นยังคงปฏิบัติหน้าที่จนวันสุดท้าย

จากนี้ไปแดนเนรมิตจะกลายเป็นตำนาน ที่มิอาจลืม



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.