|

เหมืองถ่านหินอดีตอันรุ่งโรจน์กับปัจจุบันอันเลือนรางของนิวคาสเซิล
โดย
วิไลลักษณ์ ถิรนุทธิ
นิตยสารผู้จัดการ( มกราคม 2549)
กลับสู่หน้าหลัก
ในขณะที่ไทยกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นของการพัฒนาอุตสาหกรรม บทบาทความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมต่อเศรษฐกิจของอังกฤษ ประเทศผู้บุกเบิกการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นแห่งแรกของโลกนั้น กำลังลดน้อยถอยลงไปทุกที
แม้นิวคาสเซิลจะเป็นเมืองเล็กๆ ที่คนไทยส่วนใหญ่อาจไม่รู้จัก (นอกจากข่าวไมเคิล โอเว่น ย้ายมาประจำทีมนิวคาสเซิลยูไนเต็ด) แต่ตามประวัติศาสตร์แล้ว นิวคาสเซิลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศของอังกฤษ เพราะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยถ่านหิน แหล่งพลังงาน เชื้อเพลิงตัวสำคัญที่ขับเคลื่อนเรือ รถ และเครื่องจักรต่างๆ ในสมัยก่อน
การมีถ่านหินมากของนิวคาสเซิล ทำให้เมืองนี้ได้ฉายาว่าเป็น 'The Coal-Mining Capital of the World' ส่วนคำพังเพยภาษาอังกฤษที่ว่า "Carrying coals to Newcastle" ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่ ค.ศ.1538 แล้วนั้น ก็สามารถ สื่อถึงความสำคัญที่ถ่านหินมีต่อเมืองนิวคาสเซิล ได้เป็นอย่างดี ซึ่งสำนวนนี้แปลเป็นไทยได้ว่า "เอามะพร้าวห้าวมาขายสวน" เหตุเพราะนิวคาสเซิลนั้นเต็มไปด้วยถ่านหินอยู่แล้ว การจะขนถ่านหินไปนิวคาสเซิลก็ดูจะเป็นการกระทำที่เปล่าประโยชน์
จากประวัติอันรุ่งโรจน์ที่สืบต่อมายาว นานหลายร้อยปี มาบัดนี้เหมืองถ่านหินทั้งหลาย ในนิวคาสเซิลและบริเวณใกล้เคียง ต่างก็ต้องปิด ตัวลงเพราะสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม ที่เปลี่ยนไป ความจำเป็นในการใช้ถ่านหินอาจไม่ได้ลดน้อยลงไปกว่าเดิม และทรัพยากรดังกล่าวอาจยังมีอยู่อย่างท่วมท้นใต้พื้นธรณีของอังกฤษ เพียงแต่ว่าต้นทุนการขุดเจาะหาแหล่งถ่านหินใหม่ๆ กอปรกับค่าแรงที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การลงทุนทำเหมืองถ่านหินในอังกฤษนั้นได้ไม่คุ้มเสีย เมื่อเทียบกับการนำเข้า ถ่านหินจากโปแลนด์ที่ถูกกว่า ผลก็คือจุดจบของอุตสาหกรรมถ่านหินในประเทศอังกฤษ
หลายคนอาจมองว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้น เป็นเพียงปรากฏการณ์ธรรมดาอันเป็นวัฏจักรของโลก คือเมื่อมีเกิดก็ต้องมีดับ แต่ในสายตาของนักสังคมศาสตร์บางรายอย่าง ดร.เอเดน ดอยล์ (Dr.Aidan Doyle) แห่งสถาบันวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนแล้ว (Institute for Research on Environment and Sustainability, University of Newcastle upon Tyne) การปิดตัวลงของเหมืองถ่านหินเช่นนี้ ก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบต่อสภาพสังคมแก่ทางภาคเหนือของอังกฤษอย่างนิวคาสเซิลอย่างมาก
เอเดน ดอยล์ เป็นทั้งศิลปินและนักวิชาการท้องถิ่น ที่มุ่งประเด็นงานวิจัยไปยังเรื่องผลกระทบของการปิดตัวลงของเหมือนถ่านหิน ต่อสภาพสังคม ภูมิศาสตร์ และชีวิตของชาวเหนือของอังกฤษ เอเดนเริ่มงานค้นคว้าของเขาจากการเป็นช่างภาพอิสระ โดยตั้งใจจะนำเสนอเรื่องราวชีวิตและการทำงานของชาวเหมืองทั้งหลายผ่านรูปภาพให้ผู้คนทั่วไปได้รับรู้ เขาบันทึกภาพชาวเหมืองขณะทำงานขุดเจาะถ่านหิน อยู่ในอุโมงค์ที่ทั้งมืดและลึก ความที่เป็นชาวเหนือ เหมือนกัน ทำให้เขาสามารถเข้าถึงกรรมกรเหมืองได้อย่างไม่ยากเย็น เพราะชาวเหนือของอังกฤษนั้นมีความเป็นตัวตนอันโดดเด่นต่างจากชาวอังกฤษภาคอื่นๆ เช่นเดียวกับพี่น้องภาคเหนือของไทยที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง คนงานเหมืองจึงต่างไว้วางใจ เปิดใจพูดคุย แบ่ง ปันประสบการณ์และเรื่องราวชีวิตในเหมืองถ่านหินให้เอเดนได้รับรู้อย่างไม่รังเกียจ
เอเดนกล่าวว่า แม้จะตรากตรำกับงานหนักตรงหน้า แต่ชาวเหมืองทั้งหลายก็ยังสามารถ หยิบยื่นมิตรภาพและเสียงหัวเราะให้แก่กันได้ หลายคนไม่ได้คิดว่างานหนักในเหมืองซึ่งทั้งเสี่ยงต่ออุบัติเหตุเหมืองถล่มอันตรายถึงชีวิต และต่อโรคภัยไข้เจ็บเช่นโรคทางเดินหายใจเรื้อรังนั้น จะเป็น "โศกนาฏกรรม" (tragedy) ในชีวิตของตน เรื่องราวของพวกเขาจึงเป็นเรื่องราวแห่งไมตรีจิตที่นำรอยยิ้มมาสู่กัน ผิดกับชีวิตของคนทำงานออฟฟิศ ที่ถึงแม้จะใช้เวลาส่วนใหญ่ด้วยกัน ณ ที่ทำงาน แต่ก็ดูว้าเหว่ เดียวดาย แห้งแล้ง และไร้ซึ่งมิตรภาพ
จุดพลิกผันที่ทำให้เอเดนเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นแค่ช่างภาพบันทึกเรื่องราวชีวิตประจำวันของกรรมกรเหมือง แล้วหันมาสนใจประเด็นด้านสังคมและการเมืองของการปิดเหมืองนั้น เกิดขึ้นเมื่อปี 1994 เมื่อเหมืองถ่านหิน ในตอนเหนือของอังกฤษถูกปิดตัวลงเกือบหมด ปัจจุบันเหลืออยู่แค่แห่งเดียว คนงานเหมืองกว่า ครึ่งล้านคนของภาคเหนือในเขตนอร์ธัมเบอร์แลนด์และเขตเดอแร็ม มาบัดนี้กลับเหลืออยู่เพียงแค่ 5 คนเท่านั้น นี่เป็นตัวเลขที่น่าสะท้อนใจ อนิจจา...ไม่น่าเชื่อว่าอุตสาหกรรมที่เคยเป็นตัวเชิดหน้าชูตาให้กับท้องถิ่นแห่งนี้มานับหลายร้อยปี ปัจจุบันจะเหลือแต่เพียงความทรงจำและภาพเก่าๆ ในหน้าหนังสือไว้ให้คนรุ่นหลังดูเท่านั้น
กับคำถามที่ว่า การปิดตัวลงของเหมืองต่างๆ นี้ มีผลต่อชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นอย่างไร บ้าง เอเดนบอกว่าถึงแม้จะระบุลงไปให้แน่ชัดไม่ได้ว่า การปิดตัวลงของอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง จะก่อให้เกิดปัญหาสังคมแก่ผู้คนในย่านนั้นอย่างไร แต่เราก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการล้มครืนของโครงสร้างทางสังคมและปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในแถบที่เคยมีอุตสาหกรรม ต่างๆ ตั้งอยู่มาก่อนนั้น จะไม่ได้เป็นผลมาจากการล้มเลิกปิดตัวลงของอุตสาหกรรมเลยเสียทีเดียว ชาวภาคเหนือหลายคนที่เคยเป็นกรรมกรเหมืองมาก่อน มาบัดนี้ต้องมุ่งหน้าเข้ากรุงเพื่อหางานทำ แม้รัฐจะตั้งงบฟื้นฟูท้องถิ่นมาเพื่อช่วยพัฒนาสถานที่ที่เคยเป็นเมืองอุตสาหกรรมเหมืองถ่านหินมาก่อน แต่เมืองเล็กๆ อย่าง Whitehaven ในจังหวัด Cumbria กลับไม่มีสิทธิสมัครของบ เพราะจำนวนประชากรที่เคยทำงานเหมืองในอดีตนั้น ต่างก็ออกไปหางานทำ ที่อื่นกันหมด ปัจจุบันเหลืออยู่ไม่กี่คน จนมีจำนวนไม่มากพอที่จะทำให้เมือง Whitehaven นั้นเข้าข่ายมีสิทธิของบมาพัฒนาท้องถิ่น ในฐานะที่เป็นเมืองแห่งเหมืองถ่านหินมาก่อนได้ ดังนั้นหากจะกล่าวว่าปัญหาสังคมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการว่างงาน จำนวนคนติดเฮโรอีนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สภาพชุมชนที่เสื่อมโทรมลงเป็นปัญหา ที่มาจากการปิดตัวของเหมืองนั้นก็คงจะไม่ผิดนัก
แม้การทำเหมืองจะก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ มากมาย เช่นแก๊สมีเทนที่ถูกปล่อยออกมาจากเหมืองจะไปกระตุ้นให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น (Global Warming) แต่ นักสังคมวิทยาอย่างเอเดนกลับมีมุมมองที่ว่า นั่นไม่ใช่ปัญหาที่คนงานเหมืองจะต้องเก็บไปคิด เพราะแต่ละคนต่างก็ต้องปากกัดตีนถีบ หาเลี้ยงครอบครัว จึงไม่มีเวลาที่จะไปนั่งคิดเรื่องสิ่งแวดล้อม คนงานแต่ละคนถูกจ้างมาให้ขุดเหมือง ไม่ได้ถูกจ้างให้มาคิดแก้ปัญหาของสังคม และแม้จะรู้ว่าการทำงานในเหมืองนั้นจะเสี่ยงต่อชีวิตและสุขภาพของตนมากเพียงไร แต่พวกเขาก็ต้องทำ เพราะไม่มีทางเลือกอื่น จุดนี้ก็คงจะเป็นเช่นเดียวกับชาวนาไทยของเรา ที่แม้จะรู้ว่าการฉีดยาฆ่าแมลงจะก่อให้เกิดผลร้ายต่อสุขภาพของตนและต่อสิ่งแวดล้อมขนาดไหน แต่ ก็ต้องทำเพื่อหาเงินมาเลี้ยงทางบ้าน แต่ในจุดนี้ ผู้เขียนกลับคิดว่ารัฐต้องทำหน้าที่ให้ข้อมูลแก่ประชาชนให้มากกว่านี้ และต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ด้วยการสร้างโอกาสทางการงานให้แก่พวกเขา แทนที่จะปล่อยให้ผู้ด้อยโอกาสไม่ว่า จะเป็นคนงานเหมืองของอังกฤษ หรือชาวนาไทย ของเราต้องทำงานที่เสี่ยงต่อชีวิตของตนเอง และ ทำลายสิ่งแวดล้อมไปเรื่อยๆ เพียงเพราะว่าพวกเขาไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า
ขอขอบคุณ Dr.Aidan Doyle ที่ให้สัมภาษณ์ และอนุญาตให้ตีพิมพ์ภาพบางส่วนจากหนังสือของเขา Sacrifice, Achievement, Gratitude : Images of the Great NorthernCoalfield in Decline (1997)
เหมืองถ่านหินอดีตอันรุ่งโรจน์กับปัจจุบันอันเลือนรางของนิวคาสเซิล
ในขณะที่ไทยกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นของการพัฒนาอุตสาหกรรม บทบาทความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมต่อเศรษฐกิจของอังกฤษ ประเทศผู้บุกเบิกการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นแห่ง แรกของโลกนั้น กำลังลดน้อยถอยลงไปทุกที
แม้นิวคาสเซิลจะเป็นเมืองเล็กๆ ที่คนไทยส่วนใหญ่อาจไม่รู้จัก (นอกจากข่าวไมเคิล โอเว่นย้าย มาประจำทีมนิวคาสเซิลยูไนเต็ด) แต่ตามประวัติศาสตร์แล้ว นิวคาสเซิลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศของอังกฤษ เพราะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยถ่านหิน แหล่งพลังงาน เชื้อเพลิงตัวสำคัญที่ขับเคลื่อนเรือ รถ และเครื่องจักรต่างๆ ในสมัยก่อน
การมีถ่านหินมากของนิวคาสเซิล ทำให้ เมืองนี้ได้ฉายาว่าเป็น 'The Coal-Mining Capital of the World' ส่วนคำพังเพยภาษาอังกฤษที่ว่า "Carrying coals to Newcastle" ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่ ค.ศ.1538 แล้วนั้น ก็สามารถ สื่อถึงความสำคัญที่ถ่านหินมีต่อเมืองนิวคาสเซิล ได้เป็นอย่างดี ซึ่งสำนวนนี้แปลเป็นไทยได้ว่า "เอามะพร้าวห้าวมาขายสวน" เหตุเพราะนิวคาสเซิลนั้นเต็มไปด้วยถ่านหินอยู่แล้ว การจะขนถ่านหินไปนิวคาสเซิลก็ดูจะเป็นการกระทำที่เปล่าประโยชน์
จากประวัติอันรุ่งโรจน์ที่สืบต่อมายาว นานหลายร้อยปี มาบัดนี้เหมืองถ่านหินทั้งหลาย ในนิวคาสเซิลและบริเวณใกล้เคียง ต่างก็ต้องปิด ตัวลงเพราะสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม ที่เปลี่ยนไป ความจำเป็นในการใช้ถ่านหินอาจไม่ได้ลดน้อยลงไปกว่าเดิม และทรัพยากรดังกล่าวอาจยังมีอยู่อย่างท่วมท้นใต้พื้นธรณีของอังกฤษ เพียงแต่ว่าต้นทุนการขุดเจาะหาแหล่งถ่านหินใหม่ๆ กอปรกับค่าแรงที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การลงทุนทำเหมืองถ่านหินในอังกฤษนั้นได้ไม่คุ้มเสีย เมื่อเทียบกับการนำเข้า ถ่านหินจากโปแลนด์ที่ถูกกว่า ผลก็คือจุดจบของอุตสาหกรรมถ่านหินในประเทศอังกฤษ
หลายคนอาจมองว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้น เป็นเพียงปรากฏการณ์ธรรมดาอันเป็นวัฏจักรของโลก คือเมื่อมีเกิดก็ต้องมีดับ แต่ในสายตาของนักสังคมศาสตร์บางรายอย่าง ดร.เอเดน ดอยล์ (Dr.Aidan Doyle) แห่งสถาบัน วิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนแล้ว (Institute for Research on Environment and Sustainability, University of Newcastle upon Tyne) การปิดตัวลงของเหมืองถ่านหินเช่นนี้ ก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบต่อสภาพสังคมแก่ทางภาคเหนือของอังกฤษอย่างนิวคาสเซิลอย่างมาก
เอเดน ดอยล์ เป็นทั้งศิลปินและนักวิชาการท้องถิ่น ที่มุ่งประเด็นงานวิจัยไปยังเรื่องผลกระทบของการปิดตัวลงของเหมือนถ่านหิน ต่อสภาพสังคม ภูมิศาสตร์ และชีวิตของชาวเหนือของอังกฤษ เอเดนเริ่มงานค้นคว้าของเขาจากการเป็นช่างภาพอิสระ โดยตั้งใจจะนำเสนอเรื่องราวชีวิตและการทำงานของชาวเหมืองทั้งหลายผ่านรูปภาพให้ผู้คนทั่วไปได้รับรู้ เขาบันทึกภาพชาวเหมืองขณะทำงานขุดเจาะถ่านหิน อยู่ในอุโมงค์ที่ทั้งมืดและลึก ความที่เป็นชาวเหนือ เหมือนกัน ทำให้เขาสามารถเข้าถึงกรรมกรเหมืองได้อย่างไม่ยากเย็น เพราะชาวเหนือของอังกฤษนั้นมีความเป็นตัวตนอันโดดเด่นต่างจากชาวอังกฤษภาคอื่นๆ เช่นเดียวกับพี่น้องภาคเหนือของไทยที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง คนงานเหมืองจึงต่างไว้วางใจ เปิดใจพูดคุย แบ่ง ปันประสบการณ์และเรื่องราวชีวิตในเหมืองถ่านหินให้เอเดนได้รับรู้อย่างไม่รังเกียจ
เอเดนกล่าวว่า แม้จะตรากตรำกับงานหนักตรงหน้า แต่ชาวเหมืองทั้งหลายก็ยังสามารถ หยิบยื่นมิตรภาพและเสียงหัวเราะให้แก่กันได้ หลายคนไม่ได้คิดว่างานหนักในเหมืองซึ่งทั้งเสี่ยงต่ออุบัติเหตุเหมืองถล่มอันตรายถึงชีวิต และต่อโรคภัยไข้เจ็บเช่นโรคทางเดินหายใจเรื้อรังนั้น จะเป็น "โศกนาฏกรรม" (tragedy) ในชีวิตของตน เรื่องราวของพวกเขาจึงเป็นเรื่องราวแห่งไมตรีจิตที่นำรอยยิ้มมาสู่กัน ผิดกับชีวิตของคนทำงานออฟฟิศ ที่ถึงแม้จะใช้เวลาส่วนใหญ่ด้วยกัน ณ ที่ทำงาน แต่ก็ดูว้าเหว่ เดียวดาย แห้งแล้ง และไร้ซึ่งมิตรภาพ
จุดพลิกผันที่ทำให้เอเดนเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นแค่ช่างภาพบันทึกเรื่องราวชีวิตประจำวันของกรรมกรเหมือง แล้วหันมาสนใจประเด็นด้านสังคมและการเมืองของการปิดเหมืองนั้น เกิดขึ้นเมื่อปี 1994 เมื่อเหมืองถ่านหิน ในตอนเหนือของอังกฤษถูกปิดตัวลงเกือบหมด ปัจจุบันเหลืออยู่แค่แห่งเดียว คนงานเหมืองกว่า ครึ่งล้านคนของภาคเหนือในเขตนอร์ธัมเบอร์แลนด์และเขตเดอแร็ม มาบัดนี้กลับเหลืออยู่เพียงแค่ 5 คนเท่านั้น นี่เป็นตัวเลขที่น่าสะท้อนใจ อนิจจา...ไม่น่าเชื่อว่าอุตสาหกรรมที่เคยเป็นตัวเชิดหน้าชูตาให้กับท้องถิ่นแห่งนี้มานับหลายร้อยปี ปัจจุบันจะเหลือแต่เพียงความทรงจำและภาพเก่าๆ ในหน้าหนังสือไว้ให้คนรุ่นหลังดูเท่านั้น
กับคำถามที่ว่า การปิดตัวลงของเหมืองต่างๆ นี้ มีผลต่อชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นอย่างไร บ้าง เอเดนบอกว่าถึงแม้จะระบุลงไปให้แน่ชัดไม่ได้ว่า การปิดตัวลงของอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง จะก่อให้เกิดปัญหาสังคมแก่ผู้คนในย่านนั้นอย่างไร แต่เราก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการล้มครืนของโครงสร้างทางสังคมและปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในแถบที่เคยมีอุตสาหกรรม ต่างๆ ตั้งอยู่มาก่อนนั้น จะไม่ได้เป็นผลมาจากการล้มเลิกปิดตัวลงของอุตสาหกรรมเลยเสียทีเดียว ชาวภาคเหนือหลายคนที่เคยเป็นกรรมกรเหมืองมาก่อน มาบัดนี้ต้องมุ่งหน้าเข้ากรุงเพื่อหางานทำ แม้รัฐจะตั้งงบฟื้นฟูท้องถิ่นมาเพื่อช่วยพัฒนาสถานที่ที่เคยเป็นเมืองอุตสาหกรรมเหมืองถ่านหินมาก่อน แต่เมืองเล็กๆ อย่าง Whitehaven ในจังหวัด Cumbria กลับไม่มีสิทธิสมัครของบ เพราะจำนวนประชากรที่เคยทำงานเหมืองในอดีตนั้น ต่างก็ออกไปหางานทำ ที่อื่นกันหมด ปัจจุบันเหลืออยู่ไม่กี่คน จนมีจำนวนไม่มากพอที่จะทำให้เมือง Whitehaven นั้นเข้าข่ายมีสิทธิของบมาพัฒนาท้องถิ่น ในฐานะที่เป็นเมืองแห่งเหมืองถ่านหินมาก่อนได้ ดังนั้นหากจะกล่าวว่าปัญหาสังคมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการว่างงาน จำนวนคนติดเฮโรอีนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สภาพชุมชนที่เสื่อมโทรมลงเป็นปัญหา ที่มาจากการปิดตัวของเหมืองนั้นก็คงจะไม่ผิดนัก
แม้การทำเหมืองจะก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ มากมาย เช่นแก๊สมีเทนที่ถูกปล่อยออกมาจากเหมืองจะไปกระตุ้นให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น (Global Warming) แต่ นักสังคมวิทยาอย่างเอเดนกลับมีมุมมองที่ว่า นั่นไม่ใช่ปัญหาที่คนงานเหมืองจะต้องเก็บไปคิด เพราะแต่ละคนต่างก็ต้องปากกัดตีนถีบ หาเลี้ยงครอบครัว จึงไม่มีเวลาที่จะไปนั่งคิดเรื่องสิ่งแวดล้อม คนงานแต่ละคนถูกจ้างมาให้ขุดเหมือง ไม่ได้ถูกจ้างให้มาคิดแก้ปัญหาของสังคม และแม้จะรู้ว่าการทำงานในเหมืองนั้นจะเสี่ยงต่อชีวิตและสุขภาพของตนมากเพียงไร แต่พวกเขาก็ต้องทำ เพราะไม่มีทางเลือกอื่น จุดนี้ก็คงจะเป็นเช่นเดียวกับชาวนาไทยของเรา ที่แม้จะรู้ว่าการฉีดยาฆ่าแมลงจะก่อให้เกิดผลร้ายต่อสุขภาพของตนและต่อสิ่งแวดล้อมขนาดไหน แต่ ก็ต้องทำเพื่อหาเงินมาเลี้ยงทางบ้าน แต่ในจุดนี้ ผู้เขียนกลับคิดว่ารัฐต้องทำหน้าที่ให้ข้อมูลแก่ประชาชนให้มากกว่านี้ และต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ด้วยการสร้างโอกาสทางการงานให้แก่พวกเขา แทนที่จะปล่อยให้ผู้ด้อยโอกาสไม่ว่า จะเป็นคนงานเหมืองของอังกฤษ หรือชาวนาไทย ของเราต้องทำงานที่เสี่ยงต่อชีวิตของตนเอง และ ทำลายสิ่งแวดล้อมไปเรื่อยๆ เพียงเพราะว่าพวกเขาไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า
ขอขอบคุณ Dr.Aidan Doyle ที่ให้สัมภาษณ์ และอนุญาตให้ตีพิมพ์ภาพบางส่วนจากหนังสือของเขา Sacrifice, Achievement, Gratitude : Images of the Great NorthernCoalfield in Decline (1997)
กลับสู่หน้าหลัก
 ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.
|